หาไอเดียเพิ่ม Productivity ที่ใช่สำหรับคุณด้วยไอเดียจากหนังสือ Manage Your Day to Day

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หาไอเดียเพิ่ม Productivity ที่ใช่สำหรับคุณด้วยไอเดียจากหนังสือ Manage Your Day to Day by Mind Map: หาไอเดียเพิ่ม Productivity ที่ใช่สำหรับคุณด้วยไอเดียจากหนังสือ Manage Your Day to Day

1. ผู้เขียน

1.1. โจเซลีน กลี

1.1.1. เจ้าของเว็บไซต์ 99U

1.1.2. อดีตบรรณาธิการใหญ่บริษัทสื่อดิจิตอล Flavorpill

2. คนดังๆ พูดถึงหนังสือเล่มนี้กันอย่างไร?

2.1. นิตยสาร Success

2.1.1. "ยามที่คุณต้องการกำลังใจในการก้าวไปข้างหน้า หนังสือเล่มนี้พร้อมจะยื่นมือมาช่วยคุณ"

2.2. Daniel Pink

2.2.1. "ผมชอบหาวิธีเพิ่ม Productivity อยู่ตลอด ผมจึงเลือกอ่านหนังสือเล่มนี้"

2.3. AJ Jacobs

2.3.1. "ปิดอีเมล ปิดเสียงเรียกเข้า และอ่านหนังสือเล่มนี้ แล้วคุณจะได้ไอเดียคนเก่งๆ มากมาย"

3. ตัวอย่างไอเดียการทำงานจากเหล่าคนเก่ง

3.1. ทุกวันนี้ เราไม่สามารถหาวิธีทำงานที่มีทั้ง Productivity และความคิดสร้างสรรค์แบบ "ตัวเดียวอยู่" ได้อีกต่อไป

3.2. เพราะเราต่างมีจุดแข็ง จุดอ่อน และอารมณ์ที่แตกต่างกัน

3.3. ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมคือ เราควรผสมผสานวิธีทำงานให้เข้ากับนิสัย ความชอบ และการงานของเรา

3.4. หนังสือเล่มนี้จึงรวบรวมไอเดียการทำงานจากเหล่าคนเก่งจากหลายวงการมาเป็นตัวอย่างให้กับคุณ

3.4.1. Seth Godin

3.4.2. Scott Belsky

3.4.3. Tony Schwartz

3.4.4. Erin Rooney Doland

3.4.5. Cal Newport

3.4.6. Dan Ariely

4. สร้างกิจวัตรให้แข็งแกร่ง

4.1. กิจวัตรสำคัญต่อ Productivity อย่างไร?

4.1.1. เราต้องการชั่วโมงการทำงาน เราถึงจะทำงานได้

4.1.2. การสร้างกิจวัตรจึงเป็นวิธีช่วยสร้างชั่วโมงการทำงานให้สอดคล้องกับพลังงานของเราและยังช่วยเตรียมจิตใจให้พร้อมสำหรับจังหวะในการทำงานด้วย

4.1.3. การสร้างกิจวัตรต้องการความอดทนและความสม่ำเสมอ

4.1.3.1. อย่ารอให้เกิดแรงบันดาลใจแล้วค่อยทำงาน

4.1.3.2. แต่จงสร้างจังหวะแห่งการทำงานขึ้นมาเอง

4.2. ทำงานสำคัญของเราในช่วงจังหวะที่เรามีพลังมากที่สุด

4.2.1. ระบบของร่างกายจะมีระบบการทำงานที่เรียกว่า "นาฬิกาชีวภาพ" (Circadian Rhythm)

4.2.2. นาฬิกาชีวภาพคือวงจรการทำงานของร่างกายใน 24 ชั่วโมงซึ่งจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพื่อควบคุมระบบการทำงานต่างๆ เช่น

4.2.2.1. ฮอร์โมน

4.2.2.2. การหลับการตื่น

4.2.3. จังหวะการทำงานของร่างกายที่มีประสิทธิภาพเต็มที่ที่สุดก็คือ ตอนเช้า

4.2.4. ดังนั้นเราควรทำ "งานสำคัญของเรา" ก่อนในตอนเช้า แล้วค่อยทำ "งานสำคัญของคนอื่น"

4.2.4.1. งานสำคัญของเรา

4.2.4.1.1. งานที่ใช้ความคิด งานที่มีคุณค่าสำหรับเรา

4.2.4.1.2. Ex # คิดแผนการตลาดสำหรับสินค้าตัวใหม่

4.2.4.1.3. Ex # คิดโครงเรื่องสำหรับเขียนบทความลงเพจวันนี้

4.2.4.2. งานสำคัญของคนอื่น

4.2.4.2.1. อีเมล การคุยโทรศัพท์

4.2.4.2.2. การตอบอีเมลหรือคุยโทรศัพท์ตอนเช้าจึงกลายเป็นการแก้ปัญหาให้กับคนอื่น มันคืองานสำคัญของคนอื่น ไม่ใช่ของคุณ

4.2.5. เคล็ดลับอื่นเพื่อสร้างกิจวัตรการทำงานที่ดี

4.2.5.1. ทำงานสำคัญที่สุดของคุณในช่วงเวลาที่คุณมีพลังมากที่สุด

4.2.5.1.1. ถ้าไม่ใช่ตอนเช้า ลองหาดูว่าคุณมีพลังมากที่สุดตอนไหน

4.2.5.1.2. ช่วงเวลาที่มีพลังมากที่สุดมักเป็นช่วง "เช้า" กับ "กลางคืน"

4.2.5.2. หาตัวกระตุ้นให้คุณรู้สึกว่า "นี่คือเวลาทำงาน"

4.2.5.2.1. ฟังเพลย์ลิสต์เพลงชุดนี้จบแล้วก็คือเวลาเริ่มงาน

4.2.5.2.2. พอจัดโต๊ะทำงานให้เรียบร้อยแล้วก็คือเวลาเริ่มงาน

4.2.5.2.3. ถ้ามาถึงออฟฟิศ ฉันจะเปลี่ยนชุดยูนิฟอร์มแล้วค่อยเริ่มทำงาน

4.2.5.2.4. ถ้ามาถึงร้านกาแฟนี้ ฉันจะเคลียร์งานเอกสารที่ค้างไว้ให้เรียบร้อย

4.2.5.3. กำหนดเวลาเริ่มงานและเลิกงานให้ชัดเจน

4.2.5.3.1. ต่อให้คุณทำงานคนเดียวที่บ้านไม่ได้เข้าออฟฟิศก็ต้องกำหนดเวลา

4.2.5.4. ตารางการทำงานควรมีกิจกรรมที่หลากหลาย

4.2.5.4.1. คุณควรใส่ช่วงเวลาสำหรับการประชุม งานเอกสาร งานคิดสร้างสรรค์ และอื่นๆ ลงไปในกิจวัตรการทำงานด้วย

4.3. ยิ่งทำงานเป็นประจำ ยิ่งเป็นกิจวัตรการทำงานที่ได้ผล

4.3.1. การต้องคิดงานในช่วงที่ยังคิดไม่ออกนับเป็นเรื่องยากเสมอ

4.3.2. แต่เราไม่สามารถรอให้ถึงเวลาที่ "คิดออก" แล้วค่อยลงมือทำงานจริงได้

4.3.3. วิธีแก้ไขคือ เราต้องทำงานเป็นประจำ

4.3.3.1. = การทำงานทุกวันไม่เว้นวันหยุด โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำเต็มวัน

4.3.3.2. Ex # ทำงานแค่ 2 ชั่วโมงทุกวัน

4.3.3.3. ประเด็นหลักคือ

4.3.3.3.1. ทุกวัน

4.3.3.3.2. จำนวนชั่วโมงทำงาน

4.3.4. การทำงานเป็นประจำมีข้อดีอย่างไร?

4.3.4.1. จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้น

4.3.4.1.1. คุณคิดงานเป็นประจำอยู่ทุกวัน นั่นหมายความว่าคุณมีโอกาสเจอไอเดียที่เหมาะสมกับการทำงานในทุกวันเช่นกัน

4.3.4.1.2. Ex # เขียนบทความ

4.3.4.2. ลดความกดดันลง

4.3.4.2.1. คุณอาจเจอสถานการณ์ที่คิดงานไม่ออก แต่ถ้าคุณทำงานเป็นประจำ คุณจะมีเวลาเพิ่มขึ้นเพื่อทำมันให้สำเร็จ

4.3.4.2.2. Ex # งานออกแบบโลโก้

4.3.4.3. มองเห็นความคืบหน้าของงาน

4.3.4.3.1. ยิ่งมองเห็นงานคืบหน้าไปหาเป้าหมายในทุกวัน คุณก็ยิ่งรู้สึกมีแรงใจมากขึ้นเท่านั้น

4.3.4.3.2. Ex # เขียนหนังสือ

4.4. อย่าลืมใส่เวลาพักลงในตารางงานด้วย

4.4.1. ในกิจวัตรการทำงาน คุณควรใส่ช่วงพักไว้ทุกๆ 90 นาที (1 ชั่วโมงครึ่ง)

4.4.1.1. หนังสือเรื่อง Power of Full Engagement เขียนว่า "เราเป็นคน ไม่ใช่คอมพิวเตอร์"

4.4.1.2. เราไม่สามารถวิ่งเต็มแรงได้ตลอดโดยไม่หยุดพักได้

4.4.2. เวลาพักระหว่างการทำงานแค่ 5-10 นาทีก็มีค่า เพราะช่วงพักนี้คุณจะได้ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อมกลับไปทำงานต่ออีกครั้ง

4.4.3. นอกจากนี้คุณต้องมีเวลานอนหลับพักผ่อนในแต่ละวันให้เพียงพอด้วย

4.4.3.1. งานวิจัยพบว่ายิ่งคุณนอนน้อย ความคิดและประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเราก็ยิ่งลดลง

4.4.3.2. ใน 1 วัน คุณควรนอนไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง

4.4.3.3. การนอนให้เพียงพอนั้นดีกว่าการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลัง

4.4.4. เคล็ดลับเพิ่มเติมคือ ในแต่ละวันลองหาเวลานั่งคิดทบทวนตัวเองบ้าง

4.4.4.1. ทบทวนนิสัย กิจวัตร การทำงาน ฯลฯ

4.4.4.2. ทบทวนว่าฉันทำอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์หรือไม่?

5. เพิ่มสมาธิให้มากขึ้นบนโลกอันแสนวุ่นวาย

5.1. สมาธิสำคัญต่อ Productivity อย่างไร?

5.1.1. ในยุคที่อินเทอร์เน็ตมอบข้อมูลมหาศาลให้เราได้ทุกเมื่อ สมาธิได้กลายเป็นดั่งขุมทรัพย์ที่ทุกคนอยากชิงสมาธิไปจากเรา

5.1.2. เฟซบุ๊กอยากให้คุณเล่นทั้งวัน ทวิตเตอร์อยากให้คุณอ่านแฮชแทกทั้งวัน และอินสตราแกรมก็อยากให้คุณดูรูปไปเรื่อยๆ ทั้งวันเช่นกัน

5.1.3. ดังนั้นเราต้องรู้ทันตัวร้ายที่อยากขโมยสมาธิเราและหาวิธีควบคุมสมาธิเพื่อลงมือทำงานต่อไป

5.2. ทำงานทีละอย่างคือวิธีทำงานที่มี Productivity มากที่สุด

5.2.1. คนเราทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันได้ดีก็ต่อเมื่อเราทำมันได้โดยอัตโนมัติเท่านั้น

5.2.1.1. Ex # เดินเล่น + คุยโทรศัพท์

5.2.1.2. เราสามารถเดินโดยอัตโนมัติแบบไม่ต้องคิดได้

5.2.2. แต่พอเป็นงานอื่นที่ต้องใช้ความคิด เราไม่ได้ทำมันพร้อมกัน เราแค่ "สลับทำไปมา"

5.2.2.1. Ex # อ่านหนังสือ + คุยโทรศัพท์

5.2.2.2. เราทำพร้อมกันไม่ได้ เราได้แค่อ่านแล้วก็สลับไปคุย

5.2.3. ดังนั้นการทำงานตรงหน้าแค่อย่างเดียวแล้วตัดสิ่งอื่นออกไปคือวิธีทำงานที่มี Productivity มากที่สุด

5.2.4. ปัญหาที่จะเกิดตามมาคือ

5.2.4.1. Q # ถ้าคุณไม่ได้ทำงานคนเดียว คุณอยากมีสมาธิกับงาน แต่คนอื่นก็อยากให้คุณช่วยงานอื่นด้วย คุณจะทำอย่างไร?

5.2.4.2. A # บอกเพื่อนร่วมทีมว่าคุณไม่ว่าง ต้องเคลียร์งานสำคัญก่อน แล้วค่อยช่วยงานเขา

5.2.4.3. Ex # 9.00 - 12.00 ขอเคลียร์งานส่งลูกค้า พอช่วงบ่ายค่อยคุยงานกัน

5.3. จัดเตรียมการทำงานแบบไร้สิ่งรบกวน

5.3.1. การจัดสรรเวลาทำงานทีละอย่างเป็นเพียงการต่อสู้กับสิ่งรบกวนแค่ด้านเดียว

5.3.2. การต่อสู้กับสิ่งรบกวนอีกด้านก็คือ สู้กับสิ่งรบกวนอื่นๆ เช่น

5.3.2.1. อินเทอร์เน็ต

5.3.2.2. อีเมล

5.3.2.3. โทรศัพท์

5.3.3. การตัดสิ่งรบกวนเหล่านี้ออกไปนั้นฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่จริงๆ แล้วทำไม่ง่ายเลย

5.3.4. เทคนิคฝึกตัวเองให้ทำงานได้ยาวๆ โดยไม่มีสิ่งรบกวน

5.3.4.1. เริ่มฝึกจากช่วงเวลาสั้นๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลา

5.3.4.1.1. เริ่มจากทำงานโดยไร้สิ่งรบกวนสัก 1 ชั่วโมงก่อน

5.3.4.1.2. แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาทีละสัก 30 นาทีไปเรื่อยๆ

5.3.4.1.3. Cal Newport เรียกวิธีทำงานลักษณะนี้ว่า Deep Work ซึ่งเขาฝึกจนทำได้ประมาณ 4 ชั่วโมงติดต่อกัน

5.3.4.2. แตกงานที่ต้องทำออกให้ชัดเจนแล้วแยกกันทำ

5.3.4.2.1. Ex # เขียนบทความ

5.3.4.3. ลองเปลี่ยนสถานที่ทำงาน

5.3.4.3.1. ลองหาสถานที่เงียบๆ อื่นๆ เช่น ห้องสมุด ร้านกาแฟ หรือห้องอื่นในบ้าน

5.4. เปลี่ยนสิ่งรบกวนสมาธิให้กลายเป็นรางวัล

5.4.1. โซเชียลมีเดียเป็นตัวร้ายที่มาขโมยสมาธิจากการทำงาน

5.4.2. แต่เราก็สามารถเปลี่ยนโซเชียลมีเดียตัวร้ายให้กลายเป็นรางวัลได้เช่นกัน

5.4.3. งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่าหนึ่งในวิธีต่อสู้กับสิ่งรบกวนสมาธิที่ดีที่สุดก็คือใช้สิ่งรบกวนสู้

5.4.3.1. นักวิจัยลองทดลองกับเด็ก โดยให้เด็กเลือกระหว่างกินขนมตอนนี้ 1 ชิ้นกับรอไม่นานนักแล้วจะได้กินขนม 2 ชิ้น

5.4.3.2. ผลปรากฏว่าเด็กที่อยากกินขนม 2 ชิ้นใช้วิธีต่างๆ เพื่อเบนความสนใจระหว่างรอ เช่น ร้องเพลง เตะโต๊ะ

5.4.3.3. นั่นแปลว่าเด็กใช้วิธีเบนสมาธิไปสนใจสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ขนมแทน

5.4.4. Ex # เล่น Facebook หลังเสร็จงาน

6. ใช้เทคโนโลยีทำงานอย่างชาญฉลาด

6.1. เทคโนโลยีสำคัญต่อ Productivity อย่างไร?

6.1.1. ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาไปไกล เรายิ่งถูกมันแว้งกัดมากขึ้น

6.1.2. ยิ่งเทคโนโลยีนั้นทรงพลังมากเท่าไหร่ เรายิ่งมีโอกาสใช้มันผิดทางได้มากขึ้นเท่านั้น

6.1.3. ปัญหาที่แท้จริงคือ "ตัวเรา" ไม่ใช่เทคโนโลยี

6.1.4. เราต้องหันมาตั้งคำถามว่าเราจะใช้มันสร้าง Productivity ให้กับงานได้อย่างไร ไม่ใช่ถูกมันกลืนกินไปเรื่อย

6.2. ใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติ อย่าใช้โดยไม่รู้ตัว

6.2.1. ตอนนี้เราติดนิสัยเล่นโซเชียลมีเดียไปแล้ว

6.2.2. เรามักเล่นโซเชียลมีเดียเวลารู้สึกเบื่อหรือรอและปัญหาใหญ่ที่ตามมาก็คือ เราเล่นโดยไม่รู้ตัวและเล่นมากไปโดยไม่รู้เวลา

6.2.3. วิธีรับมือกับการใช้โซเชียลมีเดียคือ คุณต้องตั้งสติแล้วคิดก่อนเล่น

6.2.3.1. แล้วลองตั้งคำถามว่า

6.2.3.1.1. เราเล่นมันเพื่ออะไร? การเล่นมันช่วยสร้างคุณค่าให้ใครหรือไม่?

6.2.3.1.2. เราเล่นมันเพราะรู้สึกเบื่อ เหงา หรือกลัวพลาดบางอย่างหรือเปล่า?

6.2.3.1.3. เราจำเป็นต้องแชร์เรื่องนี้ตอนนี้เลยหรือเปล่า?

6.2.3.1.4. พอรู้คำตอบแล้ว เราจะรู้ต่อว่า...

6.3. ใช้เทคโนโลยีเป็นเหมือนผู้ช่วย ไม่ใช่ให้มันควบคุมเรา

6.3.1. เทคโนโลยีต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน โซเชียลมีเดีย ถูกสร้างมาเพื่อช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้น

6.3.2. ดังนั้นเราเป็นคน "ควบคุม" มัน ไม่ใช่มันควบคุมเรา และเราไม่จำเป็นต้องใช้มันตลอดเวลาก็ได้

6.3.3. คำแนะนำเพิ่มเติมเรื่องการใช้งานเทคโนโลยี

6.3.3.1. รู้จักรักษาระยะห่างระหว่าง "งาน" กับ "เรื่องส่วนตัว"

6.3.3.1.1. อย่าปล่อยให้งานมาล้ำเส้นชีวิตส่วนตัว

6.3.3.1.2. ทุกคน "รอ" ได้

6.3.3.2. อย่าเอาโลกออนไลน์เข้าไปในห้องนอน

6.3.3.2.1. การส่งอีเมลก่อนนอนหรือหลังตื่นนอน ไม่ได้ช่วยให้คุณมีการพักผ่อนที่ดีขึ้นได้เลย

6.3.3.3. รู้จัก "ปิด" บ้างในบางเวลา

6.3.3.3.1. สมัยก่อนเราจะไม่คุยโทรศัพท์บนโต๊ะอาหาร สมัยนี้เราก็ควร "ปิด" หรือใช้โหมดเครื่องบินบนโต๊ะอาหารบ้างเช่นกัน

6.4. อย่าอยู่กับหน้าจอนานเกินไป

6.4.1. การอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและด้านอื่นๆ ได้

6.4.1.1. สมาธิก็แย่ลง

6.4.1.2. การตัดสินใจก็แย่ลง

6.4.2. คำแนะนำคือ เราควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง เช่น

6.4.2.1. ยืนขึ้น

6.4.2.2. หายใจเข้าลึกๆ

7. ลับคมความคิดสร้างสรรค์ให้เฉียบคมขึ้น

7.1. ความคิดสร้างสรรค์สำคัญต่อ Productivity อย่างไร?

7.1.1. งานแทบทุกชนิดต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์

7.1.2. ต่อให้เป็นงานที่มีรูปแบบเฉพาะสุดๆ เช่น บัญชี เราก็ต้องสร้างสรรค์วิธีใหม่ๆ หรือตารางนำเสนอตัวเลขที่ดูง่ายและรวดเร็วขึ้นอยู่ดี

7.1.3. การมองหาวิธีทำงานในช่วงที่คิดสร้างสรรค์อะไรไม่ออกเลยหรือการมองหาวิธีสร้างไอเดียใหม่ๆ ตลอดเวลาจึงเป็นเหมือนวิธีทำงานในฝันสำหรับทุกคน

7.2. ใครๆ ก็ต้องเคยเจอทางตัน แต่มันก็มีทางออก

7.2.1. ขนาดนักแต่งเพลงที่เก่งที่สุด นักเขียนชั้นเลิศ และศิลปินระดับโลกก็ต้องเจอทางตันกันทั้งนั้น

7.2.2. วิธีแก้ให้เริ่มจาก "หาจุดที่เป็นปัญหาก่อน"

7.2.2.1. ปัญหาที่คนส่วนใหญ่เจอคือ

7.2.2.1.1. ขาดไอเดีย

7.2.2.1.2. ความคิดเห็นของคนอื่น

7.2.2.1.3. ปัญหาส่วนตัว

7.2.2.1.4. เงินทุน

7.2.2.2. วิธีอื่นสำหรับรับมือกับสถานการณ์ที่คิดงานอะไรไม่ออก

7.2.2.2.1. หยุดงานตรงหน้า

7.2.2.2.2. ออกไปเดินเล่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ผ่อนคลาย

7.2.2.2.3. ย้อนกลับมาทำงานต่อ

7.2.2.2.4. ถ้ามัวแต่ก้มหน้าก้มตาทำไปเรื่อยๆ ไอเดียใหม่ๆ ไม่มีทางเกิดขึ้นได้

7.2.3. หนังสือเรื่อง The Organized Mind แนะนำวิธีจัดระเบียบความคิดสำหรับการทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ว่า

7.2.3.1. เราต้องสลับวิธีคิดระหว่าง "คิดแบบมุ่งมั่น" กับ "คิดแบบเพ้อฝัน"

7.3. เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ด้วยการพักผ่อนและงานอดิเรก

7.3.1. การพักผ่อนหรือการออกกำลังกายมีส่วนช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้เราได้

7.3.1.1. การนอนพักผ่อนที่เพียงพอมีผลต่อสมาธิและการตัดสินใจของเรา

7.3.1.2. การออกกำลังกายมีผลต่อการไหลเวียนโลหิต ซึ่งเปรียบเป็นการให้อาหารสมองอีกทางหนึ่งด้วย

7.3.2. งานอดิเรกช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้เรา

7.3.2.1. เราจะได้ไม่จมอยู่กับงานที่ทำเพียงอย่างเดียวด้วย

7.3.2.2. เรามีโอกาสได้ทำอะไรใหม่ๆ โดยไร้ความกดดัน

7.3.3. Ex # ทำสวน สะสมโมเดล ฝึกทำอาหาร ฯลฯ

7.4. ลองสร้างสรรค์งานใหม่ๆ เพื่อตัวเองบ้าง

7.4.1. คนเก่งๆ ที่มีหัวคิดสร้างสรรค์มักทุ่มพลังทั้งหมดเพื่อทำงานให้กับคนอื่น

7.4.2. การทำงานเลี้ยงชีพเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญก็จริง แต่เราก็ควรทำอะไรเพื่อตัวเองด้วย

7.4.3. คำแนะนำคือ หาเวลาสำหรับสร้างสรรค์งานของตัวเองบ้าง

7.4.3.1. ข้อดีของวิธีนี้คือ

7.4.3.1.1. คุณจะมีอิสระเต็มที่ในการทำงาน เพราะนี่คืองานของคุณเอง

7.4.3.1.2. คุณจะได้โอกาสในการฝึกฝนทักษะเพิ่มเติม

7.4.3.1.3. สดท้ายแล้ว คุณจะได้ประโยชน์จากการสร้างสรรค์งานนี้เองในระยะยาว

8. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร?

8.1. หนังสือเล่มนี้รวมตัวอย่างวิธีทำงานแบบมี Productivity เอาไว้ให้เรามากมาย

8.2. เราจึงมีตัวอย่างวิธีที่คนเก่งเหล่านี้ใช้แล้วได้ผลจริงมาลองปรับใช้กับตัวเองได้หลายวิธีเช่นกัน