การสัมมนา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การสัมมนา by Mind Map: การสัมมนา

1. ลักษณะของการสัมมนาที่ดี

1.1. 1. มีจุดมุ่งหมายในการสัมมนาที่ชัดเจน และผู้ร่วมสัมมนาทุกคนต้องทราบจุดมุ่งหมายนั้น

1.2. 2. จัดเพื่อเสริมความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ไขปัญหาร่วมกัน

1.3. 3. มีอุปกรณ์ในการสัมมนาและการอำนวยความสะดวกที่ครบถ้วน

1.4. 4. ผู้นำการสัมมนาต้องมีความเป็นผู้นำ สันทัด ชัดเจน และมีคุณภาพ

1.5. 5. สมาชิกในการร่วมสัมมนามีความเป็นประชาธิปไตยสูง เคารพผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความกระตือรือร้น และปฏิบัติตามกติกาของการสัมมนา

1.6. 6. ผลที่ได้จากการสัมมนา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งต่อสมาชิกเอง หน่วยงาน หรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง

2. รูปแบบการจัดสัมมนา

2.1. 1. การอภิปราย การประชุมกลุ่มย่อย

2.1.1. ประเภทของการอภิปราย

2.1.1.1. 1. การอภิปรายกลุ่ม

2.1.1.1.1. เป็นการอภิปรายที่ใช้คนไม่จำกัดจำนวน ผู้อภิปรายเป็นผู้พูดและผลัดกันเป็นผู้ฟัง ผู้อภิปรายจะมีจำนวนไม่เกิน 20 คน การอภิปรายแบบนี้มักใช้กันมากในวงการศึกษาหรือหน่วยราชการทั่วไป

2.1.1.2. 2. การอภิปรายในที่ชุมชน

2.1.1.2.1. 2.1 การอภิปรายแบบพาเนล

2.1.1.2.2. 2.2 การอภิปรายแบบซิมโปเซียม

2.1.1.2.3. 2.3 การอภิปรายแบบปุจฉา - วิสัชนา

2.1.1.3. 3. การอภิปรายแบบโต้วาที

2.1.1.3.1. เป็นการอภิปรายแบบโต้แย้งกันอย่างมีเหตุผล โดยมีผู้ค้านฝ่ายหนึ่งและผู้เสนออีกฝ่ายหนึ่งหาเหตุผลมาหักล้างความคิดซึ่งกันและกัน ฝ่ายใดมีเหตุผลมากกว่าฝ่ายนั้นก็จะชนะ โดยมีประธานเป็นผู้ตัดสินให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย วิธีนี้ส่วนมากใช้ในการประชุมพิจารณาเรื่องสำคัญหรือใช้ในที่ประชุมสภา

2.2. 2. รูปแบบการสัมมนาโดยใช้เทคนิคอื่นๆ

2.2.1. การบรรยาย

2.2.2. การอบรมระยะสั้น

2.2.3. การปฐมนิเทศ

2.2.4. การสาธิต

2.2.5. สถานการณ์จำลอง

2.2.6. การแบ่งกลุ่มเล็ก

3. ความหมาย

3.1. การสัมมนา เป็นการประชุมหรือรวมกลุ่มเพื่อหาวิธีหรือหนทางในการแก้ปัญหา ซึ่งทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี การสัมมนาสามารถเป็นบทเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการร่วมแสดงความคิดเห็น พัฒนาตนเองเพื่อให้มีข้อมูลมาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

4. ความสำคัญ

4.1. การพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการให้เกิดรูปแบบการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ให้เกิดความรู้ แนวคิด ประสบการณ์โดยการพูดคุย บรรยาย ซักถาม อภิปราย ระดมความคิดเห็นภายในกลุ่ม

5. วัตถุประสงค์

5.1. 1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา

5.2. 2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

5.3. 3. เพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหาหรือแนวทางปฏิบัติร่วมกัน

5.4. 4. เพื่อให้ได้แนวทางประกอบการตัดสินใจ

5.5. 5. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ร่วมเข้าสัมมนานำหลักการวิธีการที่ได้เรียนรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์

6. ประโยชน์

6.1. 1. แลกเปลี่ยนข้อมูล ทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆ

6.2. 2. แก้ไขปัญหาโดยผนึกความคิด ความรู้ และประสบการณ์ของหลายคน

6.3. 3. ช่วยให้ผู้สัมมนาได้ฟังแนวคิดของผู้อื่น ทำให้มีทัศนะที่กว้างขึ้น

6.4. 4. เป็นการช่วยผ่อนผันหรือทุเลาปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้

6.5. 5. ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ

7. องค์ประกอบ

7.1. 1. ด้านเนื้อหา

7.1.1. ต้องมีจุดมุ่งหมายของการจัดสัมมนาอย่างชัดเจน มีเรื่องที่จะนำมาจัดสัมมนา มีหัวข้อเรื่องเพื่อให้การสัมมนามีทิศทาง มีกำหนดการสัมมนา และมีผลสรุปที่ได้จากการสัมมนา

7.2. 2. ด้านบุคลากร

7.2.1. หมายถึง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนา เช่น วิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนาและผู้ดำเนินการจัดสัมมนา

7.3. 3. ด้านสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆและองค์ประกอบด้านงบประมาณ

7.3.1. เช่น สถานที่ทำกิจกรรม อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสัมมนา

7.4. 4. ด้านเวลา

7.4.1. ผู้จัดการสัมมนาควรวางแผนในเรื่องวัน เวลา ระยะเวลาในการสัมมนา และกำหนดรูปแบบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนาในครั้งนั้นๆ