โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Anyotrophic Lateral Sclerosis : ALS )

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Anyotrophic Lateral Sclerosis : ALS ) by Mind Map: โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง  ( Anyotrophic Lateral Sclerosis : ALS )

1. โรค ALS คืออะไร?

1.1. เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆเกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด

1.2. ALS โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง : เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor neuron disease; MND) หรือ โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม”

2. สาเหตุของโรค ALS

2.1. ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดเซลล์ประสาทนำคำสั่งจึงเกิดการเสื่อม โดยสมมติฐานเชื่อว่า ALS เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน

2.1.1. การมีปัจจัยบางอย่างทางพันธุกรรม

2.1.2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง สาร โลหะหนัก รังสีหรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิดมาช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้เซลล์ประสาทนำคำสั่งเกิดการทำงานผิดปกติ

2.1.3. อายุที่สูงขึ้นตามกาลเวลาทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์

3. ใครบ้างที่มีโอกาสเกิดโรค ALS?

3.1. พบโรค ALS ในคนอายุมาก อายุเฉลี่ยที่เกิดขึ้นของโรคอยู่ระหว่าง 60-65 ปี จึงพบโรคALS ในคนอายุมากมากกว่าในคนอายุน้อย

4. อาการและการดำเนินของโรค ALS เป็นอย่างไร?

4.1. เริ่มต้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของมือ แขนขาหรือ เท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน

4.1.1. ยกแขนไม่ขึ้นเหนือศีรษะ

4.1.2. กำมือถือของไม่ได้

4.1.3. ข้อมือหรือข้อเท้าตก

4.1.4. เดินแล้วหกล้มบ่อยหรือสะดุดบ่อย

4.1.5. ขึ้นบันไดลำบาก นั่งยองๆลุกขึ้นลำบาก

4.2. อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอ่อนแรงจะค่อยๆเป็นมากขึ้นจนลามไปทั้ง2 ข้าง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแขนหรือขาทั้ง2 ข้างตั้งแต่ต้น นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้วยังพบว่ามีกล้ามเนื้อลีบร่วมกับ กล้ามเนื้อเต้นที่เรียกว่า fasciculation ร่วมด้วย

4.3. ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยมือลีบหรือขาลีบ พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง หรือลิ้นลีบ เวลากลืนน้ำหรืออาหารแล้วจะสำลัก

4.4. ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ทำให้เหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเวลานอนราบหรือมีอาการต้องตื่นกลางดึกเพราะมีอาการเหนื่อยหายใจไม่อิ่ม

5. การรักษาโรค ALS

5.1. ปัจจุบันมียาที่ได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ผู้รักษา ALS ทั่วโลกว่าช่วยชะลอการดำเนินของโรคได้เพียงตัวเดียวคือ ยา Riluzole (Rilutek®)

5.1.1. โดยยามีฤทธิ์ในการยับยั้งสาร glutamate ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดการตายของเซล

5.1.2. นอกเหนือจากการใช้ยาแล้วการรักษาแบบประคับประคอง มีความสำคัญมากเพื่อผลดีต่อสุขภาพในภาพรวม

5.1.2.1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

5.1.2.2. การทำกิจกรรมและการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแรง เพื่อป้องกันการลีบที่เกิดจากภาวะที่กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้งานนานๆและป้องการการติดของข้อ

5.1.2.3. การรับประทานอาหารให้เพียงพอ

5.1.2.4. ในกรณีที่มีอาการสำลักทำให้ได้รับอาหารไม่เพียงพอ การให้อาหารทางสายยางทางหน้าท้องที่เรียกว่าสาย PEG หรือการให้อาหารทางสายผ่านจมูก (NG tube) ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารได้เพียงพอและป้องกันการสำลักอาหาร

5.1.2.5. การพักผ่อนให้เพียงพอ

5.1.2.6. ถ้าผู้ป่วยมีปัญหานอนราบไม่ได้หรือเหนื่อยเนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ (non-invasive positive pressure ventilation; NIPPV) ที่บ้าน ก็จะทำให้ผู้ป่วยนอนได้ไม่เหนื่อย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง