ปฎิบัติการที่ 7 การแยกสลายด้วยไฟฟ้า
by Panaddaic 27

1. วัตถุประสงค์
1.1. 1.เพื่อศึกษาหลักการของกระบวนการการแยกสลายด้วยไฟฟ้า
1.2. 2.เพื่อการศึกษาวิธีการแยกสลายด้วยไฟฟ้าของน้ำ
1.3. 3.เพื่อหาน้ำหนักอะตอมของทองแดงโดยวิธีการแยกสลายด้วยไฟฟ้า
2. อุปกรณ์
2.1. 1.บีกเกอร์
2.2. 2.กระบอกตวง
2.3. 3.บิวเรต
2.4. 4.ขั้วไฟฟ้าทำด้วยลวดนิโครมที่มีหลอดหุ้ม
2.5. 5.ขั้วไฟฟ้าทำด้วยลวดทองแดง
2.6. 6.นาฬิกาจับเวลา
2.7. 7.เครื่องจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง
2.8. 8.แอมป์มิเตอร์
2.9. 9.ไม้บรรทัด
3. วิธีการทดลอง
3.1. 1.นำลวดนิโครมและทองแดงขัดแล้วชั่งน้ำหนักบันทึกผล
3.2. 2.งอลวดทองแดงและนิโครมจากนั้นนำมาสอดเข้าที่ปลายบิวเรตที่คว่ำอยู่ในบีกเกอร์โดยปลายลวดทั้งสองเสมอกัน
3.3. 3.เติมกรดซัลฟุริกลงบีกเกอร์ แล้วดูดสารละลายกรดในบีกเกอร์ให้เข้าไปอยู่ในบิวเรต บันทึกระดับความสูง
3.4. 4.ใช้คลิปที่ต่อเข้ากับขั้วลบของเครื่องจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงคีบเข้าที่ลวดนิโครมและคลิปที่ต่อผ่านแอมป์มิเตอร์คีบเข้าที่ลวดทองแดง แล้วจ่ายไฟฟ้ให้ระบบพร้อมกับเริ่มจับเวลาทันที
3.5. 5.ปรับปุ่มของตัวต้านทานที่ปรับค่าได้จนเข็มของแอมแปร์ได้ 200mA ในขั้นนี้สังเกตก๊าซไฮโดรเจนเกิดขึ้นที่นิโครม ควบกระแสไฟฟ้าให้คงที่เก็บก๊าซให้ได้ 30-35 ลูกบาศ์กเซนติเมตร เมื่อถึงปิดกระแสไฟฟ้าและหยุดเวลาแล้วอ่านค่าของสารละลายที่เหลือในบิวเรต บันทึกความสูงเวลา
3.6. 6.นำลวดทองแดงไปล้างแล้วเช็ดให้แห้งแล้วชั่งน้ำหนักแล้วบันทึกผล วัดอุณหภูมิและความดันในห้องปฎิบัติการแล้วบันทึกผล
3.7. 7.ทดลองซ้ำในข้อ1-6
3.8. 8.คำนวณหาน้ำหนักอะตอมทองแดงจากปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ คำนวณหาน้ำหนักอะตอมทองแดงจากปริมาตรก๊าซไฮโดรเจนที่เกิด หาความผิดพลาดร้อยละของน้ำหนักอะตอมทองแดง
4. สรุปผลการทดลอง
4.1. 1.น้ำหนักอะตอมของทองแดงจากการทดลองได้ผลดังนี้
4.1.1. 1.1น้ำหนักอะตอมทองแดงจากการใช้ปริมาณไฟฟ้าในการคำนวณได้ค่าเท่ากับ 58.75 คิดเป็นความผิดพลาดร้อยละ 5.64
4.1.2. 1.2 น้ำหนักอะตอมทองแดงจากการใช้ปริมาตรก๊าซไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นในการคำนวณได้ค่าเท่ากับ 64.03 คิดเป็นความผิดพลาดร้อยละ 2.73