เศรษฐกิจและสังคม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เศรษฐกิจและสังคม by Mind Map: เศรษฐกิจและสังคม

1. ทางด้านการค้ากับต่างประเทศนั้นกรุงธนบุรีอยู่ในทำเล ที่เหมาะสมสามารถเป็นเมืองท่าติดกับต่างประเทศได้สะดวก เพราะการเป็นเมืองท่าของ กรุงธนบุรีนี้มีความสำคัญ ต่อการตั้งตัวใหม่มาก เพราะจำเป็นต้องพึ่งพาเสบียงอาหารจากภายนอก ซึ่งปรากฏว่าการค้าทำให้เศรษฐกิจของกรุงธนบุรีดีขึ้นมาก ช่วยแก้ไขปัญหาข้าวยากหมากแพงได้หลายครั้ง 

2. เศรษฐกิจ ผลจากการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน วันที่7 เมษายน พ.ศ.2310 ปรากฏว่าบ้านเมืองมีสภาพ คล้ายเมืองร้าง บ้านเรือน ไร่นาถูกทอดทิ้ง ราษฏรจำนวนน้อย ที่รอดจากความตายและการ กวาดต้อนของพม่า ผู้คนอยูในสภาพอดอยากทั่วไปการกินอยู่ในสภาพแร้นแค้น ขาดทั้งอาหารและเครื่องนุ่งห่มสิ่งเหล่านี้ เป็นปัญหาเร่งด่วน ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต้องทรงแก้ไขและส่งเสริมภาวะเศรษฐกิจพร้อมกันไป

3. สภาพสังคมมีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือ มีการแบ่งชนชั้นศักดินา 1. พระมหากษัตริย์ มีศักดินา 100000 ไร่ 2. พระบรมวงศานุวงศ์ มีศักดินา 10000 ไร่ 3. ขุนนาง มีศักดินา 1000 ไร่ 4. ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม มีศักดินา 25ไร่ 5. ทาส มีศักดินา 5 ไร่

3.1. ผู้คนในกรุงธนบุรีถูกควบคุมโดยการสักเลก - ไพร่หลวง ซึ่งมีหน้าที่รับราชการปีละ 6 ซึ่งสมัยก่อน เรียกว่า เข้าเดือนออกเดือน - ไพร่หลวงอีกพวกหนึ่งเรียกว่า ไพร่ส่วย คือเป็นไพร่ที่ส่งส่วย เป็นสิ่งของหรือเงินแทนการรับใช้แรงงานแก่ทางราชการ -ไพร่สม เป็นไพร่ที่สังกัดมูลนายรับใช้แต่เจ้านายของตนเอง เพราะพวกนี้ถูกแยกเป็นอีกพวกหนึ่งเด็ดขาดไปเลย

3.2. การสักเลกก็เพื่อเป็นการ ลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็นไพร่หลวง เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนี

4. ภาวะเศรษฐกิจตอนต้นราชการ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขึ้นครองราชย์สมบัติ บ้านเมืองกำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด ขาดแคลนข้าวปลาอาหาร เกิดความอดอยากยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งชิงอาหารอยู่ทั่วไป 

4.1. ความขาดแคลนในระยะนั้น ได้ทวีความรุนแรง ถึงกับมีผู้คนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ด้วยกุศโลบายอันหยาบคายทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว

5. การทำนาก็ยังไม่ได้ผล เพราะฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ในการขจัดปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีวิธี แก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือทรงรับซื้อข้าวจากพ่อค้า จากเรือสำเภา

6. พระเจ้าตากสินได้ดำเนินวิธีการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจดังนี้

6.1. 1. ทรงสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากต่างชาติที่นำมาขาย แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับราษฎรเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 2. ทรงเร่งรัดการทำนา เพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอ โดยการสนับสนุน ให้ข้าราชการทำนาปรัง 3. ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ เพื่อนำรายได้มาใช้ เกี่ยวกับการทำสงครามและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม รายได้เกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ การเก็บภาษีเบิกร่อง หรือค่าปากเรือ ภาษีขาเข้า - ภาษีขาออก 4. ทรงดำเนินนโยบาย ประหยัด โดยการใช้ของที่เป็นเครื่องอุปโภค บริโภค ให้คุ้มค่ามากที่สุด

7. ด้านสังคม

7.1. การแบ่งชนชั้น

7.1.1. 1. พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม 2. พระบรมวงศานุวงศ์ 3. ขุนนางข้าราชการ 4. ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม 5. ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบ