กระตุ้นตัวเองให้ลงมือทำทันทีด้วยกฏ 5 วินาที

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กระตุ้นตัวเองให้ลงมือทำทันทีด้วยกฏ 5 วินาที by Mind Map: กระตุ้นตัวเองให้ลงมือทำทันทีด้วยกฏ 5 วินาที

1. ผู้เขียน

1.1. เมล ร็อบบิน

1.1.1. พิธีกรรายโทรทัศน์

1.1.2. นักเขียนขายดีระดับ Best Seller

1.1.3. นักพูดคิวทองที่ถูกจองจนคิวเต็มเสมอ

2. ความโด่งดังของหนังสือเล่มนี้

2.1. ต้นฉบับหนังสือเสียงของเล่มนี้คือหนังสือเสียงที่ขายดีที่สุดอันดับ 1 ของโลกในปี 2017 จากเว็บไซต์ Amazon

2.2. ความนิยมของหนังสือเล่มนี้ทำให้หนังสือเล่มต่อมาอย่าง The 5 Second Journal ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก ขายหมดเกลี้ยงภายในไม่กี่นาที

3. 5 Second Rule คืออะไร?

3.1. 5 Second Rule หรือกฎ 5 วินาที คือช่วงเวลาที่คุณรู้สึกตัวว่าต้องลงมือทำตามเป้าหมาย คุณต้องเริ่มนับถอยหลัง 5-4-3-2-1 แล้วลงมือทำหรือไม่สมองของคุณจะสั่งให้คุณหยุดทำ

3.1.1. Ex # การออกกำลังกายหลังเลิกงาน

3.1.1.1. ปกติคุณจะออกกำลังกายตอนกลับถึงบ้านหลังเลิกงาน

3.1.1.2. แต่วันนี้คุณรู้สึกเหนื่อยและเครียด เพราะคุณเพิ่งผ่านการประชุมมาทั้งวัน

3.1.1.3. ดังนั้นช่วงเวลานี้เอง คุณต้องเริ่มนับถอยหลัง 5-4-3-2-1

3.1.1.3.1. แล้วออกจากบ้านไปออกกำลังกาย

3.1.1.3.2. ไม่อย่างนั้นคุณจะคิดข้ออ้างในการไม่ออกกำลังกายได้มากมาย

3.1.2. Ex # การตื่นนอน

3.1.2.1. ทุกวันทำงาน คุณจะตั้งนาฬิกาปลุกเอาไว้ที่ 6.30 น.

3.1.2.2. พอเสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น ให้คุณนับถอยหลัง 5-4-3-2-1

3.1.2.2.1. พอถึง 1 คุณก็ลุกจากเตียงไปเตรียมตัวทำกิจวัตรตอนเช้าก่อนไปทำงาน

3.1.2.2.2. ถ้าคุณไม่นับ คุณจะเริ่มคิดถึงข้ออ้างต่างๆ แล้วเอื้อมมือไปเลื่อนเวลาปลุก

3.1.2.2.3. คุณก็จะตื่นสายไปอีก มันอาจทำให้คุณไปทำงานสายได้

3.2. ทำไมการนับถอยหลัง 5 วินาทีถึงช่วยกระตุ้นให้เราเริ่มลงมือทำทันที

3.2.1. การนับถอยหลังช่วยสร้างอำนาจในการควบคุม

3.2.1.1. การนับถอยหลังจะช่วยดึงเราออกมาจากสิ่งรบกวนและข้อแก้ตัวที่เรากำลังคิดขึ้นมา

3.2.1.2. แล้วเราก็จะไปสนใจกับการลงมือทำสิ่งที่ตั้งใจไว้แทน

3.2.1.3. สรุปง่ายๆ คือ

3.2.1.3.1. หยุดคิดฟุ้งซ่าน

3.2.1.4. นักจิตวิทยาพบว่า

3.2.1.4.1. อำนาจในการควบคุมตัวเอง ควบคุมโชคชะตาของตัวเอง และสร้างโอกาสขึ้นมาด้วยตัวเอง

3.2.1.4.2. การเฝ้ารอให้โอกาสนั้นปรากฏตัวขึ้นมาแล้วเราค่อยไปคว้ามันไว้

3.2.2. การนับถอยหลังช่วยสับสวิตช์การทำงานในสมอง

3.2.2.1. เราสามารถแยกสมองออกเป็น 2 ส่วนง่ายๆ คือ

3.2.2.1.1. สมองส่วนความรู้สึก Amygdala

3.2.2.1.2. สมองส่วนคิด Prefrontal Cortex

3.2.2.2. เวลาเราจะคิดทำอะไร สมองทั้ง 2 ส่วนนี้จะต่างคนต่างคิด แล้วเราก็มักยอมทำตามสมองส่วนความรู้สึกด้วย

3.2.2.3. การนับถอยหลังจึงเป็นวิธีช่วยสับสวิชต์การทำงานจากสมองส่วนความรู้สึกมาเป็นสมองส่วนคิด

3.2.2.3.1. Ex # การออกกำลังกายหลังเลิกงาน

3.2.2.4. ถ้าเรามัวแต่หยุดคิดก่อนทำอะไร นั่นแปลว่าเรามีแนวโน้มที่จะไม่ทำมัน เพราะสารพัดข้ออ้างและความรู้สึกต่างๆ จะเริ่มผุดขึ้นมา

3.2.3. การนับถอยหลังคือพิธีกรรม

3.2.3.1. พิธีกรรมคือตัวกระตุ้นให้เราเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

3.2.3.2. การนับถอยหลังจึงเป็นพิธีกรรมสำหรับกระตุ้นให้เราเริ่มลงมือทำอะไรบางอย่าง

3.3. เราใช้ 5 Second Rule เพื่ออะไร?

3.3.1. ผลักดันให้เราลงมือทำแทนที่จะรอเวลาที่เหมาะสม

3.3.1.1. คนส่วนใหญ่ชอบรอให้ถึง "เวลาที่เหมาะสม" หรือรอ "ความรู้สึกว่าใช่" ก่อนลงมือทำอะไรสักอย่าง

3.3.1.2. ทั้งที่จริงแล้ว "เวลาที่เหมาะสม" หรือ "ความรู้สึกว่าใช่" มันไม่เคยมาถึงเสียทีและมันยังไม่ตรงกับเป้าหมายของเราด้วย

3.3.1.3. การนับถอยหลังจึงช่วยทิ้งความรู้สึกพวกนี้ไป แล้วกระตุ้นให้เราเริ่มลงมือทำทันที

3.3.1.4. Ex # E L James นักเขียนหญิงชาวอังกฤษ

3.3.1.4.1. เจมส์คือ working mom ชาวอังกฤษที่รักในงานเขียน

3.3.1.4.2. เธอลงมือเขียนนิยายเรื่อง Fifty Shade of Grey โดยไม่ต้องรอนำเสนอต่อสำนักพิมพ์ที่ไหนเลย

3.3.1.4.3. เธอตัดสินใจตีพิมพ์ต้นฉบับออกขายด้วยตัวเอง จนมันโด่งดังไปทั่วโลกแล้วทำยอดขายไปได้มากถึงล้านเล่มในเวลาแค่ 4 วัน

3.3.2. ปลดล็อคความกล้าในตัว

3.3.2.1. เรามีความกลัว ความกังวล และความไม่มั่นใจอยู่เสมอ ดังนั้นเวลาเราต้องทำอะไร เรามักคิดถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเสมอ

3.3.2.2. การนับถอยหลังจึงช่วยตัดความรู้สึกเหล่านี้ออกไป แล้วปลดล็อคความกล้าในตัวให้เราเริ่มลงมือทำ

3.3.2.3. Ex # คุยกับหัวหน้า

3.3.2.3.1. คุณกำลังเจอปัญหาในที่ทำงานและมีปัญหาส่วนตัวที่อยากปรึกษากับหัวหน้า

3.3.2.3.2. ถ้าคุณไม่กล้าไปคุยตรงๆ มัวแต่รอ ปัญหาก็ยังคงดำเนินต่อไปแบบนั้น

3.3.2.3.3. การนับถอยหลังจะช่วยดึงความกล้าในตัวคุณออกมา แล้วพูดปัญหาที่มีในใจออกไป

4. มาเริ่มใช้ 5 Second Rule กันเลย

4.1. 2 ขั้นตอนง่ายๆ ในการใช้ 5 Second Rule

4.1.1. นับถอยหลัง 5-4-3-2-1

4.1.1.1. ระหว่างนับ หยุดคิดถึงข้อแก้ตัว ความกลัว และสิ่งรบกวนอื่นๆ แล้วสนใจแค่เป้าหมายที่มี

4.1.2. เมื่อถึงเลข 1 ให้คุณเริ่มลงมือทำทันที

4.2. ควรใช้เมื่อไหร่?

4.2.1. กฎนี้ใช้ได้ทุกครั้งเมื่อคุณต้องเจอกับ "ความไม่แน่นอน" "ความเครียด" และ "ความกลัว"

4.2.2. เมื่อคุณเริ่มนับถอยหลัง ความคิดคุณจะสงบลงและพร้อมลงมือทำทันทีเมื่อนับถึงเลข 1

4.3. ควรเริ่มจากอะไร?

4.3.1. ขอแนะนำให้เริ่มใช้กับนิสัยการตื่นนอน

4.3.1.1. ตั้งเวลาปลุกเร็วกว่าเดิม 30 นาที

4.3.1.1.1. ห้ามตั้งโหมด snooze

4.3.1.2. เมื่อได้ยินเสียงตั้งปลุก ให้เริ่มนับถอยหลัง 5-4-3-2-1

4.3.1.3. เมื่อนับเสร็จให้ลุกจากเตียงทันที

4.3.1.4. ถ้าคุณเปลี่ยนกิจวัตรง่ายๆ อย่างการตื่นนอนในตอนเช้าได้ คุณก็สามารถเปลี่ยนเรื่องยากๆ อื่นๆ ได้เช่นกัน

5. เป็นคน Productive เพิ่มขึ้นด้วย 5 Second Rule

5.1. เพิ่ม Productive ด้านสุขภาพ

5.1.1. การนับถอยหลังจะช่วยกระตุ้นให้เราลงมือทำ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างสุขภาพที่ดี

5.1.2. เพราะต่อให้เราจะวางแผนมาอย่างดีและเราจะตั้งใจมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่ลงมือทำก็ไร้ความหมาย

5.1.3. Ex # ควบคุมอาหาร

5.1.3.1. ต่อให้คุณรู้ว่าอาหารแต่ละชนิดดีอย่างไร วางแผนการควบคุมแคลอรี่ดีแค่ไหน

5.1.3.2. แต่ถ้าคุณยังไม่เริ่มลงมือ ทุกอย่างก็เปล่าประโยชน์

5.1.3.3. วันนี้คุณต้องกินผลไม้ ดังนั้นให้คุณนับถอยหลัง 5-4-3-2-1 แล้วหยิบแอปเปิลมากินเลย

5.1.4. เมื่อคุณมีสุขภาพที่ดี ตัวคุณก็จะพร้อมสำหรับการทำงานเพื่อสร้าง Productivity ต่อไป

5.2. เพิ่ม Productive ด้านสมาธิ

5.2.1. กุญแจสำคัญในการสร้าง Productivity คือ สมาธิ (Focus)

5.2.2. 2 รูปแบบของสมาธิคือ

5.2.2.1. สมาธิจดจ่อกับงานตรงหน้า ไม่วอกแวกกับสิ่งรบกวน

5.2.2.1.1. เราต้องกำจัดสิ่งรบกวนสมาธิทั้งหมดออกไป

5.2.2.1.2. อะไรก็ตามที่เข้ามารบกวนการทำงานของเรา กำจัดออกไป

5.2.2.1.3. จากนั้นคุณก็มีสมาธิกับงานตรงหน้า แล้วลงมือทำมันให้เสร็จ

5.2.2.1.4. การนับถอยหลังจะกลายเป็นเครื่องมือให้เรากำจัดสิ่งรบกวนต่างๆ ออกไป

5.2.2.2. สมาธิจดจ่อกับเป้าหมายใหญ่ที่สำคัญในชีวิต

5.2.2.2.1. เราต้องออกแบบและควบคุมกิจวัตรในตอนเช้า

5.2.2.2.2. ถ้าเราจัดการเวลาหรือเริ่มวันได้ไม่ดี เราจะเสียวันนั้นไปกับการทำอะไรที่ไม่สำคัญและไม่เป็นประโยชน์

5.2.2.2.3. Ex # การออกแบบกิจวัตรในตอนเช้า

5.3. เพิ่ม Productive ด้วยการแก้นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง

5.3.1. 2 รูปแบบของการผัดวันประกันพรุ่ง

5.3.1.1. ผัดวันประกันพรุ่งแบบดี

5.3.1.1.1. = ขั้นตอนสำคัญสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

5.3.1.1.2. การสร้างสรรค์ต้องการเวลาและคนที่ทำก็ต้องเจอกับความเครียด

5.3.1.1.3. ดังนั้นการผัดวันประกันพรุ่งแบบนี้จึงเป็นการเว้นช่วงให้เราได้พักหายใจและปล่อยให้สมองได้ทบทวนสิ่งที่คิดออกมา

5.3.1.2. ผัดวันประกันพรุ่งแบบร้าย

5.3.1.2.1. = การหลีกเลี่ยงการทำงานตรงหน้าให้เสร็จ

5.3.1.2.2. เรารู้ว่าต้องทำงานให้เสร็จ รู้ว่างานสำคัญ แต่ก็ยังไม่ทำมันอยู่ดี

5.3.2. แก้นิสัยผัดวันประกันพรุ่งแบบร้ายด้วย 5 Second Rule

5.3.2.1. เมื่อคุณรู้สึกว่ากำลังคิดหาข้ออ้างในการผัดวันประกันพรุ่งหรือรู้สึกเสียสมาธิกับงานที่ทำ

5.3.2.2. ให้คุณหยุดพักหนึ่ง เริ่มนับถอยหลัง 5-4-3-2-1 แล้วลงมือทำงานต่อไป

5.3.2.3. การนับถอยหลังคืออการกระตุ้นอำนาจในการควบคุมตัวเอง แล้วคุณจะผัดวันประกันพรุ่งน้อยลงเรื่อยๆ

5.3.3. ถ้าคุณแก้หรือลดนิสัยผัดวันประกันพรุ่งได้ คุณจะมี Productivity ที่ดีขึ้นตามไปด้วย

6. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร?

6.1. ถ้าเราอยากทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ เราต้องเริ่มจาก "ลงมือทำ"

6.2. แต่ปัญหาของคนส่วนใหญ่อยู่ที่การลงมือทำ เราชอบมีข้ออ้าง เราชอบผัดวันประกันพรุ่ง เราถึงทำอะไรไม่สำเร็จได้มากเท่าที่ควร

6.3. 5 Second Rule คือวิธีง่ายๆ ที่ช่วยบังคับให้เราเริ่มลงมือทำ