ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู by Mind Map: ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

1. คัมภีร์

1.1. คัมภีร์พระเวท

1.1.1. มี 3 คัมภีร์ เรียกว่า “ไตรเวท”

1.1.1.1. ฤคเวท

1.1.1.1.1. เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดสดุดีพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

1.1.1.2. ยชุรเวท

1.1.1.2.1. เป็นคัมภีร์ที่เป็นคู่มือการประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์

1.1.1.3. สามเวท

1.1.1.3.1. เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์อันเป็นบทสวดขับร้อง บทสวดในสามเวทสัมหิตามีจำนวน 1,549 บท

2. หลักธรรม

2.1. หลักธรรม ๑๐ ประการ

2.1.1. ธฤติ ได้แก่ ความพอใจ ความกล้า ความมั่นคง ซึ่งหมายถึง การพากเพียรจนได้รับความสำเร็จ

2.1.2. กษมา ได้แก่ ความอดทน นั่นคือพากเพียรและอดทน โดยยึดความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง

2.1.3. ทมะ ได้แก่ การข่มจิตใจของตนด้วยเมตตา และมีสติอยู่เสมอ

2.1.4. อัสเตยะ ได้แก่ การไม่ลักขโมย ไม่กระทำโจรกรรม

2.1.5. เศาจะ ได้แก่ การกระทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ

2.1.6. อินทรียนิครหะ ได้แก่ การหมั่นตรวจสอบอินทรีย์ ๑๐ ประการ ให้ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้อง

2.1.7. ธี ได้แก่ ปัญญา สติ มติ ความคิด ความมั่นคงยืนนาน นั่นคือมีปํญญาและรู้จักระเบียบวิธีต่าง ๆ

2.1.8. วิทยา ได้แก่ ความรู้ทางปรัชญา

2.1.9. สัตยา ได้แก่ ความจริง คือ ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน

2.1.10. อโกธะ ได้แก่ ความไม่โกรธ

2.2. หลักอาศรม ๔

2.2.1. พรหมจารี

2.2.1.1. เด็กชายทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ต้องศึกษาเล่าเรียน ต้องเข้าพิธีมอบตนเป็นนักศึกษา และจะต้องปรนนิบัติรับใช้อาจารย์พร้อมกับศึกษาเล่าเรียน

2.2.2. คฤหัสถ์

2.2.2.1. เป็นวัยแห่งการครองเรือน

2.2.3. วานปรัสถ์

2.2.3.1. เป็นขั้นที่แสวงหาธรรม โดยการออกบวชสู่ป่า

2.2.4. สันยาสี

2.2.4.1. เป็นขั้นสุดท้ายแห่งชีวิต โดยสละชีวิตทางโลกออกบวช บำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนา เพื่อความหลุดพ้น

3. นิกาย

3.1. นิกายพรหม

3.1.1. นับถือพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด

3.2. นิกายไวษณพ

3.2.1. นับถือพระวิษณุ

3.3. นิกายไศวะ

3.3.1. นับถือพระศิวะ

3.4. นิกายศากติ

3.4.1. นับถือมเหสีของมหาเทพทั้ง 3 องค์

4. พิธีกรรม

4.1. พิธีสังสการ

4.1.1. เป็นพิธีกรรมที่คนในวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์และวรรณะไวศยะจะต้องทาโดยมีพราหมณ์หรือนักบวชเป็นผู้ทำพิธี จำนวน 12 ประการ

4.1.1.1. ครรภาธาน

4.1.1.1.1. เป็นพิธีที่จัดขึ้นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ถัดจากวันวิวาห์

4.1.1.2. ปุงสวัน

4.1.1.2.1. เป็นพิธีปฏิบัติต่อเด็กในครรภ์ที่เข้าใจว่าเป็นเพศชาย

4.1.1.3. สีมันโตนยัน

4.1.1.3.1. เป็นพิธีตัดผมหญิงมีครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4, 6 หรือ 8 เดือน

4.1.1.4. ชาตกรรม

4.1.1.4.1. พิธีคลอดบุตร

4.1.1.5. นามกรรม

4.1.1.5.1. พิธีตั้งชื่อเด็ก ในวันที่ 12 หรือ 14 ถัดจากวันคลอด

4.1.1.6. นิษกรมณ

4.1.1.6.1. พิธีนาเด็กออกไปดูแสงอาทิตย์ยามเช้า เมื่ออายุได้ 4 เดือน

4.1.1.7. อันนปราศัน

4.1.1.7.1. พิธีป้อนข้าวเด็ก เมื่ออายุได้ 7 เดือนหรือ 8 เดือน

4.1.1.8. จูฑากรรม

4.1.1.8.1. พิธีโกนผมไว้จุก เมื่ออายุได้ 3 ขวบ

4.1.1.9. เกศานตกรรม

4.1.1.9.1. พิธีตัดผม วรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ 16 ปี วรรณะกษัตริย์ ตัดเมื่ออายุ 22 ปี วรรณะแพศย์ตัดเมื่ออายุ 24 ปี

4.1.1.10. อุปานยัน

4.1.1.10.1. พิธีเข้ารับการศึกษา

4.1.1.11. สมาวรรตน์

4.1.1.11.1. พิธีกลับบ้าน จัดขึ้นเมื่อเด็กหนุ่มสำเร็จการศึกษาและเตรียมตัวกลับบ้าน

4.1.1.12. วิวาหะ

4.1.1.12.1. พิธีแต่งงาน

4.2. กฎสำหรับวรรณะ

4.2.1. กฎเกี่ยวกับการแต่งงาน

4.2.1.1. จะแต่งงานนอกวรรณะของตนไม่ได้

4.2.2. กฎเกี่ยวกับอาหารการกิน

4.2.2.1. มีข้อกำหนดว่าสิ่งใดกินได้ สิ่งได้กินไม่ได้

4.2.3. กฎเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ

4.2.3.1. ต้องประกอบอาชีพที่กำหนดไว้สำหรับคนในวรรณะนั้นๆเท่านั้น

4.2.4. กฎเกี่ยวกับสถานที่อยู่อาศัย

4.2.4.1. ในสมัยโบราณมีกฎห้ามชาวฮินดูมีถิ่นฐานบ้านเรือนนอกเขตประเทศอินเดียว และห้ามเดินเรือในทะเล แต่ปัจจุบันไม่ถือแล้ว

4.3. พิธีศราทซ์

4.3.1. เป็นพิธีทาบุญอุทิศให้มารดาบิดา หรือบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว

4.4. พิธีบูชาเทวดาหรือบูชาเทพเจ้า

4.4.1. มีวิธีการบูชาแตกต่างกันไปตามวรรณะ

5. จุดมุ่งหมายสูงสุด

5.1. โมกษะ

5.1.1. คือ การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ถือว่าเป็นหลักความดีสูงสุด ดังคำสอน "ผู้ใดรู้แจ้งในอาตมันของตนว่าเป็นหลักอาตมันของโลกพรหมแล้ว ผู้นั้นย่อมพ้นจากสังสาระการเวียนว่าย ตาย เกิด และจะไม่ปฏิสนธิอีก"

6. สัญลักษณ์ทางศาสนา

6.1. อักษรเทวนาครี อ่านว่า “โอม”

6.2. มาจาก อ + อุ + มะ เป็นแทนพระตรีมูรตีเทพ

6.2.1. อ แทนพระนารายณ์หรือพระวิษณุ

6.2.2. อุ แทนพระพรหม

6.2.2.1. เมื่อรวมกันเข้าเป็นอักษรเดียวกลายเป็นอักษร โอม แทนพระปรมาตมัน พระเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตน

6.2.3. มะ แทนพระศิวะ หรือพระอิศวร