สร้างนิสัย 7 อย่าง เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
สร้างนิสัย 7 อย่าง เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ by Mind Map: สร้างนิสัย 7 อย่าง  เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ

1. ผู้เขียน

1.1. สตีเฟน โควีย์

1.1.1. นิตยสาร TIME ยกย่องให้เป็น 1 ในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในอเมริกา

1.1.2. นักเขียนชื่อดัง เจ้าของผลงานอื่นๆ เช่น The 7 Habits of High Effective Families, First Thing First

1.1.3. เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทแฟรงคลินโควีย์ บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกที่มีสาขาทั่วโลกมากกว่า 123 ประเทศ

2. ความโด่งดังของหนังสือเล่มนี้

2.1. ถูกแปลไปมากกว่า 38 ภาษาทั่วโลก

2.2. ยอดขายรวมมากกว่า 25 ล้านเล่มทั่วโลก

2.3. ติดอันดับที่ 1 ของหมวดหนังสือด้านธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อคนอ่านมากที่สุดในศตวรรษที่ 20

3. นิสัยที่ 7 ดูแลตัวเองให้พร้อมสร้างความสำเร็จต่อไป

3.1. นิสัยสุดท้ายนี้ก็คือการดูแล "สิ่งที่สร้างผลลัพธ์" นั่นก็คือ "ตัวเรา" ให้ดีที่สุด ถือเป็นงานด่วนที่ไม่สำคัญ แต่เราควรหาเวลาทำอย่างสม่ำเสมอด้วย

3.1.1. Ex # เรื่องเล่าของพรานตัดไม้

3.1.1.1. นายพรานคนหนึ่งกำลังเลื่อยต้นไม้อยู่ เขาพยายามอยู่นานแต่ก็ยังไม่สำเร็จเสียที

3.1.1.2. ชายคนหนึ่งเห็นเข้าเลยถามนายพรานว่า "ทำไมไม่ลับเลื่อยให้คมก่อนตัดล่ะ จะได้ตัดเร็วขึ้น"

3.1.1.3. นายพรานกลับตอบไปว่า "เสียเวลาน่า ฉันต้องรีบตัดมันให้เสร็จ"

3.1.1.4. ถ้านายพรานยอมเสียเวลาสักชั่วโมงเพื่อลับเลื่อยให้คม เขาอาจตัดต้นไม้ได้เร็วกว่านี้มากเลย

3.2. ปัจจัย 4 ด้านที่ต้องดูแล

3.2.1. ร่างกาย

3.2.1.1. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

3.2.1.2. กินอิ่ม นอนอุ่น

3.2.2. สมอง

3.2.2.1. หาความรู้เพิ่มเติม

3.2.2.2. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

3.2.2.3. วางแผนเรื่องต่างๆ ในหัว

3.2.3. จิตใจ

3.2.3.1. ฝึกสมาธิ

3.2.3.2. มีเวลาให้กับตัวเอง

3.2.4. สังคม

3.2.4.1. อาสาช่วยเหลือสังคม

3.2.4.2. รักษาและพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่น

3.2.4.3. สร้างบัญชีความเชื่อใจกับผู้อื่น

3.3. เราต้องดูแลทั้ง 4 ด้านนี้ไปพร้อมกัน ถ้าขาดด้านใดไป ด้านอื่นๆ อาจมีปัญหาได้

4. ถ้าอยากสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืน เราต้องเริ่มจากเปลี่ยน "นิสัย" ของตัวเอง

4.1. เปลี่ยนนิสัย = เปลี่ยนตัวเองจากภายใน

4.1.1. จากการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความสำเร็จย้อนกลับไปถึง 200 ปี พบว่าเราสามารถแบ่งแนวคิดความสำเร็จได้ 2 ช่วงคือ

4.1.1.1. ช่วงแรก ความสำเร็จ = คุณสมบัติภายใน

4.1.1.1.1. ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

4.1.1.1.2. ความไม่เห็นแก่ตัว

4.1.1.2. ช่วงสอง ความสำเร็จ = บุคลิกภาพภายนอก

4.1.1.2.1. การเข้าสังคม

4.1.1.2.2. การสื่อสาร

4.1.2. ช่วงประมาณหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา เราเริ่มเปลี่ยนแนวคิดเรื่องความสำเร็จ จากเดิมเราเชื่อใน "คุณสมบัติภายใน" มาเป็น "บุคลิกภาพภายนอก"

4.1.3. แต่แนวทางในการสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืนกว่าคือการเปลี่ยนตัวเองจากภายใน (คุณสมบัติภายใน) ไม่ใช่เปลี่ยนที่ภายนอก (บุคลิกภาพภายนอก)

4.1.3.1. เราเรียนการเข้าสังคมได้ แต่ถ้าเราไม่มีคุณสมบัติที่ดีในตัว เราก็สร้างความสำเร็จได้แค่ชั่วคราว

4.1.3.1.1. Ex # คนขี้เกียจ แต่เข้าสังคมเก่ง

4.1.3.2. แต่ถ้าเรามีคุณสมบัติภายในที่ดี แล้วค่อยไปพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก เราจะสร้างความสำเร็จได้ยั่งยืนกว่า

4.1.3.2.1. Ex # คนขยัน แต่เข้าสังคมไม่เก่ง

4.1.3.3. เฮนรี่ ธอโร นักเขียนชื่อดังเคยกล่าวว่า "การตัดกิ่งก้านของต้นไม้นับพันครั้ง ไม่ได้ผลเท่าตัดรากแก้วเพียงครั้งเดียว"

4.1.3.3.1. ราก = ต้นกำเนิดของปัญหาทั้งหมด

4.1.3.3.2. กิ่งก้านใบ = ปัญหาภายนอกที่เกิดตามมา

4.1.3.3.3. การตัดราก = การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ นั่นก็คือ ตัวเราเอง เราจะแก้ไขจากนิสัยของเราเอง

4.1.4. การเปลี่ยนนิสัยจึงเป็นการสร้างความดีในตัวเพิ่มขึ้นมา เมื่อเรามีนิสัยที่ดีจากภายใน เราจะสร้างความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

4.2. ความสำเร็จเกิดจากการเลี้ยงห่านทองคำ

4.2.1. สตีเฟนใช้นิทานเรื่อง "ห่านทองคำ" อธิบายวิธีสร้างความสำเร็จได้เข้าใจง่ายมาก

4.2.1.1. เรื่องย่อคือ แม่ห่านตัวหนึ่งสามารถออกไข่มาเป็นทองคำ

4.2.1.2. เจ้าของดีใจมากที่มีห่านตัวนี้ไว้ครอบครอง มันจะออกไข่ทองคำวันละฟอง แล้วเขาก็ตั้งใจเฝ้ารอมันทุกวัน

4.2.1.3. แต่แล้ววันหนึ่ง เขาเกิดโลภ เขาไม่อยากรอทุกวันอีกต่อไป เขาอยากได้ไข่ทองคำทั้งหมดวันนี้และเดี๋ยวนี้ เขาจึงตัดสินใจฆ่าห่านแล้วผ่าท้องมัน

4.2.1.4. ผลปรากฎว่า ในท้องไม่มีไข่ทองคำ นับจากนั้นมาเขาก็หมดโอกาสได้ครอบครองไข่ทองคำอีกตลอดไป

4.2.2. การสร้างความสำเร็จ = การสร้างสมดุลระหว่าง "ผลลัพธ์" กับ "สิ่งที่สร้างผลลัพธ์"

4.2.2.1. ผลลัพธ์

4.2.2.1.1. ไข่ห่านทองคำ

4.2.2.2. สิ่งที่สร้างผลลัพธ์

4.2.2.2.1. ห่าน

4.2.2.3. Ex # ธุรกิจห้องเช่า

4.2.2.3.1. คุณสร้างตึกเสร็จสมบูรณ์เปิดเช่าได้อย่างสบายใจ

4.2.2.3.2. คุณสร้างรายได้มาตลอด 2 ปี โดยไม่ติดขัดอะไรเลย

4.2.2.3.3. แต่คุณไม่ดูแลตึกเลย คุณปล่อยให้มันโทรมเก่า ข้าวของก็เสียหาย

4.2.2.3.4. สุดท้ายก็ไม่มีลูกค้าคนไหนอยากมาเช่าห้องเลย

4.2.3. อย่าสนใจแต่ "ผลลัพธ์" จนละเลยที่จะดูแล "สิ่งที่สร้างผลลัพธ์" เพราะเราต้องใช้ "สิ่งที่สร้างผลลัพธ์" ทุกวัน

4.2.4. แนวคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกแง่มุมของชีวิตทั้ง...

4.2.4.1. สุขภาพ

4.2.4.2. การเงิน

4.2.4.3. ความสัมพันธ์

4.3. นิสัยทั้ง 7 จะช่วยให้เราเติบใหญ่ พร้อมสร้างความสำเร็จให้มากขึ้น

4.3.1. มนุษย์มีพัฒนาการจาก "เด็ก" ไปสู่ "ผู้ใหญ่" แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ

4.3.1.1. ระยะพึ่งพาคนอื่น

4.3.1.1.1. เด็กต้องพึ่งพาพ่อแม่คอยให้การเลี้ยงดูถึงจะเติบโต

4.3.1.2. ระยะพึ่งพาตัวเอง

4.3.1.2.1. เราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เราพึ่งพาตัวเองเพื่อสร้างความสำเร็จในชีวิต

4.3.1.3. ระยะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

4.3.1.3.1. ในความเป็นจริง เราไม่ได้ใช้ชีวิตตามลำพัง เราต้องมีครอบครัว เราต้องทำงานร่วมกับคนอื่น

4.3.1.3.2. ดังนั้นเราต้องอาศัยผู้อื่นเพื่อช่วยสร้างความสำเร็จให้ชีวิต

4.3.1.3.3. เป้าหมายของการสร้างนิสัยทั้ง 7 อย่างคือการพัฒนาตัวเองไปจนถึง "ระยะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน"

4.3.2. คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า "ระยะพึ่งพาตัวเอง" คือจุดที่เราเติบโตมากที่สุด แต่จริงๆ แล้ว "ระยะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน" คือจุดที่จะสร้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นได้

4.4. สรุปโครงหลักในการพัฒนานิสัยทั้ง 7

4.4.1. พัฒนาจาก "ระยะพึ่งพาคนอื่น" สู่ "ระยะพึ่งพาตัวเอง"

4.4.1.1. ใช้ชีวิตเชิงรุก

4.4.1.2. นำเป้าหมายมาใช้เป็นจุดเริ่มต้น

4.4.1.3. เลือกทำ "งานที่สำคัญ" ก่อน

4.4.2. พัฒนาจาก "ระยะพึ่งพาตัวเอง" สู่ "ระยะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน"

4.4.2.1. คิดแบบชนะด้วยกันทุกฝ่าย

4.4.2.2. รับฟังคนอื่นอย่างเข้าใจ

4.4.2.3. ประสานความต่างแล้วร่วมมือกัน

4.4.3. หมั่นฝึกฝนนิสัยต่างๆ รวมทุกนิสัยเข้าไว้ด้วยกัน

4.4.3.1. ดูแลตัวเองให้พร้อมสร้างความสำเร็จ

5. นิสัยที่ 1 ใช้ชีวิตเชิงรุก

5.1. เราสามารถแบ่งคนออกเป็น 2 พวกคือ...

5.1.1. คนที่ใช้ชีวิตเชิงรับ

5.1.1.1. = คนที่ปล่อยให้สิ่งรอบตัวมากำหนด

5.1.2. คนที่ใช้ชีวิตเชิงรุก

5.1.2.1. = คนที่รับผิดชอบตัวเอง 100%

5.1.3. Ex # เวลาเริ่มงาน 9 โมง

5.1.3.1. คนที่ใช้ชีวิตเชิงรับ

5.1.3.1.1. ถ้าไปทำงานสายจะโทษว่า "ฝนตก" "รถติด"

5.1.3.2. คนที่ใช้ชีวิตเชิงรุก

5.1.3.2.1. ถ้าไปทำงานสายจะโทษตัวเองว่า "ไม่รีบตื่นและเตรียมตัวให้ทัน"

5.1.4. Ex # ความรัก

5.1.4.1. คนที่ใช้ชีวิตเชิงรับ

5.1.4.1.1. "คนอื่นเขาไม่รักจะให้ทำไง"

5.1.4.2. คนที่ใช้ชีวิตเชิงรุก

5.1.4.2.1. "อยากให้เขามารัก ฉันต้องทำอะไรบ้าง"

5.1.5. เรามีสิทธิ์ในการเลือกว่าจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร อย่าใช้ชีวิตเชิงรับแล้วปล่อยให้คนอื่นมาเลือกแทนเรา

5.2. ชีวิตของเราต่างอยู่ภายใต้วงกลมทั้ง 2 วง นั่นคือ...

5.2.1. วงกลมแห่งปัญหา (Circle of Concern)

5.2.1.1. = วงกลมภายนอกที่มีขนาดใหญ่

5.2.1.2. = ปัญหาแวดล้อมรอบตัว เช่น เพื่อนร่วมงาน บริษัท

5.2.2. วงกลมแห่งความสามารถ (Circle of Influence)

5.2.2.1. = วงกลมภายในที่มีขนาดเล็ก

5.2.2.2. = ความสามารถของตัวเรา

5.2.3. คนที่ใช้ชีวิตเชิงรับ

5.2.3.1. = คนที่ยอมให้วงกลมแห่งปัญหากัดกินตัวเอง จนบีบให้วงกลมแห่งความสามารถนั้นเล็กลงเรื่อยๆ

5.2.4. คนที่ใช้ชีวิตเชิงรุก

5.2.4.1. = คนที่พยายามปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง เพื่อขยายวงกลมแห่งความสามารถให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

5.2.5. ถ้าอยากเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ เราต้องเป็นคนเชิงรุก เราต้องพัฒนาตัวเองเพื่อสู้กับปัญหาภายนอก

5.2.5.1. Ex # เริ่มงานบริษัทใหม่

5.2.5.1.1. เราต้องเป็นคนเชิงรุก รู้จักปรับตัว ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อทำงานในบริษัทใหม่ให้ได้

5.2.5.1.2. เราจะไม่เป็นคนเชิงรับ โทษว่าระบบงานไม่ดีซับซ้อน เพื่อนร่วมงานไม่ดี แล้วก็ลาออกเปลี่ยนบริษัทไปเรื่อยๆ

5.3. เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนที่ใช้ชีวิตเชิงรุก

5.3.1. สังเกตตัวเองว่าในแต่ละวัน คุณมีความคิดหรือคำพูดทำนองว่า "ถ้า...ฉันจะ..." "ฉันไม่สามารถทำ..."

5.3.1.1. เปลี่ยนความคิดเสียใหม่เป็น "ฉันสามารถทำ..."

5.3.1.2. ถ้าฉันมีเงินเดือนมากกว่านี้ ฉันคงเก็บเงินได้แล้ว

5.3.1.2.1. ฉันมีเงินเดือนเท่านี้ ฉันสามารถเก็บเงินได้เท่านั้น

5.3.1.3. ถ้างานไม่ยากขนาดนี้ ฉันคงทำออกมาดีไปแล้ว

5.3.1.3.1. ถ้าฉันต้องทำงานยาก ฉันต้องพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น

5.3.2. เลือกปัญหาจากส่วนตัวหรือการงานมาคิดต่อว่า...

5.3.2.1. ปัญหานั้นมีต้นตอมาจากอะไร?

5.3.2.2. ถ้าอยากแก้ปัญหานี้ ฉันจะทำอะไรได้บ้าง?

5.4. ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จ เราต้องไม่เป็นคนที่รอตั้งรับให้คนอื่นมาบอกให้ทำนู่นนี่ แล้วเป็นคนที่ใช้ชีวิตเชิงรุกแทน

5.4.1. Ex # เศรษฐกิจแย่ขายของไม่ดี

5.4.1.1. ถ้าเป็นคนเชิงรับ เขาคงมัวแต่ตัดพ้อและโทษทุกอย่างรอบตัว โทษรัฐบาล โทษฟ้าฝน

5.4.1.2. แต่คนเชิงรุกจะพยายามมองหาวิธ๊แก้ปัญหา เขาจะคิดว่าต้องทำอะไรอีกถึงจะผ่านวิกฤตนี้ไปได้

5.4.1.3. คนเชิงรุกจะคิดว่า "ฉันจะหาเงินสดหมุนเข้าร้านเร็วๆ ได้อย่างไร?" "ฉันจะดูแลพนักงานในเวลานี้ได้อย่างไร?"

5.4.2. Ex # อยากสร้างทีมที่ดี

5.4.2.1. ถ้าคนเชิงรุกอยากมีลูกทีมที่ดี เขาจะคิดว่า "หัวหน้าที่ดีต้องทำตัวอย่างไร?"

5.4.2.2. ฉันคงต้องรู้จักดูแลสวัสดิการ ถ่ายทอดความรู้ รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา และช่วยแก้ไขปัญหาให้ลูกทีมได้

6. นิสัยที่ 2 นำเป้าหมายมาใช้เป็นจุดเริ่มต้น

6.1. ทำไมเราถึงต้องใช้เป้าหมายเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต

6.1.1. ถ้าไม่มีเป้าหมาย เราก็จะไม่ลงมือทำอะไร

6.1.1.1. คนส่วนใหญ่ชอบแก้ปัญหาที่อยู่ตรงหน้า ทำมันให้ดี และใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ โดยไม่ทันได้ฉุกคิดว่า "เราเดินมาถูกทางหรือยัง" "เป้าหมายของฉันคืออะไร?"

6.1.1.2. ดังนั้นการมีเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่แรกก็เหมือนเราเลือกภูเขาที่อยากจะปีน

6.1.1.2.1. พอเราเลือกภูเขา (เป้าหมาย) เราค่อยคิดหาเส้นทางและวิธีปีนเขาให้สำเร็จ

6.1.1.2.2. ภูเขา (เป้าหมาย) จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อกำหนดทุกการกระทำและการตัดสินใจต่อจากนี้

6.1.2. ถ้าใช้เป้าหมายสุดท้ายในชีวิต เราจะกำหนดสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดในชีวิตได้

6.1.2.1. คนส่วนใหญ่มีเป้าหมายเป็นสิ่งต่างๆ เช่น เงิน ครอบครัว การงาน แต่ถ้าเราใช้เป้าหมายพวกนี้เป็นหลัก ระหว่างทางเราอาจไปผิดทางเพราะอารมณ์และความรู้สึกได้

6.1.2.1.1. ถ้าเป้าหมายคือเงิน

6.1.2.1.2. ถ้าเป้าหมายคือลูก

6.1.2.2. แต่เราควรใช้เป้าหมายสุดท้ายเป็นหลักเพื่อกำหนดทุกการกระทำและการตัดสินใจ ภาพฝันในงานศพจึงถือเป็นเป้าหมายสุดท้ายจริงๆ ในชีวิต

6.1.2.3. การเริ่มต้นจากภาพงานศพจึงเป็นการเริ่มต้นจากเป้าหมายท้ายสุดแล้วค่อยไล่ลำดับมาให้ใกล้ตัวมากขึ้น

6.2. ใช้ภาพงานศพเป็นเป้าหมาย

6.2.1. จินตนาการถึงภาพงานศพของตัวเอง

6.2.1.1. ให้ลองนึกถึงงานศพของตัวเอง แล้วถามตัวเองว่า...

6.2.1.1.1. ฉันอยากให้ทุกคนคิดถึงฉันในแบบไหน?

6.2.1.1.2. ฉันอยากให้ทุกคนพูดถึงฉันอย่างไร?

6.2.1.1.3. จากนั้นคุณจะได้คำตอบว่า ต่อจากนี้ไปคุณควรใช้ชีวิตไปในทิศทางไหน

6.2.1.2. Ex # ในงานศพ ฉันอยากให้ทุกคนคิดว่าฉันเป็นคนมีน้ำใจ

6.2.1.2.1. คนที่มางานศพคุณสามารถแบ่งง่ายๆ ได้ 4 ประเภทคือ...

6.2.1.2.2. ถ้าคุณอยากให้ทุกคนอาลัยที่เสียคนมีน้ำใจมากๆ คนนี้ไป

6.2.2. เขียนเป้าหมายสำคัญที่สุดของตัวเอง

6.2.2.1. เป้าหมายนี้เปรียบเหมือนรัฐธรรมนูญชีวิตของเรา เราจะยึดถือมันไปตลอดนับจากนี้

6.2.2.1.1. แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง เราต้องยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายนี้ต้องแก้ไขได้

6.2.2.2. เราจะเขียนเป้าหมายสำคัญนี้โดยเริ่มจากวงกลมแห่งความสามารถของตัวเอง

6.2.2.3. เราต้องแบ่งเป้าหมายสำคัญออกเป็นด้านต่างๆ ของชีวิต เช่น

6.2.2.3.1. ความสัมพันธ์

6.2.2.3.2. การเงิน

6.2.2.3.3. การงาน

6.2.2.3.4. ศาสนา

6.2.2.3.5. สังคม

6.2.2.4. จงสรุปทุกอย่างออกมาเป็นแนวทางใชัชีวิต แล้วเขียนมันออกมา การเขียนจะช่วยให้คุณได้ทบทวนและยังนำกลับมาอ่านซ้ำหรือแก้ไขก็ยังได้

7. นิสัยที่ 3 เลือกทำ "งานสำคัญแต่ไม่ด่วน" ก่อน

7.1. นิสัยสุดท้ายที่จะพัฒนาเราให้เข้าสู่ "ระยะพึ่งพาตัวเอง" อย่างเต็มที่แล้วใช้นิสัยที่ 1+2 ให้เกิดประโยชน์ก็คือ นิสัยที่ 3 เลือกทำ "งานที่สำคัญ" ก่อน

7.1.1. นิสัยที่ 1 ต้องการบอกว่า "เรากำหนดชีวิตตัวเองได้"

7.1.2. นิสัยที่ 2 ต้องการบอกว่า "เราต้องมีเป้าหมายให้ตัวเอง"

7.1.3. นิสัยที่ 3 คือการเปลี่ยนเป้าหมายนั้นให้เป็นความจริง

7.2. งานทุกอย่างในชีวิตจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ...

7.2.1. ช่องซ้ายบน: งานสำคัญและด่วน

7.2.1.1. ปัญหาเฉพาะหน้า

7.2.1.2. วิกฤติ

7.2.1.3. งานที่มีเส้นตาย

7.2.2. ช่องขวาบน: งานสำคัญและไม่ด่วน

7.2.2.1. การวางแผน

7.2.2.2. การดูแลตัวเองและพัฒนาตัวเอง

7.2.2.2.1. การออกกำลังกาย

7.2.2.2.2. การอ่านหนังสือ

7.2.2.3. การพัฒนาความสัมพันธ์

7.2.2.3.1. การใช้เวลากับคนในครอบครัว

7.2.2.3.2. การทำกิจกรรมกับเพื่อน

7.2.3. ช่องซ้ายล่าง: งานไม่สำคัญและด่วน

7.2.3.1. งานหรือปัญหาของคนอื่น

7.2.3.2. โทรศัพท์ แชท การประชุม

7.2.3.3. กิจกรรมอื่นๆ ตามกระแสสังคม

7.2.4. ช่องขวาล่าง: งานไม่สำคัญและไม่ด่วน

7.2.4.1. เรื่องหยุมหยิมเสียเวลา

7.2.4.2. เรื่องบันเทิงต่างๆ

7.3. วิธีรับมือกับงานทั้ง 4 ประเภท

7.3.1. งานสำคัญและด่วน

7.3.1.1. คนส่วนใหญ่คิดว่างานประเภทนี้สำคัญที่สุด แต่คนที่ประสบความสำเร็จมากๆ จะมีงานประเภทนี้น้อย

7.3.1.2. ถ้าเรามีงานประเภทนี้มาก แสดงว่าเราทำงานแบบไฟลนก้น แล้วเราก็จะเครียดมากขึ้นไปด้วย

7.3.2. งานสำคัญและไม่ด่วน

7.3.2.1. งานประเภทนี้คือหัวใจสำคัญที่สุด คนที่ประสบความสำเร็จจะแบ่งเวลาเพื่อทำงานชนิดนี้ให้มาก

7.3.2.2. แต่มันก็เป็นงานที่คนส่วนใหญ่ละเลย เพราะมัน "ไม่ด่วน"

7.3.2.3. ถ้าเราอยากมีเวลาทำงานประเภทนี้เยอะๆ เราต้อง...

7.3.2.3.1. รู้จักปฏิเสธงานอื่นๆ และเรียงลำดับความสำคัญของงาน

7.3.2.3.2. กำหนดตารางงานในแต่ละวัน

7.3.2.3.3. กำหนดเวลาสำหรับงานในแต่ละประเภทให้ชัดเจน จะได้ไม่กินเวลาเพิ่มเติม

7.3.3. งานไม่สำคัญและด่วน

7.3.3.1. คนส่วนใหญ่ชอบเสียเวลากับงานประเภทนี้เยอะมาก ทั้งๆ ที่ควรมอบหมายให้คนอื่นทำแทน

7.3.3.2. คำแนะนำเวลามอบหมายงานให้คนอื่นทำคือ ควรมอบความไว้ใจและให้เกียรติคนทำงาน

7.3.3.2.1. วิธีนี้จะสร้างแรงจูงใจให้กับคนทำงานได้มากที่สุด

7.3.3.2.2. คนทำงานต่อก็จะมีอิสระในการทำงานแล้วทำงานออกมาได้ดีที่สุด

7.3.3.2.3. แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่ยากที่สุดสำหรับคนมอบหมายงาน เพราะมันยากที่จะทำใจ

7.3.3.2.4. สิ่งที่เราควรทำคือ...

7.3.3.3. เวลามอบหมายงานก็เหมือนการเปิด "บัญชีความเชื่อใจ" ระหว่างกัน

7.3.3.3.1. ถ้าเราอยากสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับใคร เราก็ต้องหมั่นฝากความเชื่อใจไปให้เขา

7.3.3.3.2. วิธีสร้างความเชื่อใจ...

7.3.3.3.3. เมื่อทั้งสองฝ่ายไว้ใจกันมาก การสื่อสารระหว่างกันก็จะง่าย การทำงานก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

7.3.4. งานไม่สำคัญและไม่ด่วน

7.3.4.1. นี่คืองานที่เราไม่ควรยุ่งเกี่ยวด้วยเลย เพราะมันไม่ช่วยสร้างความสำเร็จใดๆ ในชีวิต

8. นิสัยที่ 4 คิดแบบชนะด้วยกันทุกฝ่าย

8.1. ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่ายมีอยู่ด้วยกัน 6 แบบคือ

8.1.1. ชนะด้วยกันทุกฝ่าย WIN-WIN

8.1.1.1. นี่คือข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับสองฝ่าย

8.1.2. ฉันชนะ คุณแพ้ WIN-LOSE

8.1.2.1. สถานการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยที่สุด

8.1.2.2. ฝ่ายที่ชนะจะพยายามทำทุกทางเพื่อให้ได้ชัยชนะ แม้วิธีนั้นจะผิดก็ตาม

8.1.3. ฝ่ายหนึ่งเลือกที่จะแพ้ LOSE-WIN

8.1.3.1. บางครั้งอาจทำให้สถานการณ์ดีขึ้น มีฝ่ายหนึ่งอยากหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง แต่ฝ่ายที่ยอมแพ้จะต้องเก็บอารมณ์ด้านลบเอาไว้

8.1.3.2. แล้ววันหนึ่งถ้าเก็บไว้ไม่อยู่ ฝ่ายนั้นอาจอยากกลับมาเอาชนะบ้าง (WIN-LOSE)

8.1.4. สู้กันจะเอาชนะ สุดท้ายก็พังทั้งสองฝ่าย LOSE-LOSE

8.1.4.1. ต่างฝ่ายสู้กันจนไม่เหลืออะไร ยอมแม้กระทั่งไม่ได้อะไรเลยขอแค่ชนะก็พอ

8.1.4.2. สุดท้ายแล้วการต่อสู้กันแบบนี้มีแต่จะแพ้ด้วยกันทั้งหมด

8.1.5. มองแค่ตัวเองชนะ คนอื่นช่างมัน WIN

8.1.5.1. คนอื่นจะเป็นอย่างไรไม่รู้ ขอแค่ตัวเองเป็นฝ่ายชนะก็พอ

8.1.6. หาข้อสรุปแบบชนะด้วยกันทุกฝ่ายไม่ได้ เลยแยกย้ายกัน NO DEAL

8.1.6.1. ไม่สามารถหาข้อสรุปที่ WIN-WIN ได้ ขืนไปต่ออาจต้องมีฝ่ายที่แพ้ จึงแยกย้ายกันไปก่อน

8.1.6.2. ทางเลือกนี้เป็นตัวเลือกที่ดีรองลงมาจาก "ชนะด้วยกันทุกฝ่าย" WIN-WIN

8.2. วิธีสร้างนิสัยคิดแบบชนะด้วยกันทุกฝ่าย

8.2.1. มองปัญหาจากมุมมองของผู้อื่นบ้าง

8.2.2. คิดถึงปัญหาสำคัญและข้อกังวลของแต่ละฝ่าย

8.2.3. กำหนดผลลัพธ์ที่ต่างฝ่ายต่างยอมรับได้

8.2.4. มองหาความเป็นไปได้ทุกทางที่ทำให้ได้ผลลัพธ์นั้นมา

8.2.5. เราต้องเชื่อว่า "มีสิ่งดีๆ มากพอสำหรับทุกคน"

8.2.5.1. อย่าไปคิดว่า ถ้าคนอื่นได้ เราก็อด

8.3. วิธีคิดแบบชนะด้วยกันทุกฝ่ายคือการรักษาสมดุลระหว่าง "ผลลัพธ์" กับ "สิ่งที่สร้างผลลัพธ์"

8.3.1. ถ้าเราอยากคิดแบบนี้ เราต้องมี 2 ส่วนผสมกันคือ

8.3.1.1. ความกล้า

8.3.1.1.1. = การคิดถึงผลลัพธ์

8.3.1.2. ความเห็นใจ

8.3.1.2.1. = การคิดถึงสิ่งที่สร้างผลลัพธ์

8.3.2. ถ้ามีแต่ความกล้าอย่างเดียว เราก็จะกลายเป็นคนที่คิดแต่ผลลัพธ์ของตัวเอง

8.3.2.1. ฉันชนะ คุณแพ้ WIN-LOSE

8.3.2.2. สู้กันจะเอาชนะ สุดท้ายก็พังทั้งสองฝ่าย LOSE-LOSE

8.3.2.3. มองแค่ตัวเองชนะ คนอื่นช่างมัน WIN

8.3.3. ถ้ามีแต่ความเห็นใจ เราจะไม่กล้าสู้เพื่อผลลัพธ์ของตัวเอง แล้วอยากรักษาแต่สิ่งที่สร้างผลลัพธ์ไว้

8.3.3.1. ฝ่ายหนึ่งเลือกที่จะแพ้ LOSE-WIN

9. นิสัยที่ 5 รับฟังคนอื่นอย่างเข้าใจ

9.1. เรามักชอบช่วยคนอื่นแก้ปัญหาด้วยมุมมองของตัวเอง

9.1.1. เวลาคนอื่นมีปัญหา คนส่วนใหญ่จะชอบช่วยเหลือเขาด้วยมุมมองที่ตัวเองคิดว่าดี โดยไม่ยอมทำความเข้าใจปัญหาของคนอื่นในมุมของเขาให้ดีเสียก่อน

9.1.2. Ex # ลูกค้าอยากซื้อรถยนต์คันใหม่

9.1.2.1. ลูกค้าคนหนึ่งอยากได้รถยนต์คันใหม่ แต่เขามีปัญหาเรื่องการเลือกรถยนต์จึงมาปรึกษาคุณ

9.1.2.2. พอได้ยินดังนั้นคุณก็เลยเลือกรถยนต์รุ่นใหม่ล่าสุดให้เขาทันที

9.1.2.3. ลูกค้าคนนั้นได้ลองขับรถคันนั้นแล้ว แต่ก็รู้สึกว่ามันไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไร เขาตัดสินใจไม่ซื้อรถ แล้วก็เดินออกจากโชว์รูมไป

9.1.2.4. คุณยังไม่รู้และไม่เข้าใจปัญหาของลูกค้าเลย แล้วจะไปแนะนำวิธีแก้ปัญหาได้อย่างไร?

9.2. รู้จักฟังคนอื่นให้มากขึ้นด้วยการฟังแบบเปิดใจ (Empathic Listening)

9.2.1. การสื่อสารคือทักษะสำคัญที่ช่วยให้เราทำความเข้าใจอีกฝ่ายได้มากขึ้น ซึ่งทักษะการสื่อสารนั้นคือ การฟังแบบเปิดใจ (Empathic Listening)

9.2.1.1. ก่อนเราจะสื่อสารกับใคร เราต้องรับฟังเพื่อเข้าใจเขาก่อน เขาเป็นคนแบบไหน? เขาคิดหรือรู้สึกอย่างไรบ้าง?

9.2.1.1.1. นักขายมือสมัครเล่นคือคนที่สนใจแต่จะขายสินค้า

9.2.1.1.2. นักขายมืออาชีพคือคนที่ขายวิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้า

9.2.1.1.3. แต่นักขายที่ประสบความสำเร็จคือคนที่เข้าใจปัญหาของลูกค้าและรู้ว่าลูกค้าอยากได้อะไร

9.2.1.2. Ex # เพื่อนร่วมงานปรึกษาเรื่องอยากลาออก

9.2.1.2.1. คุณไม่ควรตอบเขากลับไปทำนองว่า

9.2.1.2.2. คุณควรตอบกลับไปว่า

9.2.1.3. คำเตือน: ถ้าเราพยายามทำความเข้าใจอีกฝ่าย เรามีโอกาสคล้อยตามสิ่งที่รับฟังได้มาก ดังนั้นเราต้องมีนิสัยที่ 1-3 เพื่อป้องกันการถูกชักจูงด้วย

9.2.2. การฟังแบบเปิดใจช่วยให้เรามีข้อมูลจริงๆ สำหรับเอาไปใช้แก้ปัญหาต่อไป

9.2.3. ผลจากการฟังแบบเปิดใจ

9.2.3.1. เมื่อเราพร้อมรับฟังคนอื่นอย่างเข้าใจ

9.2.3.2. เราก็จะเพิ่มความเชื่อใจใน "บัญชีความเชื่อใจ" ที่มีกันมากขึ้น

9.2.3.3. ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายก็จะพัฒนาขึ้น

9.2.3.4. สุดท้ายก็จะนำไปสู่การหาข้อสรุปแบบชนะด้วยกันทุกฝ่ายได้

9.2.3.5. Ex # ความเชื่อใจระหว่างหัวหน้ากับลูกทีม

9.2.3.5.1. ลูกทีมจะเชื่อใจหัวหน้ามากขึ้น ถ้าหัวหน้าเปิดใจรับฟังพวกเขาจริงๆ

9.2.3.5.2. หลังจากลูกทีมเชื่อใจหัวหน้ามากขึ้นแล้ว เขาก็จะซื่อสัตย์ต่อหัวหน้ามากขึ้น แล้วทั้ง 2 ฝ่ายก็จะทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น

10. นิสัยที่ 6 ประสานความต่างแล้วร่วมมือกัน

10.1. นี่คือนิสัยที่จะช่วยสร้างความสำเร็จได้มากที่สุด เรามีคนเก่งๆ มาร่วมมือเพื่อสร้างผลลัพธ์ 1+1 จึงกลายเป็น 10 หรือ 15 ก็ได้

10.1.1. นิสัยทั้ง 5 ที่ผ่านมาคือรากฐานสำคัญของนิสัยข้อที่ 6 นี้

10.1.2. Ex # ร่วมมือกันสร้างยอดขาย

10.1.2.1. คุณทำธุรกิจเสื้อผ้า ส่วนเพื่อนทำธุรกิจรองเท้า

10.1.2.2. เดิมคุณกับเพื่อนมียอดขายต่อเดือนที่ 1,000 ชิ้น ถ้าพวกคุณร่วมมือกัน ยอดขายต้องมีโอกาสมากถึง 5,000 ชิ้น

10.2. ระดับของการสื่อสารที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

10.2.1. มีปัจจัย 2 อย่างที่ส่งผลต่อ ระดับความสำเร็จคือ

10.2.1.1. ความเชื่อใจ

10.2.1.2. ความร่วมมือ

10.2.1.3. ปัจจัยทั้ง 2 อย่างนี้เดินไปคู่กัน ยิ่งเชื่อใจมาก คนเราก็ให้ความร่วมมือกันมาก

10.2.2. ผลที่ได้แบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ

10.2.2.1. ถ้าเชื่อใจกันน้อย ร่วมมือกันน้อย

10.2.2.1.1. = มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้

10.2.2.2. ถ้าเชื่อใจกันปานกลาง ร่วมมือกันปานกลาง

10.2.2.2.1. = ได้ผลลัพธ์แค่ประมาณเดียว

10.2.2.3. ถ้าเชื่อใจกันมาก ร่วมมือกันมาก

10.2.2.3.1. = สร้างความสำเร็จได้ทวีคูณ (Synergistic)

10.2.2.3.2. ทั้ง 2 ฝ่ายรวมพลังกันทำให้ 1+1 = 10

10.3. จงสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกฝ่ายพร้อมร่วมมือกันสร้างความสำเร็จ

10.3.1. สร้างบัญชีความเชื่อใจกับอีกฝ่าย

10.3.1.1. = เพิ่มความเชื่อใจให้มากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการให้ความร่วมมือที่มากขึ้น

10.3.2. คิดหาวิธีชนะด้วยกันทุกฝ่าย

10.3.2.1. = นิสัยที่ 4

10.3.3. พยายามทำความเข้าใจอีกฝ่ายตลอดเวลา

10.3.3.1. = นิสัยที่ 5

10.3.4. เมื่อเราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ต่างฝ่ายต่างเชื่อใจกันและต่างพร้อมให้ความร่วมมือกันมากแล้ว เราจะมีโอกาสสร้างความสำเร็จได้แบบทวีคูณ

11. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร?

11.1. นิสัยที่ดีช่วยให้เราทำงานเก่ง เรียนรู้เร็ว และสามารถสร้างความสำเร็จในชีวิตได้

11.2. หนังสือเล่มนี้พบว่าคนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจะมีนิสัยที่เหมือนกันอยู่ 7 อย่างด้วยกัน

11.3. เมื่อใดที่เราสามารถสร้าง 7 นิสัยนี้ให้เกิดขึ้นในตัวได้ เราจะสามารถสร้างความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนไม่ใช่แค่สำเร็จแบบฉาบฉวยอีกต่อไป