ประเภทของการวิจัย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ประเภทของการวิจัย by Mind Map: ประเภทของการวิจัย

1. การแบ่งตามเกณฑ์อื่น ๆ

1.1. อาจแบ่งประเภทของการวิจัยตามเกณฑ์อื่น ๆ ที่แตกต่างจากที่กล่าวมาทั้งหมด เช่น แบ่งตามเกณฑ์วิชาชีพ อาจแบ่งได้เป็นการวิจัย สาธารณสุข การวิจัยทางพยาบาล การวิจัยธุรกิจ การวิจัยด้านประชาสัมพันธ์ ฯลฯ หรือการจําแนกประเภทตามเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจําแนกประเภทการวิจัยเป็น 3 กลุ่ม คือ การวิจัยบริสุทธิ์ หรือการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ และการวิจัยเชิงพัฒนา ทางการทดลอง นอกจากนี้อาจแบ่งประเภทตามลักษณะที่ต้องการศึกษา ที่มาของความรู้ ชนิดของ ข้อมูล หรือแบ่งประเภทตามประโยชน์ในการนําผลวิจัยไปใช้ ฯลฯ เป็นต้น

2. การแบ่งตามลักษณะวิชา

2.1. การวิจัยทางสังคมศาสตร์

2.1.1. สังคมศาสตร์ เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมชุมชน สังคม ชนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม พฤติกรรมของมนุษย์ การเมือง การปกครอง เป็นต้น

2.2. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

2.2.1. เป็นการวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติรวมทั้งสิ่งที่มองเห็นได้ มีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น สัตว์ พืช แร่ธาตุต่าง ๆ และสิ่งที่มองเห็นไม่ได้ เช่น ระบบสุริยะ พลังงาน

3. การแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัยและลักษณะข้อมูล

3.1. การวิจัยเชิงคุณภาพ

3.1.1. เน้นการศึกษาหาความรู้ที่เป็นความจริง ตามกระบวนการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นเชิงพรรณนาเชิงอักษรซึ่งมีหลักฐานเอกสารอ้างอิง

3.2. การศึกษาทางมานุษยวิทยา

3.2.1. มุ่งหาข้อความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ กลุ่มอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มของตน โดยการเข้าไปอาศัยหรือมีส่วนร่วมในสังคมนั้นเพื่อช่วย ให้รู้จักและเข้าใจถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนกลุ่มนั้นในบริบทที่เขาเป็นอยู่

3.3. การศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณา

3.3.1. เป็นการศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียดครอบคลุม พร้อมทั้งมีการวิเคราะห์ ตีความหมายข้อมูลที่ได้รับ

3.4. การศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณาระดับแคบ

3.4.1. เป็นการศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มคนหรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งในวงแคบ เช่น ครูใหญ่ ครู นักเรียน เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในระบบการปฏิสัมพันธ์ และแบบแผนทางสังคมที่เกิดขึ้น

3.5. การศึกษาปรากฏการณ์

3.5.1. เป็นการศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของกลุ่มคนที่มีลักษณะพิเศษ เช่น นักการเมือง นักโทษ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ฯลฯ โดยเน้นที่ระบบคุณค่าและความหมายของปัจเจกบุคคล เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจบุคคลนั้น ๆ

3.6. การวิจัยเชิงปริมาณ

3.6.1. เน้นการศึกษาหาความรู้ความจริงตามกระบวนการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นตัวเลข ค่าสถิติ

3.6.1.1. การวิจัยเชิงบรรยาย

3.6.1.1.1. มุ่งศึกษาตัวแปรตามสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ โดยไม่ควบคุมความผันแปรด้วยการจัดกระทํา

3.6.1.2. การวิจัยเชิงทดลอง

3.6.1.2.1. มุ่งศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยการจัดกระทํา ให้เกิดสภาพการณ์ขึ้น และควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

4. การแบ่งตามลักษณะการจัดกระทําต่อข้อมูล

4.1. การวิจัยเชิงธรรมชาติ

4.1.1. การวิจัยที่ผู้วิจัยไม่เข้าไปมีบทบาทในการจัดกระทําใด ๆ กับเรื่องที่ศึกษา ผู้วิจัยเป็นเพียงผู้สังเกตและเก็บข้อมูลตามสภาพที่เป็นจริง

4.2. การวิจัยเชิงทดลอง

4.2.1. การวิจัยเชิงทดลอง

4.2.1.1. เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างสถาน การณ์หรือเงื่อนไขที่จะทดลองขึ้น โดยพยายามควบคุมตัวแปรอิสระอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องแล้วสังเกตหรือวัดผลตัวแปรตามออกมา

4.2.2. การวิจัยกึ่งทดลอง

4.2.2.1. เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรอิสระที่ไม่ต้องการได้เพียง บางตัวเท่านั้น จึงทําให้เกิดความจํากัดในการสรุปผล

5. การแบ่งตามเงื่อนไขเวลา

5.1. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

5.2. การวิจัยเชิงบรรยาย

5.2.1. การศึกษาสํารวจ

5.2.1.1. มุ่งศึกษาถึงลักษณะความเป็นจริงตามสภาพในเรื่องต่าง ๆ โดยมุ่งประมวลข้อมูลและรายงานว่ามีลักษณะอะไรอยู่บ้างในสภาพการณ์นั้น ๆ ซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์

5.2.2. การศึกษาความสัมพันธ์

5.2.2.1. การศึกษาเฉพาะกรณี

5.2.2.1.1. เป็นการศึกษาติดตามประเด็นใดประเด็นหนึ่งโดยเฉพาะอย่างละเอียด

5.2.2.2. การศึกษาติดตามผล

5.2.2.2.1. เป็นการติดตามศึกษาเก็บข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งได้เริ่มดําเนินการไปแล้ว เพื่อดูผลที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

5.2.2.3. การศึกษาเปรียบเทียบ

5.2.2.3.1. เป็นการศึกษาที่มุ่งหาข้อความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบระหว่างเรื่องหรือข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในเรื่องหรือข้อมูลนั้นชัดเจนขึ้น

5.2.2.4. การศึกษาสหสัมพันธ์

5.2.2.4.1. เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหลาย ๆ ตัว เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์นั้น ๆ มากขึ้น

5.2.2.5. การวิเคราะห์เอกสาร

5.2.2.5.1. เป็นการศึกษาที่มุ่งวิเคราะห์สาระของสารในบริบทที่เป็นอยู่ของสารนั้น โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ในสารนั้น

5.3. การศึกษาพัฒนาการ

5.3.1. การศึกษาความเจริญเติบโต

5.3.1.1. การศึกษาระยะยาว

5.3.1.1.1. เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องดูสิ่งที่ต้องการศึกษาตลอดระยะเวลาที่ทําการวิจัย

5.3.1.2. การศึกษาแบบตัดขวาง

5.3.1.2.1. เป็นการศึกษาพัฒนาการโดยเฉลี่ยของทุกระดับพัฒนาการพร้อม ๆ กัน

5.3.2. การศึกษาแนวโน้ม

5.3.2.1. เป็นการศึกษาที่มุ่งข้อความรู้เกี่ยวกับอนาคต โดยการนําข้อมูลจากการศึกษาและวิเคราะห์สภาพการณ์ในอดีตและปัจจุบัน มาใช้ในการทํานายอนาคต

6. การแบ่งตามปรัชญาพื้นฐาน

6.1. การวิจัยเชิงปริมาณ

6.2. การวิจัยเชิงคุณภาพ

6.3. การวิจัยแบบผสมผสาน

6.3.1. การวิจัยแบบผสมผสานเชิงยืนยัน

6.3.1.1. เป็นการทําวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพคู่ขนานในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อวิเคราะห์และผนวกข้อค้นพบในการตอบคําถามเดียวกัน

6.3.2. การวิจัยแบบผสมผสานเชิงฝังในขยายความ

6.3.2.1. เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพคู่ขนานในช่วงเวลาเดียวกัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยหนึ่งเป็นแนวทางหลัก ในขณะที่ระเบียบวิธีวิจัยอีกวิธีหนึ่งเป็นตัวเสริมเพื่อตอบข้อคําถามที่แตกต่างกัน

6.3.3. การวิจัยแบบผสมผสานเชิงอธิบายขยายความ

6.3.3.1. เป็นการวิจัยที่แยกระเบียบวิธีวิจัยเป็นสองระยะ โดยระยะแรกเป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณแล้วตามด้วยการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ

6.3.4. การวิจัยแบบผสมผสานเชิงสํารวจเพิ่มเสริมข้อมูล

6.3.4.1. เป็นการวิจัยที่แยกการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นสองระยะ โดยระยะแรกเป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพแล้วตามด้วยการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ

7. การแบ่งตามผลลัพธ์ที่ต้องการ

7.1. การวิจัยเชิงวิชาการ

7.1.1. เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ

7.2. การวิจัยและพัฒนา

7.2.1. เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง

7.3. การวิจัยเพื่อท้องถิ่น

7.3.1. เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของชาวบ้านในลักษณะที่เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่ม โดยการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาของท้องถิ่น หรือการพัฒนาท้องถิ่น

8. การแบ่งตามศาสตร์ที่ศึกษา

8.1. การวิจัยเฉพาะศาสตร์

8.1.1. เป็นการวิจัยที่เน้นเฉพาะศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ ฯลฯ เป็นต้น

8.2. การวิจัยบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ

8.2.1. เป็นการวิจัยที่ต้องพิจารณาความรู้จากหลายศาสตร์ หลายสาขาวิชามาบูรณาร่วมกันในการทํางานวิจัยแต่ละเรื่อง เช่น การทํางานวิจัยด้านชุมชน การเมือง เพื่อให้ได้คําตอบที่ตรงประเด็นคําถามวิจัยและสามารถนําผลวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

9. การแบ่งการวิจัยตามจุดมุ่งหมาย หรือประโยชน์ของการวิจัย

9.1. การวิจัยพื้นฐาน

9.2. การวิจัยประยุกต์

9.2.1. การวิจัยเชิงพัฒนาการ

9.2.1.1. มุ่งพัฒนาผลิตผลให้มีประสิทธิผลในการนําไปใช้ตามสถานการณ์ที่กําหนด

9.2.2. การวิจัยเชิงประเมิน

9.2.2.1. มุ่งตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อสรุปประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกิจกรรม หรือโครงการสําหรับการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

9.2.3. การวิจัยชั้นเรียน

9.2.3.1. ทําในบริบทของชั้นเรียนและมุ่งนําผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนของตน

9.2.4. การวิจัยนโยบาย

9.2.4.1. มุ่งศึกษาหาข้อความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายในด้านต่าง ๆ โดยอาศัยวิธีการที่หลากหลายตามความเหมาะสม เพื่อนําผลไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการวางนโยบาย การนํานโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผล

9.2.5. การวิจัยสถาบัน

9.2.5.1. มุ่งศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแต่ละสถาบัน เพื่อนําข้อค้นพบต่าง ๆ เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ สําหรับประกอบการวางแผน การกําหนดนโยบาย รวมทั้งการตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละสถาบันโดยเฉพาะ

10. การแบ่งตามวัตถุประสงค์

10.1. โดย จูเลียน ไซมอน

10.1.1. การวิจัยเชิงพรรณนา

10.1.1.1. มุ่งอธิบายลักษณะของบุคคล กลุ่มคน หรือสภาวการณ์ต่างๆ

10.1.2. การวิจัยแบบจําแนก

10.1.2.1. มุ่งจําแนกกลุ่มคนหรือสิ่งของออกเป็นหมวดหมู่ที่จัดไว้ตามประเภทหรือลักษณะที่กําหนด

10.1.3. การวิจัยแบบวัดผล หรือประมาณค่า

10.1.3.1. มุ่งที่จะกําหนดขนาดของปรากฏการณ์ในมิติใดมิติหนึ่งหรือมากกว่า เช่น น้ำหนัก ความสูง ความเร็ว สติปัญญา จํานวนสมาชิก หรืออย่างอื่น ทั้งนี้อาจเพื่อการจําแนกไว้ให้เป็นหมวดหมู่หรือหาค่าเฉลี่ย

10.1.4. การวิจัยแบบเปรียบเทียบ

10.1.4.1. มุ่งจะเปรียบเทียบตัวแปร หรือปรากฏการณ์ต่างๆ 2 อย่างหรือมากกว่าขึ้นไป

10.1.5. การวิจัยแบบสัมพันธ์

10.1.5.1. การหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์

10.1.5.1.1. คะแนนการทดสอบจะสัมพันธ์กับความสําเร็จของการเรียนต่อไปในอนาคตหรือไม่

10.1.5.2. การหาสาเหตุและผล

10.1.5.2.1. การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเป็นมะเร็งในปอดหรือไม่

10.1.6. การวิจัยแบบจัดระบบ

10.1.6.1. เป็นการวิจัยเพื่ออธิบาย แต่เน้นการจัดระบบมากกว่า เช่น การศึกษาระบบโครงสร้างของกลุ่ม หรือวงศ์ตระกูลว่าใครเกี่ยวข้องกับใครในทางใด หรือการศึกษาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

10.2. โดย แคลร์ เซลทิช

10.2.1. การวิจัยแบบสํารวจ

10.2.1.1. ศึกษาปรากฏการณ์ สภาวะทั่วๆ ไปของปรากฏการณ์ต่างๆ และนํามาเป็นพื้นฐานในการกําหนดปัญหาการวิจัยหรือตั้งสมมติฐาน

10.2.2. การวิจัยแบบทดสอบสมมติฐาน

10.2.2.1. ทดสอบสมมติฐาน เพื่อหาความสัมพันธ์ด้านสาเหตุและผลระหว่างตัวแปรต่างๆ

11. การแบ่งตามวัตถุประสงค์พื้นฐานและกรรมวิธีในการวิจัย (โดย ฟิลิค ลิเบรโร)

11.1. แบ่งตามวัตถุประสงค์พื้นฐานของการวิจัย

11.1.1. การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์

11.1.1.1. เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆ มุ่งผลระยะยาว ใช้เวลาในการวิจัยมาก มักเกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านศาสตร์ หรือทฤษฎีของศาสตร์แต่ละสาขา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา จิตวิทยา เป็นต้น

11.1.2. การวิจัยประยุกต์

11.1.2.1. เป็นการวิจัยที่มุ่งแสวงหาความจริงเกี่ยวกับปัญหาวิธีการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้ความจริงที่เป็นคําตอบซึ่งสามารถนําผลมาใช้ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง

11.1.2.1.1. การวิจัยเชิงทดลอง

11.1.3. การวิจัยกิริยาหรือเชิงปฏิบัติ

11.1.3.1. มุ่งหมายเน้นการนําผลการวิจัยไปใช้ในทันที

11.2. แบ่งตามกรรมวิธีในการวิจัยโดยเฉพาะ

11.2.1. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

11.2.1.1. มุ่งหวังที่จะค้นคว้าหาข้อสรุปที่จะช่วยทําความเข้าใจเหตุการณ์ในปัจจุบัน และกําหนดขอบเขตที่จะทํานายหรือคาดการณ์ในอนาคต

12. การแบ่งตามระดับการควบคุม (โดย เย็นใจ เลาหวณิช)

12.1. การศึกษาเป็นกรณี

12.1.1. เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง เพราะจะช่วยให้ทราบปัญหาได้ลึกซึ้ง

12.2. การวิจัยจากเอกสาร

12.2.1. ผู้วิจัยไม่มีโอกาสควบคุมเรื่องที่ตนจะวิจัย เพราะเป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ คือ รวบรวมข้อมูลของเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว และเป็นเรื่องที่น่าสนใจจะวิจัย

12.3. การวิจัยสนาม

12.3.1. ผู้วิจัยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ตนศึกษา โดยทําตัวให้ "เป็นกลาง" มากที่สุด แต่ระบบนั้นไม่ใช่กรณีเดียว แต่เป็นกลุ่มคนหรือสิ่งที่มีชีวิต/ไม่มีชีวิตอื่นๆ พยายามสังเกตกฎเกณฑ์ทั่วไป

12.4. การวิจัยแบบสร้างสรรค์

12.4.1. เพื่อสร้างสิ่งใหม่ หลักเกณฑ์ใหม่ ทฤษฎีใหม่ วิธีการใหม่ๆ

13. การแบ่งตามเนื้อหาที่ทําวิจัย

13.1. การวิจัยทางการศึกษา

13.2. การวิจัยทางเศรษฐกิจ

13.3. การวิจัยทางสาธารณสุข

13.4. การวิจัยทางการตลาด

14. การแบ่งตามระดับการควบคุมตัวแปร

14.1. การวิจัยที่ไม่ใช่เชิงทดลอง

14.1.1. การวิจัยเชิงสัมพันธ์

14.1.2. การวิจัยเชิงสาเหตุ

14.2. การวิจัยเชิงทดลอง

14.2.1. การวิจัยกึ่งทดลอง

14.2.2. การวิจัยเชิงทดลองแท้จริง