นิราศภูเขาทอง

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
นิราศภูเขาทอง by Mind Map: นิราศภูเขาทอง

1. เรื่องย่อ

1.1. สุนทรภู่เริ่มเรื่องด้วยการปรารภถึงสาเหตุที่ต้องออกจากวัดราชบุรณะ และการเดินทางโดยเรือพร้อมหนูพัดซึ่งเป็นบุตรชาย ล่องไปตามลำน้ำ เจ้าพระยาผ่านพระบรมมหาราชวัง จนมาถึงวัดประโคนปัก ผ่านโรงเหล้า บางจาก บางพลู บางโพ บ้านญวน วัดเขมา ตลาดแก้ว ตลาดขวัญ บางธรณี เกาะเกร็ด บางพูด บ้านใหม่ บางเดื่อ บางหลวง เชิงราก สามโคก บ้านงิ้ว เกาะใหญ่ราชคราม จนถึงกรุงเก่าเมื่อเวลาเย็น โดยจอดเรือพักที่ท่าน้ำวัดพระเมรุ ครั้นรุ่งเช้าจึงไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองส่วนขากลับ สุนทรภู่กล่าวแต่เพียงว่า เมื่อถึงกรุงเทพ ได้จอดเทียบเรือท่าน้ำหน้าวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

2. คุณค่า

2.1. คุณค่าด้านเนื้อหา

2.1.1. ๑.สะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแสดงให้เห็นถึงสภาพบ้านเมือง สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของผู้คน อาทิ ๑.๑. การติดต่อค้าขาย ภาพการค้าขายดำเนินไปอย่างคึกคัก ๑.๒. ชุมชนชาวต่างชาติ กล่าวถึงหญิงสาวชาวมอญ ซึ่งอาศัย อยู่ในย่านปากเกร็ด (เขตจังหวัดนนทบุรี) ๑.๓. การละเล่นและงานมหรสพ อาทิ งานลองผ้าป่า มีการประดับ ประดาโคมไฟ การขับเสภา ร้องเพลงเรือเกี้ยวกัน ๒ ตำนานสถานที่ อาทิ วัดประโคนปัก เหตุที่วัดชื่อว่าประโคนปัก เนื่องจากมีการเล่าสืบต่อกันมาว่าบริเวณนี้เป็นที่ปักเสาประโคนเพื่อ ปักเขตแดน ๓ ความเชื่อของไทย มักเกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ เรื่องนรก-สวรรค์ อาทิ ความเชื่อที่ว่าหากใครคบชู้ คือผู้นั้นจะตกนรกและ ต้องปีนต้นงิ้ว ๔.แง่คิดเกี่ยวกับความจริงในชีวิต บทประพันธ์ของสุนทรภู่มักได้รับการ ยกย่องอยู่เสมอว่ามีเนื้อหาที่สอดแทรกข้อคิด คติการดำเนินชีวิต และช่วย ยกระดับจิตใจของผู้อ่าน สุนทรภู่ยังให้แง่คิดเรื่องการเลือกคบคนว่า ไม่ควรประมาทและไมควรวางใจผู้ใดง่ายๆเนื่องจากบางคนพูดหรือ ทำให้เราเห็นว่าเขาเป็นคนดี แต่แท้จริงแล้วเขาอาจเป็นคนที่มีจิตใจไม่ดี

2.2. คุณค่าด้านวรรณศิลป์

2.2.1. 1.การเล่นเสียง 2.เปรียบเทียบลึกซึ้งกินใจ 3.การใช้คำเพื่อสร้างจินตภาพหรือ เกิดภาพพจน์ชัดเจน

3. ความเป็นมา

3.1. สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อราวปลาย พ.ศ. ๒๓๕๓ โดยเล่าถึง การเดินทางเพื่อไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองที่เมืองกรุงเก่าหรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน หลังจากจำพรรษาอยู่ที่ วัดราช-บุรณะหรือวัดเลียบ

4. ลักษณะคำประพันธ์

4.1. แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนนิราศซึ่งมีลักษณะคล้ายกลอนสุภาพ แต่มีความแตกต่างกันตรงที่กลอนนิราศจะแต่งขึ้นต้นเรื่องด้วย กลอนวรรครับและจะจบลงด้วยคำว่า”เอย”