การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว by Mind Map: การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

1. ความหมาย

1.1. การอ่านถ้อยคำที่มีผู้เรียบเรียงไว้โดยการเปล่งเสียงให้เป็นไปตามความนิยมและเหมาะสมของเรื่องที่อ่าน มีการใช้ลีลาของเสียงไปตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์เพื่อถ่ายทอดอารมณ์นั้นสู่ผู้ฟัง

2. รูปแบบของงานเขียนประเภทร้อยแก้ว

2.1. บันเทิงคดี

2.1.1. เรื่องที่แต่งขึ้นจากจินตนาการเพื่อความเพลิดเพลินเป็นหลัก เช่น นิทาน นวนิยาย

2.2. สารคดี

2.2.1. เสนอข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ ข้อคิดเป็นหลัก เช่น จารึก บทความ รายงาาน และ สารคดี

3. หลักเกณฑ์ทั่วไปในการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

3.1. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจ

3.2. อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธีภาษา

3.3. มีสมาธิและความมั่นใจในการอ่าน

3.4. อ่านออกเสียงให้เป็นเสียงพูดอย่างธรรมชาติ

3.5. อ่านออกเสียงให้ดังพอสมควร

3.6. กำหนดความเร็วให้เหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

3.7. อ่านให้ถูกต้องตามจังหวะวรรคตอน

3.8. มีการเน้นคำสำคัญและคำที่ต้องการ

3.9. คำที่ใช้อักษรย่อต้องอ่านให้เต็มคำ

3.10. เมื่อจบย่อหน้าควรผ่อนลมหายใจ

4. วิธีการอ่าน

4.1. เครื่องหมาย / หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะสั้นๆ

4.2. เครื่องหมาย // หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะยาวๆ

4.3. เครื่องหมาย _ หมายถึง การเน้นหรือเพิ่มน้ำหนักเสียง

5. การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

5.1. การอ่านแบบบรรยาย

5.2. การอ่านแบบพรรณนาให้เห็นภาพ

6. ประโยชน์ที่ได้รับ

6.1. ช่วยให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยแก้ว

6.2. ช่วยให้ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง

6.3. ช่วยให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนาน

6.4. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยนและเยือกเย็น