องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยในชั้นเรียนและจรรณยาบรรณของนักวิจัย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยในชั้นเรียนและจรรณยาบรรณของนักวิจัย by Mind Map: องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยในชั้นเรียนและจรรณยาบรรณของนักวิจัย

1. การวิจัยในชั้นเรียน

1.1. ความหมาย

1.1.1. คือการวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอนในห้องเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและนำผลมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน เป็นการวิจัยที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว นำผลไปใช้ทันทีและสะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของตนเอง ให้ทั้งตนเองและกลุ่มเพื่อนร่วมงาน (สุวิมล ว่องวานิช 2543: 163)

1.2. ความสำคัญและประโยชน์

1.2.1. (ครุรักษ์ ภิรมย์รักษ์:2544 )1.ช่วยให้ครูมีพลังอำนาจในการแก้ปัญหาในชั้นเพิ่มมากขึ้น สามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

1.2.2. 2.ช่วยให้ครูมีความมั่นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1.2.3. 3.ช่วยให้ครูทำงานได้อย่างเป้นระบบมากขึ้น มีเหตุผล และมีความสร้างสรรค์

1.2.4. 4.ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการแก้ไขปัญหาและพัฒนาอย่างสมบูรณ์เต็มศักยภาพ ทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

1.3. ขั้นตอนของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

1.3.1. ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน เราก็จะพิจารณาผลจากการเรียนการสอนในชั้นเรียน

1.3.2. ขั้นตอนที่ 2 กำหนดวิธีการที่จะดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอย่างมีเหตุผล เราก็จะศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนำปัญหามาเชื่อมโยงกับทฤษฎีและหลักการต่าง ๆ

1.3.3. ขั้นตอนที่ 3 สร้าง/พัฒนานวัตกรรม,วางแผนการวิจัย,กลุ่มผู้เรียนที่ต้องได้รับการแก้ปัญหา,วิธีการและเครื่องมือ,การรวบรวมข้อมูล,การวิเคราะห์ข้อมูล

1.3.4. ขั้นตอนที่ 5 เขียนรายงานการวิจัย เราก็จะชื่อเรื่อง/ประเด็นที่ทำการวิจัย,ที่มาของปัญหา หรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา,เป้าหมายของการวิจัย,วิธีการหรือขั้นตอนสำคัญของการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา,ผลของการแก้ไขหรือพัฒนา,ข้อเสนอแนะ

2. จรรณยาบรรณของนักวิจัยจรรยาบรรณนักวิจัยและแนวทางปฏิบัติ - National Science and Technology Development Agency : NSTDA - Thailand

2.1. 1 นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ

2.2. 2 นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุน การวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด

2.3. 3 นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย

2.4. 4 นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัยไม่ว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต

2.5. 5 นักวิจัยต้องเคารพศักดิศรีและสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย

2.6. 6 นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิดโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย

2.7. 7 นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ

2.8. 8 นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น

2.9. 9 นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

3. การวิจัยทางการศึกษา

3.1. ความหมาย

3.1.1. กระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบและแบบแผนที่มีความเชื่อถือได้ เพื่อนำไปใช้ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3.2. วัตถุประสงค์

3.2.1. 1.เพื่อใช้ในการบรรยาย ว่าเป็นเช่นไร อยู่ที่ใด มีกี่ประเภท มากน้อยเพียงใด มีสภาพเป็นอย่างไร มีพัฒนการหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือ มีปัญหาอะไร มีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด

3.2.2. 2.เพื่อใช้ในการอธิบาย ว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งใดหรือได้รับอิทธิพลจาก ตัวแปรใดหรือปัจจัยใด

3.2.3. 3.เพื่อใช้ในการทำนาย อนาคตของสิ่งที่ศึกษา ว่าเป็นเช่นไร อันจะช่วยให้มนุษย์สามารถที่เตรียมการ ปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้

3.2.4. 5.เพื่อใช้ในการพัฒนา ในการวิจัยจะช่วยให้ทราบว่ามีประสิทธิภาพ หรือมีปัญหา หรือความต้องการเพียงใด และสามารถทดลองแก้ปัญหาหรือปรับปรุงสภาพการดำเนินงานใด ๆ นั้นได้อยู่เสมอ

3.3. ความสำคัญและประโยชน์

3.3.1. 1.ทำให้ได้ความรู้ใหม่ที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการใหม่ๆ ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ

3.3.2. 2.ทำให้เกิดความเข้าใจในปรากฎการณ์และพฤติกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถทำนายสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.3.3. 3.ทำให้ทราบถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จะนำไปเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงหรือพัฒนาด้านต่างๆให้ดีขึ้น

3.3.4. 4.เพื่อใช้ในการควบคุมการดำเนินกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งต้องการประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน จำเป็นที่จะต้องเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลง และมีการปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ

3.3.5. 4.ช่วยในการวางแผนและกำหนดนโยบายแต่ละครั้งให้ถูกต้องและเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ

3.3.6. 5.มีประโยชน์ต่อผู้ทำวิจัยทั้งในด้านวิชาการสติปัญญาอารมณ์และสังคมเช่นเดียวกับคนที่มีความรอบรู้ในเชิงวิชาการมีความคิดเชิงป้องกันเป็นคนมีเหตุผล

3.3.7. 6.ทำให้มีการศึกษา Maxim อันก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในด้านวิชาการอยู่เสมอ