แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ by Mind Map: แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่1 (พ.ศ. 2504-2509)สาระสำคัญ มีดังนี้ (1) เน้นการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ ทางหลวงแผนดิน ทางรถไฟ ประปา ไฟฟ้า และ เขื่อนชลประทาน เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนอุบลรัตน์ (2) ส่งเสริมการลงทุนของเอกชนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการนำเข้า (3) จัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯ เศรษฐกิจขยายตัวสูง มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่เกิดปัญหาการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม เพราะผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเป็นคนส่วนน้อยที่อยู่ในเมืองและเป็นผู้มีโอกาสทางเศรษฐกิจ

2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)สาระสำคัญ มีดังนี้ (1) เน้นการพัฒนาชนบท เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยขยายบริการพื้นฐานของรัฐไปสู่ชนบทให้มากขึ้น เช่น การสาธารณสุข การสาธารณูปโภค ฯลฯ แก้ไขปัญหาการว่างงาน และเร่งการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม (2) ฟื้นฟูฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ลดการขาดดุลการค้า เร่งระดมเงินออม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และกระจายอุตสาหกรรมไปยังส่วนภูมิภาค ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯสรุปได้ดังนี้ (1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด เนื่องมาจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก การแข่งขันและการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ (2)เกิดปัญหาขาดเสถียรภาพทางการเงิน เพราะการใช้จ่ายเกินตัวทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน และขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง (3)ความเสื่อมโทรมในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)มีสาระสำคัญ คือ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11เน้นการพัฒนาให้เกิด “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยความเสมอภาคเป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ดังนี้ (1.) เร่งสร้างความสงบสุขให้สังคมโดยร่วมมือกันสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขส่งเสริมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นหลักปฏิบัติร่วมกันทั้งสังคมพร้อมทั้งเสริมสร้างภาคราชการการเมืองและประชาสังคมให้เข้มแข็งภายใต้หลักประชาธิปไตยที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นที่เชื่อมั่นและไว้วางใจของประชาชน (2.) มุ่งพัฒนาคนให้มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มั่นคงและสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆในโลกได้อย่างต่อเนื่องพัฒนาความสามารถสติปัญญาและจิตใจให้พร้อมสำหรับการพัฒนาประเทศสู่สังคมฐานความรู้ (3.) เพิ่มชนชั้นกลางให้กระจายทุกพื้นที่ของประเทศเพราะชนชั้นกลางเป็นกำลังสำคัญในการประสานประโยชน์และพัฒนาประเทศที่มีความสมดุลพร้อมทั้งส่งเสริมให้ทุกชนชั้นรู้จักหน้าที่ของตนเองและร่วมกันพัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าและน่าอยู่ (4.) พัฒนาภาคเกษตรให้คงอยู่กับสังคมไทยและผลิตอาหารให้เพียงพอสำหรับทุกคน เร่งพัฒนาความสามารถของเกษตรกรในการผลิตพืชอาหารที่มีคุณภาพในปริมาณมากพอที่จะเลี้ยงดูคนในประเทศและส่งเป็นสินค้าออกสนองความต้องการของประเทศต่างๆสามารถเป็นผู้นำการผลิตและการค้าในเวทีโลกรวมทั้งรักษาความโดดเด่นของอาหารไทยที่ต่างประเทศชื่นชอบ (5.) ปรับปรุงการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตเกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) สาระสำคัญ มีดังนี้ (1.)ได้อัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดทางสายกลาง ความพอประมาณ และความมีเหตุผล เพื่อให้ประเทศรอดพ้นวิกฤติและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (2.) ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ทั้งภาคการเงินและการคลัง ให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้ (3.) วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้ และรู้เท่ากันโลก โดยพัฒนาคุณภาพคน ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปสุขภาพ สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน มีการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (4.) แก้ไขปัญหาความยากจน โดยเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา การประกอบอาชีพ การมีรายได้ และยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 10. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง

5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519)สาระสำคัญ มีดังนี้ (1) เน้นการพัฒนาสังคมมากขึ้น ทั้งการศึกษา การอนามัยและสาธารณสุข (2) กำหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรเป็นครั้งแรก ให้เหลือร้อยละ 2.5 ต่อปี เมื่อสิ้นแผนฯ (3) กระจายความเจริญสู่ชนบทให้มากขึ้น และเน้นการกระจายรายได้ให้เป็นธรรม ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯเกิดปัญหาอุปสรรคในเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศ (ฝนทิ้งช่วง) การขึ้นราคาน้ำมันครั้งใหญ่ และความผันผวนทางการเมือง โดยเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้เศรษฐกิจของประเทศซบเซาและมีการว่างงานสูง

6. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)สาระสำคัญ มีดังนี้ (1) เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน และสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจควบคู่กับสังคม (2) เน้นรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ โดยพัฒนาการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการส่งออก (3) เน้นการกระจายรายได้และพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท (4) เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม (5) เน้นพัฒนากฎหมาย รัฐวิสาหกิจ และระบบราชการ ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯสรุปได้ดังนี้ (1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปตามเป้าหมาย รายได้ประชาชาติและรายได้เฉลี่ยของประชากรเพิ่มสูงขึ้น (2) การแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ยังไม่ได้ผล ช่องว่าในรายได้ระหว่างคนเมืองกับคนในชนบทยิ่งห่างกันมากขึ้น