ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพ (Antibiotic)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพ (Antibiotic) by Mind Map: ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพ (Antibiotic)

1. Amoxycillin

1.1. รูปแบบ 1. แคปซูล 250 มก. และ 500 มก. 2. ยาน้ำเชื่อมชนิดผงแห้ง 125 มก. / ช้อนชา

1.2. กลไกการออกฤทธิ์

1.2.1. เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลินที่ออกฤทธิ์ไปขัดขวางการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย สามารถฆ่า เชื้อแบคทีเรียทั้งชนิด กรัมลบ และกรัมบวก

1.3. ข้อบ่งใช้

1.3.1. 1. ใช้ในโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร

1.3.2. 2. การติดเชื้อของหู จมูก คอ ผิวหนัง และเยื่ออ่อน

1.3.3. 3. การติดเชื้อของทางเดินอาหาร เช่น บิดไทฟอยด์ เหงือกอักเสบ แผลอักเสบจากการถอนฟัน

1.3.4. 4. ใช้ป้องกันโรคติดเชื้อในเยื่อบุชั้นในของหัวใจ ในผู้ที่มีภาวะลิ้นหัวใจผิดปกติก่อนทำหัตถการต่าง ๆ

1.4. ขนาดและวิธีใช้

1.4.1. 1. สำหรับโรคติดเชื้อทั่วไป ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 250 – 500 มก. ทุก 8 ชม. หรือวันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน หรือครั้งละ 1 กรัม ทุก 12 ชม. เด็ก ให้วันละ 30 – 50 มก. /กก. หรือจะแบ่งให้ตามน้ำหนักตัว โดยให้ชนิดน้ำเชื่อม (125มก. / ช้อนชา) หรือ แคปซูล (250มก.)ดังนี้ - น้ำหนักต่ำกว่า 6 กก. ให้ครั้งละ 1 2 ช้อนชา - 7 – 12 กก. ให้ครั้งละ 1 – 1 ช้อนชา - 13 – 18 กก. ให้ครั้งละ 1 – 11 2 ช้อนชา - 19 – 35 กก. ให้ครั้งละ 2 ข้อนชา หรือ 1 แคปซูล - มากกว่า 35 กก. ให้ขนาดผู้ใหญ่ ทั้งหมดนี้ให้รับประทานวันละ4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน หรือให้วันละ / ครั้ง ทุก 12 ชม. โดยทั่วไปให้ นานประมาณ 5 -10 วัน แล้วแต่ชนิดของโรค (ส้าหรับบิดซิเกลลา) ให้นาน 5 วัน กระเพาะปัสสาวะอักเสบให้ ยา 3 วัน

1.4.2. 2. สำหรับไทฟอยด์ ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 500 มก. ทุก 8 ชม. หรือวันละ 4 ครั้ง นาน 14 วัน เด็ก ให้วันละ 50 มก. /กก. หรือจะแบ่งให้วันละ 3 – 4 ครั้ง นาน 14 วัน 3. สำหรับการติดเชื้อ เอชไพโลไร ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชม. นาน 10 – 14 วัน 4. การป้องกันโรคแอนแทรกซ์ สำหรับผู้สัมผัสเชื้อ ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 500 มก. ทุก 8ชม. นาน 60 วัน เด็ก ให้วันละ 80 มก./กก. แบ่งให้วันละ 3 ครั้งนาน 60 วัน

1.5. ฤทธิ์ข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์ เช่นเดียวกับเพนิซิลิน ได้แก่ อาการท้องเดิน อาหารไม่ย่อย ผื่นขึ้น อาจเป็นลมพิษ จนถึงเป็นผื่นแดง ซึ่งมักจะพบในรายผู้ป่วยไข้ต่อมน้ำเหลืองโตซึ่งควรหยุดใช้ยา ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้เพนิซิลิน

1.6. คำแนะนำ 1. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยานี้ 2. หากเกิดอาการผื่นแดง ระคายเคือง หรือบวมให้หยุดใช้ยา และ ปรึกษาแพทย์

1.7. ชื่อทางการค้า Amoxil , Asiamox , Ibiamox

2. Penicillin V

2.1. รูปแบบยา • ยาเม็ด / ยาแคปซูล ขนาด 125 มิลลิกรัม (2 แสนยูนิต), 250 มิลลิกรัม (4 แสนยูนิต) และ 500 มิลลิกรัม (8 แสนยูนิต) • ยาแคปซูล ขนาด 125 มิลลิกรัม (2 แสนยูนิต) และ 250 มิลลิกรัม (4 แสนยูนิต) • ยาน้ำเชื่อม ขนาด 62.5 มิลลิกรัม (1 แสนยูนิต) และ 125 มิลลิกรัม (2 แสนยูนิต) / 1 ช้อนชา(5 มิลลิลิตร) • ยาน้ำแขวนตะกอน ขนาด 125 มิลลิกรัม (2 แสนยูนิต) และ 250 มิลลิกรัม / 1 ช้อนชา (5 มิลลิลิตร)

2.2. กลไกการออกฤทธิ์ ยาเพนิซิลลินวีมีกลไกการออกฤทธิ์ คือ ตัวยาสามารถต่อต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ โดยตัวยา จะเข้าไปยับยั้งการสร้างสารเปบทิโดไกลแคน (Peptidoglycan) ซึ่งเป็นตัวประกอบสำคัญของผนังเซลล์ใน แบคทีเรีย จากการก่อกวนนี้จึงทำให้การสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรียหยุดชะงักจนไม่สามารถเจริญเติบโตหรือ แพร่พันธุ์ และทำให้แบคทีเรียตายลงในที่สุด ยานี้สามารถถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารได้ประมาณ 60% ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะจับกับ พลาสมาโปรตีนประมาณ 80% แล้วตับจะคอยเปลี่ยนโครงสร้างทางโมเลกุลของยา และร่างกายจะต้องใช้เวลา ประมาณ 30-60 นาที เพื่อกำจัดยาครึ่งหนึ่งออกจากกระแสเลือดและผ่านทิ้งไปกับปัสสาวะ

2.3. ข้อบ่งใช้ • ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (Gram positive) เช่น ไข้หวัดที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรก ซ้อน ไข้อีดำอีแดง เหงือกอักเสบ ถุงน้ำตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ (หูน้ำหนวก) คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมหลังช่องจมูกอักเสบ ปอดอักเสบ แผลอักเสบ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ชั้นลึกอักเสบ ขุมขนอักเสบ โรคไฟลามทุ่ง โรคแอนแทรกซ์ในระดับที่ไม่ค่อยรุนแรงมาก บาดแผลสัตว์ กัดหรือคนกัด เป็นต้น • ใช้ป้องกันไข้รูมาติก (Rheumatic fever) และโรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic heart disease - RHD) • อาจใช้ป้องกันโรคไตอักเสบชนิดเฉียบพลันได้ • ยานี้อาจใช้เพื่อรักษาโรคหรืออาการอื่น ๆ ได้ ดังนั้นหากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

2.4. ขนาดและวิธีใช้ สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial infection) ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้รับประทานยาครั้งละ 125-500 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง ส่วนในเด็ก อายุมากกว่า 1 เดือน แต่ยังไม่ถึง 12 ปี ให้รับประทานยาครั้งละ 25-50 มิลลิกรัม/น้้าหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง สูงสุดได้ไม่เกินวันละ 3,000 มิลลิกรัม) สำหรับการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (Streptococcal Infection) ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน โรคไข้อีดำอีแดง และโรคไฟลามทุ่ง ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้ รับประทานยาครั้งละ 125-250 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน สำหรับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน (Upper Respiratory tract Infection) ถ้าเป็นการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (Streptococcal infections) ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้ รับประทานยาครั้งละ 125-250 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน ส่วนการติดเชื้อนิวโมค็อกคัส (Pneumococcal infections) ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้รับประทานยาครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง จนกระทั่งผู้ป่วยไม่มีไข้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน สำหรับการติดเชื้อของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (Skin or Soft tissue infection) ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้รับประทานยาครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง สำหรับคอหอยอักเสบ (Pharyngitis) และต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) ในผู้ใหญ่ เด็กวัยรุ่น และเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 27 กิโลกรัมขึ้นไป ให้รับประทานยาครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน ส่วนในเด็กน้อยกว่าหรือเท่ากับ 27 กิโลกรัม ให้ รับประทานยาครั้งละ 250 มิลลิกรัม วันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วันเช่นกัน สำหรับชั้นกลางอักเสบ/หูน้ำหนวก (Otitis media) และปอดอักเสบ (Pneumonia) ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้รับประทานยาครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง จนกระทั่ง ผู้ป่วยไม่มีไข้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน สำหรับโรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง (Cutaneous bacillus anthracis) ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้รับประทานยา ครั้งละ 200-500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ส่วนในเด็ก อายุน้อยกว่า 12 ปี ให้รับประทานยาวันละ 25-50 มิลลิกรัม/น้้าหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยแบ่งรับประทานเป็น วันละ 2-4 ครั้ง สำหรับป้องกันไข้รูมาติก (Rheumatic fever) และโรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic heart disease) ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป ให้รับประทานยาครั้งละ 250 มิลลิกรัม (4 แสนยูนิต) วันละ 2 ครั้ง ก่อน อาหารเช้าและเย็น ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้รับประทานยาครั้งละ 125 มิลลิกรัม (2 แสนยูนิต) วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็นเช่นกัน

2.5. ฤทธิ์ข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์ อาการของผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ท้องร่วงอ่อน ๆปวดศีรษะ เป็นแผลในปากและลิ้น คันช่อง คลอดและมีตกขาว ฝ้าขาวในปากหรือลิ้น อาการของผลข้างเคียงที่ผิดปกติ ผู้ป่วยควรหยุดใช้ยาและพบแพทย์ ได้แก่ หายใจเร็ว มีไข้ เจ็บที่ข้อต่อ เวียนศีรษะหรือเป็นลม หน้าหรือหนังตาบวม ผิวแดงและเป็นขุย หายใจสั้น ผื่นลมพิษ

2.6. ข้อควรระวัง • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่เคยมีประวัติการแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน (เช่น เพนิซิลลินวี, อะม็อกซีซิลลิน, ไดคล็อกซาซิลลิน) หรือยากลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) ก่อนใช้ยาผู้ป่วยจึงควรแจ้งประวัติการใช้ยา โดยละเอียด เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้และห้ามใช้ยาที่หมดอายุ • ควรระมัดระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เพราะถึงแม้ว่ายาเพนิซิลลินวีจะจัดเป็น ยาที่ปลอดภัยกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบ ต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เช่น มีผื่นขึ้นหรือมีอาการท้องเสียหลังการใช้ • ควรระมัดระวังการใช้ยากับผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหืด • ควรระวังการเกิดเชื้อราในช่องปากและอวัยวะเพศในขณะที่ได้รับยาในกลุ่มเพนิซิลลินที่รวมถึงเพนิซิลลินวีด้วย เพราะยาอาจกระตุ้นให้มีการดื้อของเชื้อโรค (เชื้อดื้อยา) ติดตามมาได้ • หากต้องใช้ยานี้เป็นเวลานาน ควรระวังเรื่องของการทำงานของไตและระบบเลือดด้วยว่ายังปกติอยู่ หรือไม่

2.7. คำแนะนำ • ควรรับประทานยานี้ในช่วงท้องว่าง หรือรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร อย่างน้อย 2 ชั่วโมง โดยควรกลืนยาทั้งเม็ดและดื่มน้ำตามประมาณ 1 แก้ว (หากต้องรับประทานยานี้ วันละ 4 ครั้ง ให้รับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนเข้านอน) • ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาเพนิซิลลินวีดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ ทดแทนคำสั่งการใช้ยาของแพทย์ได้ ผู้ป่วยควรใช้ยานี้ตามวิธีที่ระบุไว้บนฉลากยาหรือตามคำสั่งของ แพทย์อย่างเคร่งครัด ห้ามใช้ยาในขนาดที่น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ระบุไว้ หากมีข้อสงสัยควรสอบถาม แพทย์หรือเภสัชกร • ให้รับประทานยานี้อย่างต่อเนื่องจนครบช่วงการรักษา แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม ผู้ป่วยไม่ควร หยุดรับประทานยาด้วยตัวเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ • หากมีลมพิษ ผื่นคันขึ้นเต็มตัว หายใจไม่ออกหรือหายใจลำบาก ปวดท้องมาก ท้องเสียอย่างมาก หรือ คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ให้หยุดใช้ยาแล้วรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที (ถ้ามีอาการแพ้ยา เช่น เกิดลมพิษ ผื่นคัน แน่นหน้าอก ใจสั่น แพทย์จะให้หยุดใช้ยา และให้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน หรือชนิดฉีด แต่ถ้าเป็นรุนแรง เช่น เป็นลม ช็อก แพทย์จะฉีดอะดรีนาลีน (Adrenaline), ยาแก้แพ้รานิทิดีน (Ranitidine) และยาสเตียรอยด์ (Steroids) ให้

2.8. ชื่อทางการค้า เมดิก-วี (Medic-V), เพนวี (Pen V), เพน วี แอตแลนติก (Pen V Atlantic), เพน วี เจเนอรัล ดรักส์ เฮาส์ (Pen V General Drugs House), เพน วี ยูโทเปียน (Pen V Utopian), เพน วี-ออรอล ทู (Pen V-Oral Two), เพน วี-ออรอล โฟร์ (Pen V-Oral Four), เพนิซิลลิน วี เอเชียน ยูเนียน (Penicillin V Asian Union), เพนิซิล ลิน วี โอสถ (Penicillin V Osoth), เพนวีดอน (Penvedon), เพนวีดอน ดราย ไซรัป (Penvedon Dry Syrup), เพนวีลิน (Penvelin), เพนวีโน (Penveno), เพนวิซิล (Penvisil), ฟีนอกซีเมทิล เพนิซิลลิน เอเชียน ฟาร์ม (Phenoxymethyl Penicillin Asian Pharm)