การพัฒนาหลักสูตร

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพัฒนาหลักสูตร by Mind Map: การพัฒนาหลักสูตร

1. บทที่4กระบวนการพัฒนาหลักสูตร

1.1. ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์

1.2. ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของทาบา

1.3. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเคอร์

1.4. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวี

1.5. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ สสวท.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

1.6. หลักของการพัฒนาหลักสูตร

1.6.1. 1.ใช้พื้นฐานจากประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคม จิตวิทยา และวิชาความรู้ต่างๆ

1.6.2. 2.พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและความจำเป็นต่างๆสังคม

1.6.3. 3.พัฒนาให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน

1.6.4. 4.พัฒนาให้สอดคล้องกับหลักของการเรียนรู้

1.6.5. 5.ในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน จะต้องพิจารณาความเหมาะสมในด้านความยากง่าย ลำดับก่อนหลัง และบูรณาการของประสบการณ์ต่างๆ

2. บทที่5 การนำหลักสูตรไปใช้

2.1. ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)

2.1.1. มีความรู้ ความเข้าใจการนำหลักสูตรไปใช้

2.1.2. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้

2.1.3. สามารถบอกบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อการประสานงานเมื่อนำหลักสูตรไปใช้

2.2. สาระเนื้อหา(Content)

2.2.1. การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

2.3. หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้

2.3.1. 1. จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการ

2.3.2. 2. จะต้องมีองค์คณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ประสานงานกัน

2.3.3. 3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบ

2.3.4. 4. คำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยในการนำหลักสูตรไปใช้

2.3.5. 5. ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด ดังนั้น ครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง

2.3.6. 6. จัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครู

2.3.7. 7. หน่วยงานและบุคคลในฝ่ายต่างๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ

2.3.8. 8. มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ

2.4. บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้

2.4.1. 1. ผู้บริหารโรงเรียน

2.4.2. 2. หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา

2.4.3. 3. ครูผู้สอน

3. บทที่6 การประเมินหลักสูตร

3.1. ความหมายของการประเมินหลักสูตร

3.1.1. การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) หมายถึง การตัดสินคุณภาพ ประสิทธิภาพหรือคุณค่าของหลักสูตร ซึ่งต้องมีการกำหนดมาตรฐานสำหรับการตัดสินคุณภาพ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวแล้วนำมาตรฐานที่กำหนดมาตัดสินคุณภาพข้อมูลเหล่านั้น โดยการประเมินหลักสูตรต้องตอบคำถามต่อไปนี้

3.1.2. หลักสูตรช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้ดีเพียงใด

3.1.3. การใช้หลักสูตรดำเนินการได้ดีเพียงใด

3.2. ขอบเขตในการประเมินหลักสูตร

3.2.1. 1.การประเมินจุดมุ่งหมายของโรงเรียน จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายเฉพาะวิชาและจุดมุ่งหมายในการสอน

3.2.1.1. 2.การประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมด

3.2.1.2. 3.การประเมินผลการเลือกเนื้อหาและการจัดประสบการณ์เรียนและกิจกรรม

3.2.1.3. 4.การประเมินผลการสอบ

3.2.1.4. 5.การประเมินผลโครงการประเมินผล

3.3. ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร

3.3.1. 1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมิน

3.3.2. 2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล

3.3.3. 3. ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

3.3.4. 4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล

3.3.5. 5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ใ

3.3.6. 6. ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน

3.3.7. 7. ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป

4. บทที่7 ปัญหาเเละเเนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร

4.1. 1. ปัญหาการขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

4.2. 2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครู

4.3. 3. ปัญหาการจัดอบรมครู

4.4. 4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน

4.5. 5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ

4.6. 6. ผู้บริหารต่างๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

4.7. 7. ปัญหาการขาดแคลนเอกสาร

5. หลักสูตรโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

6. บทที่2 เเนวคิดพื้นฐานด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตร

6.1. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร

6.1.1. การพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานในการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐานอย่างน้อย 3 ด้าน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา และพื้นฐานด้านสังคม รวมไปถึงพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ

6.2. พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา

6.2.1. ปรัชญาการศึกษานั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร โดยใช้กำหนดจุดมุ่งหมาย เลือกเนื้อหาสาระและนำมาจัดหลักสูตรได้อย่างเป็นระบบ ทำให้หลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันคือ ปรัชญามุ่งศึกษาชีวิตและจักรวาล ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ ปรัชญาและการศึกษามีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน

6.3. ลักษณะปรัชญาการศึกษา

6.3.1. 1. คำจำกัดความของการศึกษา

6.3.1.1. 2. ความมุ่งหมายของการศึกษา

6.3.1.2. 3. นโยบายหรือแนวทางเพื่อการปฏิบัติในการจัดการศึกษา

6.3.1.3. 4. เรื่องอื่นๆ เช่น วิธีการสอนที่จะให้เกิดการเรียนรู้

6.4. สี่เสาหลักทางการศึกษา

6.4.1. 1. การเรียนเพื่อรู้

6.4.2. 2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง

6.4.3. 3. การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน และการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น

6.4.4. 4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต

7. บทที่1 มโนทัศน์พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร

7.1. ความหมายของหลักสูตร (Curriculum) และการพัฒนาหลักสูตร (Developmental Curriculum)

7.1.1. คำว่า “หลักสูตร” แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “curriculum” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “currere” หมายถึง “running course” หรือ เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง ต่อมาได้นำศัพท์นี้มาใช้ในทางการศึกษาว่า “running sequence of course or learning experience” (Armstrong, 1989 : 2) เป็นการเปรียบเทียบหลักสูตรเสมือนสนามหรือลู่วิ่งให้ผู้เรียนจะต้องฟันฝ่าความยากของวิชา หรือประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรเพื่อความสำเร็จ

7.1.1.1. หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการศึกษาตามมาตรฐานสากล มาตรฐานหลักสูตรแกนกลาง และความต้องการชุมชนท้องถิ่น

7.2. ความสำคัญของหลักสูตร

7.2.1. 1. หลักสูตรเป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพ เนื่องจากผู้เรียนหรือประชาชน คือ ผลผลิตของการศึกษา ดังนั้น คุณภาพของประชาชนจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรว่าต้องการให้ผู้ผ่านการศึกษามีคุณสมบัติอย่างไร 2. หลักสูตรเป็นโครงการและแนวทางในการให้การศึกษา เพราะหลักสูตรจะบอกให้ทราบว่าการจักการศึกษานั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร จะจัดการเรียนการสอนอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะทำให้เห็นภาพรวมของการจัดการศึกษาของชาติว่ามุ่งทิศทางใด ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายกับการจัดการเรียนการสอยจะได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน 3. หลักสูตรเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะบอกให้ครูรู้ว่าควรพัฒนาผู้เรียนด้านใด จะสอนด้วยเนื้อหาสาระอะไร และควรจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ใดให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 4. หลักสูตรเป็นมาตรฐานของการศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ 4.1 มาตรฐานประการแรก สถาบันการศึกษา หรือโรงเรียนจะต้องสอนให้ถึงมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนดไว้ คือ สอนให้ครบตามหลักสูตรที่วางไว้ 4.2 มาตรฐานประการที่สอง หมายความว่า หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานให้ทุกสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นด้วนวัตถุประสงค์เดียวกัน ได้จัดการศึกษาที่เป็นแบบแผนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในการจัดการเรียนการสอน 5. หลักสูตรเป็นเครื่องบ่งชี้ความเจริญของประเทศ เนื่องจาการศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาคน ดังนั้น ประเทศใดจัดหารศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์ และการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ย่อมได้กำลังคนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การพัฒนาสังคมและชาติเป็นไปอย่างได้ผลดียิ่งขึ้น

7.3. ลักษณะของหลักสูตรที่ดี

7.3.1. 1. ตรงตามความมุ่งหมายของการศึกษา

7.3.2. 2. ตรงตามลักษณะของพัฒนาการของเด็กในวัยต่างๆ

7.3.3. 3. ตรงตามลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและเอกลักษณ์ของชาติ

7.3.4. 4. มีเนื้อหาสาระของเรื่องสอนบริบูรณ์เพียงพอที่จะช่วยให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็นและมีพัฒนาการในทุกด้าน

7.3.5. 5. สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน

7.3.6. 6. หลักสูตรที่ดี ควรสำเร็จขึ้นด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย

7.3.7. 7. หลักสูตรที่ดี จะต้องยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ

7.3.8. 8. หลักสูตรที่ดีจะต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ต่อเนื่องกันไป และเรียงจากความยากง่ายไม่ให้ขาดตอนจากกัน

7.3.9. 9. หลักสูตรที่ดีจะต้องเป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเด็ก

8. บทที่3 หลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

8.1. วิสัยทัศน์

8.2. หลักการ

8.2.1. 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

8.2.2. 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ

8.2.3. 3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น

8.2.4. 4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้

8.2.5. 5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

8.2.6. 6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

8.3. จุดหมาย

8.3.1. 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

8.3.2. 2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต

8.3.3. 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย

8.3.4. 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

8.3.5. 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

8.4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

8.4.1. 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

8.4.2. 2. ซื่อสัตย์สุจริต

8.4.3. 3. มีวินัย

8.4.4. 4. ใฝ่เรียนรู้

8.4.5. 5. อยู่อย่างพอเพียง

8.4.6. 6. มุ่งมั่นในการทำงาน

8.4.7. 7. รักความเป็นไทย

8.4.8. 8. มีจิตสาธารณะ