การดูแลสุขวิทยา (1)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การดูแลสุขวิทยา (1) by Mind Map: การดูแลสุขวิทยา (1)

1. การดูแลผม

1.1. การสระผมจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้น  เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายหนังศีรษะ ไม่รู้สึกคัน

1.2. กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถไปสระผมที่ห้องน้ำได้เอง    พยาบาลจะเป็นผู้ที่ต้องช่วยสระผมให้ที่เตียงผู้ป่วย (bed  shampoo)

2. การดูแลความสะอาดของผิวหนัง

2.1. อาบน้ำบางส่วนของร่างกาย  (partial bath) หมายถึง การอาบน้ำที่อวัยวะบางส่วนของร่างกาย  ซึ่งถ้าไม่อาบแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สุขสบาย

2.1.1. เช่น มือ หน้า  รักแร้ ขาหนีบ และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์

2.2. อาบน้ำบนเตียงแบบสมบูรณ์  (complete bed bath) หมายถึง  การอาบน้ำ ที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมด  พยาบาลต้องเป็นผู้ทำให้ทั้งหมด

2.2.1. เช่น ในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว  ผู้ป่วยที่อ่อนเพลียไม่มีแรง หรือผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหว

2.3. อาบน้ำที่ห้องน้ำ  ผู้ป่วยสามารถไปอาบน้ำได้เองในห้องน้ำที่มิดชิด  (self bath) โดยสามารถอาบน้ำได้เอง หรือในผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้ผู้อื่นช่วยบ้าง

3. นวดบริเวณแผ่นหลัง

3.1. ท่าลูบ  (effleurage  or stroking)

3.2. ท่าจับกล้ามเนื้อยกบิดไปมาสลับกัน  (petrissage)

3.3. ท่าใช้สันมือสับ  (tapotement)

3.4. ท่าใช้อุ้งมือตบ  (percussion)

3.5. ท่าสั่นสะเทือน (Vibration)

3.6. ท่าใช้นิ้วหัวแม่มือกด (Digital  kneading)

4. ทำเตียง  (bed making)

4.1. 1.  เตียงที่ยังมีผู้ป่วยครองเตียงอยู่  แต่ผู้ป่วยไม่ได้นอนอยู่ที่เตียง (open bed)

4.1.1. เช่น  นั่งข้างๆเตียง ไปห้องน้ำ ซึ่งเมื่อทำเตียงเสร็จจะไม่ต้องคลุมผ้า  เพื่อให้ผู้ป่วยเข้านอนได้อย่างสะดวกสบาย

4.2. เตียงที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง  (occupied bed) เป็นเตียงที่มีผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง และไม่สามารถลุกออกจากเตียงได้ในขณะที่ทำเตียง 

4.2.1. การทำเตียงประเภทนี้ต้องระมัดระวังมาก เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบาย และได้รับความปลอดภัยมากที่สุด

4.3. 3.  เตียงสำหรับรอรับผู้ป่วยที่ดมยาสลบ  (ether bed) เป็นการทำเตียงเพื่อรอรับผู้ป่วย

4.3.1. ่ต้องเตรียมสิ่งของเครื่องใช้เพิ่มเติม เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้ายาง ผ้าขวางเตียง  ชามรูปไต ไม้กดลิ้น เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องมือวัดความดันโลหิต หูฟัง เสาแขวนขวดสารละลายที่ให้ทางหลอดเลือดดำ

4.4. 4.  เตียงว่าง  (closed bed or  anesthetic bed) เป็นเตียงที่ไม่มีผู้ป่วยครองเตียง เป็นการทำเตียงภายหลังจากการที่ผู้ป่วยกลับบ้าน  ย้าย หรือถึงแก่กรรม

5. การดูแลความสะอาดเล็บ

5.1. การดูแลเล็บให้สั้นจะเป็นการป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดีกว่าเล็บยาว

5.2. สำหรับผู้สูงอายุเล็บจะมีความแข็งมาก  ต้องแช่เล็บในน้ำอุ่นก่อนตัดเล็บ จะสามารถตัดได้ง่ายขึ้น

6. การดูแลความสะอาดช่องปาก (mouth  care)

6.1. ปกติควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ  2 ครั้ง

6.2. กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดปากและฟันได้เอง  พยาบาลต้อง ช่วยดูแลให้

6.2.1. ผู้ป่วยที่มีไข้สูง  ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว  ผู้ป่วยที่มีบาดแผลในช่องปาก

7. การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์

7.1. 1. ไม่เปิดเผยผู้ป่วย 2. เช็ดให้แห้งจากบนลงล่าง  และไม่เช็ดย้อนไปย้อนมา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ 3. สำลีที่เช็ดแล้วไม่ทิ้งลงในหม้อนอน  เพื่อป้องกันการอุดตันของชักโครก

7.2. 4. ในผู้ป่วยรายที่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเองไม่ได้  หรือได้รับการผ่าตัดบริเวณฝีเย็บ ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ  ขาหนีบ ต้องระมัดระวังการติดเชื้อเข้าสู่ท่อทางเดินปัสสาวะ

7.3. 5.    การเช็ดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์สตรี  มีหลักการเช็ดใช้สำลี6-7ก้อน ส่วนอวัยวะสืบพันธ์ชายใช้สำลี 9ก้อน

7.4.  6.    ในผู้ป่วยเพศชาย  ต้องรูดหนังหุ้มปลายองคชาตขึ้น  แล้วเช็ดเป็นวงกลมจากรูเปิดของท่อปัสสาวะลงมา  เช็ดจนสะอาด เมื่อเช็ดเสร็จรูดหนังหุ้มปลายองคชาตกลับปิดคงเดิม และเช็ดลูกอัณฑะอย่างเบามือให้สะอาด

7.5. 7.    หลังจากเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อแล้ว   ราดน้ำ และซับอวัยวะเพศของผู้ป่วยให้แห้ง