ทำงานฉลาดขึ้น เร็วขึ้น และดีขึ้น ด้วย 8 ความลับการทำงาน สำหรับสร้าง Productivity

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทำงานฉลาดขึ้น เร็วขึ้น และดีขึ้น ด้วย 8 ความลับการทำงาน สำหรับสร้าง Productivity by Mind Map: ทำงานฉลาดขึ้น เร็วขึ้น และดีขึ้น  ด้วย 8 ความลับการทำงาน สำหรับสร้าง Productivity

1. ผู้เขียน

1.1. ชาร์ลส์ ดูฮิก

1.1.1. นักข่าวชื่อดังจาก New York Times เจ้าของรางวัลพูลิตเซอร์

1.1.2. เขียนหนังสือขายดีเรื่อง The Power of Habit ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือยอดเยี่ยมประจำปีจาก The Wall Street Journal และ Financial Times ด้วย

2. คนดังๆ พูดถึงหนังสือเล่มนี้กันอย่างไร?

2.1. นิตยสาร GQ

2.1.1. "ชาร์ลส์คือสุดยอดผู้เชี่ยวชาญด้านการ Hack ชีวิต"

2.2. นิตยสาร Bloomberg Businessweek

2.2.1. "นอกจากหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณทำงานได้ดีขึ้นแล้ว คุณประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือเกี่ยวกับ Productivity เล่มอื่นได้อีกมากด้วย"

2.3. เดวิด อัลเลน

2.3.1. "ถ้าคุณคือคนที่อยากทำอะไรได้มากขึ้นและมีความสร้างสรรค์มากขึ้น คุณต้องไม่พลาดหนังสือเล่มนี้"

3. ความลับที่ 1 # แรงจูงใจ

3.1. หัวใจสำคัญคือ ความรู้สึกว่าเราควบคุมได้

3.1.1. เมื่อเรารู้สึกว่าเราควบคุมได้ เราจะทำงานหนักขึ้น ผลักดันตัวเองให้มากขึ้น และมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น

3.1.2. วิธีหนึ่งที่สร้างความรู้สึกนี้ได้คือ การตัดสินใจด้วยตัวเอง

3.1.2.1. ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือใหญ่ คุณต้อง "ตัดสินใจเอง" อย่าให้คนอื่นมาตัดสินใจแทนคุณ

3.1.2.2. Ex # การเลือกสีตัวละครในเกม

3.2. ถ้าอยากรอดในยุคนี้ อย่ารอให้ใครมาสร้างแรงจูงใจให้คุณ

3.2.1. พ่อแม่มักใช้รางวัลตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูก เวลาลูกทำดี

3.2.2. ดังนั้นถ้าคุณไม่ฝึกสร้างแรงจูงใจด้วยตัวเอง คุณก็ต้องรอให้คนอื่นมาทำแทนแบบที่พ่อแม่ทำกับลูก

3.2.3. ในยุคที่ตลาดแรงงานเปลี่ยนไป ผู้คนนิยมทำงานแบบ freelance มากขึ้น ส่วนบริษัทก็จ้างงานด้วยสัญญาระยะยาวน้อยลง

3.2.3.1. ถ้าคุณอยากรอดในสมรภูมินี้และประสบความสำเร็จ คุณต้องสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองได้

3.2.3.2. หมดยุคแล้วที่คุณจะรอให้ใครสักคนมากระตุ้นให้คุณเกิดแรงจูงใจ

3.3. ถามตัวเองว่า "ทำไม" เพื่อหาความหมายในสิ่งที่คุณกำลังทำ

3.3.1. ต่อให้งานที่คุณทำจะน่าเบื่อ ยาก หรือเล็กน้อยจนแทบมองไม่เห็นประโยชน์

3.3.2. แต่ถ้าคุณรู้ว่างานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่รออยู่ คุณจะอยากลงมือทำมากขึ้น

3.3.3. วิธีสร้างความรู้สึกนี้คือ ถามตัวเองว่า "ทำไม"

3.3.4. Ex # สร้างกำไรจาก NFT

3.3.4.1. คุณกำลังอ่านบทความหลายชิ้น เกี่ยวกับขายงานศิลปะใน NFT

3.3.4.2. แต่คุณรู้สึกว่ามันยากมาก มีแต่คำศัพท์เข้าใจยาก เรื่องเชิงเทคนิคที่ไม่คุ้นเลย

3.3.4.3. ลองถามตัวเองว่า ฉันอ่านบทความพวกนี้ทำไม?

3.3.4.3.1. อ๋อ! ฉันอ่านเพื่อเอาความรู้ไปใช้เพื่อสร้างกำไร

3.3.4.3.2. วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีแรงจูงใจกลับมาอีกครั้ง

3.4. BETTER

3.4.1. "อำนาจในการตัดสินใจหรือความรู้สึกว่าเราควบคุมได้" คือสิ่งที่สร้างแรงจูงใจได้ดีกว่าเงิน

3.4.2. เมื่อมีแรงจูงใจแล้ว เราก็อยากทำงานเพื่อสร้าง Productivity ให้มากขึ้น

4. ความลับที่ 2 # ทีม

4.1. "มีใครในทีม" ไม่สำคัญเท่า "ทีมทำงานอย่างไร"

4.1.1. เราเคยคิดว่าเราต้องการ "ดาวเด่น" ในทีม

4.1.2. เราจึงเสียเวลาตามหาเขาและมองข้ามตัวเลือกดีๆ อีกหลายคนไป

4.1.3. แต่จริงๆ แล้ว ทีมที่มีแต่สมาชิกธรรมดาๆ ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ ถ้าพวกเขาทำงานสอดประสานกันได้ดี

4.1.4. Ex # เลสเตอร์ ซิตี้

4.2. พื้นฐาน 5 ข้อของการสร้างทีมที่ดี

4.2.1. สมาชิกเข้าใจถึงความสำคัญของงานที่ตัวเองทำ

4.2.1.1. ไม่มีใครอยากไร้ตัวตนในทีม พูดอะไรไปก็ไม่มีใครฟัง

4.2.1.2. ดังนั้นหัวหน้าทีมต้องทำให้ทุกคนมีสิทธิ์พูดและรับรู้ความรู้สึกของพวกเขาด้วย

4.2.2. สมาชิกเข้าใจว่างานที่ทำนั้นมีความหมาย

4.2.3. ทีมต้องกำหนดเป้าหมายและบทบาทของสมาชิกให้ชัดเจน

4.2.4. สมาชิกมีความไว้ใจซึ่งกันและกัน พวกเขาสามารถพึ่งพาอาศัยกันได้

4.2.5. สมาชิกรู้สึกว่าตัวเองปลอดภัย

4.2.5.1. ความรู้สึกปลอดภัยคือคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดที่ทุกทีมต้องมี

4.2.5.1.1. นี่คือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ด้วย

4.2.5.2. เมื่อสมาชิกพูดอะไรออกไป นอกจากพวกเขาจะอยากมั่นใจว่ามีคนรับฟังแล้ว พวกเขาอยากมั่นใจด้วยว่าจะไม่มีผลกระทบใดๆ ตามมา

4.3. สรุปหน้าที่ของหัวหน้าทีม

4.3.1. เป็นผู้ฟังที่ดีและรู้จักสรุปใจความสำคัญจากสิ่งที่ได้ยิน

4.3.2. รู้จักยอมรับเมื่อทำผิดและยอมรับเมื่อไม่รู้

4.3.3. ช่วยแก้ไขความขัดแย้งและกระตุ้นให้สมาชิกมีโอกาสโต้เถียงและแสดงความคิดเห็น

4.3.4. รับรู้และตอบสนองความรู้สึกของสมาชิกได้เร็ว

4.4. การกระจายอำนาจส่งผลต่อแรงจูงใจด้วย

4.4.1. จากความลับ # 1 แรงจูงใจ เรารู้แล้วว่าความรู้สึกว่าควบคุมได้ช่วยสร้างแรงจูงใจได้

4.4.2. ดังนั้นการให้อำนาจตัดสินใจในงานกับสมาชิก คือการมอบอำนาจในการควบคุมงานให้พวกเขาด้วย

4.5. BETTER

4.5.1. ถ้าคุณสร้างความรู้สึกปลอดภัยและทำให้ทุกคนรู้สึกมีคุณค่าได้เมื่อไหร่ ทีมก็ยิ่งทำงานดี มี Productivity มากขึ้น

5. ความลับที่ 3 # สมาธิ

5.1. เราเสียสมาธิได้เสมอ

5.1.1. ชีวิตในแต่ละวันเกิดเรื่องได้มากมายและเรายังคาดเดาอะไรไม่ได้ด้วย

5.1.2. ต่อให้เราจะมีแผนงานหรือเป้าหมายที่ต้องทำ เราก็ยังเสียสมาธิได้ทุกเมื่อ

5.2. วิธีพัฒนาสมาธิและรับมือสิ่งรบกวน

5.2.1. ลองสร้างแบบจำลองทางจิตใจ

5.2.1.1. จินตนาการว่าวันนี้จะเกิดอะไรและวางแผนสิ่งที่จะทำทีละขั้นตอน

5.2.1.2. จินตนาการถึงสิ่งรบกวนที่อาจเกิดขึ้นและเตรียมวิธีรับมือ

5.2.1.3. วิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้สึกเหมือนเตรียมตัวล่วงหน้าให้พร้อมตลอดเวลา

5.2.2. Ex # วันนี้ต้องเขียนบทความให้เสร็จ

5.2.2.1. จินตนาการว่าวันนี้จะเกิดอะไร ฉันจะทำอะไรบ้างทีละขั้นตอน

5.2.2.1.1. เขียนบทความให้เสร็จ

5.2.2.1.2. ลิสต์หัวข้อที่จะเขียน

5.2.2.1.3. เลือกหัวข้อ

5.2.2.1.4. หาข้อมูล

5.2.2.2. จินตนาการถึงสิ่งรบกวนที่อาจเกิดขึ้นและเตรียมวิธีรับมือ

5.2.2.2.1. อีเมลจากลูกค้า

5.2.2.2.2. แฟนโทรมาชวนไปกินข้าว

5.3. FASTER + BETTER

5.3.1. เรามีสมาธิจำกัด ถ้าอยากทำงานตรงหน้าให้เสร็จเร็ว อย่าทำงานหลายอย่างพร้อมกัน

5.3.2. ยิ่งเรามีสมาธิกับงานหนึ่งมากเท่าไหร่ งานนั้นจะยิ่งออกมาดีขึ้นเท่านั้น

6. ความลับที่ 4 # การตั้งเป้าหมาย

6.1. การตั้งเป้าหมายทั้ง 2 วิธี

6.1.1. ตั้งเป้าหมายใหญ่ Stretch Goals

6.1.1.1. = เป้าหมายใหญ่ เป้าหมายที่ดูทะเยอทะยาน

6.1.1.2. Ex # ฉันจะไปแข่งวิ่งมาราธอน

6.1.2. ตั้งเป้าหมายแบบ SMART

6.1.2.1. = เป้าหมายที่ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยด้วยกันตามชื่อได้แก่

6.1.2.2. SPECIFIC - บอกให้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง

6.1.2.2.1. Ex # ฉันจะอ่านหนังสือแนวธุรกิจเพื่อพัฒนาความรู้

6.1.2.3. MEASURABLE - ต้องวัดผลเป็นตัวเลขได้

6.1.2.3.1. Ex # ฉันจะอ่านวันละ 1 ชั่วโมง

6.1.2.4. ATTAINABLE - ต้องทำได้จริง

6.1.2.4.1. Ex # 1 ชั่วโมงต่อวันไม่มากเกินไป ฉันทำได้ทุกวัน

6.1.2.5. REALISTIC - สมเหตุสมผลกับความเป็นจริง

6.1.2.5.1. Ex # 1 ชั่วโมงต่อวัน ฉันทำได้จริง เพราะฉันกินมื้อเย็นเสร็จตอน 1 ทุ่ม เหลือเวลาก่อนเข้านอนถึง 3 ชั่วโมง ส่วนหนังสือธุรกิจ ฉันก็ซื้อไว้เยอะแล้ว

6.1.2.6. TIME-BOUND - กำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน

6.1.2.6.1. Ex # เดือนแรก ฉันจะเริ่มจากอ่านวันละ 30 นาทีก่อน จากนั้นในเดือนถัดมา ฉันจะอ่านให้ได้วันละ 1 ชั่วโมง

6.2. เริ่มจากฝันให้ใหญ่แล้วค่อยซอยย่อยให้เล็ก

6.2.1. เราควรเริ่มต้นจาก

6.2.1.1. Stretch Goals

6.2.1.1.1. SMART

6.2.2. ถึงแม้เป้าหมายใหญ่จะยาก แต่มันช่วยเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ให้ตัวเองและยังช่วยผลักดันให้เราลงมือทำด้วย

6.2.3. แต่บางครั้งเป้าหมายใหญ่นั้นก็หนักหนาเกินกำลัง จุดนี้เองที่เป้าหมายแบบ SMART จะช่วยเรา

6.2.3.1. เป้าหมายแบบ SMART คือการย่อยเป้าหมายใหญ่ให้เล็กลงจนเราเอื้อมถึงและทำได้

6.2.3.2. ประโยชน์ที่จะเกิดตามมาคือ เมื่อเราทำเป้าหมายแบบ SMART สำเร็จ เราจะได้แรงจูงใจเพิ่มขึ้น

6.2.3.3. ยิ่งเราก้าวไปข้างหน้า เราก็ยิ่งรู้สึกตื่นเต้นมากขึ้นเรื่อยๆ

6.2.4. Ex # ฉันจะไปวิ่งแข่งมาราธอน

6.2.4.1. Stretch Goals = การไปแข่งวิ่งมาราธอน

6.2.4.2. SMART

6.2.4.2.1. S = ฉันจะวิ่งให้ได้ 5 กิโลเมตรโดยไม่หยุดพัก

6.2.4.2.2. M = ฉันจะวัดผลโดยฉันจะวิ่งรอบสวนสาธารณะนี้ครบ 4 รอบ ไม่เดินเลย

6.2.4.2.3. A = ทำได้จริง ถ้าฉันไปวิ่ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์

6.2.4.2.4. R = สมเหตุสมผล ถ้าฉันเลิกงานตรงเวลาในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ แล้วไปสวนสาธารณะเลย

6.2.4.2.5. T = ภายใน 2 อาทิตย์แรก ฉันจะวิ่ง 2 กิโลเมตรโดยไม่หยุดพัก และภายในสิ้นเดือน ฉันจะวิ่งให้ได้ 5 กิโลเมตรโดยไม่หยุดพัก

6.3. BETTER

6.3.1. คนส่วนใหญ่และทีมส่วนใหญ่ไม่ได้สร้าง Productivity เท่าที่ควร เพราะพวกเขาตั้งเป้าหมายได้ไม่ดี

6.3.1.1. ตั้งเป้าหมายง่ายเกินไป

6.3.1.2. ตั้งเป้าหมายยากเกินไป

6.3.2. วิธีตั้งเป้าหมายให้ตอบโจทย์ที่สุดจึงต้องเป็น

6.3.2.1. Stretch Goals

6.3.2.1.1. SMART

7. ความลับที่ 5 # การบริหารคน

7.1. วัฒนธรรมบริษัทแบบไหนดีที่สุด?

7.1.1. การศึกษาวัฒนธรรมบริษัทหลายแห่งในซิลิคอนวัลเลย์พบว่า วัฒนธรรมแห่งความทุ่มเท เป็นรูปแบบวัฒนธรรมที่ช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จมากที่สุด

7.1.2. บริษัทที่มีวัฒนธรรมบริษัทแบบนี้ไม่ล้มละลาย เปิดตัวสู่สาธารณะได้เร็วที่สุด และมีอัตราทำกำไรมากที่สุดด้วย

7.1.3. ข้อดีอื่นของวัฒนธรรมแห่งความทุ่มเทคือ

7.1.3.1. LEAN = มีผู้บริหารระดับกลางไม่กี่คน แล้วจ้างผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ ไว้แทน

7.1.3.2. ดังนั้นเวลาเกิดปัญหา ผู้เชี่ยวชาญก็จะเข้ามาแก้ไขปัญหาได้เร็ว ไม่ต้องติดผู้บริหารระดับกลางที่อาจไม่ได้รู้ทุกเรื่อง

7.2. ลงทุนเงินเพื่อพัฒนาและดูแลคน

7.2.1. บริษัทที่มีวัฒนธรรมนี้ไม่ค่อยจ้างคนออก แต่กลับทุ่มเททรัพยากรเพื่อการฝึกอบรมและพัฒนาคน

7.2.2. พวกเขาไม่ใช้เงินสร้างออฟฟิศที่ดูดีหรือหรูหรา แต่ใช้เงินเพื่อดูแลสวัสดิการพนักงานให้ดี เช่น

7.2.2.1. สนับสนุนวันลาหรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุตรของพนักงาน

7.2.2.2. เสนอทางเลือกให้ลองทำงานจากที่บ้าน WFH

7.2.2.3. วิธีเหล่านี้ช่วยให้พนักงานมีความสุขและรักบริษัทมากขึ้น

7.2.3. พนักงานเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญ ถ้าบริษัทมีพนักงานที่ซื้อสัตย์และพร้อมทำงานหนัก แสดงว่าบริษัทมาถูกทางแล้ว

7.3. วิธีบริหารคนที่ตรงกับแนวคิดที่ 1 # แรงจูงใจ และแนวคิดที่ 2 # ทีม

7.3.1. แนวคิดที่ 1 # แรงจูงใจ

7.3.1.1. มอบอำนาจในการตัดสินใจ = พนักงานรู้สึกมาตัวเองควบคุมได้

7.3.1.2. Ex # โรงงานผลิตชิ้นส่วน

7.3.1.2.1. โตโยต้ามอบอำนาจตัดสินใจให้พนักงานหน้าสายงานผลิต เมื่อเจอชิ้นส่วนที่ผิดพลาด พนักงานสามารถหยุดได้ทันทีไม่ต้องรอหัวหน้า

7.3.2. แนวคิดที่ 2 # ทีม

7.3.2.1. ดูแลสวัสดิการพนักงาน + รับฟัง = พนักงานรู้สึกมีตัวตนและปลอดภัย

7.4. SMARTER + BETTER

7.4.1. ทีมที่จะสร้าง Productivity ต้องเป็นทีมที่มีวัฒนธรรมแห่งความทุ่มเท

7.4.2. อย่าลืมดูแลทีมงานให้ดี เขาจะได้ทำงานเพื่อสร้าง Productivity ให้กับบริษัทต่อไป

8. ความลับที่ 6 # การตัดสินใจ

8.1. อยากตัดสินใจดีต้องคาดเดาอนาคตเก่ง

8.1.1. การตัดสินใจที่ดีขึ้นอยู่กับความสามารถในการจินตนาการถึงอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น

8.1.2. แต่การคาดเดา การจินตนาการ มันไม่แน่นอน ดังนั้นคุณต้องเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนนี้ด้วย

8.1.3. Ex # เลือกโรงเรียนให้ลูก

8.1.3.1. พ่อแม่พยายามเลือกโรงเรียนดีๆ ให้ลูก เพราะอยากให้ลูกมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตมากขึ้น

8.1.3.2. พ่อแม่อยากเลือกโรงเรียนดีๆ เพราะโรงเรียนเหล่านี้จะมีสภาพแวดล้อมที่ดี ครูที่ดี เพื่อนที่ดี

8.2. วิธีฝึกการตัดสินใจ

8.2.1. ศาสตร์ความน่าจะเป็น

8.2.1.1. = การวัดหรือประมาณว่าเรื่องบางอย่างมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเท่าไหร่

8.2.1.2. EX # ฝึกความน่าจะเป็นด้วยเกมไพ่โปกเกอร์

8.2.1.2.1. เวลาเล่นเกมไพ่นี้ คุณจะต้องคิดคำนวณถึงความเป็นไปได้ของไพ่อยู่ตลอดเวลา

8.2.2. ตั้งสมมติฐานให้ดี

8.2.2.1. เรามักตั้งสมมติฐานบนประสบการณ์ของเราและสิ่งต่างๆ ที่เราเจอ

8.2.2.2. แต่คนส่วนใหญ่ชอบให้ความสำคัญกับความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว

8.2.2.3. ดังนั้นถ้าคุณอยากตั้งสมมติฐานให้ดี คุณต้องตั้งบนพื้นฐานความจริงทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว

9. ความลับที่ 7 # การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

9.1. เทคนิคสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

9.1.1. ผสมผสานกัน

9.1.1.1. นำไอเดียที่แตกต่างกันมาผสมกันจนเกิดเป็นไอเดียใหม่

9.1.1.2. Ex # รถยนต์ไฟฟ้า

9.1.1.2.1. เราไม่จำเป็นต้องคิดค้นรถยนต์ใหม่ เราแค่นำรถยนค์แบบเดิมๆ มาผสมกับการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

9.1.2. ดึงประสบการณ์จริงมาใช้

9.1.2.1. วิธีนี้ได้ผลเสมอ แถมทุกคนยังใช้ได้ด้วย เพราะต่างคนต่างมีประสบการณ์ของตัวเองให้ถ่ายทอดออกมา

9.1.2.2. Ex # ภาพยนตร์เรื่อง Frozen

9.1.2.2.1. เริ่มแรกเนื้อเรื่องยังเล่าแบบเดิมให้ตัวเอกสู้กับตัวร้าย

9.1.2.2.2. แต่เมื่อนำมุมมองและประสบการณ์ส่วนตัวของทีมงานมาผสมผสานกัน ทีมงานกลับพบทางออกที่ดีกว่านั้น

9.1.2.2.3. "ดีสู้กับร้าย" ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเสมอไป "รักสู้กับกลัว" ต่างหากที่เกิดขึ้นจริงและโดนใจคนกว่า

9.2. 3 ขั้นตอนสำหรับสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

9.2.1. ใส่ใจกับประสบการณ์ ความคิด และความรู้สึกของตัวเอง

9.2.2. ใช้ความเครียดที่เกิดระหว่างการสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดัน

9.2.2.1. ความเครียด ความกังวล ทำให้เราหันกลับไปมองงานที่ทำออกมาว่ายังทำดีกว่านั้นได้หรือไม่ มีวิธีอื่นๆ อีกหรือไม่

9.2.3. เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

9.2.3.1. เวลาสร้างสรรค์อะไรได้ เราดีใจและภูมิใจกับมัน

9.2.3.2. แต่อย่าให้อารมณ์เหล่านี้บดบังทางเลือกอื่นๆ

9.2.3.3. ลองเปิดรับทางเลือกใหม่ๆ ที่อาจจะดีขึ้นด้วยการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ ด้วย

9.3. SMARTER + FASTER + BETTER

9.3.1. เราสามารถนำเทคนิคการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไปใช้สร้าง Productivity ได้

10. ความลับที่ 8 # การเสพข้อมูล

10.1. เรามีข้อมูลทุกอย่างอยู่ในมือ

10.1.1. สมัยนี้เราหาข้อมูลทุกอย่างได้จากอินเทอร์เน็ต เรายังหาข้อมูลได้แม้กระทั่งข้อมูลส่วนตัวมากๆ จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น เช่น

10.1.1.1. จำนวนก้าวการเดินในแต่ละวัน

10.1.1.2. จำนวนชั่วโมงการนอน

10.1.1.3. จำนวนแคลอรี่ที่เผาผลาญในแต่ละวัน

10.1.2. ดังนั้นเราจึงนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้เพื่อพัฒนาชีวิตในหลายๆ ด้านได้

10.2. ระวังความมืดบอดจากข้อมูล

10.2.1. ความมืดบอดจากข้อมูลคือภาวะที่เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีได้ เพราะมันมีมากและซับซ้อนเกินไป

10.2.2. วิธีรับมือกับความมืดบอดจากข้อมูล

10.2.2.1. กำหนดปัจจัยการเลือกให้ชัดเจน

10.2.2.1.1. Ex # เลือกซื้อประกันชีวิต

10.2.2.2. ใช้ตัวช่วย เช่น Flowchart

10.2.2.2.1. ตัวช่วยชื่อ Flowchart

10.2.2.2.2. Flowchart คือชุดคำถามที่ถูกออกแบบมาให้เราตัดสินใจเลือกในแต่ละขั้นตอน

10.3. FASTER + BETTER

10.3.1. อย่าเสียเวลานานกับข้อมูลมหาศาล เลือกว่าเราควรสนใจข้อมูลไหน

10.3.2. โลกยุคนี้มีข้อมูลเยอะจริงๆ หาวิธีนำมันมาต่อยอดหรือสร้างความรู้ใหม่ๆ ให้ตัวคุณ

11. 8 ความลับสำหรับสร้าง Productivity

11.1. Productivity คืออะไร?

11.1.1. ไม่ใช่การทำงานมากขึ้นหรือทำงานหนักมากขึ้น

11.1.2. ไม่ใช่ผลลัพธ์จากการทำงานที่นานขึ้นหรือการเสียสละที่มากขึ้น

11.1.3. Productivity คือการเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง

11.1.3.1. คุณต้องมีตัวเลือกที่ถูกต้องสำหรับการตัดสินใจที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

11.1.3.2. การตัดสินใจนั้นจะใช้สติปัญญา เวลา และพลังงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด

11.2. 3 มุมมองในการตัดสินใจสำหรับสร้าง Productivity

11.2.1. SMARTER

11.2.2. FASTER

11.2.3. BETTER

11.3. ความลับทั้ง 8 เรื่องในหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณรู้ว่าจะตัดสินใจอย่างไรเพื่อช่วยสร้าง Productivity ให้คุณได้

12. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร?

12.1. กว่าเราจะทำงานเสร็จแต่ละชิ้น เราต้องใช้เวลามากน้อยไม่เท่ากัน

12.2. ยิ่งเราทำงานเสร็จโดยใช้เวลาน้อยเท่าไหร่ นั่นแปลว่าเรามี Productivity มาก แล้วเรายังเหลือเวลาไปทำอย่างอื่นได้อีกด้วย

12.3. หนังสือเล่มนี้จึงมีความลับในการทำงานอยู่ 8 ด้าน เพื่อช่วยให้เราทำงานเสร็จเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยใช้วิธีทำงานที่ฉลาดขึ้นและดียิ่งขึ้น