โรคผื่นแพ้สัมผัส (Contact Dermatitis)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
โรคผื่นแพ้สัมผัส (Contact Dermatitis) by Mind Map: โรคผื่นแพ้สัมผัส   (Contact Dermatitis)

1. ความหมาย

1.1. การอักเสบของผิวหนังในภาวะวิกฤตและเรื้งรัง ที่เกิดขึ้นจากการที่ผิวหนังสัมผัสโดยตรงกับ สารเคมีหรือสารที่ ก่อให้เกิดการแพ้

2. สาเหตุ

2.1. โรคผื่นแพ้สัมผัสจากสารภูมิแพ้ (Allergic contact dermatitis)

2.1.1. ผิวหนังสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ โดยอาการแพ้อาจเกิดขึ้นได้นานถึง 10 – 14 วัน

2.2. โรคผื่นแพ้สัมผัสจาการระคายเคือง (Irritant contact dermatitis)

2.2.1. ผิวหนังไปสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองโดยตรง ความรุนแรงและรูปแบบ ที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสาร

2.3. โรคผื่นแพ้สัมผัสเนื่องจากพิษของสารร่วมกับแสง (Phototoxic contact dermatitis)

2.3.1. ถ้ามีการสัมผัสร่วมกับการกระตุ้นด้วยแสงแดด สามารถทำให้เกิดอันตรายได้ โดยแสงแดดจะทำให้สารนั้นเกิดเป็น Toxic agent ขึ้น

2.4. โรคผื่นแพ้สัมผัสเนื่องจากแพ้สารร่วมกับแสง (Photoallergic contact dermatitis)

2.4.1. คล้ายกับโรค Allergic contact dermatitis แต่ต้อง สัมผัสกับแสงแดดร่วมด้วยนอกเหนือจากการสัมผัสกับ สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้

3. พยาธิสภาพ

3.1. เป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มประเภทภาวะภูมิไว้เกินชนิดที่ IV cell – mediated (delayed) hypersensitivity ซึ่งเป็นภาวะภูมิไวเกินที่ตอบสนองแบบ Cell – mediated immune respond (CMIR) โดยมี T-cell เป็นส่วนสำคัญ ปฏิกิริยาจะ เกิดขึ้นช้ำๆ

3.1.1. เมื่อ T-cell ถูกกระตุ้นจะกลายเป็น Cytotoxic T-cell หลั่ง Lymphokines ออกมาทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีเม็ดเลือดขาวมาชุมนุมกัน จนกระทั่งเกิด การอักเสบและมีการทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบบริเวณนั้น

4. อาการและอาการแสดง

4.1. เป็นแค่ผื่นแดง คัน หรือขึ้นเป็นตุ่มลมพิษในบริเวณที่สัมผัส

4.2. แบบพึ่งอิมมูน จะมีอาการระบบอื่นๆ ร่วมด้วย

4.2.1. น้ำมูก น้ำตาไหล หายใจไม่สะดวก บางครั้ง อาจมี Anaphylactic shock ได้

5. ภาวะแทรกซ้อน

5.1. การติดเชื้อของผิวหนังจากการที่ผิวหนังถลอกหรือผิวหนังแตก

6. การประเมินภาวะสุขภาพ

6.1. การซักประวัติ

6.1.1. การเกิดผื่น เริ่มที่ไหน มีอาการคัน แสบร้อน เมื่อไหร่

6.1.2. เป็นมากขึ้นหรือไม่ เมื่อเกี่ยวข้องกับการทำงาน การใช้สารเคมี เครื่องสำอาง

6.1.3. ควรซักประวัติอย่างละเอียดถึงวิธีการทำงาน สารที่สัมผัส อาการอื่นที่ เกิดขึ้นร่วมด้วย งานอดิเรก หรืออาชีพเสริม ห้องที่ใช้ทำงาน

6.1.4. ประวัติการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน

6.2. การตรวจร่างกาย

6.2.1. โดยการตรวจค้นหาตำแหน่ง ลักษณะผื่น การเรียงตัวของผื่น เป็นทั้ง สองข้างเท่าๆกัน ลักษณะของผื่นเป็นตำแหน่งที่ถูกแสงแดด รวมทั้งเปรียบเทียบลักษณะของ ผื่น Dermatitis, Urticarial, Granuloma, Scar, Pigmented

6.3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

6.3.1. Patch test เป็นการทดสอบชนิดเดียวที่สามารถค้นหา สาเหตุของผื่นสัมผัสได้

7. การรักษา

7.1. ตามอาการและอาการแสดง รวมทั้งความรุนแรงของโรค และชนิดของสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคผื่นแพ้สัมผัส

7.1.1. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้

7.1.2. ค้นหาและจัดการกับสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง

7.1.3. ใช้ Burow's solution หรือน้ำเย็นในการประคบบริเวณที่เกิดอาการแพ้

7.1.4. ให้ยา Systemic corticosteroids เช่น Prednisolone 7-10 วัน

7.1.5. ให้ยาทาสเตียรอยด์ Topical corticosteroids

7.1.5.1. เพื่อช่วยบรรเทารอยโรค

7.1.6. ให้ยา Antihistamine

7.1.6.1. เพื่อบรรเทาอาการคัน

7.1.7. ใช้ครีม Hydrophilic cream หรือ Petrolatum ทำบริเวณที่เกิดการระคายเคือง

7.1.7.1. เพื่อช่วยให้ผิวหนังบริเวณนั้นได้รับความชุ่มชื้น

7.1.8. ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่มีการติดเชื้อ

8. ข้อวินิจฉัยการพยาบาล

8.1. ไม่สุขสบายเนื่องจากผิวหนังมีการผื่นคัน

8.1.1. แนะนำไม่ให้เกา บริเวณที่มีผื่นคัน

8.1.2. แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้

8.1.3. ช่วยเหลือผู้ป่วยในการค้นหาและจัดการกับสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง

8.1.4. แนะนำและสอนให้ผู้ป่วยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่เกิดอาการแพ้

8.1.5. ดูแลให้ได้รับยา Antihistamine เพื่อบรรเทาอาการคัน

8.2. เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีการแตกของผิวหนัง

8.2.1. แนะนำไม่ให้เกาบริเวณที่มีผื่นคัน

8.2.2. ดูแลการทำความสะอาดแผลโดยการใช้ น้ำเย็นและสบู่อ่อนรวมทั้งการ ซับผิวหนังให้แห้ง

8.2.3. แนะนำการรักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย

8.2.4. สังเกตอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ เช่น ไข้ ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณผิวหนัง

8.2.5. ดูแลให้ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา

8.2.6. ประเมินสัญญาณชีพ