ข้อมูลมีคุณค่า

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ข้อมูลมีคุณค่า by Mind Map: ข้อมูลมีคุณค่า

1. ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ

1.1. ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ

1.1.1. ยุคที่ 1 ยุคการประมวลผล - เพื่อการคำนวณ - การประมวลผลข้อมูลของงานประจำ - ลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

1.1.2. ยุคที่ 2 ยุคของการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วย - การตัดสินใจ การดำเนินการ - วิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ - เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

1.1.3. ยุคที่ 3 ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ - การใช้คอมพิวเตอร์เน้นการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ - ความเจริญด้านเทคโนโลยีสูง - สร้างทางเลือกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. วิทยาการข้อมูล

2.1. BIG DATA

2.1.1. Big Data ก็คือข้อมูลทุกอย่างที่เรามีอยู่ในบริษัท ทั้งข้อมูลที่มีแหล่งที่มาจากภายในบริษัทเองและข้อมูลที่มาจากแหล่งที่มาภายนอกอย่าง Social medias ซึ่งทั้งหมดเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้หรือก็คือ ข้อมูลดิบ นั้นเอง ทั้งนี้ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีการหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งานด้านไหน ในปัจจุบันนิยมทำ Big Data Analysis เพื่อใช้ในการสำหรับการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต หรือ ก็คือเพื่อใช้ดูแนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้นเอง

2.2. DATA ANALYTICS

2.2.1. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เป็นทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการมากตั้งแต่การเกิดขึ้นของเทคโนโลยี เช่น อินเทอร์เน็ต และ โทรศัพท์มือถือ รวมไปถึง แท็ปเล็ต จึงทำให้มีความต้องการในงานสายนี้มากขึ้นเรื่อยๆ การเติบโตของแวดวงธุรกิจนี้ ผลักดันให้องค์กรตระหนักถึงข้อมูลจำนวนมากที่ถูกส่งไปมาทุกๆวินาที องค์กรสามารถติดตามและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเองหรือทำให้ได้รับผลตอบแทนทางธุรกิจมากขึ้น วิทยาการข้อมูลจะมีอิธิพลต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคตอย่างแน่นอน วิทยาการข้อมูลประกอบไปด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์การตลาด (Market Analysis) และ การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)

2.3. DATA SCIENTIST

2.3.1. Data Scientist คือ บุคคลที่นำข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง มาผ่านวิธีการต่างๆ เช่น Data Mining, Machine Learning, Optimization เพื่อหามุมมอง และคำตอบใหม่ๆ

3. กระบวนการวิทยาการข้อมูล

3.1. การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยข้อมูลนั้น นอกจากจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้ว การดําเนินการตามกระบวนการของวิทยาการข้อมูลที่ระบุขั้นตอนสําคัญต่าง ๆ ที่ประกอบด้วย การตั้งคําถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล การสํารวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสื่อสารและการทํา ผลลัพธ์ให้เป็นภาพสู่ผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย

4. การคิดเชิงออกแบบสำหรับวิทยากรข้อมูล

4.1. การคิดเชิงออกแบบ (อังกฤษ: design thinking) เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เน้นมุมมองของผู้ใช้ (user-centered) และมีเจตนาในการสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์