Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Special senses by Mind Map: Special senses

1. Nose

1.1. lateral olfactory area เกี่ยวข้องกับความจำและประสบการณ์เกี่ยวกับกลิ่น ทำให้เกิดความชอบและไม่ชอบอาหาร นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับการรับกลิ่นและการวิเคราะห์กลิ่น โดยบริเวณนี้ของมนุษย์จะมีขนาดเล็กประมาณ 2-5 ตารางเซนติเมตร

1.2. Olfactory receptor cell ซึ่งเป็นเซลล์รับกลิ่น ซึ่งเซลล์นี้จะส่งกระแสประสาท ไปยัง Olfactory bulb (จุดรวมของ Olfactory nerve ทั้งหมด) แล้วจึงผ่าน Olfactory tract ซึ่งเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 เข้าสู่สมอง โดยจะแยกเป็น 2 ทาง คือ ไปสู่ medial olfactory area และไปสู่ lateral olfactory area medial olfactory area ของสมองมีความสำคัญในสัตว์มากเพราะส่วนนี้ควบคุม primitive respons ของการรับกลิ่น เช่น การเลียริมฝีปาก น้ำลายไหล และการกินอาหาร ฯลฯ ตลอดจนแรงผลักดันทางอารมณ์ (emotional drive) เมื่อได้รับกลิ่น

1.3. ตัวอย่างความผิดปกติของการดมกลิ่น คือ อาการที่มีได้ตั้งแต่ จมูกได้กลิ่นน้อยลง (Hyposmia), จมูกไม่ได้กลิ่นเลย (Anosmia) และจมูกได้กลิ่นเปลี่ยนไปหรือแปลกไป (Dysosmia) เช่น ดมกลิ่นกลิ่นหอมแต่รู้สึกเหม็น เป็นต้น

2. Skin

2.1. Tatile corpuscle or pacinian copuscles รับแรงกด

2.2. Meissner corpuscle รับความรู้สึกสัมผัส

2.3. Ruffini end organ รับความร้อน

2.4. Krause end bulbs รับความเย็น

2.5. Free nerve endings หรือ Receptor รับความรู้สึกเจ็บปวด

2.6. ตัวอย่างความผิดปกติของการรับสัมผัส Superficial pain หรือความเจ็บปวดที่บริเวณผิวหนัง

3. Tongue

3.1. ทุกท่านคงเคยรับประทานอาหารที่มีรสชาติต่างๆ กัน เช่นรสเค็ม รสหวานและ รสเปรี้ยวการที่เราสามารถบอกความแตกต่างของรสชาติอาหารที่รับประทานได้เนื่องจาก มีปุ่มรับรสเล็กๆจำนวนมากมายบนลิ้นเรียกว่า ปาปิลา (papilla) ปุ่มบนลิ้นเหล่านี้จะประกอบ ด้วยตุ่มรับรส (taste bud) ซึ่งมีอยู่ 4 ชนิดทำหน้าที่รับรสต่างๆ ได้แก่ รสหวาน รสขม รสเค็ม และรสเปรี้ยวกระจายอยู่บนลิ้นในบริเวณต่างๆ

3.2. ตัวอย่างความผิดปกติของการรับรส เนื่องจากต่อมรับรสที่ลิ้นลดจำนวนลง ประกอบกับน้ำลายจะข้นขึ้น ทำให้ช่องปากแห้งได้ง่าย ทำให้ความสามารถในการรับรสด้อยประสิทธิภาพลง ผู้สูงอายุจึงมักรับประทานอาหารรสจัดขึ้น โดยเฉพาะรสเค็มและรสหวาน

4. Eyes

4.1. ม่านตา (Iris) หน้าที่ของม่านตาคือช่วยในการควบคุมขนาดของรูม่านตา โดยการหดตัวหรือขยายตัวของกล้ามเนื้อม่านตา

4.2. เลนส์แก้วตา (Lens) ทำหน้าที่ของเลนส์แก้วตาคือช่วยโฟกัสเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนมากขึ้นสำหรับการอ่านหรือการมองระยะใกล้

4.3. รูม่านตา (Pupil) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ลูกตา เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้า ม่านตาจะหดทำให้แสงเข้าตาได้น้อยลง

4.4. กระจกตา (Cornea) ทำหน้าที่ปกป้องส่วนต่างๆภายในลูกตา

4.5. น้ำวุ้นตา (Vitreous) ทำหน้าที่ให้ลูกตาคงรูปลักษณะกลมตลอดเวลา

4.6. เส้นประสาท (Optic Nerve) เป็นตัวส่งผ่านการกระตุ้นของการมองเห็นจากจอประสาทตามายังสมอง

4.7. จอประสาทตา (Retina) ทำหน้าที่คล้ายกับฟิล์มถ่ายรูปโดยจะส่งผ่านรูปไปยังสมอง

4.8. นัยน์ตาขาว (Sclera) เป็นส่วนสีขาวของลูกตา ทำหน้าที่ ป้องกันอันตรายต่อลูกตา ช่วยให้เกิดความแข็งแรง

4.9. ตัวอย่างความผิดปกติที่พบบ่อย คือ Retinal Detachment -เกิดจากเรตินาเกิดการลอกตัว -ทำให้เซลล์ที่รับสภาพขาดเลือดมาเลี้ยง -pain less -ผู้ป่วยจะรู้สึกเห็นแสงไฟในตา มีจุดดำๆลอยอยู่ในตา (dark spots)

5. Ears

5.1. หูชั้นนอก ประกอบด้วย ใบหู รูหู จนถึงเยื่อแก้วหู หูชั้นนอกมีหน้าที่รับเสียงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก

5.2. หูชั้นกลาง ประกอบด้วย กระดูกหูเล็กๆ 3 ชิ้น คือกระดูกค้อน ทั่ง และโกลน โดยกระดูกค้อนจะแนบติดกับเยื่อแก้วหู และกระดูกโกลนจะติดต่อกับหูชั้นใน นอกจากนี้ยังมีท่อยูสเตเชียน เป็นทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางกับบริเวณคอหลังโพรงจมูก ทำให้หูชั้นกลางมีการปรับความดันภายในให้เท่ากับภายนอกอย่างเหมาะสม หูชั้นกลางมีหน้าที่ขยายเสียงที่รับมาจากหูชั้นนอกผ่านเยื่อแก้วหูและกระดูกหูทั้ง 3 ชิ้น ส่งไปถึงหูชั้นใน

5.3. หูชั้นใน ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ โคเคลีย มีลักษณะคล้ายก้นหอยทำหน้าที่รับสัมผัสเสียงแล้วส่งต่อไปตามประสาทรับเสียงไปยังสมอง และท่อเซมิเซอคิวลา มีลักษณะคล้ายท่อครึ่งวงกลม 3 คู่ ทำหน้าที่รับรู้การทรงตัวและรับรู้การเคลื่อนไหว แล้วส่งต่อไปตามประสาทการทรงตัวไปยังสมอง

5.4. ตัวอย่างความผิดปกติของการได้ยินที่พบได้บ่อยคือ หูตึง (Hearing loss) หูหนวก (Deafness)