สถิติพื้นฐานเพื่อการวิจัย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
สถิติพื้นฐานเพื่อการวิจัย by Mind Map: สถิติพื้นฐานเพื่อการวิจัย

1. ประเภทของสถิติ

1.1. Descriptive Statistics

1.1.1. เกี่ยวข้องกับการทำตาราง การ พรรณนา การอธิบายข้อมูล สถิติที่ใช้ เช่น ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย ฯลฯ

1.2. Inferential Statistics

1.2.1. วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำไปสู่การลงนัยสรุปไปยังประชากร - สถิติพารามิเตอร์ (Parametric Statistics) - สถิตไร้พารามิเตอร์ (Nonparametric Statistics)

2. วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการใช้สถิติเพื่อการวิจัย

2.1. พรรณนาคุณสมบัติของหน่วยศึกษา/วิเคราะห์

2.2. ศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา

2.3. ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปร

2.4. ศึกษาการประมาณค่าหรือการพยากรณ์

3. ข้อพิจารณาการใช้สถิติเพื่อการวิจัย

3.1. ทราบวัตถุประสงค์ของการนำวิธีการสถิติมาใช้

3.2. ทราบประเภทของสถิติที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์

3.3. รู้ลักษณะของข้อมูลว่ามีการวัดระดับใด (Level of Measurement )

3.4. สามารถกำหนดสถานภาพของตัวแปรที่ศึกษาได้ว่าเป็นตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรตำม

3.5. รู้หลักการเบื้องต้นของการใช้สถิติ

3.6. รู็การนำเสนอ การอ่าน และการตีความหมายผล

4. ตัวแปร

4.1. ประเภทของตัวแปรที่ใช้ในสถิติ

4.1.1. ตัวแปรอิสระ (Independent Variables)

4.1.1.1. ที่กำหนดขึ้นเพื่อทดสอบสมมติฐาน เป็นตัวแปรที่เราเปลี่ยนไปเพื่อจะดูผลที่ ตามมา

4.1.2. ตัวแปรตาม (Dependent Variables)

4.1.2.1. ตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามตัวแปรต้น หรือ ผลของตัวแปรต้น

4.2. ประเภทของตัวแปรที่ใช้ในสถิติ

4.2.1. – ตัวแปรกลุ่ม หรือ นามมาตร หรือ นามกำหนด (Norminal)

4.2.2. ตัวแปรอันดับ (Ordinal)

4.2.3. ตัวแปรช่วงหรืออันตรภาค (Interval)

4.2.4. ตัวแปรอัตราส่วน (Ratio)

5. คำจำกัดความ

5.1. คำว่าสถิติ (Statistics) มาจากภาษาเยอรมัน ว่า Statistics มีรากศัพท์มาจาก Stat หมายถึง ข้อมูลหรือสารสนเทศ ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ต่อ การบริหารประเทศในด้านต่างๆ

5.2. สถิติ หมายถึง ตัวเลขหรือข้อมูลที่ได้จากการ เก็บรวบรวม

6. ประเภทของข้อมูล

6.1. นามบัญญัติ (Nominal Scale)

6.1.1. เป็นระดับการวัดที่หยาบที่สุดจัดข้อมูล หรือตัวแปรออกเป็นกลุ่ม

6.1.1.1. เพศ อาชีพ

6.1.2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

6.1.2.1. ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ

6.2. เรียงอันดับ (Ordinal Scale)

6.2.1. เป็นข้อมูลที่ใช้จัดอันดับของสิ่งต่างๆ โดย เรียงอันดับของข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้จากสูงสุดไปหาต่ำสุด

6.2.2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

6.2.2.1. ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ

6.3. อันตรภาค (Interval Scale)

6.3.1. เป็นข้อมูลที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างค่าที่ วัดได้แต่ละช่วง ที่มีความห่างเท่ากัน ทุกช่วง เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข สามารถ บวก ลบ กันได้ แต่ไม่มีศูนย์แท้

6.3.1.1. อุณหภูมิ ระดับทัศนคติ ระดับความคิดเห็น

6.3.2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

6.3.2.1. ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิตชั้นสูงทุกตัว

6.4. อัตราส่วน (Ratio Scale)

6.4.1. ข้อมูลประเภทนี้เป็นข้อมูลที่ใช้วัดในระดับสูง สามารถบวก ลบ คูณ หาร ได้ และมีศูนย์แท้

6.4.1.1. น้ำหนัก ความเร็ว ความกว้าง ความหนาพื้นที่ จำนวนเงิน อายุ ระยะทาง

6.4.2. วิเคราะห์กับสถิติได้ทุกตัว

7. หลักการเบื้องต้นที่สำคัญของการใช้สถิติ

7.1. หลีกเลี่ยงการเสนอซ้ำซาก

7.2. เสนอในรูปแบบมาตรฐานของแต่ละวิธีการหรือที่วงวิชาการยอมรับ

7.3. แปลผลค่าสถิติต่างๆได้ถูกต้อง

7.4. ตีความหมาย