บทที่2

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่2 by Mind Map: บทที่2

1. แนวคิดเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์

1.1. คำว่า Emotion Intelligenceนั้นนักวิชาการและนักจิตวิทยาของประเทศไทยเรียกว่า EQ (Emotion Quotient)ให้สอดคล้องกับคำว่า IQ (IntelligenceQuotient) ซึงความจริงแล้วยังไม่มีเครื่องมือทางจิตวิทยาที่เป็นมาตรฐานในการประเมิน EmotionalIntelligenceเช่นเดียวกับการประเมินความสามารถทางสติปัญญา (IQ)ดังนั้นจึงไม่ควรใช้คำว่า EQ

2. องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ (กรมสุขภาพจิต 2543)

2.1. 1. ดี หมายถึง ความฉลาดในการควบคุมตนเอง รักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ประกอบด้วย

2.1.1. ควบคุมอารมณ์รวามต้องการของตนเอง

2.1.2. แสดงออกอย่างเหมาะสม

2.1.3. ใส่ใจและเข้าใจยอมรับผู้อื่น

2.1.4. รู้จักให้รู้จักรับ

2.1.5. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

2.2. 2. เก่ง หมายถึง ความฉลาดในการรู้จักตนเอง คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีแรงจูงใจในตนเอง มุ่งมั่นทำให้สำเร็จ ตัดสินใจแก้ไขปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยความสามารถต่อไปนี้

2.2.1. รู้จักและมีแรงจูงใจในตัวเอง

2.2.2. กล้าแสดงออก

2.2.3. แสดงความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

2.3. 3. สุข หมายถึง ความฉลาดในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ประกอบด้วย

2.3.1. พึงพอใจในชีวิต มองโลกในแง่ดี

2.3.2. มีความสงบทางใจ ผ่อนคลาย

3. แนวคิดความฉลาดทางอารมณ์โดยยึดตามแนวคิดของ Salovey และGolemanสรุปได้ 5ประการดังนี้

3.1. 1. การตระหนักรู้ตนเอง

3.2. 2.การจัดการกับอารมณ์ตนเอง

3.3. 3.การจูงใจตนเอง

3.4. 4.การรู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้อื่น

3.5. 5.การดำเนินการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น

4. แนวคิดขององค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์

4.1. โกลเมน Goleman

4.1.1. สมรรถนะส่วนบุคคล (Personal Competence) เป็นความสามารถในการบริหารจัดการกับตนเองได้อย่างดี ประกอบด้วย

4.1.1.1. การตระหนักรู้ตน (Self-awareness)

4.1.1.2. ความสามารถในการจัดระบบระเบียบกฎเกณฑ์ชีวิต (Self-regulation)

4.1.1.3. ความสามารถสร้างแรงจูงใจตนเองได้ (Motivation)

4.1.2. สมรรถนะทางสังคม (Social Competence) เป็นการสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น

4.1.2.1. การรักษาสัมพันธภาพ (Empathy)

4.1.2.2. ทักษะทางสังคม (Social Skills)

4.2. บาออน Bar-on

4.2.1. 1.ทักษะภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Skills)

4.2.2. 2.ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Skills)

4.2.3. 3. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)

4.2.4. 4.วิธีการจัดการกับความเครียด (Impulse Control)

4.2.5. 5.สภาวะทางอารมณ์ (General Mood)

5. ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์

5.1. หมายถึงความสารถของบุคคลที่จะตระหนักถึงการเข้าใจ ความคิดอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น สามารถควบคุมและใช้ประโยชน์จากอารมณ์ของตนเองได้ จูงใจตนเองในด้านต่างๆเพื่อให้สัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ตลอดจนดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข

6. บทที่2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง

7. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู

7.1. 1. การอบรมเลี้ยงดูแบบสนับสนุน หมายถึง การที่บิดามารดาปฏิบัติต่อลูกของตนโดยการแสดงความรักใคร่เอาใจใส่สนใจทุกข์สุขของลูกมีความใกล้ชิดกับลูกโดยการกระทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับลูก ให้ความสนิทสนมให้การสนับสนุนช่วยเหลือให้ความสำคัญแก่ลูก

7.2. 2. การอบรมเลี้ยงดุแบบใช้เหตุผล หมายถึง การที่บิดามารดาอธิบายเหตุผลและชี้แจงถึงพฤติกรรมที่ดีและไม่ดี รวมทั้งอธิบายผลดีและผลเสียที่เกิดจากการกระทำของลูกซึ่งจะส่งผลกระทบถึงผู้อื่น

7.3. 3.การอบรมเลี้ยงดุแบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย หมายถึง การที่บิดามารดาใช้การลงโทษลูกทางจิตใจเพื่อปรับพฤติกรรมอย่างจงใจ เช่น การดุด่า

7.4. 4.การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม หมายถึงการที่บิดามารดาคอยออกคำสั่งให้ลูกปฏิบัติตามและมีผู้ใหญ่ตรวจตราอย่างใกล้ชิดว่าลูกทำตามคำสั่งหรือไม่

7.5. 5.การอบรมเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเอง หมายถึงวิธีการเลี้ยงดูที่บิดามารดาเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันด้วยตนเองภายใต้การแนะนำและการฝึกฝนจากบิดาและมารดาหรือผู้ปกครอง

8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

8.1. นิรดา อดุลย์พิเชษฐ์ (2542)ได้ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อระดับความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่1 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือจำนวน39คน และจำแนกเป็นระดับความฉลาดทางอารมณ์สูงปานกลางและต่ำ เพื่อเข้ารับโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน12ครั้งครั้งละ50นาทีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบความฉลาดทางอารมณ์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.8 และโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมกลุ่มที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลวิจัยพบว่าหลังการทดลองของนักศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์สูง มีความฉลาดทางอารมณ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ปานกลางและต่ำ มีความฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 ภายหลังการทดลองความฉลาดทางอารมณ์นักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่านักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ปานกลางและสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยที่ภายหลังการทดลองความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ปานกลางและสูงมีความฉลาดทางอารมณ์ไม่แตกต่างกัน มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01