โรคข้อเสื่อม(Osteoarthritis)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
โรคข้อเสื่อม(Osteoarthritis) by Mind Map: โรคข้อเสื่อม(Osteoarthritis)

1. อาการ

1.1. ระยะเริ่มต้น อาการแสดงที่สำคัญ คือ อาการปวด บวม แดงร้อนของข้อ

1.2. ระยะปานกลาง ในระยะนี้จะพบว่าผู้สูงอายุจะมีอาการปวดเมื่อยร่วมกับมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อมากขึ้น เริ่มสังเกตเห็นการผิดรูปของข้อ ซึ่งจะสามารถมองเห็นการโก่ง งออย่างชัดเจน การเคลื่อนไหวของข้อเริ่มติดขด

1.3. ระยะรุนแรง อาการแสดงในระยะนี้จะพบเมื่อมีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนอย่างมาก ทำให้ข้อหลวม ไม่มั่นคง และผิวข้อหนาตัวขึ้นจากกระดูกงอกหนา ข้อโก่ง งอ ผิดรูปชัดเจน ขณะลุกขึ้นจากท่านั่ง และขณะเดินลงบันไดจะมีอาการปวดที่รุนแรง อาจมีแสดงดังกรอบแกรบในข้อขณะเคลื่อนไหว

2. การรักษา

2.1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา

2.1.1. การให้ความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม

2.1.2. การออกกำลังกายและบริหารรอบเข่า

2.1.3. การใช้อุกรณ์ เครื่องช่วยต่างๆ

2.1.3.1. ไม้เท้า

2.1.3.2. การเสริมรองเท้าเป็นลิ่มทางด้านนอก

2.1.3.3. สนับเข่า

2.1.4. การลดน้ำหนัก

2.1.5. การรักษาทางกายภาพบำบัด

2.2. การรักษาโดยใช้ยา

2.2.1. ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น Aspirin

2.2.2. ยาระงับอาการปวดที่มีสารเสพติด เช่น Acetaminophen

2.2.3. ยาทาบรรเทาอาการปวด เช่น Ibuprofen Diclofene

2.2.4. ยาระงับอาการปวดที่ออกฤทธิ์ช้า เช่น Glucosamine sulfate

2.3. การรักษาโดยวิธีผ่าตัด

3. ภาวะแทรกซ้อน

3.1. เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

3.2. เสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตก หกล้ม

4. การพยาบาล

4.1. 1. ให้ข้อที่อักเสบได้พักมากๆ โดยอาจจะจำกัดเรื่องการเคลื่อนไหวข้อที่อักเสบรุนแรงและมีอาการปวด

4.2. 2. ดูแลให้ผู้ป่วยใช้เครื่องกายอุปกรณ์อย่างถูกต้อง และเวลาที่ใส่อย่างเหมาะสม เช่น ใส่เมื่อทำงานหรือเดินทาง

4.3. 3. ประคบด้วยความร้อนที่บริเวณข้อที่ปวด เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว และหลังการประคบ ควรดูแลให้ผู้ป่วยได้มีการบริหารกล้ามเนื้อและข้อ

4.4. 4. ควรหลีกเลี่ยงอากาศที่เย็นในที่มีอากาศเย็นควรใส่ถุงมือเพื่อความอบอุ่น

4.5. 5. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาบรรเทาอาการปวด และยาต้านการอักเสบ ตามแผนการรักษา พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยา

5. ความหมาย

5.1. โรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของข้อชนิดหนึ่งที่ไม่มีการอักเสบของข้อชนิดที่มีเยื่อบุข้อที่เกิดจากการเสื่อม และสึกหรอของผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อต่างๆ ตามกระบวนการสูงอายุตามวัยหรือเหตุจากปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของข้อ

6. สาเหตุ

6.1. อายุ อายุที่มากขึ้นจะมีความชุกของข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น

6.2. โรคเมตาบอลิค เช่น โรคเก๊าท์ โรคเก๊าท์เทียม โครงเชื่อมกระดูกอ่อนแข็งขึ้นกว่าเดิม ทำให้การรับส่งแรงของข้อเข่าเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้พบโรคข้อเข่าเสื่อมบ่อยขึ้น

6.3. โรคข้อที่มีการอักเสบ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

6.4. ความอ้วน น้ำหนักร่างกายที่มากขึ้นจะมีผลต่อการกดทับ และเพิ่มแรงกดบริเวณกระดูกอ่อนหุ้มข้อต่างๆ ทำให้เกิดการเสื่อมของข้อเร็วขึ้น

6.5. อาชีพ อาชีพที่ยกของหนักหรือใช้งานอวัยวะต่างๆบริเวณข้อมากเกินไป

6.6. ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีปริมาณลดลงหรือมีน้อยจะทำให้เพิ่มอัตราการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อนที่เร็วขึ้น

6.7. พันธุกรรม โรคข้อเสื่อมมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

6.8. พฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของข้อกระดูกที่มาก ทำให้เร่งการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อนหุ้มข้อที่เร็วขึ้น

6.9. การประสบอุบัติเหตุ เช่น ข้อเข่าหลุด ข้อมือหัก เป็นต้น

7. คำแนะนำ

7.1. 1.ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเช่นการปรับเตียงให้สูงขึ้น เปลี่ยนจากส้วมซึมชนิดนั่งยองๆเป็นชักโครกแทน เป็นต้น

7.2. 2. หลีกเลี่ยงการทำให้ข้อบาดเจ็บซ้ำๆ หรือการกระทบกระแทกต่อข้อ

7.3. 3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนช่วยทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรงขึ้น

7.4. 4.ควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่มีรูปร่างอ้วน การลดน้ำหนักลงจะช่วยลดอาการปวและชะลอการทำลายข้อลดลงได้