การประยุกต์ใช้ขอมูลรีโมทเซนซิงในประเทศไทย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การประยุกต์ใช้ขอมูลรีโมทเซนซิงในประเทศไทย by Mind Map: การประยุกต์ใช้ขอมูลรีโมทเซนซิงในประเทศไทย

1. 1. ป่าไม้ การติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศพบว่า ในปี พ.ศ. 2516 มีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 43.20 ของประเทศ ส่วนปี 2543 เหลือเพียงร้อยละ 33.33 โดยเฉพาะในเขตพืนที่ป่าต้นน้ำลำธาร นอกจากนี้ยังนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ในด้านการจแนกชนิดของป่า สำรวจหาพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ การศึกษาด้านไฟป่า การหาพื้นที่เหมาะสำรหรับการปลูกสร้างสวนป่าทดแทนบริเวณพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุก

2. 7. ภัยพิบัติธรรมชาติ ประเทศไทยมักประสบปัญหาเกี่ยวกับอุบัติภัยทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย และแผ่นดินถล่ม เป็นต้น ซึ่งภาพจากดาวเทียมช่วยทำให้เราทราบขอบเขตบริเวณที่เกิดอุบัติภัยได้รวดเร็ว รวททั้งช่วยในการติดตามและประเมินผลเสียหายเบื้องต้นเกี่ยวกับอุบัติภัยต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการชวยเหลือและฟื้นฟูต่อไปได้ ตัวอย่างเช่น อุทกภัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี่ พ.ศ. 2531 วาตภัยที่จังหวัดชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2532 และแผ่นดินถล่มบริเวณ ตำบลน้ำก้อและน้ำชุนจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2543

3. 8. วางผังเมือง ปัจจุบันภาพถ่ายดาวเทียมมีความละเอียดเชิงพื้นที่เทียบเท่ากับภาพถ่ายทางอากาศ เช่น ภาพจากดาวเทียม IKONOS ที่มีความละเอียด 1 เมตร ซึ่งเหมาะสมในการประยุกต์ใช้ในการวางผังเมืองของชุมชนที่อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ และการเคลื่อนย้ายเมืองที่มีความแออัดไปอยู่ในที่แห่งใหม่ ตลอดจนการออกแบบถนนหลวง ไฟฟ้า ประปา และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เหมาะสม

4. 9. การประมง ใช้ในการสำรวจหาพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทต่างๆ รวมถึงการหาแหล่งที่อยู่อาศัยของปะการังใต้ทะเล การกระจายตัวของแพลงตอนพืชและสัตว์

5. 10. สิ่งแวดล้อม ใช้ในการตรวจสอบน้ำเสียที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ตรวจสอบบริเวณที่ครอบคลุมด้วยควันพิษ ตรวจดูผลเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือตรวจสอบสภาวะความเข้มข้นของแก๊สต่างๆ ในชั้นบรรยากาศ

6. 11. การทำแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียมเป็นภาพที่ทันสมัยที่สุดสามารถนำไปแก้ไขแผนที่ภูมิประเทศได้อย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องเป็นที่ยอมรับ เช่น ภาพจากดาวเทียม QuickBird ที่มีรายละเอียดเชิงพื้นที่เท่ากับ 61 เซนติเมตร ทำให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องทางตำแหน่งและรูปทรงเรขาคณิตในระดับสูง นอกจากนี้ภาพถ่ายดาวเทียมสามารถแสดงลักษณะภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนเส้นทางคมนาคม หรือสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้ได้แผนที่ที่ทันสมัยเพื่อการวางแผนที่รวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

7. 2. การเกษตร การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมทางด้านการเกษตรส่วนใหญ่จะใช้ศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปัง สวนยางพารา สับปะรด อ้อย และ ข้าวโพด การสำรวจตรวจสอบสภาพของพืชที่ปลูก การเปลี่ยนแปลงบริเวณเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ตลอดจนการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตร

8. 3. การใช้ที่ดิน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำเกษตรกรรม เหมืองแร่ การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน การจำแนกความเหมาะสมดิน (Land Suitability) ตลอดจนการจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตการใช้ที่ดินแต่ละประเภท ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตาม ฤดูกาลและสภาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

9. 4. ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน การจัดทำแผนที่ภูมิสันฐานวิทยาและแผนที่ภูมิพฤษศาตร์ (Mapping geomorphology and gebtany) แผนที่ธรณีวิทยา (Geology map) ตรวจสอบภาวะธรรมชาติของดิน หินและบริเวณเกิดแผ่นดินไหว การวิเคราะห์ธรณีสันฐานและการระบายน้ำ (Landform and drainage analysis) ธรณีโคร้างสร้างของประเทศไทยซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสนับสนุนในการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ เช่น การหาแหล่งแร่ แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น

10. 5. อุทกวิทยา การศึกษาในด้านอุทกวิทยา อาจรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับ อุทกภาพ ซึ่งหมายถึงแหล่งน้ำทั้งบนบก ในทะเล น้ำบนดินและน้ำใต้ผิวดิน ซึ่งรวมไปถึงแหล่งน้ำ ปริมาณ คุณภาพ ทิศทางการไหล การหมุนเวียน ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับทรัพยากรน้ำ ภาพถ่ายดาวเทียมจะให้ข้อมูลแหล่งที่ตั้ง รูปร่าง และขนาดของแหล่งน้ำผิวดินเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับติดตามประเมินผลการบำรุงรักษาระบบและการจัดสรรน้ำของโครงการชลประทานต่างๆ การศึกษาด้านการใช้น้ำแลการบำรุ่งรักษเขื่อน รวมทั้งการสำรวจบริเวรที่ราบที่จะเกิดน้ำท่วมและสภาวะทน้ำท่วม

11. 6. สมุทรศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับการไหลเวียนของน้ำทะเล ตะกอนในทะเลและคุณภาพของน้ำบริเวณชายฝั่ง เช่น การแพ่กระจายของตะกอนแขวนลอยที่เกิดจากกิจกรรมเหมืองแร่ในทะเล นอกจากนี้ได้ศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำต่างๆ ของอ่าวไทย รวมทั้งการติดตามการพังทลายของชายฝั่งทะเล