โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืช นางสาวกัญญาณัฐ สุนันต๊ะ เลขที่ 15 นางสาวอังคณา คำโย เลขที่ 26

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืช นางสาวกัญญาณัฐ สุนันต๊ะ เลขที่ 15 นางสาวอังคณา คำโย เลขที่ 26 by Mind Map: โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืช นางสาวกัญญาณัฐ สุนันต๊ะ เลขที่ 15 นางสาวอังคณา คำโย เลขที่ 26

1. ใบ

1.1. โครงสร้างภายนอกของใบ

1.1.1. แผ่นใบจะมีเส้นใบ (vein) แตกแขนงไปทั่วทั้งแผ่นใบ โดยตรงกลางแผ่นใบจะมีเส้นกลางใบ (midrib) เชื่อมต่อกับปลายของก้านใบจนตลอดความยาวของแผ่นใบ เส้นกลางใบเป็นเส้นใบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดต่อจากส่วนของเส้นกลางใบจะมีเส้นใบและเส้นใบย่อย (veinlet) ที่มีขนาดใหญ่เล็กลดหลั่นกันไปเป็นส่วนประกอบโครงสร้างของแผ่นใบ

1.1.2. ใบบางชนิดพบหูใบ (stipule) เป็นส่วนของใบที่เจริญมาพร้อมกันกับส่วนอื่นและเจริญได้เร็วกว่ามีหน้าที่หุ้มหรือป้องกันส่วนอื่นของใบขณะยังอ่อนอยู่เอาไว้ หูใบมีหลายลักษณะ เช่น อาจเป็นแผ่นคล้ายแผ่นใบ เป็นริ้ว โดยมีขนาดและสีที่แตกต่างกันขึ้นกับชนิดของพืชพืชที่พบหูใบ เช่น ชบา โพทะเล ถั่วเขียว กุหลาบ

1.1.3. 2.แผ่นใบ (blade) เป็นส่วนที่แผ่เป็นแผ่นแบน แผ่นใบของพืชแต่ละชนิดจะมีขนาดความหนา และลักษณะรูปร่างแตกต่างกัน ลักษณะแบนของแผ่นใบมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวเพื่อรับแสงมาใช้เป็นแหล่งพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชและช่วยในการระบายความร้อน

1.1.4. 1.ก้านใบ (petiole) เป็นส่วนที่ด้านหนึ่งติดกับลำต้นหรือกิ่งและอีกด้านหนึ่งติดกับแผ่นใบที่ซอกก้านใบมีตาตามซอก พืชใบเลี้ยงเดี่ยวอาจมีหรือไม่มีก้านใบ ก้านใบอาจแผ่ออกเป็นแผ่นเรียก กาบใบ (leaf sheath) เช่น ข้าวโพด กล้วย

1.2. ความรู้เพิ่มเติม

1.2.1. ใบประกอบ (compound leaflet) แผ่นใบแตกเป็นใบย่อยเล็กๆตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปติดอยู่กับก้านใบใหญ่ขณะที่ใบย่อยเจริญทุกๆ ใบจะคลี่ออกพร้อมกัน ซอกใบย่อยจะไม่มีตา เช่น กุหลาบ ถั่ว กระถิน มะขาม ก้ามปู ชมพู พันธ์ทิพย์ เป็นต้น

1.2.2. ใบเดี่ยว (simple leaf) มีแผ่นใบเพียง 1 ใบ อาจจะเว้า หรือแหว่งแต่ไม่ถึงเส้นกลางใบ มีแผ่นใบที่ติดอยู่ที่ก้านใบ 1 ก้าน ซอกก้านใบเดี่ยวจะมีตา เช่น ใบมะละกอ มะม่วง ชมพู่ สาเก ตำลึง อ้อย ละหุ่ง มันสำปะหลัง ลูกใต้ใบ มะยม เป็นต้น

1.3. โครงสร้างภายในของใบ

1.3.1. 1. เอพิเดอร์มิส อยู่ชั้นนอกสุดประกอบด้วยเซลล์ผิว เซลล์คุม เซลล์ข้างเคียงเซลล์คุม (subsidiary cell) และอาจมีขนหรือต่อม ผิวด้านนอกของเอพิเดอร์มิสมีสารคิวทินเคลือบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ ใบที่เป็นแผ่นแบนมีเอพิเดอร์มิสด้านบน (upper epidermis) และเอพิเดอร์มิสด้านล่าง (lower epidermis) ส่วนใหญ่ปากใบจะพบมากที่เอพิเดอร์มิสด้านล่าง โดยบริเวณถัดเข้าไปจากปากใบอาจพบช่องอากาศ (air Space)

1.3.2. 2. มีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์จำนวนมาก โดยทั่วไปพาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเซลล์ 2 แบบ ทำให้โครงสร้างภายในแบ่งเป็น2 ชั้นคือ

1.3.2.1. 2.1 แพลิเซดมีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) มักพบอยู่ใต้ชั้นเอพิเดอร์มิส ด้านบน ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบคล้ายรั้วอาจมีแถวเดียวหรือหลายแถว ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์ค่อนข้างหนาแน่นมาก

1.3.2.2. 2.1 สปองจีมีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ กัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นแต่น้อยกว่าแพลิเซดมีโซฟิลล์

1.3.3. 3. วาสคิวลาร์บันเดิล ของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีหลายกลุ่มเรียงเป็นแนวระนาบเดียวตามแนวแผ่นใบ มีขนาดกลุ่มแตกต่างกัน วาสคิวลาร์บันเดิลขนาดใหญ่อยู่บริเวณเส้นกลางใบ ที่เหลือมีขนาดเล็กลดหลั่นกันไปอยู่ที่บริเวณเส้นใบและเส้นใบย่อย ประกอบด้วยไซเล็มและโฟลเอ็ม ในพืชบางชนิดที่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะพบเซลล์บันเดิลชีท (bundle sheath cell) ล้อมรอบวาสคิวลาร์บันเดิล เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวข้าว ฟ่าง การะเกด

2. ดอก

2.1. ดอก เป็นโครงสร้างสืบพันธุ์ของพืชดอก (พืชในหมวด Magnoliophyta)Flowering plants หรือ Angiosperms หน้าที่ทางชีววิทยาของดอก คือ เพื่อออกผลการสืบพันธุ์ ปกติโดยให้กลไกสำหรับการผสมระหว่างสเปิร์มกับไข่ ดอกอาจอำนวยให้การผสมข้ามดอก (outcrossing) หรือให้เกิดการผสมในดอกเดียวกัน (selfing) ก็ได้ บางดอกผลิตส่วนแพร่พันธุ์โดยไม่มีการปฏิสนธิ (การเกิดผลลม) ดอกมีอับสปอร์และเป็นที่ซึ่งแกมีโทไฟต์เจริญ ดอกให้ผลและเมล็ด หลายดอกวิวัฒนาให้ดึงดูดสัตว์ เพื่อที่จะให้สัตว์เหล่านั้นเป็นพาหะส่งผ่านเรณู

2.2. โครงสร้างของดอก

2.2.1. 1.กลีบเลี้ยง (sepal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่นอกสุด มีสีเขียว เหมือนใบ และทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ กลีบเลี้ยงทำหน้าที่ห่อหุ้ม และป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนของดอกที่อยู่ภายใน เมื่อดอกบานแล้วส่วนของกลีบเลี้ยงอาจหมดหน้าที่แล้วหลุดร่วงไป วงของกลีบเลี้ยงเรียกว่า แคลิกซ์ (calyx) กลีบเลี้ยงที่ไม่ใช่สีเขียวและทำหน้าที่ล่อแมลงให้มาผสมเกสรได้ เช่นเดียวกับกลีบดอก ใต้กลีบเลี้ยงมีกลีบสีเขียวขนาดเล็กเรียงตัวเป็นวงอยู่ด้วย เรียกว่า ริ้วประดับ (epicalyx) เช่น ในดอกชบา และพู่ระหง

2.2.2. 2. กลีบดอก (petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามากลีบดอกมักมีสีสันสวยงามเนื่องจากมีรงควัตถุ  กลีบดอกบางชนิดสามารถเปลี่ยนสีได้ เช่นดอกพุดตาน บางชนิดมีกลิ่นหอมเนื่องจากมีต่อมกลิ่นอยู่ด้วยและที่โคนกลีบดอกมักมีต่อมน้ำหวาน ช่วยในการล่อแมลง วงกลีบดอกเรียกว่า คอโรลา (corolla) ถ้าหากกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกันจนแยกไม่ออกจะเรียกรวมกันว่า วงกลีบรวม (perianth) ได้แก่ จำปี จำปา บัวหลวง ทิวลิป เป็นต้น

2.2.3. 3. เกสรตัวผู้ (stamen) เป็นส่วนที่จำเป็นต่อการสืบพันธุ์ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เกสรตัวผู้มักมีหลายอันและเรียงตัวเป็นวงเรียกว่า แอนดรีเซียม (androecium)เกสรตัวผู้ส่วนใหญ่แยกกันเป็นอันๆ แต่บางชนิดอาจติดกัน หรืออาจติดส่วนอื่นของดอก เช่น เกสรตัวผู้เชื่อมติดกับกลีบดอก พบในดอกเข็ม ดอกลำโพง หรือเกสรตัวผู้ติดกับเกสรตัวเมีย พบในดอกรัก ดอกเทียน

2.2.3.1. 3.1 ก้านชูเกสรตัวผู้ (filament) เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้นอาจรวมกันเป็นกลุ่มหรือแยกกันอาจยาวหรือสั้นซึ่งก็แล้วแต่ชนิดของพืช ทำหน้าที่ชูอักเกสรตัวผู้หรืออับเรณู

2.2.3.2. 3.2 อับเกสรตัวผู้ (anther) มีลักษณะเป็นแทงกลมยาวหรือค่อนข้างกลม 2 พู ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ 4 ถุง เรียกว่า ถุงเรณู(pollen sac) บรรจุละอองเรณู (pollen grain) จำนวนมากมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีเหลืองๆ ผิวของละอองเรณูแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ละอองเรณูทำหน้าที่ เป็นเซลล์สืบพันธุเพศผู้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้วถุงละอองเรณูจะแตกออก ละอองเรณูก็จะปลิวออกมา เกสรตัวผู้ในพืชแต่ละชนิดมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน ในพืชโบราณหรือพืชชั้นต่ำเกสรตัวผู้มักมีจำนวนมาก ส่วนพืชที่มีวิวัฒนาการสูงจำนวนเกสรตัวผู้จะลดน้อยลง

2.2.4. 4. เกสรตัวเมีย (pistil) เป็นชั้นที่อยู่ในสุดเปลี่ยนแปลงมาจากใบเพื่อทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย จึงเป็นอวัยวะสำคัญต่อการสืบพันธุ์ ในหนึ่งดอกเกสรตัวเมียอาจมีอันเดียวหรือหลายอัน เรียงตัวเป็นวงของเกสรตัวเมีย เรียกว่า จิเนเซียม (gynaecium)

2.2.4.1. 4.1 ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) เป็นส่วนที่พองออกมีลักษณะเป็นตุ่มแผ่แบนเป็นแฉก เป็นพูและมีน้ำเหนียวๆ หรือขนคอยจับละอองเรณูที่ลอยมาติด

2.2.4.2. 4.2 ก้านชูเกสรตัวเมีย (style) เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้นหรือก้านเล็กๆ อาจยาวหรือสั้นเชื่อมต่อจากยอดเกสรตัวเมียลงสู่รังไข่ เป็นทางให้เสปิร์มนิวเคลียสเข้าผสมกับไข่

2.2.4.3. 4.3 รังไข่ (ovary) เป็นส่วนที่พองออกมาลักษณะเป็นกระเปาะยึดกับฐานรองดอกหรืออาจฝังอยู่ในฐานรองดอกภายในมีลักษณะเป็นห้องๆ เรียกว่า โลคุล (locule) ซึ่งภายในมีออวุล(ovule) บรรจุอยู่แต่ละหน่วยของเกสรตัวเมียที่มีโลคุลที่ห่อหุ้มไข่ไว้ภายในเรียกว่า คาร์เพล (carpel) ใน 1 โคคุล อาจมี 1 คาร์เพล หรือหลายคาร์เพลก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอกไม้ เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้วรังไข่จะเจริญเป็นผล ส่วนออวุลเจริญเป็นเมล็ด

3. ผล

3.1. ผลของพืชดอก

3.1.1. 1.ผลแท้ (Truefruits) เติบโตมาจากดอกที่รังไข่ (Ovaries) ได้รับการผสม (Fertilisation) ผนังรังไข่กลายเป็น เนื้อผล (Pericarp) และไข่ (Ovules) ที่ผสมแล้วกลายเป็นเมล็ด (Seed)

3.1.2. 2.ผลเทียม(false fruit หรือ accessory fruit หรือ pseudocarp) คือเนื้อผลเติบโตมาจากฐานรองดอก(Receptacle) หรือผลที่มีส่วนประกอบอื่น ๆ ของดอกเจริญร่วมขึ้นมากับรังไข่

3.2. ชนิดของผล

3.2.1. 1. ผลเดี่ยว ( simple fruit ) คือผลที่เกิดมาจากรังไข่อันเดียวในดอกเดียวกัน ดอกอาจเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อก็ได้ เช่น ผลส้ม มะเขือ ฟักทอง แอปเปิ้ล

3.2.2. 2. ผลกลุ่ม ( aggregate fruit ) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่หลายรังไข่หรือกลุ่มของรังไข่ ในดอกเดียวกันของดอกเดี่ยว เช่น ผลน้อยหน่า สตรอเบอรี เป็นต้น

3.2.3. 3. ผลรวม (multiple fruit) คือผลที่เกิดจากรังไข่ ของดอกแต่ละดอกของ ดอกช่อซึ่งเชื่อมรวมกันแน่น รังไข่เหล่านี้จะกลายเป็นผลย่อยๆ เชื่อมรวมกันแน่นจนคล้ายเป็นผลเดี่ยวได้แก่ ผลสับปะรด ขนุน สาเก ยอ หม่อน มะเดื่อ เป็นต้น

4. ตำลึง(Coccinia grandis)

4.1. โครงสร้างภายนอก

4.1.1. ราก

4.1.1.1. เป็นระบบรากแก้ว รากมีลักษณะกลมเล็กๆ มีแตกรากแขนง และรากฝอย รากเจริญ และสามารถแทงลงดินในระดับดินตื้น สามารถแตกรากได้ตามเถา และกิ่งย่อย โดยเฉพาะเถาที่ติดกับดิน จะมีรากแก้วมีสีน้ำตาล มีกลิ่นเฉพาะตัว

4.1.2. ลำต้น

4.1.2.1. เป็นเถาเลื้อย ลำต้นมีลักษณะกลม ต้นอ่อนจะมีสีเขียว

4.1.2.2. แก่จะมีสีนํ้าตาลอมเทา หรือสีเทาอมเขียว บริเวณข้อของต้นจะมีมือยึดเกาะ แตกออกข้างลำต้น

4.1.3. ใบ

4.1.3.1. ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก มีรูปร่าง 5 เหลี่ยม โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ออกเรียงสลับกันคนละข้างตามกิ่ง มีก้านใบสั้น ผิวใบมันเรียบ แผ่นใบหยักเป็นแฉก ปลายใบเป็นติ่งแหลม ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ไม่มีขน ใบตำลึงตัวเมียจะไม่มีแฉกลึก ส่วนใบตำลึงตัวผู้จะมีแฉกเว้าลึกกว่า

4.1.4. ดอก

4.1.4.1. ดอกเพศผู้ โดยแยกกันอยู่คนละต้น กลีบดอกของดอกมีสีขาว มีโคนกลีบติดกันทำให้ มีลักษณะเป็นกรวยปากแตร ดอกเพศผู้มีเกสร 3 อัน ดอกเพศผู้ออกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว

4.1.4.2. ดอกเพศเมีย โดยแยกกันอยู่คนละต้น กลีบดอกของดอกมีสีขาว มีโคนกลีบติดกันทำให้ มีลักษณะเป็นรูประฆัง ดอกเพศเมียมีเกสร 1 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว

4.1.5. ผล

4.1.5.1. มีลักษณะผล เป็นทรงยาวรี คล้ายแตงกวา แต่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อผลแก่จัดจะสีแดง ภายในจะมีหลายเมล็ดผล

4.1.6. เมล็ด

4.1.6.1. จะอยู่ภายในผล จะมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะยาวรี แบนรี ผิวเรียบ เมื่อเมล็ดดิบจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อเมล็ดสุกจะเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล

5. ลำต้น

5.1. โครงสร้างภายในของปลายยอดตัดตามขวาง

5.1.1. 1. เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical shoot meristem) อยู่บริเวณปลายสุดของลำต้นเนื้อเยื่อบริเวณนี้มีกลุ่มเซลล์เจริญที่พัฒนาไปเป็นลำต้นใบและตาตามซอกโดยปกติตาตามซอกจะเจริญไปเป็นกิ่ง

5.1.2. 2. ใบเริ่มเกิดหรือเนื้อเยื่อกำเนิดใบ (leaf primordium) อยู่ด้านข้างของเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดที่เป็นขอบของความโค้งถ้าพืชที่ศึกษามีการเรียงใบบนกิ่งแบบตรงข้ามจะเห็นใบเริ่มเกิดอยู่สองข้างหากพืชที่ศึกษามีการเรียงใบแบบสลับใบเริ่มเกิดจะมีข้างเดียวโดยใบเริ่มเกิดจะเจริญพัฒนาไปเป็นใบอ่อนบริเวณตรงกลาง ของโคนใบเริ่มเกิดจะเห็นเซลล์ขนาดเล็กรูปร่างยาวเรียงตัวเป็นแนวยาวจากลำต้นอ่อนขึ้นไปจนเกือบถึงส่วนปลายเซลล์เหล่านี้ต่อไปจะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อท่อลำเลียงจากลำต้นสู่ใบดานสูบ

5.1.3. 3. ใบอ่อน (young leaf) เป็นใบที่เจริญไม่เต็มที่เซลล์ของใบยังมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนสภาพต่อได้เพื่อเพิ่มความหนาและขนาดของใบในระยะนี้ใบอ่อนจะยังแผ่กางไม่เต็มที่โดยที่ซอกของใบอ่อนจะมีเนื้อเยื่อต้นกำเนิดกิ่งเรียกว่าตาตามซอกเริ่มเกิด (axillary bud primordium) ต่อไปจะพัฒนาไปเป็นตาตามซอกเมื่อใบที่รองรับตาเจริญเต็มที่ซึ่งตาตามซอกสามารถเจริญเป็นกิ่งใหม่ได้

5.1.4. 4. ลำต้นอ่อน (Young stem) อยู่ถัดจากตำแหน่งใบเริ่มเกิดลงมาลำต้นส่วนใต้ใบอ่อนก็ยังเป็นลำต้นระยะยังเจริญไม่เต็มที่ กล่าวคือ เซลล์บางบริเวณอาจพัฒนาไปจนเจริญเต็มที่แล้วระดับหนึ่ง แต่บางบริเวณยังแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนและขยายขนาดต่อไปได้อีก

5.2. ลำต้น (Stem) เป็นโครงสร้างลำต้นของพืชที่เจริญถัดขึ้นมาจากเนชั่รากลำต้นมีข้อปล้อง บริเวณข้อจะมีคุณใบที่ซอกคุณใบมีคุณตาลำต้นทำหน้าที่ชูคุณกิ่งคุณใบคุณดอกผลและทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ธาตุอาหารและคุณน้ำ

5.2.1. 1. เอพิเดอร์มิส (Epidermis) อยู่ชั้นนอกสุด ปกติเรียงเป็นแถวเดียวและอาจเปลี่ยนเป็นขนหนามหรือเป็นเซลล์คุม (Guardceel) ผิวด้านนอกของเอพิเดอร์มิสจะมีสารคิวทินเคลือบอยู่ ไม่มีคลอโรพลาสต์

5.2.2. 2.คอร์เทกซ์ (Cortex) มีอาณาเขตแคบกว่าในราก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมา เซลล์ชั้นนอกที่ติดกับเอพิเดอร์มิส 2-3แถว เป็นพวกคอลเลงคิมาและมีเนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมาแทรกอยู่ทั่วๆไปในลำต้นที่ยัง อ่อนเซลล์พาเรงคิมาในชั้นนี้ที่ใกล้ๆเอพิเดอร์มิสจะมีคลอโรพลาสต์ ลำต้นจะมีการแตกกิ่งจากชั้นนี้เอนโดเดอร์มิสอยู่ถัดจากชั้นในสุดของ คอร์เทกซ์เข้าไปแต่ในลำต้นพืชส่วนใหญ่เห็นไม่ชัดเจนหรือไม่มีซึ่งต่างจากใน รากที่เห็นได้ชัดเจน

5.2.3. 3.สตีล (Stele) ในลำต้นชั้นของสตีลจะกว้างกว่าในรากและแบ่งแยกจากชั้นของคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจนซึ่งจะแตกต่างจากในราก ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี้

5.2.3.1. 3.1 ท่อลำเลียง (Vascularbundle) โดยทั่วๆไปประกอบด้วยไซเล็มอยู่ด้านในและโฟลเอ็มอยู่ด้านนอกเรียงตัวอยู่ในแนวรัศมีเดียวกันโดยมีวาสคิวลาร์แคมเบียมคั่นระหว่างกลาง

5.2.3.2. 3.2 พิธ เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดของ ลำต้นเนื้อเยื่อส่วนนี้คือพาเรงคิมาทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้งหรือสารอื่น ๆ เช่นลิกนินผลึกแทนนิน (Tannin) เป็นต้น

6. ราก

6.1. เป็น อวัยวะหรือส่วนของพืชที่ไม่มี ข้อ ปล้อง ตา และใบ ทิศทางการเจริญเติบโต เจริญลงสู่ดินตามแรงดึงดูดของโลก (Positivegeotropism ) มีกำเนิดมาจาก radicle ของต้นอ่อน (embryo) ซึ่งอยู่ภายในเมล็ด รากที่เปลี่ยนแปลงมาจากเรดิเคิล จัดเป็นรากที่มีการเจริญในระยะแรก (Primary growth) ส่วนรากของพืชใบเลี้ยงคู่หรือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด จะมี การเจริญเติบโตขั้นที่2 (Secondary growth)

6.2. โครงสร้างตามยาวของราก

6.2.1. 1. บริเวณหมวกราก (Root cap)

6.2.2. 2. บริเวณเซลล์กำลังแบ่งตัว(Region of cell division)

6.2.3. 3. บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (Region of cell elongation)

6.2.4. 4. บริเวณเซลล์เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ (Region of cell differentiation and maturation)

6.3. โครงสร้างของรากตามภาคตัดขวาง

6.3.1. โครงสร้างตัดตามขวางของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

6.3.2. โครงสร้างตัดตามขวางของรากพืชใบเลี้ยงคู่

6.4. ลักษณะเซลล์ที่เห็นได้ 3บริเวณ

6.4.1. 1. เอพิเดอร์มิส (Epidermis)

6.4.2. 2. คอร์เท็กซ์ (Cortex)

6.4.3. 3. สตีล (Stele)

6.4.3.1. 3.1 เพอริไซเคิล (Pericycle)

6.4.3.2. 3.2 มัดท่อลำเลียง (Vascular bundle)

6.4.3.3. 3.3 พิธ (pith)

7. เนื้อเยื่อพืช

7.1. 1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) เป็นเนื้อเยื่อที่พบได้ที่บริเวณปลายยอด หรือปลายกิ่งของพืช เรียกว่า เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (Shoot apical meristem; SAM) และเนื้อเยื่อเจริญที่พบที่ปลายราก เรียกว่า เนื้อเยื่อเจริญปลายราก (root apical meristem; RAM) โดย เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ทำให้ส่วนปลายยอดและ ปลายรากของพืชมีการยืดยาว

7.1.1. เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด(Shoot apical meristem; SAM)

7.1.2. เนื้อเยื่อเจริญปลายราก (root apical meristem; RAM)

7.2. 2.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Laterral meristem) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ทางด้านข้างของลำต้นและราก มีการแบ่งเซลล์ออกทางด้านข้างทำให้เกิด การเจริญเติบโตทุติยภูมิ (Secondary growth) ซึ่งเป็นการเติบโตที่ทำให้พืชมีการขยายขนาดออกทางด้านข้าง หรือมี เส้นรอบวงของลำต้น กิ่งก้าน และรากเพิ่มมากขึ้น เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

7.2.1. 1.แคมเบียมท่อลำเลียง (vascular cambium) แทรกอยู่ระหว่าง ไซเลม และโฟลเอ็ม มีหน้าที่ สร้าง secondary xylem และ secondary pholem พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด

7.2.2. 2 .คอร์กแคมเบียม (cork cambium) ทำหน้าที่สร้างคอร์ก เพื่อทำหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดมิส

7.3. 3.เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary meristem) เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้จะอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้นซึ่งมีฮอร์โมนจิบเบอเรล-ลิน(Gibberellins) เข้ามาเกี่ยวข้องส่วนใหญ่พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยเฉพาะพืชตระกูลหญ้า เช่น ไผ่ ข้าว หญ้าคมบางกลม เป็นต้น

8. ผักปลัง หรือ ผักปั๋ง (Basella alba)

8.1. โครงสร้างภายนอก

8.1.1. ราก

8.1.1.1. รากแก้ว (tap root) มีลักษณะ ตอนโคนจะโตแล้วค่อยเรียวเล็กลงไปจนถึงปลาย จะยาวและใหญ่กว่ารากอื่นๆที่แยกออกไป ทำหน้าที่ เป็นหลักรับส่วนอื่นๆให้ทรงตัวอยู่ได้ รากชนิดนี้พบในพืชใบเลี้ยงคู่ที่งอกออกจากเมล็ดโดยปกติ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่งอกออกจากเมล็ดใหม่ๆก็มีรากระบบนี้เหมือนกันแต่มี อายุได้ไม่นานก็เน่าเปื่อยไปแล้วเกิดรากชนิดใหม่ขึ้นมาแทน(รากฝอย)

8.1.2. ลำต้น

8.1.2.1. ลำต้นอวบน้ำ เกลี้ยง กลม มีสีเขียว

8.1.3. ใบ

8.1.3.1. ใบเลี้ยงคู่ ออกเป็นใบเดี่ยว อวบน้ำ เป็นมันหนานุ่มมือ ฉีกขาดง่าย ขยี้จะเป็นเมือกเหนียว ขอบใบเรียบ

8.1.4. ดอก

8.1.4.1. ดอกสีขาว เป็นดอกช่อเชิงลด ออกตรงซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดเล็ก ไม่มีก้านชูดอก แต่ละดอกมี 5 กลีบ ดอกสีขาว มีริ้วประดับ ติดที่โคนของกลีบรวม กลีบรวมรูประฆัง โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายแยกเป็นห้าแฉกเล็กน้อย

8.1.4.1.1. เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 อัน ติดที่ฐานของกลีบดอก อับเรณูรูปกลม ติดก้านชูเกสรที่ด้านหลัง

8.1.4.1.2. เกสรเพศเมีย 1 อัน กลม ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก

8.1.5. ผล

8.1.5.1. ผลสด กลมแป้น ฉ่ำน้ำ ผิวเรียบ ปลายผลมีร่องแบ่งเป็นลอน ไม่มีก้านผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงอมดำ ภายในผลมีน้ำสีม่วงดำ

8.1.5.1.1. ผลสด

8.1.5.1.2. ผลแก่

8.1.6. เมล็ด

8.1.6.1. เมล็ดเดียว สีม่วง กลม