ลงทุนแบบปู่บัฟเฟตต์ จากหนังสือ The New Buffettology

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ลงทุนแบบปู่บัฟเฟตต์ จากหนังสือ The New Buffettology by Mind Map: ลงทุนแบบปู่บัฟเฟตต์ จากหนังสือ The New Buffettology

1. ผู้เขียน

1.1. Mary Buffett

1.1.1. อดีตลูกสะใภ้ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett)

1.1.2. เธอได้เรียนรู้วิธีคิดและลงทุนจากวอร์เรน บัฟเฟตต์ จึงนำมาถ่ายทอดให้เราได้เรียนรู้ เพียงหนังสือนี้เล่มเดียว คุณจะเข้าใจกลยุทธ์การลงทุน ของบัฟเฟตต์มากกว่าครึ่งเลยทีเดียว

1.2. David Clark

2. ข้อคิดสำคัญ

2.1. การลงทุนให้ประสบความสำเร็จ คุณต้องรู้ว่าจะซื้อหุ้นอะไร (หุ้นพื้นฐานดี) และซื้อเมื่อไร (เมื่อมีข่าวร้าย)

2.2. หุ้นพื้นฐานดี ต้องทำธุรกิจที่คู่แข่งเข้ามารุกรานไม่ได้ มีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี และใช้เงินทุนน้อยแต่กำไรมาก

2.3. จังหวะซื้อคือตอนที่มี "ข่าวร้ายชั่วคราว" เช่น ตลาดหุ้นตก เศรษฐกิจชะลอตัว หรือธุรกิจสะดุดเล็กน้อย ซึ่งปีหน้าก็จะฟื้นกลับมา

2.4. ตอนซื้อหุ้น คุณควรประเมินผลตอบแทนล่วงหน้าไป 10 ปีเลย โดยคุณจะทำแบบนี้ได้ บริษัทต้องมีกำไรสม่ำเสมอ และคาดเดา ROE ได้

2.5. ขายหุ้นเมื่อเกิดฟองสบู่ เมื่อพื้นฐานธุรกิจเปลี่ยน หรือเมื่อเจอโอกาสใหม่ที่ดีกว่า นอกจาก 3 กรณีนี้ คุณควรถือหุ้นต่อ เพราะเดี๋ยวราคามันก็ขึ้นไปเรื่อยๆ เอง

3. วิธีเลือกหุ้น

3.1. เลือกหุ้นที่บริษัทมี "Durable Competitive Advantage"

3.1.1. บางบริษัทจะฟื้นกลับมาได้เสมอ ไม่ว่าจะถูกข่าวร้ายแค่ไหนโจมตี นั่นเพราะบริษัทมี "ของดี" ที่ทำให้คู่แข่งสู้ไม่ได้

3.1.2. มองหุ้นเหมือนม้าแข่ง มีม้าสองตัว ตัวหนึ่งวิ่งชนะตลอด อีกตัววิ่งแพ้ตลอด ถ้าอยู่มาวันหนึ่ง คุณจะซื้อตัวไหน ถ้า...

3.1.2.1. อยู่มาวันหนึ่งทั้งสองตัวเป็นหวัด ลงแข่งไม่ได้ ราคาม้าทั้งสองตัวร่วงลงมาต่ำพอกัน

3.1.2.2. คุณควรซื้อตัวที่เคยชนะตลอด เพราะมันแข็งแรงกว่า ฟื้นตัวเร็วกว่า และพอฟื้นแล้วมันก็จะกลับมาชนะ

3.1.2.3. ตัวที่ปกติวิ่งแพ้ พอเป็นหวัดมันอาจตายไปเลย หรือต่อให้ฟื้น ก็ยากที่จะกลับมาชนะอยู่ดี

3.1.3. หุ้นที่อ่อนแอ คือบริษัทในธุรกิจที่การแข่งขันสูง คู่แข่งจะตัดราคาจนกำไรเหลือนิดเดียว ลูกค้าซื้อจากคนที่ขายถูกที่สุดเท่านั้น

3.1.3.1. สายการบิน

3.1.3.2. บริษัทที่ขายสินค้า Commodity (สินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ใครผลิตก็เหมือนกันหมด)

3.1.3.2.1. น้ำมัน

3.1.3.2.2. น้ำตาล

3.1.3.2.3. เหล็ก

3.1.3.3. สินค้าที่แบรนด์ไม่แข็ง

3.1.4. หุ้นที่ดี คือบริษัทที่ขายสินค้ามีแบรนด์ หรือให้บริการพิเศษ บริษัทจะมีอำนาจกึ่งผูกขาด ซึ่งทุกคนต้องซื้อจากเขา

3.1.4.1. โค้ก

3.1.4.2. บัตรเครดิต VISA

3.1.4.3. Apple

3.1.5. คิดเหมือนตัวเองเป็นนักเบสบอล

3.1.5.1. ทุกครั้งที่วิเคราะห์หุ้น ก็เหมือนลูกเบสบอลปาเข้ามา คุณจะตีหรือไม่ก็ได้ และคุณไม่จำเป็นต้องตีจนกว่าจะเจอลูกโฮมรัน

3.1.5.2. "ซื้อหุ้นที่ดีในเวลาที่มีข่าวร้าย" เป็นลูกที่หายาก คุณจะใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งห้อยอยู่ที่บ้าน แต่ไม่มีใครมากดดันคุณ คุณก็แค่นั่งรอลูกโฮมรันไปเรื่อยๆ

3.2. อย่าเข้าใจ "Durable Competitive Advantage" ผิด

3.2.1. บริษัทที่มี Competitive Advantage จะขายสินค้าคล้ายคู่แข่ง แต่ขายได้ราคาแพงกว่า เพราะลูกค้าชอบ

3.2.1.1. กระเป๋าแบรนด์เนม

3.2.1.2. ช็อคโกแลตยี่ห้อที่คนชอบ

3.2.1.3. โค้ก ขายน้ำผสมน้ำตาล แต่คนก็ยอมซื้อแพง

3.2.1.4. KFC ขายไก่แพง แต่คนก็ซื้อ

3.2.2. ต้องรักษาความเหนือกว่าคู่แข่งไว้ได้ด้วย (Durable) ไม่งั้นยังไม่ดีพอ

3.2.2.1. นึกภาพ "คูเมือง" (Moat) ที่คอยปกป้องปราสาทยุโรป

3.2.2.1.1. คู่แข่งที่อยากเข้ามาแข่ง จะไม่สามารถทำได้ง่าย เพราะมีคูเมืองที่หนา ลึก พร้อมกำแพงเหล็กสูงใหญ่ป้องกันไว้

3.2.2.2. คิดง่ายๆ: คุณต้องรักษาปราสาทไว้ได้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินมาก

3.2.2.2.1. ถ้าบริษัทมีคูเมืองเข้มแข็ง กำไรจะสม่ำเสมอ ต่อให้เกิดปัญหาก็ฟื้นได้เร็ว

3.2.2.2.2. คูเมืองจะทำให้บริษัทนำกำไรไปขยายกิจการได้ แทนที่จะต้องเสียไปกับการรักษาปราสาทไว้

3.2.3. บางบริษัทมี Competitive Advantage แต่ยากที่จะรักษามันไว้ อย่าซื้อ

3.2.3.1. บริษัทที่เหนือกว่าคู่แข่งเพียงเพราะมีเทคโนโลยีสูง มีเงินทุนหนา มักไม่เพียงพอที่จะรักษา Competitive Advantage

3.2.3.2. บริษัท Intel มีเทคโนโลยีสูง คนเก่ง กำไรดี แต่ถ้าคุณลองไปดูประวัติบริษัท มีหลายครั้งที่บริษัทเกือบล้ม เพราะมีคู่แข่งเข้ามาท้าทายเทคโนโลยี

3.2.3.3. ทุกครั้งที่มีเทคโนโลยีใหม่ Intel จะต้องลงทุน เป็นแสนล้านบาท เพื่อสร้างเทคโนโลยีมาสู้กับคู่แข่ง และถ้าทำไม่สำเร็จ บริษัทก็ยังจะล้มอยู่ดี

3.2.3.4. ในทางกลับกัน KFC แทบไม่ต้องลงทุนคิดเทคโนโลยีอะไรเลย แค่ทอดไก่ขาย ว่างๆ ก็คิดรสใหม่ แค่นั้นเอง

3.2.4. บางบริษัททำธุรกิจที่ไม่มี Competitive Advantage แต่โครงสร้างการแข่งขันเปลี่ยน จึงกลายเป็นมี

3.2.4.1. บางเมืองมีหนังสือพิมพ์ประจำเมือง 2 เจ้า ซึ่งแข่งขันกันดุเดือด แต่ถ้ามีเจ้าไหนล้มละลายไป อีกเจ้าจะกลายเป็นธุรกิจกึ่งผูกขาด

3.2.4.2. ปกติลูกค้าใส่ใจราคาเวลาซื้อรถยนต์ แต่ผู้ผลิตรถบางเจ้าสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง จึงขายรถในราคาสูงได้ และลูกค้าก็ยังซื้อ

3.2.4.2.1. รถพอร์ช (Porsche)

3.2.4.2.2. รถแลมโบกินี่ (Lamborghini)

3.2.5. วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบบริษัทที่ลูกค้าติด จนผู้บริหารเป็นใครก็ได้ บริษัทก็ยังกำไรสบายๆ (เอา "แซนด์วิช" มาบริหารก็ยังได้)

3.3. หุ้นที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะไม่ซื้อเด็ดขาด

3.3.1. หลีกเลี่ยงหุ้นบริษัทที่แข่ง ด้วยราคาอย่างเดียว

3.3.1.1. เวลาเศรษฐกิจไม่ดี พวกนี้ล้มก่อน

3.3.1.2. เช่น เวลาเศรษฐกิจตกต่ำ โรงแรมระดับ 2-3 ดาวที่ไม่มีอะไรพิเศษ เน้น "ถูก" จะล้มก่อนเครือโรงแรมใหญ่ ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดัง แบรนด์แข็งแรง

3.3.1.3. ต่อให้เป็นช่วงเศรษฐกิจดี พวกนี้ก็กำไรไม่สูง ไม่ทำให้คุณรวย

3.3.2. ต่อให้ซื้อในราคาถูกแค่ไหน บริษัทที่แข่งด้วยราคา โดยไม่มีแบรนด์หรือการผูกขาดพิเศษ ก็จะไม่ทำให้คุณรวย

3.3.2.1. บริษัทที่ไม่ดี มีจำนวนมากกว่า "บริษัทที่พื้นฐานดี" เยอะมาก นักลงทุนหลายคนจึง "ติดกับ" และขาดทุนกับบริษัทที่ไม่ดี

3.3.3. ถ้าสินค้าเหมือนๆ กันหมด ผู้บริโภคก็แค่เลือกเจ้าที่ถูกที่สุด ไม่ได้เลือกซื้อจาก "แบรนด์ในดวงใจ" (มีใครเติมน้ำมันเพราะแบรนด์โปรดไหมครับ? หรือเติมจากของแถมกับราคาเป็นหลัก)

3.3.3.1. สายการบิน

3.3.3.2. ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้าน

3.3.3.3. ผลิต Memory Chip

3.3.3.4. สินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด น้ำตาล ยางพารา

3.3.3.5. เหล็ก

3.3.3.6. รถยนต์

3.3.3.7. กระดาษ

3.3.3.8. น้ำมัน

3.3.4. สงครามราคา = กำไรไม่เหลือ

3.3.4.1. บริษัท A B C D ขายกระเบื้องเหมือนกัน

3.3.4.2. ต่อมา B ลงทุนซื้อเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ต้นทุนจึงต่ำลงมาก B ลดราคากระเบื้องเพื่อดึงลูกค้า ทำให้ A C D ขายไม่ออก

3.3.4.3. A C D จึงต่างกู้เงินไปซื้อเทคโนโลยีการผลิตใหม่มาสู้ ทุกคนต้นทุนต่ำลง ลดราคาขายลง

3.3.4.4. สุดท้าย แต่ละคนขายกระเบื้องได้เท่าเดิม แต่กำไรลด ทั้งที่ลงทุนเพิ่มไปคนละตั้งเยอะ ผู้บริโภคได้ประโยน์ แต่เจ้าของบริษัทขาดทุน

3.3.5. แข่งด้วยราคา = กำไรจะต้องนำไปลงทุน ทำโปรโมชั่น ลดแลกแจกแถม สุดท้ายไม่เหลือเงินให้เจ้าของ

3.3.5.1. แต่ถ้าคุณขายสินค้าแบรนด์ หรือทำธุรกิจผูกขาด คุณก็ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม

3.3.5.2. รถ BTS จะห่วยและแพงแค่ไหนลูกค้าก็ยังใช้บริการ เขาจึงมีเงินไปสร้างคุณค่าให้ผู้ถือหุ้นได้

3.3.6. ในปี 1964 บริษัทสิ่งทอ Burlington Industries มีราคาหุ้น $30 ซึ่งมีกำไรสม่ำเสมอ มีการลงทุนพัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่อง ผ่านไป 20 ปี ราคาหุ้นเพิ่มเป็น $34

3.3.6.1. ในระหว่างนั้น บริษัทลงทุนเพิ่มไป $100 ต่อหุ้น แต่นั่นเป็นการลงทุนเพื่อเอาตัวรอด ไม่ใช่การลงทุนเพื่อเพิ่มกำไร

3.3.6.2. ต่อให้คุณซื้อบริษัทแบบนี้ในราคาถูกแค่ไหน คุณก็ไม่ได้ผลตอบแทนที่ดีหรอก

3.3.6.2.1. คุณอาจบังเอิญซื้อถูกในราคา $17 และขาย $34 โดยกำไร 100% แต่คุณจะต้องถือหุ้นนาน 20 ปี

3.4. ทำไมวอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่ซื้อหุ้นเทคโนโลยี ที่จะมา "เปลี่ยนโลก"?

3.4.1. หุ้น "New Economy" ที่จะมาเปลี่ยนโลก ส่วนใหญ่ราคาสูง ทั้งที่บริษัทยังขาดทุนทุกปี

3.4.1.1. ตอนเข้าตลาดหุ้น UBER มีมูลค่าตลาด $75 billion โดยบริษัทขาดทุนปีละ $10 billion

3.4.2. หุ้นเทคโนโลยีมักมีการแข่งขันสูง บริษัทจึงขาดทุนตลอด กำไรจึงไม่แน่นอน ไม่แน่ว่าบริษัทที่คุณซื้อ อาจขาดทุนต่อเนื่องจนหายไปเลยก็ได้

3.5. ธุรกิจอะไรที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบ

3.5.1. ขายของมีแบรนด์ที่ใช้แล้วหมดไป ลูกค้าต้องกลับมาซื้อใหม่เสมอ

3.5.1.1. เครือร้านอาหาร

3.5.1.1.1. KFC

3.5.1.1.2. แมคโดนัลด์

3.5.1.1.3. สตาร์บัคส์

3.5.1.2. อาหาร/ขนมที่มีแบรนด์

3.5.1.2.1. โค้ก

3.5.1.2.2. ช็อคโกแลต Hershey's

3.5.1.2.3. กระทิงแดง คาราบาวแดง

3.5.1.3. ยา

3.5.1.4. สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ที่โกนหนวด

3.5.1.4.1. ที่โกนหนวด Gillette เป็นสินค้าที่มาร์จิ้นสูง ลูกค้าต้องซื้อใช้ตลอด

3.5.1.5. เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่มีแบรนด์

3.5.1.5.1. รองเท้า Nike, Adidas

3.5.1.5.2. เสื้อผ้า Lululemon

3.5.2. ขายสินค้าที่คนส่วนใหญ่ใช้ ด้วยต้นทุนที่ต่ำจนคู่แข่งสู้ไม่ไหว เพราะบริษัทมีโครงสร้างที่ทำซ้ำไม่ได้

3.5.2.1. จิวเวลรี่

3.5.2.2. ประกัน

3.5.2.3. แม็คโคร

3.5.2.4. เซเว่น

3.5.2.4.1. ยากที่ใครจะวางโครงสร้างโลจิสติกส์ระดับเซเว่นได้

3.5.2.4.2. เซเว่นไทยเองก็ขยายไปอินโดนีเซียไม่ได้ เพราะเจ้าเก่าวางโครงสร้างโลจิสติกส์ไว้หมดแล้ว

3.5.3. บริการโฆษณาที่ทุกคนต้องจ่ายเงินซื้อ เพราะทุกธุรกิจบนโลกต้องลงโฆษณา มันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

3.5.3.1. Facebook

3.5.3.2. Google

3.5.3.3. เอเจนซี่โฆษณา

3.5.3.4. หนังสือพิมพ์

3.5.4. ให้บริการพิเศษที่ลูกค้าต้องกลับมาซื้อซ้ำเสมอ โดยที่ไม่ต้องลงทุนสูง มีเทคโนโลยีเหนือชั้น หรือจ้างด็อกเตอร์ปริญญาเอก

3.5.4.1. ให้บริการทำบัญชี/นำส่งภาษี

3.5.4.2. ให้บริการทำความสะอาด

3.5.4.3. บริษัทบัตรเครดิต

3.6. Checklist 10 ข้อที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ใช้

3.6.1. ROE สูงทุกปี

3.6.1.1. ROE = Return on Equity = กำไร/เงินทุนส่วนผู้ถือหุ้น

3.6.1.1.1. "เงินทุนส่วนผู้ถือหุ้น" = ทรัพย์สิน - หนี้สิน

3.6.1.1.2. กำไร = ยอดขาย - รายจ่าย

3.6.1.2. ยิ่งค่านี้สูง ยิ่งแปลว่าบริษัทใช้เงินทุนน้อย แต่หากำไรได้มาก

3.6.1.2.1. ดี --> ลงทุน 100 กำไร 50 (ROE = 50%)

3.6.1.2.2. ไม่ดี --> ลงทุน 1000 กำไร 50 (ROE = 5%)

3.6.1.3. ROE ต้องสูงทุกปี ไม่ใช่บางปีมาก บางปีน้อย

3.6.1.4. ROE > 20 ถือว่าสูง

3.6.2. ROTC สูงทุกปี

3.6.2.1. ROTC = Return on Total Capital = กำไรก่อนจ่ายดอกเบี้ยและภาษี/เงินทุนทั้งหมด

3.6.2.1.1. เงินทุนทั้งหมด = เงินทุนส่วนของผู้ถือหุ้น + หนี้สินทั้งระยะสั้นและยาว

3.6.2.2. บางครั้ง บริษัทจะมีหนี้สินเยอะ ส่วนของผู้ถือหุ้นน้อย ทำให้ ROE บิดเบี้ยวไป เราจึงควรดู ROTC ประกอบกับ ROE เพื่อให้ชัวร์ว่าบริษัทใช้เงินน้อยกำไรมาก

3.6.3. กำไรเติบโตสม่ำเสมอทุกปี

3.6.3.1. บางครั้ง บริษัทที่มีกำไรสม่ำเสมอทุกปี อาจถูกข่าวร้ายที่ทำให้กำไรปีหนึ่งหายไปเลย ราคาหุ้นร่วงลงรุนแรง

3.6.3.2. มองให้ออกว่าข่าวร้ายนี้ เป็นข่าวร้ายชั่วคราวหรือถาวร ถ้าชั่วคราว เดี๋ยวบริษัทก็ฟื้นกลับมา

3.6.3.3. จังหวะซื้อที่ดีคือ บริษัทกำไรเติบโตทุกปี แต่มีปีหนึ่งที่ขาดทุนหนักเพราะข่าวร้ายชั่วคราว

3.6.4. หนี้สินน้อย

3.6.4.1. การที่หนี้น้อย เป็นหลักฐานว่าธุรกิจนี้ดีมาก ไม่จำเป็นต้องกู้ก็ขยายตัวได้สบาย

3.6.4.2. บริษัทที่ไม่มีหนี้ จะรอดจากเศรษฐกิจตกต่ำได้ง่าย

3.6.4.2.1. เหมือนเวลาตกงาน คนที่ไม่มีหนี้ ย่อมสบายกว่าคนที่มีหนี้

3.6.4.3. สัดส่วน D/E Ratio เชื่อไม่ได้

3.6.4.3.1. สัดส่วน D/E คือการเอาหนี้มาหารด้วย "ส่วนของผู้ถือหุ้น" โดย "ส่วนของผู้ถือหุ้น" = ทรัพย์สิน - หนี้สิน

3.6.4.3.2. วอร์เรน บัฟเฟตต์ มองว่าหนี้ของบริษัท ก็เหมือนหนี้ของคน เราควรดูที่รายได้ว่าพอจ่ายหนี้ไหม ไม่ใช่ไปดูหลักทรัพย์ค้ำประกัน

3.6.4.3.3. ซื้อบริษัทที่มีกำไรพอล้างหนี้ได้ใน 5 ปี

3.6.5. คู่แข่งสู้ไม่ได้ (มี Durable Competitive Advantage)

3.6.6. บริษัทไม่มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง

3.6.6.1. สหภาพแรงงานการบินไทย ทำให้บริษัทลดคนไม่ได้ ลดค่าแรงไม่ได้ และต้องจ่ายสวัสดิการสูงจนบริษัทขาดทุนต่อเนื่อง

3.6.7. ขึ้นราคาสินค้า/บริการได้ตามเงินเฟ้อ

3.6.7.1. ต้นทุนทุกอย่างขึ้นไปเรื่อยๆ ตามเงินเฟ้อ ทั้งค่าแรงคน วัสดุอุปกรณ์ ค่าโฆษณา ฯลฯ

3.6.7.2. ถ้าบริษัทขึ้นราคาได้ตามเงินเฟ้อ อย่างน้อยเราก็รักษามูลค่าบริษัทได้ตามเงินเฟ้อ

3.6.7.3. บางบริษัทขึ้นราคาตามเงินเฟ้อไม่ได้ ราคาขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทานในตลาด ซึ่งไม่ดี

3.6.7.3.1. สายการบิน

3.6.7.3.2. ค่าระวางเรือ

3.6.7.3.3. น้ำมัน

3.6.7.3.4. น้ำตาล

3.6.8. ไม่ต้องลงทุนเพื่อรักษาธุรกิจไว้

3.6.8.1. ธุรกิจที่ดีไม่ต้องลงทุน ยังไงคนก็ซื้อสินค้า/บริการอยู่ดี บริษัทจึงมีเงินไปขยายกิจการหรือจ่ายเงินปันผลให้คุณ

3.6.8.2. เงินลงทุนควรมีไว้ขยายกิจการ ไม่ใช่เพื่อรักษาของเก่าไม่ให้ล้ม

3.6.8.3. ถ้าธุรกิจต้องลงทุนอัพเกรดโรงงาน หรืออัดค่าโฆษณา เพียงเพื่อรักษาธุรกิจไว้ คุณไม่มีทางรวย เงินลงทุนจะกินกำไรไปหมด

3.6.9. บริษัทมีเงินเหลือเพื่อคว้าโอกาสที่ผ่านมา

3.6.9.1. ถ้าบริษัทมีธุรกิจที่ดี ก็ควรมีเงินจากกำไรทุกปีไปทำอะไรก็ได้

3.6.9.2. จะไปขยายธุรกิจ หรือซื้อกิจการ หรือซื้อหุ้นตัวเองคืนจากตลาดหุ้นก็ได้

3.6.10. กำไรสะสมของบริษัท ทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มหรือเปล่า?

3.6.10.1. ถ้าธุรกิจดีจริง การที่มีกำไรสะสม จะต้องไปขยายกิจการทางใดทางหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้กำไรและมูลค่าเพิ่มขึ้น

3.6.10.2. บางธุรกิจจะต้องลงทุนเพื่อรักษากำไรเดิมไว้ มันจะแสดงออกมาในรูปที่ว่าต่อให้นำเงินไปลงทุนเพิ่ม บริษัทก็ไม่ได้ทำกำไรได้สูงขึ้นมาก

3.7. จะดูว่าธุรกิจนี้ดีไหม เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยคำถามไม่กี่ข้อ

3.7.1. ลองเดินไปร้านค้าใกล้บ้าน ห้างสรรพสินค้า ร้านหนังสือ หรือปั๊มน้ำมัน ดูว่าสินค้าไหนคนซื้อทุกวัน และกลับมาซื้อโดยไม่คิดมาก

3.7.2. สินค้าไหนที่ใช้กันมาตั้งแต่รุ่นปู่? สินค้าไหนขายเหมือน 30 ปีก่อนแต่ก็ยังมีคนซื้อ?

3.7.3. สินค้าไหนที่ร้าน "ต้องมีขาย" ไม่งั้นยอดขายร้านตกแน่?

3.7.4. บริการไหนที่ลูกค้าธุรกิจต้องซื้อ ไม่งั้นเขาจะทำธุรกิจต่อไม่ได้?

4. จังหวะซื้อขาย

4.1. คุณไม่ได้ "เล่นหุ้น" คุณกำลัง "ซื้อธุรกิจ"

4.1.1. ไม่ซื้อหุ้นตามข่าวดี

4.1.1.1. ไม่สนใจข่าว "บริษัทนี้กำลังจะซื้อกิจการ"

4.1.1.2. ไม่สนใจข่าว "ผลประกอบการไตรมาสนี้"

4.1.1.3. ไม่สนใจข่าว "ราคายังขึ้นได้อีก 50%"

4.1.2. ไม่ขายหุ้นตามข่าวร้าย

4.1.2.1. ไม่สนใจข่าว "ธุรกิจกลุ่มนี้กำลังแย่"

4.1.2.2. ไม่สนใจข่าว "ไตรมาสนี้กำไรต่ำกว่าคาด"

4.1.2.3. ไม่สนใจข่าว "สงครามในตะวันออกกลาง"

4.1.3. ไม่ดูกราฟ

4.1.4. ไม่สนใจว่า "ช่วงนี้หุ้นกลุ่มไหนน่าเล่น"

4.1.5. เวลาซื้อหุ้น คุณกำลังซื้อบริษัท สิ่งที่สำคัญจริงๆ คือ "บริษัทนี้มีอนาคตไหม" จากนั้นคุณก็แค่รอจังหวะซื้อหุ้นในเวลาที่คนเทขาย

4.1.6. นักลงทุนส่วนใหญ่มองระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นรายย่อยหรือกองทุน แต่ถ้าคุณมองระยะยาว คุณจะกำไรเหนือคนอื่น

4.1.7. เวลามีข่าวร้าย หุ้นจะลงหนัก ทั้งที่มูลค่าบริษัทในระยะยาวยังเหมือนเดิม นี่เป็นจังหวะที่ดีในการซื้อหุ้นราคาต่ำกว่ามูลค่า

4.2. ซื้อหุ้นที่ดีเวลามีข่าวร้าย

4.2.1. โดยธรรมชาติ คนเราอยากได้เงินง่ายๆ เร็วๆ ซื้อวันนี้พรุ่งนี้รวย นั่นทำให้พวกเขามองเห็นแต่ภาพระยะสั้น

4.2.1.1. ผู้เขียนเคยทานข้าวกับผู้จัดการกองทุนรายใหญ่ เขาลิสต์บริษัทที่สนใจให้ดู หนึ่งในนั้นคือ Capital Cities ซึ่งวอร์เรน บัฟเฟตต์ ซื้อไว้เยอะมาก

4.2.1.2. หุ้นตัวนี้ดีถึงขนาดที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ พูดไว้ว่า ถ้าต้องติดเกาะร้างสัก 10 ปีแล้วถือหุ้นได้ตัวเดียว เขาขอเลือก Capital Cities

4.2.1.3. แต่ผู้จัดการกองทุนคนนั้นไม่ได้ซื้อ Capital Cities เขาสารภาพว่ารู้ว่าหุ้นตัวนี้ดี แต่คนยังไม่เล่นกัน ราคายังไม่น่าขึ้นใน 6 เดือนข้างหน้า

4.2.1.4. ผู้จัดการกองทุนต้องทำผลประกอบการให้ สูงกว่าคู่แข่งทุกไตรมาส ไม่งั้นลูกค้าจะถอนเงินออก และตัวเขาเองก็จะถูกไล่ออก เขาจึงไม่ซื้อหุ้นที่ดีมากตัวนี้ เพียงเพราะว่า "คนยังไม่เล่นกัน"

4.2.1.5. ในขณะเดียวกัน วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซื้อหุ้น Capital Cities เต็มอัตราแม้ว่า "ในระยะสั้นราคายังไม่ขึ้น" ในที่สุดบริษัทนี้ควบรวมกับ Disney และทำกำไรให้บัฟเฟตต์หลายพันล้านดอลลาร์

4.2.2. อย่าลงทุนตามกระแส ถ้ามีข่าวร้าย จงวิเคราะห์เสมอว่า "พื้นฐานธุรกิจ" ของบริษัทนี้ยังดีเหมือนเดิมไหม ถ้ามันยังดีอยู่ หุ้นนี้ก็น่าซื้อ

4.2.3. ข่าวร้ายจะเข้ามาเสมอ และคนจำนวนมาก ทั้งกองทุนรายใหญ่ และเดย์เทรดเดอร์ จะขายหุ้นทิ้ง ราคาจะลงมามาก

4.2.4. บริษัทที่มีพื้นฐานดี จะฝ่าสถานการณ์เลวร้ายนี้ไปได้ และจะกลับมาดีเหมือนเดิม

4.2.5. ให้เลือกซื้อหุ้นที่พื้นฐานดีเวลาที่มีข่าวร้าย จากนั้นคุณก็แค่รอเวลาให้ราคากลับมา แค่นี้ก็กำไร

4.3. จับจังหวะเศรษฐกิจเพื่อซื้อหุ้นราคาถูก

4.3.1. หลังจากวอร์เรน บัฟเฟตต์ เลือกหุ้นได้ เขาจะยังไม่รีบซื้อ แต่รอเวลาให้ราคาหุ้น "ถูกพอ" ก่อน

4.3.2. ตลาดหุ้นจะสลับระหว่าง "ร้อนแรง" (หุ้นขึ้นแรง) กับ "ซบเซา" (หุ้นตกแรง) เสมอ

4.3.3. ช่วงที่ตลาดหุ้นขึ้นไปสูง จะเป็นเวลาที่อันตราย ไม่น่าซื้อหุ้น เพราะถ้าคุณซื้อสูงแล้วหุ้นตก คุณจะขาดทุนหนัก

4.3.4. จังหวะซื้อที่ปลอดภัยที่สุดคือ ตอนที่ตลาดหุ้นขึ้นไปถึงจุดสูงสุด แล้วตกหนัก ช่วงนั้นหุ้นทุกตัวจะราคาถูกหมด คุณจะซื้อหุ้นที่ดีได้ในราคาถูก

4.3.4.1. ยิ่งหุ้นบางตัวมีข่าวร้ายเวลาตลาดหุ้นตก ราคาหุ้นตัวนั้นจะยับเยินจนถูกมาก

4.3.4.2. "จงกลัวในเวลาที่คนอื่นโลภ และโลภในเวลาที่คนอื่นกลัว" - วอร์เรน บัฟเฟตต์

4.3.4.3. ไม่ใช่หุ้นทุกตัวที่คุณซื้อได้ ต้องเลือกหุ้นที่พื้นฐานดี (มี Durable Competitive Advantage)

4.3.5. หนังฉายซ้ำในตลาดหุ้น

4.3.5.1. หลังวิกฤติเศรษฐกิจ หุ้นทุกตัวจะราคาถูกหมด

4.3.5.1.1. ช่วงนี้ลงทุนง่าย หุ้นดีราคาถูกเกลื่อนตลาด

4.3.5.2. แบงก์ชาติกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายดอกเบี้ยต่ำ ตลาดหุ้นเริ่มขึ้น

4.3.5.2.1. ช่วงนี้หุ้นจะค่อยๆ ขึ้น แต่ก็จะมีวัฏจักรย่อยอยู่ข้างในอีก หุ้นจะไม่ขึ้นทีเดียวตลอด แต่ขึ้นๆ ลงๆ โดยภาพรวมจะยังขึ้นอยู่

4.3.5.2.2. ช่วงนี้บางครั้งตลาดจะลงหนักบ้าง แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นฟองสบู่ เรายังซื้อหุ้นที่ดีในราคาเหมาะสมได้

4.3.5.3. ฟองสบู่ระยะสุดท้าย

4.3.5.3.1. หุ้นบางตัว P/E 50 และคนบอกว่า "ยังราคาถูก"

4.3.5.3.2. นักวิเคราะห์เชื่อว่าหุ้น "New Economy" สามารถขาดทุนได้ไม่จำกัด เพราะอีกไม่นานบริษัทจะ "เปลี่ยนโลก"

4.3.5.3.3. "Loss is the new profit." ยิ่งบริษัทไหนขาดทุนยิ่งดี เพราะแปลว่ากำลังลงทุนเพื่อสร้างอนาคตที่ยิ่งใหญ่

4.3.5.3.4. กำไรไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ สิ่งสำคัญคือบริษัททำเรื่องที่ยิ่งใหญ่ มีเทคโนโลยีล้ำหน้า ส่วนบริษัทไดโนเสาร์ "Old Economy" ย่อมล้มหายไปเอง

4.3.5.3.5. หุ้นพื้นฐานดีจะราคาไม่ค่อยขึ้น ส่วนหุ้นที่บริษัทขาดทุนแต่ "Story ดี" (มีข่าวมาดันราคาหุ้น) จะขึ้นปีละ 100%

4.3.5.3.6. นี่คือยอดดอย ถ้าซื้อตรงนี้คุณอาจติดดอยหุ้นยาวนาน

4.3.5.4. ฟองสบู่แตก

4.3.5.4.1. หุ้นที่ราคาสูงเสียดฟ้าจะหล่นลงสู่พื้นดิน

4.3.5.4.2. นี่เป็นจังหวะเก็บหุ้นในราคาถูก นี่คือสถานการณ์สร้างเศรษฐี

4.3.5.4.3. ฟองสบู่ตลาดหุ้นแตกประจำ สัก 10 ปีแตกครั้ง

4.3.5.4.4. กลับไปข้อ 1 .ใหม่

4.4. แยกแยะ "ข่าวร้ายชั่วคราว" ที่คนอื่นมองว่าโลกจะแตก

4.4.1. ถ้าเกิดปัญหาทั้งอุตสาหกรรม

4.4.1.1. นี่เป็นโอกาสซื้อหุ้นชั้นยอด

4.4.1.2. ปัญหาเฉพาะอุตสาหกรรม รอสัก 1-4 ปีก็ฟื้น แล้วราคาก็เหมือนเดิม

4.4.1.3. ถ้าเป็นปัญหาระดับอุตสาหกรรม ทุกคนเสียหายหมด แต่รายเล็กจะล้มละลาย พอธุรกิจฟื้นรายใหญ่จะกินส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม

4.4.1.4. บริษัทที่อ่อนแอจะล้มละลาย อย่าซื้อหุ้นที่มีปัญหาเพียงเพราะราคาถูก ซื้อหุ้นที่แข็งแรงเงินสดเหลือเยอะ

4.4.2. ถ้าเกิดความเสียหายครั้งใหญ่

4.4.2.1. บริษัทที่ดี บางทีก็ทำเรื่องงี่เง่า หรือทำธุรกิจผิดพลาด แต่ถ้าพื้นฐานบริษัทยังดีอยู่ อีกเดี๋ยวหุ้นก็เด้งกลับมา

4.4.2.2. ในปี 1960 ลูกหนี้บริษัทบัตรเครดิต American Express รายหนึ่งนำน้ำมันมูลค่า $60 ล้านมาค้ำประกันเงินกู้ ซึ่ง American Express เป็นคนตรวจสอบว่าน้ำมันนี้มีจริง

4.4.2.3. พอลูกหนี้คนนี้ผิดนัดชำระหนี้ กลับหาน้ำมัน $60 ล้านนี้ไม่เจอ ทำให้ American Express ต้องรับผิดชอบชดใช้แทน ซึ่งทำให้บริษัทเสียหายหนัก ราคาหุ้นตกต่ำ

4.4.2.4. วอร์เรน บัฟเฟตต์ มองดูแล้วก็คิดว่า ความเสียหายนี้ไม่ได้ทำให้ธุรกิจของ American Express แย่ลงแม้แต่น้อย เดี๋ยวปีหน้าบริษัทก็กำไรเหมือนเดิม เขาจึงทุ่มเงินก้อนใหญ่เข้าไปซื้อหุ้น

4.4.2.5. 2 ปีถัดมา ราคาหุ้นก็ฟื้นขึ้นไปสูงกว่าเก่า บัฟเฟตต์กำไรก้อนโตจากครั้งนี้

4.4.3. ถ้าเกิดสงคราม

4.4.3.1. เวลาเกิดสงคราม หรือมีความตึงเครียดว่าจะเกิดสงคราม ตลาดหุ้นมักจะตก ทั้งสงครามอิรัก อิหร่าน อัฟกานิสถาน ฯลฯ

4.4.3.2. อย่าไปสนใจ เข้าไปซื้อหุ้นดีๆ ได้เลย

4.5. เมื่อไรจึงขายหุ้น

4.5.1. วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่คู่แข่งสู้ไม่ได้เสมอ เขาจึงถือยาวไปเรื่อยๆ ยกเว้นกรณีต่างๆ ดังนี้

4.5.1.1. ตลาดหุ้นฟองสบู่หนัก P/E จึงสูงเกินไป

4.5.1.1.1. P/E = สัดส่วน ราคาหุ้น/กำไรต่อหุ้น ยิ่งมากแสดงว่าหุ้นราคาสูงเทียบกับกำไร

4.5.1.2. พื้นฐานหุ้นเปลี่ยนไป การแข่งขันในธุรกิจสูงขึ้น กำไรไม่สูงเหมือนเก่า

4.5.1.3. พบโอกาสอื่นที่ดีกว่า และต้องการเงินไปซื้อหุ้นอื่น

4.5.2. วอร์เรน บัฟเฟต์ ชอบสังเกต P/E เทียบกับดอกเบี้ยจากพันธบัตร

4.5.2.1. มูลค่าหุ้นควรวัดจากกำไรเทียบกับดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยสูง เราก็ควรต้องการกำไรสูง จากเงินลงทุนเท่าเดิม

4.5.2.1.1. ดอกเบี้ยสูง P/E ต่ำ

4.5.2.1.2. ดอกเบี้ยต่ำ P/E สูง

4.5.2.2. ถ้าดอกเบี้ยพันธบัตร 3% ค่า P/E จะสูงได้ถึง 100/3 = 33 (ถ้าบริษัทไม่โต)

4.5.2.3. ถ้าดอกเบี้ยพันธบัตร 7% ค่า P/E จะสูงได้ถึง 100/7 = 14 (ถ้าบริษัทไม่โต)

4.5.2.4. ถ้าบริษัทโต ค่า P/E จะสูงได้อีก ขึ้นอยู่ว่าโตเร็วแค่ไหน

4.5.2.4.1. แต่ดอกเบี้ยที่สูงก็จะยังคงมีอิทธิพลกดดัน P/E บ้างอยู่ดี

5. วิธีมองโลก

5.1. มี 2 ทางที่บริษัทจะมีกำไรสูง

5.1.1. กำไรต่อชิ้นสูง (Margin สูง)

5.1.1.1. มาร์จิ้น = สัดส่วน กำไร/ยอดขาย

5.1.2. ขายสินค้าออกเร็วมาก (Turnover สูง)

5.1.2.1. Turnover = ยอดขาย/สต็อกสินค้า

5.1.3. ถ้าคุณมีซุ้มขายน้ำมะนาวในทะเลทราย คุณจะรวยได้ 2 ทาง

5.1.3.1. ขายแก้วละพัน (มาร์จิ้นสูง)

5.1.3.2. ขายแก้วละ 100 แต่ขายได้ล้านแก้ว (Turnover สูง)

5.1.4. คราวนี้คุณลองเลือกเมืองทะเลทราย ที่จะขายน้ำมะนาว

5.1.4.1. เมืองแรก มีซุ้มขายน้ำมะนาวอยู่ 50 ร้าน

5.1.4.1.1. คุณจะขายน้ำมะนาวแพงไม่ได้ คุณต้องขายราคาถูกเท่าๆ กับคนอื่น และคงขายได้ไม่มาก เพราะต้องแข่งกับร้านอื่นด้วย

5.1.4.2. เมืองที่สอง ไม่มีร้านขายน้ำมะนาวอยู่เลย คุณจะเป็นคนแรกที่ขาย

5.1.4.2.1. คุณจะตั้งราคาได้สูง และทุกคนก็ต้องมาซื้อน้ำมะนาวจากคุณ คุณจะมีกำไรมหาศาล

5.1.4.2.2. นี่คือบริษัทที่ "ผูกขาด" คุณควรเลือกซื้อหุ้นแบบนี้

5.1.5. น้ำมะนาวแจ็ค

5.1.5.1. แจ็คเริ่มจากขายน้ำมะนาวในเมืองที่ 2 ก่อน เขากำไรสูงมาก จึงมีเงินมาลงทุนพัฒนาสูตรน้ำมะนาวที่ใครก็ติดใจ

5.1.5.2. ต่อมา แจ็คเข้ามาขายในเมืองที่ 1 เขามีสูตร "น้ำมะนาวแจ็ค" ซึ่งใครได้ชิมก็ต้องร้องอูวว์

5.1.5.3. ด้วยรสชาติที่ลึกล้ำ แจ็คจึงขายน้ำมะนาวได้แพงกว่าคู่แข่ง ถึงแม้ร้านอื่นในเมืองที่ 1 จะขายน้ำมะนาวถูกกว่า ลูกค้าก็ยังจะซื้อน้ำมะนาวแจ็คอยู่ดี

5.1.5.4. "น้ำมะนาวแจ็ค" คือตัวอย่างธุรกิจที่ดี ซึ่งมีความลับบางอย่างที่ลูกค้ายอมจ่าย โดยคู่แข่งเลียนแบบไม่ได้

5.1.6. วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบซื้อธุรกิจที่ทั้งกำไรต่อชิ้นสูง (Margin สูง) และขายสินค้าเร็ว (Turnover สูง)

5.1.6.1. บางทีก็หาบริษัทดีๆ แบบนี้ไม่ได้ ให้ลดมาตรฐานลง มีข้อเดียวก็พอได้

5.1.6.2. ถ้าบริษัทไหนไม่มีสักข้อ ไม่ควรซื้อหุ้นเด็ดขาด

5.2. ดอกเบี้ยเหมือนแรงโน้มถ่วงของราคาหุ้น

5.2.1. มูลค่าของบริษัทต้องเปรียบเทียบกับดอกเบี้ย สมมติว่ามีบริษัท A กำไรคงที่

5.2.2. ถ้าดอกเบี้ยสูง นักลงทุนไม่ต้องซื้อหุ้นบริษัท A ก็ได้ เราสามารถลงทุนพันธบัตรกินดอกเบี้ยแทน หุ้น A มีแนวโน้มต่ำ

5.2.2.1. สมมติดอกเบี้ย 10% หลายคนอาจไม่ซื้อหุ้น แล้วฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรแทน

5.2.3. ถ้าดอกเบี้ยต่ำ นักลงทุนจะพยายามหา การลงทุนอะไรก็ได้ที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ย จึงดันราคาหุ้นให้สูง

5.2.3.1. สมมติดอกเบี้ย 0.5% เราจะเห็นคนยอมซื้อหุ้นปันผลราคาแพง ด้วยเหตุผลว่า "ขอปันผลมากกว่าดอกเบี้ยก็พอ"

5.3. เป็นไปไม่ได้ที่จะคำนวณ "มูลค่าที่แท้จริง" ของหุ้น

5.3.1. หลายคนที่ติดตามวอร์เรน บัฟเฟตต์ จะคิดไปว่าเราจะต้องหา "มูลค่าที่แท้จริง" ของหุ้น เพื่อซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่า

5.3.2. แต่ "มูลค่าที่แท้จริง" ของหุ้น ไม่ใช่ค่าคงที่ซึ่งคำนวณเสร็จแล้วจะเท่าเดิมไปตลอด มูลค่าของหุ้นจะเปลี่ยนไปตามปัจจัยทางเศรษฐกิจด้วย

5.3.2.1. ดอกเบี้ยต่ำ -> มูลค่าสูง

5.3.2.2. เงินเฟ้อสูง -> มูลค่าสูง

5.3.2.3. หุ้นตัวอื่นราคาแพง -> มูลค่าสูง

5.3.3. ถ้าเราหามูลค่าจาก DCF ก็จะผิดพลาดได้ง่ายอีก

5.3.3.1. การหามูลค่าที่แท้จริง เราต้องคาดการณ์กำไรล่วงหน้า 100 ปี ซึ่งเป็นไปไม่ได้

5.3.3.2. การหามูลค่าที่แท้จริง ต้องเทียบกับดอกเบี้ยพันธบัตร ซึ่งเปลี่ยนไปเปลียนมาตามนโยบายรัฐ

5.3.3.3. ตามทฤษฎี DCF ถ้าบริษัทโตเร็วกว่า discount rate (ดอกเบี้ย) เราจะหามูลค่าที่แท้จริงได้เท่ากับ 999999999999999999999999999999999999999

5.3.3.3.1. สูตรคำนวณจะ error

5.3.4. แทนที่จะหามูลค่าที่แท้จริง วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะมองแค่ "ถ้าซื้อตอนนี้ อีก 10 ปีจะกำไรแค่ไหน"

5.3.4.1. ดูรายวิธีคำนวณในหัวข้อ 4 "สูตรคำนวณหาหุ้นที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบใช้"

5.3.5. พอวอร์เรน บัฟเฟตต์ ประเมินเสร็จว่า "ซื้อหุ้นนี้ตอนนี้ อีก 10 ปีกำไรแค่ไหน" เขาก็แค่เลือกทางที่น่าจะกำไรที่สุดในตอนนั้น

5.3.5.1. ถ้าเขาคิดว่าซื้อแล้วจะกำไรน้อยกว่าดอกเบี้ยพันธบัตร เขาจะถือแค่พันธบัตร แล้วมองหาโอกาสต่อไป

5.4. หุ้นที่กำไรสม่ำเสมอ ก็เหมือนพันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ยทุกปี

5.4.1. พันธบัตรคือกระดาษที่เราถือไว้ แล้วก็ได้ "ดอกเบี้ย" คงที่ทุกปี

5.4.2. หุ้นที่ดีจะคล้ายพันธบัตร มันคือกระดาษที่เราถือไว้ แล้วได้ "กำไร" ทุกปี

5.4.2.1. ต่างกันที่กำไรไม่คงที่ ส่วนดอกเบี้ยคงที่

5.4.3. ถึงแม้หุ้นบางตัวจะไม่จ่ายกำไรออกมาเป็นเงินปันผล วอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็ยังนับกำไรนั้นเป็น "รายได้" อยู่ดี แค่ยังไม่ได้นำมาคืนให้เรา

5.4.4. หุ้นที่ดีจะมีกำไรเพิ่มขึ้นให้เราทุกปี เหมือนพันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตลอด

6. สูตรคำนวณหาหุ้นที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบใช้

6.1. ไม่ต้องรู้น้ำหนักก็บอกได้ว่าอ้วน

6.1.1. เปิดตารางดูกำไรย้อนหลังสัก 10 ปี ดูเล่นๆ แบบไม่ต้องคำนวณอะไร

6.1.2. ลองดูตัวเลขคุณก็พอจะรู้สึกได้ ว่ากำไรเป็นยังไง ขึ้นเร็วไหม แกว่งแค่ไหน ฯลฯ

6.1.3. บริษัทที่ดีจะมีกำไรโตสม่ำเสมอทุกปี

6.1.3.1. ยกเว้นปีที่มีเหตุการณ์พิเศษเข้ามากระทบ อาจขาดทุนได้ แต่ไม่เป็นไร

6.1.3.2. ปีพิเศษนั้น ที่จริงเป็นจังหวะเข้าซื้อ

6.2. มองหุ้นเทียบกับพันธบัตร

6.2.1. พันธบัตรคือกระดาษที่เราถือไว้ แล้วก็ได้ "ดอกเบี้ย" คงที่ทุกปี

6.2.2. หุ้นก็คล้ายกัน มันคือกระดาษที่เราถือไว้ แล้วได้ "กำไร" ทุกปี

6.2.2.1. ต่างกันที่กำไรไม่คงที่ ส่วนดอกเบี้ยคงที่

6.2.3. วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบเอา "กำไร" มาหารราคาหุ้น แล้วเทียบกับดอกเบี้ยพันธบัตร

6.2.3.1. เช่น ถ้าหุ้นราคา 50 โดยกำไรต่อหุ้น 5 หุ้นนี้จะเทียบเท่าพันธบัตรที่มีดอกเบี้ย 5/50 = 10%

6.2.3.2. ถ้าช่วงนั้นพันธบัตรให้ดอกเบี้ย 7% แสดงว่าหุ้นนี้ "คุ้ม" กว่าซื้อพันธบัตร

6.2.3.3. ยิ่งถ้าหุ้นนี้กำไรโตทุกปี ก็เทียบเหมือนพันธบัตร ที่ให้ดอกเบี้ยมากขึ้นๆ ทุกปี (ยิ่งคุ้ม)

6.3. ทำนายกำไรในอนาคต

6.3.1. บริษัทที่กำไรเสถียร เราจะทำนายกำไรได้ค่อนข้างแม่น โดยดูจากค่า ROE

6.3.1.1. นี่เป็นสาเหตุว่าวอร์เรน บัฟเฟตต์ สนใจ ROE มากเป็นพิเศษ

6.3.2. ถ้าบริษัทเอากำไรไปขยายธุรกิจต่อทั้งหมด กำไรจะโตเท่า ROE

6.3.2.1. เช่น ให้ ROE = 10% กำไร 200

6.3.2.2. ปีถัดไปจะกำไร 200 x 110% = 220

6.3.2.3. ปีถัดไปจะกำไร 220 x 110% = 242

6.3.2.4. อีก 10 ปีจะกำไร 200 x 1.1^10

6.3.2.4.1. 1.1 มาจาก ROE 10%

6.3.3. ถ้าบริษัทเอากำไรบางส่วนมาจ่ายปันผล เราต้องคิดเฉพาะ ROE จากกำไรส่วนที่ไม่ได้จ่ายปันผล

6.3.3.1. เช่น ให้ ROE = 10% กำไร 200 โดยจ่ายปันผล 40% ของกำไร

6.3.3.1.1. แสดงว่ากำไร 60% ถูกนำไปขยายธุรกิจ

6.3.3.2. ROE ส่วนที่ใช้ขยายธุรกิจจะมีแค่ 10% x 60% = 6%

6.3.3.3. ปีถัดไปจะกำไร 200 x 106% = 212

6.3.3.4. ปีถัดไปจะกำไร 212 x 106% = 224.72

6.3.3.5. อีก 10 ปีจะกำไร 200 x 1.06^10

6.3.3.5.1. 1.06 มาจาก ROE 6%

6.4. ทำนายราคาหุ้นจาก P/E และกำไรในอนาคต

6.4.1. ราคาหุ้น = P/E x กำไรต่อหุ้น

6.4.2. ถ้าอยากทำนายราคาหุ้นปีไหน เราต้องทำนายกำไรก่อน (ใช้ ROE ทำนาย)

6.4.3. ให้กะเอาว่าหุ้นตัวนี้ P/E จะประมาณไหน ในปีที่อยากทำนายราคา

6.4.3.1. ดูจากค่า P/E เฉลี่ยในอดีตของหุ้นตัวนั้น

6.4.4. หาราคาหุ้นโดย ราคาหุ้น = P/E x กำไรต่อหุ้น

6.5. คาดการณ์ผลตอบแทนล่วงหน้า 10 ปี (ย่อ)

6.5.1. ทำนายราคาหุ้นตอนที่จะขายในอีก 5, 6, 7, 8, 9, ... ปีข้างหน้าก่อน

6.5.2. ผลตอบแทน = (ราคาขาย/ราคาซื้อ)^(1/ปี)

6.5.2.1. ราคาขาย เราต้องทำนาย

6.5.2.2. ราคาซื้อ เราเห็นอยู่แล้วในปัจจุบัน

6.5.2.3. "ปี" คือจำนวนปีนับจากวันที่เราซื้อ ไปจนขาย

6.5.2.4. สังเกตว่าถ้าคุณซื้อแพง ผลตอบแทนจะต่ำ

6.5.3. ถ้าคิดแล้วผลตอบแทนน้อยไป วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะไม่ลงทุน

6.5.3.1. อย่างน้อยต้องได้ 15% = 0.15 ต่อปี

6.6. คาดการณ์ผลตอบแทนล่วงหน้า 10 ปี (สรุปละเอียด)

6.6.1. ทำนายราคาหุ้นตอนที่จะขายในอีก 5, 6, 7, 8, 9, ... ปีข้างหน้าก่อน

6.6.1.1. ทำนายราคาหุ้นจาก P/E และกำไร

6.6.1.1.1. ราคาหุ้น = P/E x กำไรต่อหุ้น

6.6.1.1.2. ถ้าอยากทำนายราคาหุ้นปีไหน เราต้องทำนายกำไรก่อน (ใช้ ROE ทำนาย)

6.6.1.1.3. ให้กะเอาว่าหุ้นตัวนี้ P/E จะประมาณไหน ในปีที่อยากทำนายราคา

6.6.1.1.4. หาราคาหุ้นโดย ราคาหุ้น = P/E x กำไรต่อหุ้น

6.6.2. ผลตอบแทน = (ราคาขาย/ราคาซื้อ)^(1/ปี)

6.6.2.1. ราคาขาย เราต้องทำนาย

6.6.2.2. ราคาซื้อ เราเห็นอยู่แล้วในปัจจุบัน

6.6.2.3. "ปี" คือจำนวนปีนับจากวันที่เราซื้อ ไปจนขาย

6.6.2.4. สังเกตว่าถ้าคุณซื้อแพง ผลตอบแทนจะต่ำ

6.6.3. ถ้าคิดแล้วผลตอบแทนน้อยไป วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะไม่ลงทุน

6.6.3.1. อย่างน้อยต้องได้ 15% = 0.15 ต่อปี

7. วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) คือใคร?

7.1. นักลงทุนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ซึ่งเริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกตั้งแต่อายุ 11 ปี และสนใจการลงทุนขึ้นมา

7.2. ตั้งแต่เป็นเด็กอายุ 13 ขวบ บัฟเฟตต์ก็เริ่มหัดเป็นเถ้าแก่ เขาซื้อเครื่องพินบอลเครื่องละ $25 มาตั้งในร้านตัดผม ไม่นานเขาก็ขยายธุรกิจจนมี 7 เครื่อง

7.3. ในปี 2017 มีคนยอมจ่ายเงิน $3.7 ล้าน เพื่อทานข้าวกลางวันกับปู่บัฟเฟตต์ (เงินก้อนนี้ถูกบริจาคเข้ากองทุนช่วยคนยากจน)

7.4. ผลตอบแทนปีละ 30% ในยุคทองช่วงอายุ 30-40 และผลตอบแทนปีละ 20% ตลอดชีวิตการลงทุนกว่า 60 ปี ในปี 2018 เขามีทรัพย์สิน 88 พันล้านดอลลาร์ ทั้งที่ได้บริจาคเงินไปแล้วกว่า 40 พันล้านดอลลาร์