การกำหนดตัวแปรและสมมติฐานในการวิจัย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การกำหนดตัวแปรและสมมติฐานในการวิจัย by Mind Map: การกำหนดตัวแปรและสมมติฐานในการวิจัย

1. การกำหนดตัวแปรในการวิจัย

1.1. ความหมายของตัวแปรในการวิจัย

1.1.1. คุณลักษณะหรือเป็นคุณสมบัติของสิ่งที่คุณผู้วิจัยจะศึกษาเป็น ซึ่งมีค่าหรือลักษณะแปรเปลี่ยนแตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยของสิ่งนั้น ๆ ค่าที่วัดได้จากเนชั่ตัวแปรจะใช้เป็น Thailand ข้อมูลสำหรับหัวเรื่อง: การวิจัย

1.2. ชนิดของตัวแปรในการวิจัย

1.2.1. ตัวแปรตามลักษณะการรับรู้

1.2.1.1. ตัวแปรที่แสดงความหมายของปรากฏการณ์ในลักษณะที่คนทั่วไปรับรู้

1.2.1.2. ตัวแปรซึ่งไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง

1.2.2. ตัวแปรตามค่าของการวัด

1.2.2.1. ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง มีค่าเป็นจำนวนเต็ม จัดเป็นกลุ่ม

1.2.2.2. ตัวแปรต่อเนื่อง มีค่าในพิสัยที่กำหนด

1.2.3. ตัวแปรตามแหล่งที่มาของการวัด

1.2.3.1. ตัวแปรทางกายภาพ เป็นรูปธรรม มีคุณสมบัติชัดเจนสามารถวัดได้

1.2.3.2. ตัวแปรทางพฤติกรรม วัดได้การแสดงออกของพฤติกรรม

1.2.3.2.1. ด้านพุทธิพิสัย

1.2.3.2.2. ด้านจิตพิสัย

1.2.3.2.3. ด้านทักษะพิสัย

1.2.4. ตัวแปรตามบทบาทหน้าที่

1.2.4.1. ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent variable)

1.2.4.1.1. กำหนดให้เป็นสาเหตุ

1.2.4.2. ตัวแปรตาม (Dependent variable)

1.2.4.2.1. กำหนดไว้วัดผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรต้น

1.2.4.3. ตัวแปรคุณลักษณะของตัวอย่าง (Subject variables)

1.2.4.3.1. คุณลักษณะตามธรรมชาติของตัวอย่างแต่ละหน่วย

1.2.4.4. ตัวแปรควบคุม (Control variable)

1.2.4.4.1. ไม่ต้องการศึกษา รู้ว่ามีผลกระทบต่อการทดลองและสามารถควบคุมได้

1.2.4.5. ตัวแปรเกิน (Extraneous variable) และตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening variables)

1.2.4.5.1. ไม่ได้เป็นเป้าหมายในการศึกษา แต่มีผลต่อพฤติกรรมที่ทำการศึกษา

1.2.4.6. ตัวแปรกึ่งควบคุมกึ่งแทรกซ้อน

1.2.4.6.1. ไม่ต้องการศึกษาแต่อาจมีผลกระทบต่อการทดลอง

1.3. การให้คำนิยามตัวแปร

1.3.1. นิยามบอกองค์ประกอบของตัวแปร (constitutive definition)

1.3.1.1. อธิบายตัวแปรที่กำหนดในรูปแนวคิดเป็นรูปธรรม

1.3.2. . นิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition)

1.3.2.1. อธิบายตัวแปรในรูปแนวคิดโครงสร้างเป็นนามธรรม และระบุรูปธรรมที่สังเกตและวัดได้

1.4. ระดับการวัดของตัวแปรในการวิจัย

1.4.1. มาตรวัดแบบจัดกลุ่ม (Nominal scales)

1.4.1.1. เป็นกลุ่ม/พวก ไม่มีคุณสมบัติของตัวเลขที่แสดงจำนวน

1.4.1.2. เพศ (ชาย/หญิง) บุคลิกภาพ (เก็บตัว/เปิดเผย)

1.4.2. มาตรวัดแบบจัดลำดับ (Ordinal scales)

1.4.2.1. มีการจัดอับดับของค่าที่วัดได้ตามขอบเขตที่กำหนด

1.4.2.2. ระดับความวิตกกังวลหลังผ่าตัด(น้อย/ปานกลาง/มาก) ฐานะทางสังคม(ชั้นสูง/กลาง/ต่ำ)

1.4.3. มาตรวัดแบบอันตรภาค (Interval scales)

1.4.3.1. มีคุณสมบัติของการเป็นจำนวนเลข และกำหนดว่าแต่ละช่วงของค่าตัวเลขมีระยะห่างเท่ากัน

1.4.3.2. ความฉลาด คะแนนจากการทดสอบ ความถนัด อุณหภูมิ

1.4.4. มาตรวัดแบบอัตราส่วน (อัตราส่วนตาชั่ง)

1.4.4.1. มีค่าศูนย์แท้ที่บ่งชี้ว่าไม่มีค่าจากการวัดเกิดขึ้น ณ จุดนี้

1.4.4.2. จำนวนเวลาที่ใช้ น้ำหนัก อายุ

2. การกำหนดสมมติฐาน

2.1. ความหมายของสมมติฐาน

2.1.1. การคาดคะเนคำตอบไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล หรือข้อค้นพบในเรื่องที่ทำการศึกษาวิจัย

2.1.2. คุณลักษณะสมมติฐานที่ดี

2.1.2.1. สามารถหาคำตอบได้โดยวิธีการทางสถิติ

2.1.2.2. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

2.2. ความสำคัญของสมมติฐาน

2.2.1. จำกัดขอบเขตของการวิจัย

2.2.2. ทำให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่นำมาทดสอบ

2.2.3. ชี้แบบแผนในการวิจัยให้หาเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกและดี

2.2.4. ไม่เสียเวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและตัวแปรต่าง ๆ

2.3. ประเภทของสมมติฐาน

2.3.1. สมมติฐานที่กำหนดค่าแน่นอนตายตัวเพียงค่าเดียว

2.3.2. สมมติฐานที่ไม่ได้กำหนดค่าแน่นอนตายตัว

2.3.2.1. กำหนดค่าที่ตาดไว้เป็นช่วง

2.3.3. ในแนวทางปฏิบัติแล้วการตั้งสมมติฐาน มีอยู่ 2 แบบ คือ

2.3.3.1. สมมติฐานทางการวิจัย (Research hypothesis)

2.3.3.1.1. เป็นข้อความแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยตั้งสมมติฐานขึ้นอยู่กับทฤษฎีผลการวิจัย และแนวความคิดที่ศึกษาในเบื้องต้น เขียนในลักษณะเข้าใจง่าย สื่อความหมายได้โดยตรง

2.3.3.2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis)

2.3.3.2.1. เป็นข้อความที่สมมติขึ้นเพื่อทดสอบว่า สมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่

2.4. การตั้งสมมติฐานการวิจัย

2.4.1. สมมติฐานศูนย์ หรือสมมติฐานหลัก : H0

2.4.1.1. แสดงข้อความที่เป็นกลาง ทดสอบความเท่ากัน หรือความไม่แตกต่างกันระหว่างค่าพารามิเตอร์

2.4.2. สมมติฐานทางเลือก หรือสมมติฐานรอง : H1

2.4.2.1. สมมติฐานที่เหลือหลังจากสมมติฐานหลักถูกปฏิเสธไปแล้ว

2.5. การทดสอบสมมติฐานการวิจัย

2.5.1. เขียนอยู่ในรูปประโยคบอกเล่าและเกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย

2.5.2. เขียนหลังจากได้ศึกษา เอกสาร งานวิจัยมากเพียงพอ

2.5.3. เลือกใช้คำหรือข้อความที่รัดกุม ไม่ฟุ่มเฟือย ประโยคสั้นๆ อ่านเข้าใจง่าย

2.5.4. มีสมมติฐานให้ครอบคลุม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

2.5.5. สมมติฐานแต่ละข้อเขียนเพื่อตอบ คำถามเพียงคำถามเดียวไม่ควรเขียนปัญหาวิจัยหลายๆประเด็น ในสมมติฐานข้อเดียวกัน

2.5.6. ระบุทิศทางความสัมพันธ์ให้ชัดเจน

2.5.7. ทดสอบได้