1. ต้นกำเนิดมาจากเเคว้นปัญจาบ ทางตอนเหนือของอินเดีย
2. ชาวซิกข์เร่ิมเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยต้ังแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวซิกข์ ในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่.
3. ศาสนาซิกข์เป็นการนำคำสอนที่ดีในศาสนาฮินดูและอิสลามมารวมกัน เพราะมีความขัดแย้งกันระหว่างสองศาสนากันอยู่บ่อยครั้งจนสมัยนี้ก็ยังไม่หมดไป ดูได้จากการแยกประเทศของอินเดียและปากีสถานนั่นเอง
4. ความเชื่อ
4.1. ศาสนาซิกข์เชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้า (วาเฮ่คุรุ) ที่แท้จริงเพียงพระองค์เดียว ไม่เชื่อว่าการทรมานตน จะทำให้บรรลุถึงสัจธรรมได้ แต่ถือว่าการครองเรือนอยู่ในคฤหัสถ์เพศก็สามารถจะหลุดพ้นจากห้วงแห่งกรรมได้
5. คัมภีร์
5.1. 1. อาทิครันถ์
5.1.1. อาทิครันถ์ แปลว่า คัมภีร์แรก คุรุอรชุน เป็นผู้รวมขึ้นใน ค.ศ. 1604 หรือ พ.ศ. 2147 มีบทนิพนธ์ของคุรุ หรือศาสดาตั้งแต่องค์ที่ 1 ถึงองค์ที่ 5 และมีบทประพันธ์ของนักบุญผู้มีชื่อแห่งศาสนาฮินดู และศาสนาอิสลามผนวกอยู่ด้วย
5.2. 2. ทสมครันถ์
5.2.1. ทสมครันถ์ แปลว่า คัมภีร์ของศาสดาองค์ที่ 10 เป็นชุมนุมบทนิพนธ์ของศาสดาองค์ที่ 10 คือ คุรุโควินทสิงห์ รวบรวมขึ้นในสมัยหลังจากอาทิครันถ์ ประมาณ 100 ปี ทั้ง 2 คัมภีร์บันทึกคำสอนของคุรุสำคัญสรุปลงในหลักการใหญ่ 4 ประการ คือ
5.2.1.1. 1. เรื่องความสามัคคี
5.2.1.2. 2. เรื่องความเสมอภาค
5.2.1.3. 3. เรื่องความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า
5.2.1.4. 4. ความจงรักภักดีต่อคุรุทั้ง 10 องค์
6. นิกาย
6.1. 1.นิกายขาลสา/สิงห์นิกาย
6.1.1. เน้นตามคำสอนของพระศาสดาคุรุโควินทสิงห์เป็นหลัก
6.1.2. ชาวซิกข์ในนิกายนี้ต้องผ่านพิธีรับน้ำอมฤต และรับศาสนสัญลักษณ์ 5 ประการ
6.1.2.1. 1. เกศา คือ ผม ชาวซิกข์จะไม่ปลงผมจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เนื่องจากผมเป็น สิ่งที่พระเจ้าทรงประทานให้ตามหลักแห่งธรรมชาติซึ่งเป็นสัจธรรมอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นชาวซิกข์ที่เป็นผู้ชายจึงไว้ผม และหนวดเคราโดยไม่ตัดหรือโกนตลอดชีวิต
6.1.2.2. 2. กังฆะ คือ หวีไม้ ชาวซิกข์จะใช้หวีดังกล่าวสางผมเพื่อให้เกศาดูเรียบร้อยและงดงาม
6.1.2.3. 3. กาซ่า คือ กางเกงในขาสั้น เพื่อความสันทัดและความกระฉับกระเฉงโดยไม่ประเจิดประเจ้อ ยามทำงาน ยามออกศึกและยามสงบ
6.1.2.4. 4. กิรปาน คือดาบสั้นทาด้วยเหล็กกล้าเพื่อปกป้องผู้ที่ถูกรังแก ถูกริดรอนสิทธิความเป็นมนุษย์ และเพื่อปกป้องตนเอง โดยไม่ใช้เป็นอาวุธในการรุกรานผู้อื่นโดยเด็ดขาด
6.1.2.5. 5. การ่า คือกำไรเหล็กกล้า เป็นสัญลักษณ์แห่งความอดทนและเข้มแข็งดุจเหล็กกล้า เป็นเครื่องเตือนสติและเตือนใจให้ละเว้นจากการกระทำบาป และให้ตั้งสติอยู่ในความชอบธรรม
6.2. 2.นิกายสหัชธรี
6.2.1. หรือนานักปันถินิกายเป็นพวกอนุรักษ์นิยม นับถือคุรุนานัก ดำรงชีวิตเรียบง่าย สามารถโกนผม โกนหนวดเคราได้
6.2.2. สันนิษฐานว่าอาจเป็นนิกายเดียวกับนามธารี
7. สัญลักษณ์
7.1. กันด้า สัญลักษณ์ประจำศาสนาซิกข์
7.1.1. ดาบทั้งสองด้าม แสดงถึงความมีอำนาจ อธิปไตย ทั้งทางโลก และทางธรรมอย่างสมบูรณ์
7.1.2. วงจักรแสดงถึงความเป็นอมตะ หนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าผู้ทรงสร้าง และให้กำเนิดทุกสรรพสิ่ง
7.1.3. ดาบสองคม แสดงถึงความเป็นผู้ริเริ่ม
8. ศาสดา
8.1. เขาจะเรียกศาสดาเขาว่าคุรุ (Guru) หมายถึงครู ตรงกับภาษาบาลีว่า สิกขา และสันสกฤตว่า ศึกษา อันแปลว่าการเรียนรู้นั่นเอง
8.1.1. ศาสดา : องค์แรก “คุรุนานัก” ศาสดา หรือ คุรุ แห่งศาสนาซิกข์ มี10ท่าน จากนั้นศาสดาองค์ที่10 (คุรุโควินท์สิงห์)ประกาศให้ถือพระคัมภีร์(คุรุกรันตสาหิบ)เป็นศาสดาตลอดกาลเเทน และไม่มีการแต่งตั้งศาสดาต่อไปอีก
9. หลักธรรมคำสอน
9.1. หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาซิกข์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด คือการเข้าถึงสุขอันเป็นนิรันดร์ หรือนิรวาณ ประกอบด้วยหลัก 5 ประการได้แก่ 1. ธรัมขัณฑ์ คือ การประกอบกรรมดี 2. คิอานขัณฑ์ คือ การมีปัญญา 3. สรันขัณฑ์ คือ ความปีติอิ่มเอิบใจในธรรม 4. กรัมขัณฑ์ คือ การมีกำลังจิตแน่วแน่มั่นคงไม่หวาดกลัว 5. สัจขัณฑ์ คือ การเข้าถึงสัจจะ หรือการหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า
9.2. ศาสนาซิกข์ยังได้กำหนดระเบียบวินัยในการปฏิบัติตน ดังนี้ 1. วินัยทางกาย คือ การให้บริการผู้อื่นทางกายและวาจา เช่น การให้ทาน 2. วินัยทางศีลธรรม คือ การเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม ไม่มีความเห็นแก่ตัว 3. วินัยทางจิตใจ คือ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งอยู่เหนือกาลเทศะและเทพทั้งหลาย อนึ่ง ชาวซิกข์ได้นำคำสอนเรื่องต่างๆ มาเป็นหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่สำคัญหลายประการ
10. พิธีกรรม
10.1. พิธีกรรมฉลองวันคล้ายวันประสูติ วันสถาปนาศาสนา และวันมรณภาพของศาสดาทั้ง 10 องค์
10.2. พิธีอมฤตสังสการ เป็นพิธีรับคนเข้าสู่ศาสนาซิกข์ โดยใช้หลักแห่งความเสมอภาค ไม่รังเกียจกัน
10.3. พิธีปาหุล เป็นพิธีล้างบาป หลังจากผ่านพิธีปาหุลแล้ว ผู้ชายจะมีชื่อลงท้ายว่า “สิงห์” หรือ “ซิงซ์” หมายถึง ความเข้มแข็งดังเช่นสิงโต ส่วนผู้หญิงจะมีชื่อลงท้ายว่า “กอร์.(ผู้กล้า)” หมายถึง เจ้าหญิง ต่อท้ายชื่อ
10.3.1. ชาวสิกข์ทุกคนต้องทำพิธี "ปาหุล" คือพิธีล้างบาป เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะรับเอา "กะ" คือสิ่งที่เริ่มต้นด้วยอักษร "ก" 5 ประการ
10.3.1.1. 1) เกศ หมายถึง ต้องไว้ผมยาว โดยไม่ตัดหรือโกนอย่างเด็ดขาด 2) กังฆา หมายถึง ต้องมีหวีติดที่ผม 3) กฉา หมายถึง ต้องสวมกางเกงขาสั้นชั้นใน 4) กรา หมายถึง สวมกำไรข้อมือที่ทำด้วยเหล็กไว้ที่ข้อมือข้างขวา 5) กิรปาน หมายถึง ต้องพกกริชติดตัว
10.3.2. การทำพิธีล้างบาปและรับอักษร 5 ก. เพื่อเป็นชาวสิกข์โดยสมบูรณ์นั้น มีขึ้นในภายหลัง คือในสมัยของคุรุโควินทสิงห์ ซึ่งเป็นศาสดาองค์สุดท้ายของศาสนาสิกข์
10.4. พิธีสังคัต
10.4.1. เป็นการชุมนุมของผู้ที่นับถือศาสนาซิกข์ด้วยการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน