ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล by Mind Map: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล

1. 1. ความหมาย

1.1. การทดสอบ

1.1.1. การใช้เครื่องมือหรือสิ่งเร้าให้ผู้ถูกทดสอบได้แสดงความสามารถหรือพฤติกรรมที่ต้องการออกมา เพื่อที่จะสังเกตและวัดได้

1.2. การวัดผล

1.2.1. ขบวนการที่ครูนำมาใช้เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนแต่ละคนเกิดการเรียนรู้เพียงใด โดยอาศัยเครื่องมือเป็นหลักในการวัด

1.3. การประเมินผลการเรียนรู้

1.3.1. การนำผลที่ได้จากการวัดมาตัดสินคุณค่า วินิจฉัยและสรุปผลอย่างมีระเบียบ ทั้งในด้านการเรียนและการสอน

2. 2.ขั้นตอนกระบวนการประเมินผลการเรียนรู้

2.1. 1. ระบุจุดประสงค์และขอบเขตในการวัด

2.2. 2. นิยามคุณลักษณะที่ต้องการวัดให้เป็นพฤติกรรมที่วัดได้

2.3. 3. กำหนดวิธีการวัดและเครื่องมือวัด

2.4. 4. จัดหาหรือสร้างเครื่องมือวัด

2.5. 6. ตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการวัด

2.6. 7. แปลความหมายผลการวัดและนำผลการวัดไปใช้

2.7. 5. ดำเนินการวัดตามวิธีที่กำหนด

3. 3. ความสำคัญ

3.1. 1. ช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพียงไร

3.2. 2. ผลจากการวัด เป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างขยันและกระตือรือร้น

3.3. 3. เครื่องมือให้ผู้เรียนได้รู้และประเมินความสามารถของตนเองได้

3.4. 4. ทำให้ผู้สอนทราบว่าถึงพัฒนาการด้านความรู้ ความสามารถของผู้เรียนเมื่อเทียบกับผู้เรียนทั้งหมด

3.5. 5. ผู้สอนสามารถทราบได้ว่าผู้เรียนคนใดต้องพัฒนาซ่อมเสริมส่วนใด

3.6. 6. จากการวิเคราะห์ ทำให้ทราบได้ว่าต้องพัฒนาเครื่องมือวัดให้ดีขึ้นอย่างไร

3.7. 7. ผู้สอนสามารถพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.8. 8. ช่วยพิจารณาประเมินผลการเรียน การเลื่อนชั้นและการซ้ำชั้น หรือการสอบผ่าน

3.9. 9.เครื่องมือในการแนะแนวการศึกษา

3.10. 10. ช่วยพยากรณ์ผลการเรียนในอนาคตของผู้เรียนได้

3.11. 11. ช่วยค้นหาอัจฉริยะบุคคล ปัญญาสร้างสรรค์ ที่ถือเป็นทรัพยากรบุคคล

3.12. 12. ช่วยผู้บริหารจัดการภายในสถาบัน

4. 4.ประเภทของการประเมินผลการเรียนรู้

4.1. ตามจุดประสงค์

4.1.1. ก่อนเรียน

4.1.1.1. เพื่อจัดตำแหน่ง

4.1.1.1.1. ครูใช้ผลการประเมินเพื่อกำหนดการจัดการเรียนการสอน

4.1.1.2. เพื่อวินิจฉัย

4.1.1.2.1. เพื่อแยกแยะว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้เท่าใด

4.1.2. เพื่อพัฒนา

4.1.2.1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ ใช้ระหว่างการจัดการเรียนการสอน

4.1.3. ตัดสินหรือประเมินผลโดยรวม

4.1.3.1. ตัดสินผลการจัดการเรียนรู้ หลังจากผู้เรียนได้เรียนไปแล้ว

4.2. ตามการอ้างอิง

4.3. ตามผู้ประเมิน

5. 5. ความมุ่งหมายและประโยชน์

5.1. วัดเพื่อวินิจฉัย

5.1.1. เพื่อค้นหาข้อบกพร่องของนักเรียนเป็นรายบุคคล

5.2. วัดเพื่อจัดอันดับ

5.2.1. เปรียบเทียบระดับความสามารถของนักเรียนทั้งกลุ่ม

5.3. วัดเพื่อทราบพัฒนาการของผู้เรียน

5.3.1. เปรียบเทียบสมรรถภาพของผู้เรียนในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันว่าพัฒนาจากเดิมมากน้อยเพียงใด

5.4. วัดเพื่อประเมินผล

5.4.1. นำผลที่ได้มาตีค่าหรือสรุปคุณภาพการเรียนรู้ว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ หลักสูตรเหมาะสมหรือไม่

5.5. วัดเพื่อพยากรณ์

5.5.1. นำผลไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต

6. 6. ปรัชญาของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

6.1. 1. การสอบเป็นส่วนหนึ่งของการสอน มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน

6.2. 2. การสอบควรมุ่งวัดศักยภาพมากกว่าที่วัดความจำ การดัดแปลงเพื่อใช้ในสถานการณ์ต่างๆ

6.3. 3. สอบเพื่อวินิจฉัย มุ่งให้เกิดการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขัน ซ่อมเสริมได้ตรงจุด

6.4. 4. สอบเพื่อประเมินค่า นำผลไปประเมินส่วนรวมว่ามีความเหมาะสมของหลักสูตรการเรียนการสอนมากเพียงใด ความเหมาะสม

6.5. 5. ทดสอบเพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพ นักเรียนมีความพิเศษแตกต่างกัน

7. 7. ธรรมชาติของการประเมินผลการเรียนรู้

7.1. นามธรรม

7.1.1. รูปธรรม

7.1.1.1. มองเห็นได้ สามารถวัดได้โดยตรง

7.1.2. นามธรรม

7.1.2.1. ไม่สามารถมองเห็นได้ ต้องอาศัยเครื่องมือกระตุ้น

7.2. หน่วยวัดไม่คงที่

7.2.1. ผลในการวัดเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่ใช้

7.3. มีความคลาดเคลื่อนปนอยู่เสมอ

7.3.1. ควรทำอย่างระมัดระวัง ขจัดความความคลาดเคลื่อนให้หมด

7.4. ไม่มีความสมบูรณ์ในตัว

7.4.1. ไม่สามารถวัดทั้งหมดของสิ่งที่ต้องการวัดได้ วัดได้แค่บางส่วน

7.5. เป็นงานสัมพันธ์

7.5.1. ไม่มีความหมายในตัวเอง ต้องนำผลการวัดที่ได้ไปสัมพันธ์หรือเปรียบเทียบกับบางสิ่งเสียก่อนจึงจะมีความหมาย

8. คุณธรรมของผู้ประเมิน

8.1. 1. เป็นผู้ที่มีความเที่ยงตรง

8.2. 2. สามารถกำหนดระบบการประเมิน ออกแบบการประเมินได้ครอบคลุมสมบูรณ์

8.3. 3. เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางการวัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8.4. 4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต

8.5. 5. มีความรับผิดชอบ

8.6. 6. มีความละเอียดรอบคอบ

8.7. 7. มีความมานะพยายาม มีความอดทน

8.8. 8. มีความรู้ มีความรอบรู้ รู้เท่าทัน