การนำเสนอที่ดี
by ไอ' ริน
1. 2. มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม กล่าวคือ มีความกระทัดรัดได้ใจความ เรียง ลำดับไม่สนใช้ภาษาเข้าใจง่าย ใช้ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ช่วยให้พิจารณาข้อมูลได้สะดวก
2. ทักษะของผู้นำเสนอ ผู้นำเสนอจะต้องศึกษาและฝึกฝนตนเองให้มีทักษะหลายด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำเสนอที่ดี เพราะผู้นำเสนอเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการนำเสนอ โดยทั่วไปผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะดังต่อไปนี้ 1. ทักษะในการคิด (conceptual skill ) ผู้นำเสนอจะต้องเรียนรู้ และ สร้างความ ชำนาญชัดเจนในการคิดแม้ว่าจะมีเนื้อหาสาระจากข้อมูลที่มีอยู่ ผู้นำเสนอก็จะต้องคิดพิจารณาเลือกใช้ข้อมูล และลำดับความคิด เพื่อจะนำเสนอให้เหมาะแก่ผู้รับการนำเสนอ ระยะเวลา และโอกาส 2. ทักษะในการฟัง (listening skill ) ผู้นำเสนอจะต้องสดับรับฟัง และสั่งสมปัญญา เป็นการรอบรู้จากการได้ฟัง ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อนำมากลั่นกรอง เรียบเรียงเป็นเนื้อหาในการนำเสนอ 3. ทักษะในการพูด (speaking skill )ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการพูด เพื่อบอกเล่า เนื่องโน้นน้าวจูงใจ ให้ผู้รับฟังการนำเสนอเห็นด้วย อันจะเป็นทางทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ 4. ทักษะการอ่าน (reading skill ) ผู้นำเสนอจะต้องเป็นนักอ่านที่มีความชำนิชำนาญ ชัดเจนในการสั่งสมข้อมูล สามารถประมวลความรู้นำมาใช้ในการนำเสนอได้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ 5. ทักษะในการเขียน (writing skill )ผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะการเขียน เพราะการเขียนเป็นการแสดงความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความรู้สึก อารมณ์ และ ทัศนคติ ของผู้เขียนให้ผู้อ่านได้ทราบโดยใช้ตัวอักษร การนำเสนอด้วยการเขียนจึงต้องมีความประณีต พิถีพิถันในการเลือกใช้คำด้วยการรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ และใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสม 6. ทักษะในการถ่ายทอด (delivery skill ) ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ในการนำเสนอ
3. 3. เนื้อหาสาระดี กล่าวคือ มีความน่าเชื่อถือ เที่ยงตรง ถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วน ตรงตามความต้องการ มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันสมัย และมีเนื้อหาเพียงพอแก่การพิจารณา
3.1. การตอบคำถามในการนำเสนอ การตอบคำถามเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอ แม้ว่าการนำเสนอเรื่องต่างๆจะเป็นการนำเสนอที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการบอกเล่าเรื่องให้ทราบ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียวจากผู้นำเสนอไปยังผู้รับการนำเสนอ แต่ในการที่จะให้เกิดการสื่อสารที่สมบูรณ์ มีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน ก็ควรจะมีช่วงเวลาที่เปิดให้มีการซักถามข้อสงสัย หรือสิ่งที่ต้องการคำอธิบายเพิ่มขึ้น เป็นการสื่อสารสองทาง ในการนำเสนอส่วนใหญ่ จะมีการเชื้อเชิญให้มีการซักถามในตอนท้ายของการนำเสนอ ดังนั้นผู้นำเสนอจึงต้องมีหลักการเป็นข้อยึดถือในการปฏิบัติดังนี้ 1. ต้องจัดเวลาให้เหมาะสมในการเปิดการซักถาม อย่าให้มีเวลามากเกินไป จนเกิดคำถามที่ไม่มีสาระหรือคำถามที่ตั้งใจให้การนำเสนอเกิดการเสียหาย แต่ก็ควรจะเผื่อเวลาให้เพียงพอ 2. ต้องคาดคะเนคำถามที่จะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมคำตอบที่เหมาะสม และสามารถเตรียมเอกสาร หรือหลักฐานประกอบคำตอบได้ 3. ต้องแสดงความยินดีต้อนรับคำถาม แม้จะเป็นคำถามที่ไร้สาระ หรือแฝงด้วยความประสงค์ร้าย แต่ก็สามารถจะเลือกตอบ และ สงวนคำตอบไว้ตอบเฉพาะตัวผู้ถามภายหลังก็ได้ 4. ต้องรู้จักการช่วยขัดเกลาคำถามที่วกวน หรือคลุมเครือ หรือช่วยเรียบเรียงคำถาม ที่มีข้อความยืดยาว เยิ่นเย้อให้กระชับขึ้น 5. ต้องตอบให้ตรงประเด็น หมายถึงตรงกับเรื่องที่ถามไม่ตอบเลี่ยง หรือตอบคลุม เครือ ตอบเป็นภาษาวิชาการ ตอบเป็นหลักทฤษฎีพูดเป็นนามธรรม พูดยอกย้อน ประชดประชัน ทำให้เกิดประเด็นคำถามตามมาอีกไม่รู้จบสิ้น
4. ดิฉันจะเอาหัวขอที่3
5. 4. มี ข้อเสนอที่ดี กล่าวคือ มีข้อเสนอที่สมเหตูสมผล มีข้อพิจารณาเปรียบเทียบ ทางเลือกที่เห็นได้ชัด เสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
6. เห็นไม่
7. 1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กล่าวคือ มีความต้องการที่แน่ชัดว่า เสนอเพื่ออะไร โดย ไม่ต้องให้ผู้รับรับการนำเสนอต้องถามว่าต้องการให้พิจารณาอะไร
8. ฉันจะเอาข้อที่สองนะคะ
8.1. คุณสมบัติของผู้นำเสนอ
8.1.1. การในการนำเสนอด้วยวาจา คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัวของผู้นำเสนอ ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการนำเสนอ เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้นน้าวชักจูงให้เกิดความสนใจ ความไว้วางใจ เชื่อถือ และการยอมรับได้มาก เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ
8.1.1.1. ....1. มีบุคลิกดี 2. มีความรู้อย่างถ่องแท้ 3. มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ 4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง 5. มีภาพลักษณ์ที่ดี 6. มีน้ำเสียงชัดเจน 7. มีจิตวิทยาโน้นน้าวใจ 8. มีความสามารถในการใช้โสตทัศนอุปกรณ์ 9. มีความช่างสังเกต..