พยาธิสภาพของโรคฉี่หนู (Leptospirosis)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พยาธิสภาพของโรคฉี่หนู (Leptospirosis) by Mind Map: พยาธิสภาพของโรคฉี่หนู (Leptospirosis)

1. อาการในคน

1.1. กลุ่มที่อาการไม่รุนแรง

1.1.1. ไข้เฉียบพลัน(38 – 40 องศา) อาจมีหนาวสั่นร่วมด้วย

1.1.1.1. ลักษณะของไข้ มีลักษณะเป็น biphasic (ระยะมีไข้สลับกับไข้ลดและระยะกลับมีไข้อีกครั้ง) ระยะแรกเป็นระยะที่มีเชื้อในกระแสเลือดและน้ำไขสันหลัง(septicemic stage) ระยะนี้มไข้สูง 4–7 วันตามด้วยระยะไม่มีไข้ ไม่มีอาการ 1–3 วัน หลังจากนั้นเข้าสู่ระยะที่สอง (immune stage) ระยะนี้ สั้นประกอบด้วยไข้ขึ้นอีกครั้ง (recurrence of fever) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ(meningitis) มีเชื้อออกมาในปัสสาวะอย่างไรก็ตามลักษณะของไข ที่เป็น biphasic ไม่พบในผู้ป่วยทุกราย

1.1.2. เยื่อบุตาบวมแดง(conjunctival suffusion)

1.1.3. ปวดศีรษะ

1.1.4. กล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่ น่อง และโคนขา

1.1.5. กล้ามเนื้อหลังมีอาการกดเจ็บ

1.1.6. อาจมีคลื่นไส อาเจียน

1.2. กลุ่มที่มีอาการรุนแรง

1.2.1. ไตวาย

1.2.2. มีผื่นที่เพดานปาก (palatal exanthem)

1.2.3. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

1.2.4. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

1.2.5. อาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ

1.2.6. กลุ่มที่มีอาการรุนแรงพบไม่ถึงร้อยละ 10 ของผู้ป่วยทั้งหมดกลุ่มนี้ อาการจะเกิดระหว่างวันที่ 4 – 6 ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตในระยะนี้ หรือต้นสัปดาห์ที่ 3 จากภาวะไตวาย ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรง

2. อาการในสัตว์

2.1. มีไข้สูงประมาณ 104-107 องศาฟาเรนไฮด์ (40-42 องศาเซลเซียส)

2.2. ไตวายอย่างเฉียบพลัน

2.3. ในลูกสัตว์อัตราตายสูงมีอาการ ซึม ไม่กินอาหาร เลือดคลั่งตามเยื่อบุตา ปื้นเลือดตามผิวหนัง ปัสสาวะเป็นเลือด ตัวเหลือง ตาเหลือง โลหิตจางอวัยวะภายในร่างกาย

2.4. อวัยวะภายในร่างกายอักเสบ

3. การฟื้นตัว

3.1. การฟื้นตัวและความต้านทานที่เกิดขึ้นหลังการป่วยโดยปกติการป่วยแบ่งได้ เป็น 2 ระยะ คือ

3.1.1. ระยะที่หนึ่งมีเชื้อในกระแสเลือดซึ่งผู้ป่วยจะมีไข้ระยะเวลาป่วยจะพบได้ ตั้งแต่ 2 – 3 วันถึง3 สัปดาห์ หรือนานกว่ารายที่อาการไม่รุนแรงและไม่ได้ รับการรักษามักป่วยอยู่ นาน 3 – 10 วันแล้วค่อยๆฟื้นตัวจนหายเป็นปกติในที่สุดแต่บางรายที่มีอาการค่อนข้างรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาอาจป่วยนานหลายเดือน

3.1.2. ระยะที่สองระยะพักฟื้น เป็นระยะในช่วงประมาณ 1 – 2 สัปดาห์หลังเริ่มป่วย ซึ่ง ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคได้แล้ว ตามมาด้วยความสามารถในการทำลายเชื้อโดยเม็ดเลือดขาว ทั้งในกระแสเลือดและในเนื้อเยื่อต่างๆ ผู้ป่วยที่ได้รบการรักษาที่ เหมาะสมการหายจากโรคจะ เกิดขึ้นสมบูรณ์ส่วนใหญ่ภายใน 3 – 6 สัปดาห์มีรายงานน้อยมากที่ผู้ที่หายป่วยแล้ว จะยังคงมีเชื้ออยู่ในไตได้นานอีกระยะหนึ่งแต่บางรายอาจมีอาการซึมหรืออาการทางระบบประสาทได้นานหลาย สัปดาห์

4. เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งติดต่อจากสัตว์สู่คนเชื้อก่อโรคจะปนออกมากับฉี่ของสัตว์

4.1. ที่มีฝนตก

4.2. น้ำท่วมขัง

4.2.1. น้ำท่วมขัง

4.3. ตามสวนไร่นา

5. เชื้อก็จะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้นานเป็นเดือนเมื่อคนย่ำน้ำที่มีเชื้อฉี่หนูอยู่ เชื้อก็จะไชเข้าสู่ผิวหนังและทำให้คนป่วยได้ หนูจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด จึงเรียกว่า โรคฉี่หนู

6. พยาธิกําเนิด

6.1. โรคฉี่หนูจะแสดงอาการภายในเวลาประมาณ 10 วันโดยเฉลี่ยหลังได้รับเชื้อ

6.2. เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้ากระแสเลือดภายใน 24 ชั่วโมง แล้วจะเพิ่มจํานวนได้สูงสุดภายใน 2-4 วัน (เป็นช่วงที่มีไข้สูง) แล้วกระจาย ไปตามอวัยวะต่าง ๆ ทําให้ เกิดการอักเสบ และเนื้อตายตามอวัยวะเหล่านั้น

6.2.1. กระจาย ไปตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ลําไส้ เยื่อหุ้มสมอง ปอด หัวใจ โดยมักไปที่ตับ ไต

6.3. รายที่อาการรุนแรงอาจพบภาวะเลือดออกที่ลําไส้ ปอด ตับวาย ไต วาย ถึงขั้นเสียชีวิตได้

6.4. ในระยะ 1-2 สัปดาห์ หลังป่วยร่างกายจะเริ่มสร้างภูมิต้านทานโรค ทําให้เชื้อถูกกําจัดออกไปแต่เชื้อส่วนหนึ่งจะหลบเข้าไปอยู่ ในไตและเพิ่มจํานวนมากขึ้นแล้วถูกขับออกมากับ ปัสสาวะเป็นครั้งคราวหรือต่อเนื่องกัน ซึ่งจํานวนและระยะเวลาที่เชื้อถูกขับออกมากน้อยเท่าใดจะสัมพันธ์ กับชนิดสัตว์ และชนิดของเชื้อ (Serovars) ปริมาณของเชื้อที่ถูกขับออกมาอาจมากถึง 100 ล้านตัวต่อปัสสาวะ1 มิลลิลตร