12 วิธีประเมินการเรียนรู้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
12 วิธีประเมินการเรียนรู้ by Mind Map: 12 วิธีประเมินการเรียนรู้

1. 8.Concept map (ผังมโนทัศน์)

1.1. Concept Map คือแผนภาพแทนความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่มีความหมายระหว่างความคิดรวบยอดต่าง ๆ โดยอยู่ในรูปของข้อความ ทั้งนี้ข้อความอาจเป็นฉลากความคิดรวบยอดสองอัน หรือมากกว่านั้น ซึ่งมาเชื่อมโยงกันด้วยถ้อยคำที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ หรือความเกี่ยวข้องระหว่าง ความคิดรวบยอดนั้น ๆ และ Concept Map สามารถอยู่ในรูปแบบ ของแผนภูมิใยแมงมุม (Spider chart) แผนภูมิองค์กร (Organization chart) หรือ แผนผังสาย (flow diagram) ทั้งนี้รูปแบบของ Concept Map ที่มีประโยชน์มากสำหรับการเรียนการสอนมักจะเป็นรูปแบบที่เรียงลำดับตามความสำคัญ (Hierarchical organization) ที่วางความคิดรวบยอดทั่วไปและกว้างๆ กว่าอันอื่น ไว้ด้านบน แล้วจึงค่อยวางความคิดรวบยอดที่มีความชัดเจนและชี้เฉพาะมากขึ้น เป็นลำดับลงมาที่ด้านล่าง (ข้อมูลอ้างอิงจาก การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Concept Map หรือ ผังมโนทัศน์

2. 9.Journal (วารสาร)

2.1. เกณฑ์เชิงปริมาณในการประเมินคุณภาพวารสาร (ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/quality_TCI57.html)

2.1.1. เกณฑ์หลัก

2.1.1.1. บทความทุกบทความต้องมีการควบคุมคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) โดยมีข้อมูลประกอบ ดังนี้

2.1.1.1.1. สำเนาผลประเมินของผู้ทรงวุฒิที่เชิญพิจารณาบทความ

2.1.1.1.2. รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิของสำเนาผลประเมินของผู้ทรงวุฒิ ที่เชิญพิจารณาบทความ (ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์) โดยทาง TCI จะเก็บข้อมูลเป็นความลับ

2.1.2. เกณฑ์รอง

2.1.2.1. วารสารต้องมี citation ที่ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูล TCI

2.1.2.2. วารสารต้องมีกองบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลากหลายหน่วยงาน

2.1.2.3. วารสารต้องมีการกำหนดกติกาและรูปแบบการตีพิมพ์อย่างชัดเจน

2.1.2.4. วารสารต้องตีพิมพ์บทความที่มีผู้นิพนธ์มาจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

2.1.2.5. วารสารต้องมีการตีพิมพ์บทความที่มีรูปแบบการตีพิมพ์และรูปเล่มที่ได้มาตรฐาน ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ผู้นิพนธ์ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เอกสารอ้างอิงเป็นรูปแบบเดียวกัน

2.1.2.6. วารสารต้องมีเว็บไซต์ที่มีข้อมูลกติกาและรูปแบบการตีพิมพ์ และมีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

2.1.2.7. วารสารต้องมีระบบการส่งบทความแบบออนไลน์ หรือระบบ Online Journal System (OJS) ที่ไม่ใช่การส่งบทความโดยใช้อีเมล์

3. 10.Questioning (การใช้คำถาม)

3.1. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ข้อมูลอ้างอิงจาก การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method) )

4. 11.Conference

4.1. ขั้นตอนการประชุมปรึกษารายกรณี (ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.smartteen.net/main/_admin/download/20161202_095600.pdf )

5. 12.Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน)

5.1. เป็นวิธีการประเมินผลการเรียนการสอนอย่างหนึ่งที่อาศัยเทคนิควิธีจากการรวบรวมผลงานต่างๆ ของผู้เรียนเข้าด้วยกัน แล้วตัดสินผล ลงสรุปเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของผู้เรียนโดยพิจารณาจาก พัฒนาการเปลี่ยนแปลง ความพยายาม ความสนใจ เจตคติ และการปฏิบัติ แล้วส่งผลย้อนกลับไปสู่ผู้เรียนและผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้เรียน เข้าใจตนเอง รู้ถึงความสามารถ ศักยภาพและความก้าวหน้าของตนเอง แฟ้มผลงานที่ใช้ได้ผล คือ แฟ้มที่ทำให้เห็นว่า เจ้าของแฟ้มมีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาไปพร้อมกัน และทำให้เจ้าของแฟ้มมีพัฒนาการในหน้าที่ความรับผิดชอบของงานด้วย แฟ้มผลงานให้ค่าที่สะท้อนความสามารถทุกๆ ด้านของเจ้าของแฟ้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสะท้อนความสามารถทางความคิดอย่างเป็นระบบ (ข้อมูลอ้างอิงจาก http://ird.rmuti.ac.th/newweb/fmanager/files/5Tiwat.doc )

5.2. เป็นการประเมินวิธีหนึ่งของการประเมินตามสภาพจริงและผู้สอนยังสามารถประเมินผลการสอนได้จากแฟ้มผลงานของผู้เรียน

5.3. แฟ้มผลงานที่ใช้ได้ผล คือ แฟ้มที่ทำให้เห็นว่า เจ้าของแฟ้มมีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาไปพร้อมกัน และทำให้เจ้าของแฟ้มมีพัฒนาการในหน้าที่ความรับผิดชอบของงานด้วย แฟ้มผลงานให้ค่าที่สะท้อนความสามารถทุกๆ ด้านของเจ้าของแฟ้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสะท้อนความสามารถทางความคิดอย่างเป็นระบบ

5.4. แฟ้มผลงานที่ใช้ได้ผล คือ แฟ้มที่ทำให้เห็นว่า เจ้าของแฟ้มมีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาไปพร้อมกัน และทำให้เจ้าของแฟ้มมีพัฒนาการในหน้าที่ความรับผิดชอบของงานด้วย แฟ้มผลงานให้ค่าที่สะท้อนความสามารถทุกๆ ด้านของเจ้าของแฟ้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสะท้อนความสามารถทางความคิดอย่างเป็นระบบ )

6. 2.Checklist (ตรวจสอบรายการ)

6.1. แบบตรวจสอบรายการ (Check list) เป็นมาตรที่ใช้วัดพฤติกรรมโดยมีรายการให้ตรวจสอบ เป็นการสร้างแบบทดสอบจาก สังเกต เป็นรายการขั้นตอน กิจกรรม หรือพฤติกรรมที่ผู้สังเกตบันทึกเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น แบบตรวจสอบรายการต้องเป็นแบบที่ผู้สังเกตสามารถบันทึกได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ผู้สังเกตจะไม่ประเมินคุณภาพ ระดับหรือความถี่ของพฤติกรรมที่เกิดโดยเฉพาะแต่จะตรวจสอบว่ามีพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นเช่น มี/ไม่มี ทำ/ไม่ทำ และแบบตรวจสอบรายการเป็นการสร้างแบบทดสอบจากแบบข้อคำถามปลายปิด เป็นการสร้างรายการของข้อคำถามที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะของพฤติกรรม ข้อคำถามแต่ละข้อจะมีคำตอบอย่างน้อย 2 ตัวเลือกหรือมากกว่า 2 ตัวเลือกขึ้นไป บางข้อคำถามอาจให้เลือกคำตอบได้เพียงตัวเลือกเดียวแต่บางข้อคำถามอาจให้เลือกตอบได้มากกว่า 1 ตัวเลือก ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ (ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.gotoknow.org/posts/587305)

7. 3.Student Contract

7.1. Learning Contract

7.1.1. Learning Contract ข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือกลุ่มผู้เรียนกับผู้สอน (ข้อมูลอ้างอิงจาก Learning Contract & http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12776 )

7.1.1.1. The concept of contract learning "Contract learning is, in essence, an alternative way of structuring a learning experience: It replaces a content plan with a process plan." Malcolm S Knowles (1991, p.39).

7.1.1.2. Learning Contract สัญญาการเรียนรู้ จุฑารัตน์ คชรัตน์ กล่าวว่า Learning Contract คือ ข้อตกลงระหว่างผู้เรียน (หรือกลุ่มผู้เรรียน) กับผู้สอน (หรือทีมผู้สอน) เกี่ยวกับกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนหรือจะเป็นการเรียนอย่างอิสระ

7.1.1.2.1. ข้อ กฏหมาย ข้อตกลง สัญญาที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

7.1.2. “Education is a lifelong process of continuing inquiry and the development of skills needed for self-directed inquiry.”

8. 4.Self assessment (การประเมินตนเอง)

8.1. การพัฒนาทักษะในการประเมินตนเองเป็น หัวใจของการศึกษา (Boud 1995, Boud & Falchikov. 1989) ซึ่งสอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 มาตรา 22 ที่บอกว่า การศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. 2542) จะเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่กล่าวมานั้น ผู้เรียนถือว่าสําคัญ ที่สุด ทั้งในเรื่องความสามารถเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง (ข้อมูลอ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Self-assessment)

8.2. การประเมินตนเอง เป็นรูปแบบแนวใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Jean Piaget เป็น ผู้นําแนวคิดของการประเมินตนเองมาใช้เป็นคนแรก ในช่วงต้น ค.ศ.1900 Jean Piaget ได้นําแนวคิดทฤษฎี คอนสตัคติวิสต์ (Constructist Theory) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทํากิจกรรมและสร้างแนวคิดใหม่ ๆ บนพื้นฐานความรู้เดิมของแต่ละบุคคลมาพัฒนาแนวคิดการประเมินตนเอง โดยการศึกษาพฤติกรรมการ ปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว แล้วพัฒนาเป็นแนวคิดการประเมินตนเอง ซึ่งภายหลังแนวคิดนี้ได้รับ การศึกษาเพิ่มเติมและได้รับการสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นจากนักจิตวิทยาหลายท่านในระยะต่อมา เช่น บรูเนอร์และการ์ดเนอร์ ( Vygostky Bruner และ Gardner) (ข้อมูลอ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Self-assessment)

9. 5.Peer review

9.1. รูปแบบ

9.1.1. เกณฑ์การจัดประเภทของรูปแบบแบบที่ 1

9.1.1.1. Evaluation model โมเดลการประเมิน

9.1.1.2. Development model โมเดลการพัฒนา

9.1.1.3. Collaborative model โดยความร่วมมือรวมพลัง

9.1.2. เกณฑ์การจัดประเภทของรูปแบบแบบที่ 2

9.1.2.1. Formative peer review

9.1.2.2. Summative peer review

9.1.3. รูปแบบมีลัษณะเป็นการพิจารณ์แบบเปิด ยืดหยุ่น และกระบวนการไม่เป็นแบบสั่งการ เปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ให้แต่ละคนเลือกและสร้างเส้นทางตามความรู้ที่ตนเองมีอยู่ สนับสนุนให้มีการสะท้อนเชิงวิพากษ์ ช่วยให้แต่ละคนให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน (ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.rsu.ac.th/qa/public/upload/files/5.pptx)

10. 6.Observation (พิชญพิจารณ์)

10.1. การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการเยี่ยมชั้นเรียน เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ได้ผลเป็นอย่างดีในการนิเทศการศึกษา และเป็นที่นิยมนำไปใช้ในการนิเทศ โดยความเป็นจริง การนิเทศการศึกษาจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสังเกตไปใช้อยู่ด้วยเสมอ แต่จะต้องนำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม (ข้อมูลอ้างอิงจาก เทคนิคการนิเทศ: การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้(Classroom observation)

10.1.1. เช่น

10.1.1.1. การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ผลจากการสังเกตจะทำให้เห็นสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เห็นข้อดีและข้อเสีย ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งผู้นิเทศจะต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในวิชาคณิตศาสตร์ และเข้าใจเทคนิคและกระบวนการของการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และสามารถให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งครูสามารถนำคำแนะนำนั้นไปใช้ในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

10.2. แบ่งเป็นแบบกว้าง ๆ ได้ 2 แบบ (ข้อมูลอ้างอิงจาก https://home.kku.ac.th/sompong/cm2/observe.pdf)

10.2.1. แบบมีส่วนร่วม

10.2.1.1. เทคนิค 4 อย่าง ได้แก่

10.2.1.1.1. การสังเกตการณ์โดยตรง (Direct Observation)

10.2.1.1.2. การมีส่วนร่วมโดยตรง (Direct Participant)

10.2.1.1.3. การสัมภาษณ์ (Interview)

10.2.1.1.4. การค้นหาบันทึกจากเอกสารอื่น ๆ

10.2.2. แบบไม่มีส่วนร่วม

10.2.2.1. การเฝ้าสังเกตการโดยผู้สังเกตการณ์ ไม่มีส่วนร่วมอยู่ในสังคมนั้น ๆ

10.2.2.2. ผู้สังเกตจะเฝ้าสังเกตอยู่รอบนอก

10.3. มี 2 ลักษณะ (ข้อมูลอ้างอิงจาก https://home.kku.ac.th/sompong/cm2/observe.pdf)

10.3.1. แบบมีโครงสร้าง (Structure Observation)

10.3.1.1. มีเป้าหมายแน่นอน

10.3.1.2. สังเกตเมื่อไหร่ ที่ไหน พฤติกรรมอะไรที่ต้องสังเกต

10.3.2. แบบไม่มีโครงสร้าง (Non-Structured Observation)

10.3.2.1. ไม่มีเป้าหมายขอบเขตที่แน่นอน

10.3.2.2. สังเกตทุกแง่มุม บันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

10.4. หลักสำคัญในการสังเกต (ข้อมูลอ้างอิงจาก https://home.kku.ac.th/sompong/cm2/observe.pdf)

10.4.1. ต้องทราบว่าพฤติกรรมที่สังเกตควรใช้วิธีการสังแกตแบบไหน

10.4.2. การสังเกตควรกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน

10.4.3. การสังเกตต้องมีการจดบันทึกสิ่งที่พบเห็นอยู่ตลอดเวลา

10.4.4. ต้องมีการตรวจสอบความแม่นยำ เที่ยงตรงของข้อมูลที่ต้องจดบันทึก

11. 7.Learning log (บันทึกการเรียนรู้)

11.1. เป็นการเขียนบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากเนื้อหา ในบทเรียนความรู้ วิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับกระบวนการที่ได้จากการเรียนรู้ของตน โดยบันทึกการเรียนรู้ประเภทนี้เป็นเครื่องมือที่สะท้อนการเรียนรู้ของผู้ เรียนและค้นพบปัญหาการเรียนรู้ รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนรู้กับประสบการณ์เดิม (ข้อมูลอ้างอิงจาก http://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/pb7716af5042f5/)

11.2. รูปภาพจากเว็บ http://www.learninglogs.co.uk/buildinglearningpower.htm

11.3. แนวทางการใช้บันทึกการเรียนรู้ (ข้อมูลอ้างอิงจาก http://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/pb7716af5042f5/)

11.3.1. ประโยคนำที่ใช้ในบันทึกการเรียนรู้

11.3.1.1. เป็นประโยคเริ่มต้นที่ผู้สอนกำหนดให้ผู้เรียน เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถเขียนบันทึกการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น โดยคำถามที่ใช้ในบันทึกการเรียนรู้ ควรเป็นคำถามปลายเปิดที่ให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการและเจตคติของผู้เรียน คำถามปลายเปิดนี้ทำให้ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ตรงกับตัวผู้เรียนมากที่สุด โดยมีรายละเอียดตัวอย่างเช่น ฉันได้เรียนรู้อะไรบ้างในวันนี้ ฉันไม่เข้าใจหรือข้อสงสัยเรื่องใด การกระทำของฉันในชั้นเรียนเป็นอย่างไร ฉันมีความรู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่เรียน สิ่งที่ฉันคิดว่าเป็นปัญหาในการเรียน เป็นต้น

11.3.2. ก่อนเขียน

11.3.2.1. ควรชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของบันทึกการเรียนรู้ ลักษณะของการเขียน ประโยชน์และความยาวของบันทึกการเรียนรู้ที่เขียนในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ควรบอกเกณฑ์การประเมิน การกำหนดเวลาส่งบันทึกการเรียนรู้ และให้ผู้เรียนเห็นตัวอย่างของบันทึกการเรียนรู้ทั้งตัวอย่างที่ดีและ ตัวอย่างที่ไม่ดี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนการเขียนบันทึกการเรียนรู้ของตนเองได้

11.3.3. ระยะเริ่มต้นเขียน

11.3.3.1. ควรให้ผู้เรียนเขียนบันทึกการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับเนื้อหาที่เรียน เพราะสามารถเขียนได้ง่ายกว่า จะทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจในการเขียนบันทึกการเรียนรู้ และควรให้ผู้เรียนเขียนบันทึกการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับเนื้อหาที่เรียน เพราะสามารถเขียนได้ง่ายกว่า จะทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจในการเขียน

12. 1.Rubrics

12.1. กระทรวงศึกษาธิการ (Ministy of Education) ได้ให้คำจัดความ เกณฑ์การประเมิน (Rubric) ไว้ว่า เป็นเครื่องมือในการให้คะแนนซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์ต่างๆที่ใช้พัฒนาชิ้นงานหรือปฎิบัติ (ข้อมูลอ้างอิงจาก เกณฑ์การประเมิน (Rubric) คืออะไร - LEB2 Support )

12.2. ชาตรี เกิดธรรม กล่าวไว้ว่า รูบริค เป็นวิธีการให้คะแนนที่ใช้หลักการของมาตรประมาณค่า ประกอบกับการพรรณนาคุณภาพ กล่าวคือ แทนที่จะใช้ตัวเลข เช่น 5-4-3-2-1 หรือ 3-2-1 โดยมีการแปลความหมายกำกับด้วย อย่างลอย ๆ ก็มีการเพิ่มข้อมูลรายละเอียดว่าคะแนนที่ได้ลดหลั่นลงไปมีความบกพร่องที่บ่งชี้เป็นข้อมูลเชิง "คุณภาพ" ว่าเป็นอย่างไร ข้อมูลคุณภาพที่ผนวกอยู่กับข้อมูลเชิงปริมาณในการให้คะแนนแบบรูบริคนี้ มีประโยชน์ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้ถูกประเมิน ซึ่งเป็นการตอบสนองหลักการของการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง ( ข้อมูลอ้างอิงจาก ตำแหน่งลิ้งไม่ถูกต้อง