สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน by Mind Map: สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

1. 3.สถานการณ์พลังงานของแต่ละภูมิภาค

1.1. ความต้องการพลังงานของประเทศอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นช้าลง แต่ประเทศกำลังพัฒนาจะมีความต้องการพลังงาน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะเพิ่มจาก 40% ในปัจจุบัน เป็น 55% ในปีค.ศ. 2030 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียความต้องการ พลังงานในแต่ละภูมิภาค

1.1.1. 3.1 สหภาพยุโรป จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 0.4% โดยเชื้อเพลิงที่ยังคงเป็นที่ต้องการมากที่สุด ยังคงเป็นน้ำมัน (39%) ความต้องการก๊าซจะเพิ่มขึ้นเป็น 27% ส่วนถ่านหินและลิกไนต์จะตกลงไปเป็น 16% ในปี 2030 ยุโรป จำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันถึง 90% ของน้ำมันที่ใช้ทั้งหมด โดย 45% ของน้ำมันที่นำเข้าจะมาจากตะวันออกกลาง ในส่วนของ ก๊าซนั้นปัจจุบัน 40% ของก๊าซที่ใช้ในยุโรปนำเข้าจากรัสเซีย และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึง 60-80% ในปี 2030 สำหรับถ่าน หินนั้นในปี 2030 ยุโรปต้องจำเป็นต้องนำเข้าถ่านหิน 66% ของถ่านหินที่ใช้ทั้งหมด

1.1.2. 3.2 อเมริกาเหนือ จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 0.7% โดยที่ถ่านหิน (ซึ่งค่อย ๆ หมดความสำคัญไปใน ประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ) จะเป็นเชื้อเพลิงที่มีบทบาทสำคัญและมีการใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และคิดเป็นส่วนแบ่งของตลาดถึง 28% ในปีค.ศ. 2030

1.1.3. 3.3 เอเชียจะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 3.7% โดยที่ ถ่านหินซึ่งเป็นทรัพยากรที่ยังคงมีอยู่จำนวนมากใน เอเชีย ยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลัก (48%) แต่ก็จะมีความต้องการน้ำมันและก๊าซสูงขึ้นมาก แม้ในปัจจุบันจะมีแหล่งก๊าซในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) แต่ความสามารถในการผลิตก๊าซ (เพิ่มขึ้น 0.7% ต่อปี) ก็น้อยกว่าปริมาณความ ต้องการก๊าซที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ (เพิ่มขึ้น 4.6% ต่อปี) สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เอเชียจะเปลี่ยนสถานะผู้ส่งออกก๊าซ เป็นผู้นำเข้า ก๊าซในปีค.ศ. 2020 และจำต้องนำเข้าก๊าซถึง 80% ของปริมาณก๊าซที่ใช้ทั้งหมด เมื่อถึงปีค.ศ. 2030 โดย 70% ของก๊าซที่ นำเข้าจะมาจากตะวันออกกลาง ในรูปแบบของก๊าซเหลว หรือ LNG และ 30% มาจากรัสเซียและกลุ่ม CIS ผ่านทางท่อก๊าซ

1.1.4. 3.4 กลุ่มประเทศลาตินอเมริกามีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 2.4% โดยสัดส่วนของการใช้น้ำมันจะลด น้อยลง และจะเปลี่ยนไปใช้ก๊าซ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงมีอยู่เป็นจำนวนมากในภูมิภาคนี้

2. 4.สถานการณ์การใช้พลังงานในประเทศไทย

2.1. 4.1 ปริมาณการใช้พลังงานและแหล่งพลังงาน การใช้พลังงานของประเทศไทยเป็นไปในลักษณะเดียวกับการใช้ พลังงานของประเทศต่าง ๆ ในโลก กล่าวคือ พลังงานเชิงพาณิชย์ (commercial energy) ซึ่งพลังงานที่มีการใช้มากที่สุดได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า เป็นต้น การผลิตในประเทศไม่เพียงพอ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นมูลค่าถึง 1,235 พันล้านบาท (40 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

2.2. 4.2 รายงานสถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทย

2.2.1. 1) ชัยพร เซียนพาณิชย์ (2011) รายงานว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การผลิตไฟฟ้าที่ผ่านมาใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในสัดส่วนถึงร้อยละ 72% ทำให้ต้อง พึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นหลัก และจากประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ พม่า (แหล่งยาดานา) และมาเลเซีย (แหล่ง JDA) ซึ่งแตกต่างจากประเทศต่าง ๆ ในโลกที่นิยมใช้ถ่านหินมากกว่าเนื่องจากราคาถูกและมีปริมาณสำรองไว้มากกว่ามาก นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ ประเทศลาว เข้ามาใช้อีกส่วนหนึ่ง แต่ในภาพรวม ประเทศไทยยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งานในประเทศ ส่วนภาคขนส่งของไทยยังคงใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง หลัก แม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้ใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น แต่ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ โดย สัดส่วนของการใช้พลังงานในกลุ่มน้ำมันอยู่ที่ 39% ของพลังงานทั้งประเทศและต้องนำเข้าสูงถึง 80% ของปริมาณพลังงาน นำเข้าทั้งหมด ดังนั้นเมื่อน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจตามมา แสดงถึงความไม่มีเสถียรภาพของ พลังงานเชื้อเพลิงของไทยและความไม่มั่นคงด้านพลังงานเสมอมา

2.2.2. 2) โชติชัย สุวรรณาภรณ์(2555) กล่าวว่าแนวโน้มการใช้พลังงานในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานรวมกันสูงถึงกว่าร้อยละ 70 และภาคส่วนอื่นๆ รวมกัน อีกประมาณร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้นำเข้าพลังงานชนิดต่างๆ ทั้งไฟฟ้า ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เพื่อรองรับการใช้งานภายในประเทศ

2.2.3. 3) ทวารัฐ สูตะบุตร (2558) รายงานว่า ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 คาดว่าอยู่ที่ระดับ 2,603 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2557 เท่ากับ 2.4% ทำให้ ยอดการนำเข้าพลังงาน(สุทธิ) เพิ่มขึ้น 8.6% ในขณะที่การผลิตในประเทศลดลง 1.1% ส่วนความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 4.0% เนื่องจากราคาน้ำมันมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ การใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น 1.9% จากการใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า การใช้ ถ่านหินเพิ่มขึ้น 4.0% ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนปริมาณลิกไนต์ในประเทศที่ลดลง ทั้งนี้การใช้ลิกไนต์ลดลง 21.6% เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้าพลังน้ำนำเข้าคาดว่าจะมีการใช้ลดลง 19.2% ในขณะที่มีการใช้ พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3% นอกจากนี้ยังคาดการณ์สถานการณ์พลังงานในปี 2558 (12 เดือน) จะมีแนวโน้ม

2.2.3.1. การใช้น้ำมัน จะเพิ่มขึ้น 3.5% เนื่องจากราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้น้ำมันเครื่องบินที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว

2.2.3.2. การใช้ก๊าซธรรมชาติ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.5% จากการใช้ที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า IPP และ SPPและการใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม

2.2.3.3. การใช้ถ่านหิน คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.4% จากการใช้ที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมเพื่อทดแทน ปริมาณลิกไนต์ในประเทศที่ลดลง

2.2.3.4. การใช้ลิกไนต์ คาดว่าจะลดลง 21.2% ตามการใช้ที่ลดลงจากการใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และการใช้ที่ลดลงในภาคอุตสาหกรรมตามข้อจำกัดของปริมาณการผลิตลิกไนต์ในประเทศ

2.2.3.5. การใช้ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้าจาก สปป. ลาว คาดว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำจะลดลง 4.5% จากภาวะภัยแล้งและปริมาณฝนที่ลดลง แต่การนำเข้าไฟฟ้าจาก สปป. ลาวในปี 2558 จะเพิ่มขึ้น

3. 5.ผลกระทบของพลังงานกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

3.1. การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทำให้มีการปล่อยก๊าซหลายชนิด ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ เช่น ซัลเฟอร์ไนโตรเจนออกไซด์คาร์บอนมอนอกไซด์ไฮโดรคาร์บอนรวมทั้งสารโลหะหนักต่างๆ และที่สำคัญคือปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก (greenhouse effect) พบว่าในระหว่างปี ค.ศ. 1965 – 2013 ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นทุกปีจนถึง 35.1 billion metric tons (BMT) ในปีค.ศ. 2013

3.2. เมื่อพิจารณาถึงแหล่งที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจะ มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด และมีแนวโน้มมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มยุโรปตะวันออก มีปริมาณการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ลดลงได้ถึงร้อยละ 40 ในช่วงปีค .ศ .1990-2001 ซึ่งสาเหตุที่สำคัญคือการหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติแทน สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในแถบเอเชียโดยเฉพาะประเทศจีน มีแนวโน้มการปล่อยสูงขึ้น เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ รวดเร็ว มีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน ทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นมหาศาล ผลที่ตามมาคือปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นด้วย

3.3. ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากการใช้พลังงานที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อ สภาพแวดล้อมของโลก ได้แก่ การเกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน สภาวะอากาศของโลกเปลี่ยนไป (climate change) และ มลพิษทางอากาศ (air pollution)

4. 1.สถานการณ์พลังงานโลก

4.1. ในยุคแรกเริ่มมนุษย์นำพลังงานมาใช้เพื่อดำรงชีวิต

4.2. ช่วง ศตวรรษที่ 18-19 ยุคของการเปลี่ยนแปลงจากระบบสังคมและเศรษฐกิจฐานการเกษตรกลายไปเป็นสังคมและเศรษฐกิจฐาน อุตสาหกรรม ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ได้นำเอาเชื้อเพลิงถ่านหินน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติมาใช้ พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างมากมาย และขยายวงกว้างออกไปทั่วโลก สิ่งที่ต้องตระหนักเป็นอย่างยิ่งคือ ผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมที่จะเกิดตามมา พลเมืองจึงต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังงานเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนอย่างชัดเจนด้วย

5. 2.ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์พลังงานโลก

5.1. 2.1 การเพิ่มจำนวนประชากรโลก

5.1.1. ข้อมูลทางด้านประชากรโลกที่มีผลเกี่ยว โยงกับด้านเศรษฐกิจและสังคมขององค์การสหประชาชาติ (Population Division of the Department of Economic and Social Affairs of the United Nations ) ระบุว่าในปี 1999 จำนวนประชากรโลกทั้งหมดมีจำนวน 6 พันล้านคน และ คาดว่าระหว่างปีปัจจุบันจนถึงปี2050 จะมีจำนวนของประชากรเพิ่มขึ้นประมาณ 2.3 พันล้านคน (ภาพที่ 4.1) นอกจากนี้ทาง หน่วยขององค์การสหประชาชาติยังระบุอีกว่าภายในปี2100 จำนวนประชากรน่าจะถึง 10.1 พันล้านคน ผลจากการเพิ่ม จำนวนประชากร และการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้ความต้องการพลังงานในปี 2050 มีแนวโน้มขยายตัวตามไปด้วย ทั้งนี้ เมื่อดูจากการประมาณของ International Energy Agency พบว่า ความต้องการพลังงานของโลกจะเพิ่มขึ้นกว่า 50% จากปี ค.ศ. 2010

5.2. 2.2 ปริมาณการใช้พลังงานในปัจจุบันและความต้องการใช้พลังงานในอนาคต

5.2.1. ประเทศกำลังพัฒนามีการใช้พลังงานมากที่สุด คาดว่าความต้องการเพิ่มขึ้น ประมาณ 65% สัดส่วนการใช้พลังงานทั้งหมดในระหว่างปีค.ศ. 2004-2030 จะเพิ่มจาก 46% เป็น 58% ประมาณครึ่งหนึ่ง ของการเพิ่มขึ้นของความต้องการพลังงานทั้งโลกในปีค.ศ. 2030 มาจากความต้องการใช้พลังงานในการขนส่ง 20% ซึ่งส่วน ใหญ่อยู่ในรูปของปิโตรเลียม (Energy information administration, 2007) การใช้พลังงานมหาศาลในทวีปเอเชียโดยเฉพาะ ประเทศจีนและอินเดียเป็นผลมาจากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งอัตราการเติบโตเฉลี่ย 3.7% ต่อปีซึ่งสูงกว่า ประเทศในทวีปอื่นมาก ดังนั้น ในอีก 20 ปีข้างหน้าทวีปเอเชียจะใช้พลังงานมากขึ้นเป็น 2 เท่า

5.2.2. แหล่งพลังงานหลักของโลกมาจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป โดยเฉพาะน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติมี เพียง 13% ของพลังงานทั้งโลกได้มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน ในจำนวนนี้ได้มาจากพลังงานที่มีการ เผาไหม้และพลังงานขยะของพลังงานหมุนเวียน 10.6% และส่วนที่เหลืออีก 2.4% เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ได้มาจากพลังงาน น้ำ พลังงานจากธรณีพิภพ แสงอาทิตย์ลม น้ำขึ้นน้ำลง และคลื่น ในระหว่างปีค.ศ. 2004 ถึงปีค.ศ. 2030 จะมีการใช้ พลังงานจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติถ่านหิน พลังงานนิวเคลียร์และพลังงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้น

5.2.3. คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป (2006) รายงานถึงความต้องการพลังงานตามประเภทของเชื้อเพลิง พบว่า เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลยังคงเป็นที่ต้องการมากที่สุด ในปีค.ศ. 2030 คาดว่าความต้องการเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลจะถึง 90 % ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด โดยน้ำมันยังคงเป็นพลังงานหลัก (34%) ตามด้วยถ่านหิน (28%) (ซึ่ง 2/3 ของความต้องการ ถ่านหินระหว่างปีค.ศ. 2000-2030 เป็นความต้องการจากเอเชีย) และ ก๊าซธรรมชาติ (25%) ในส่วนของพลังงานนิวเคลียร์ แม้จะมีการใช้เพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อคิดเป็นสัดส่วนของเชื้อเพลิงทั้งหมดกลับมีแนวโน้มลดลง โดยจะลดจาก 7% ในปีค.ศ. 2000 เหลือ 5% ในปี ค.ศ. 2030 ส่วนเชื้อเพลิงจากไม้และสิ่งเหลือใช้นั้น แม้จะมีการใช้ลดลง จาก 9% (ในปัจจุบัน) เหลือ 5% (ในปี ค.ศ. 2030) ของพลังงานทั้งหมด แต่ก็ยังคิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าพลังงานทดแทน ถึงแม้ทั่วโลกจะมีความตื่นตัวในการใช้ พลังงานทดแทนขึ้นมาก แต่การใช้พลังงานทดแทนจนถึงปี 2030 จะมีเพียง 1% ของพลังงานที่ใช้ทั้งโลก โดยที่มีสหภาพยุโรป เป็นผู้นำเทคโนโลยีในด้านนี้

5.2.4. เอ็กซอนโมบิล (2555) รายงานการคาดการณ์อนาคตพลังงานโลกอีก 30 ปีข้างหน้า (ค.ศ. 2040)

5.2.4.1. 1) ปีค.ศ. 2040 ความต้องการพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30% เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2010 ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจจะเติบโตเป็นสองเท่า ความเจริญจะกระจายไปทั่วโลกด้วยประชากรเกือบ 9 พันล้านคน

5.2.4.2. 2) ประเทศที่อยู่ในองค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD) รวมถึงประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป จะมีการใช้พลังงานอย่างคงที่ แม้ว่าจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนสูง ในทางกลับกันประเทศ Non OECD จะต้องการพลังงานสูงขึ้นถึง 60% โดยเฉพาะจีนจะต้องการพลังงานสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงสองทศวรรษหน้า และจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเศรษฐกิจและจำนวนประชากรเติบโตสูงสุด สำหรับประเทศอื่น ๆ นั้น ประชากรหลายพันล้านคนจะยังคงหาทางเพิ่มมาตรฐานการดำรงชีวิตของตน ซึ่งหมายถึงต้องการใช้พลังงานมากขึ้นด้วย

5.2.4.3. 3) ความต้องการพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ายังคงเป็นอันดับหนึ่ง โดยในปี ค.ศ. 2040 การผลิตกระแสไฟฟ้าจะ เพิ่มขึ้นกว่า 40% เพื่อสนองความต้องการบริโภคไฟฟ้าของโลก

5.2.4.4. 4) ความต้องการถ่านหินจะเข้าสู่จุดสูงสุดและเริ่มลดลงอย่างช้า ๆ เนื่องจากมีการออกนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซ โดยกำหนดโทษค่าปรับ สำหรับเชื้อเพลิงที่ปล่อยคาร์บอนปริมาณสูง ส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานนิวเคลียร์จะ เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

5.2.4.5. 5) เชื้อเพลิงที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายยังคงเป็นนํ้ามัน ก๊าซ และถ่านหิน และยังมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ ของทั้งโลก ทั้งนี้คิดเป็น 80% ของการบริโภคพลังงานในปีค.ศ. 2040

5.2.4.6. 6) ก๊าซธรรมชาติจะเติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นและมาแทนที่ถ่านหิน จนเป็นอันดับสองรองจากนํ้ามัน เมื่อถึงปี ค.ศ. 2040 ความต้องการก๊าซธรรมชาติจะสูงขึ้นเป็น 60% ทั้งนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติจะมาจากแหล่งที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น จากชั้นหินนํ้ามัน

5.3. 2.3 ปริมาณสำรองของแหล่งพลังงานที่มีเหลืออยู่

5.3.1. จากรายงานของ US energy information administration (2014) พบว่าแหล่งน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ในตะวันออก กลางมีประมาณ 803.60 BBL (49%) รองลงมาอเมริกาใต้รวมกับอเมริกากลางที่มีประมาณ 328.26 BBL (20%) อเมริกา เหนือมีประมาณ 219.79 BBL (13%) บริเวณยุโรปรวมกับยูโรเชียมีปริมาณ 131.17 BBL (8%) ส่วนบริเวณที่มีเหลือค่อนข้าง น้อยคือ บริเวณแอฟริกามีประมาณ 126.73 BBL (8.0%) และเอเชียแปซิฟิกมีเหลืออยู่เพียง 46.01 BBL (3%)

5.3.2. ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่อยู่ในแถบตะวันออกกลางมีปริมาณ 40% รองลงมาคือยุโรปรวมกับยูโรเชีย 34% บริเวณที่มี เหลือน้อยที่สุดคืออเมริกาใต้รวมกับอเมริกากลางมี4% ดังแสดงในภาพที่ 4.4 ส่วนปริมาณถ่านหินสำรองทั่วโลกในปีค.ศ. 2009 มีประมาณ 826 พันล้านตัน มีมากที่สุดในบริเวณแถบยุโรปรวมกับยูโรเชียเท่ากับ 34.80% รองลงมาคือบริเวณเอเชีย แปซิฟิก 32.30% อเมริกาเหนือ 27.50% ตะวันออกกลางและแอฟริกา 3.70% น้อยที่สุดอยู่ที่อเมริกาใต้รวมกับอเมริกากลาง 1.60%

5.3.3. จากการประเมินสถานการณ์พลังงานจนถึงปี ค.ศ. 2030 ของ WETO พบว่า ในระหว่างปีค.ศ. 2000–2030 การ ผลิตน้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้น 65% โดยที่ 3 ใน 4 ของการผลิตที่ผลิตเพิ่มขึ้นจะมาจากกลุ่มประเทศโอเปค ซึ่งเป็นแหล่งนำมัน สำรองที่ใหญ่ที่สุดของโลก ส่งผลให้โอเปคจะเป็นผู้ผลิตน้ำมันถึง 60% ในปี 2030 (จากเดิม 40% ในปีค.ศ. 2000) และจะยิ่งมี อำนาจต่อรองทั้งในด้านการผลิตและการกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกมากขึ้น (เป็นที่สังเกตว่า จำนวนการผลิตน้ำมันของ กลุ่มประเทศโอเปคในปัจจุบันนั้นมีความไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันในตลาด และจำนวนน้ำมันที่ผลิตออกมาโดยประเทศ นอกกลุ่มโอเปค) ภูมิภาคที่จะเป็นผู้ผลิตน้ำมันที่สำคัญในปี 2030 สิบประเทศแรก ได้แก่ ตะวันออกกลาง (ซาอุดิ อาราเบีย อิรัก อิหร่าน สหรัฐอาหรับ อิมิเรต คูเวต) กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS : Commonwealth of Independent States) อเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกา แคนาดา) และ อเมริกาใต้ (เวเนซูเอลา และบราซิล) ในส่วนของก๊าซนั้น การผลิตก๊าซของโลกจะ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว แม้จะมีแหล่งก๊าซสำรองกระจายอยู่ทั่วทั้งโลก แต่เมื่อคำนวณจากปริมาณก๊าซสำรองของแต่ละภูมิภาคและ ราคาต้นทุนในการผลิต รัสเซีย (รวมทั้งประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม CIS) จะเป็นภูมิภาคที่ผลิตก๊าซถึง 1 ใน 3 ของปริมาณก๊าซที่ผลิต ได้ทั้งโลก โดยการผลิตที่เหลือจะกระจายเท่า ๆ กันระหว่างกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) ภูมิภาคตะวันออกกลาง, ลาตินอเมริกา และ เอเชีย ส่วนการผลิตถ่านหินของโลกก็จะ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่จะมาจากแอฟริกาและเอเชีย โดยเอเชียจะผลิตถ่านหินมากกว่า 50% ของโลก (คณะผู้แทนไทย ประจำประชาคมยุโรป, 2006)

5.3.4. โดยสรุปทั่วโลกจะยังคงมีแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลือเพียงพอต่อความต้องการ จะมีการค้นพบแหล่งน้ำมันจากแหล่ง น้ำมันใหม่ๆ เข้ามาเสริมแหล่งน้ำมันที่มีอยู่เดิม นอกจากนั้นโลกยังคงมีแหล่งก๊าซธรรมชาติและถ่านหินสำรองเป็นจำนวนมาก และคาดว่าจะพบแหล่งก๊าซใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ภาพรวมแหล่งเชื้อเพลิงสำรองยังคงเหลือเพียงพอต่อความต้องการของโลก แต่การผลิตเชื้อเพลิงกลับอยู่ในมือของบางภูมิภาคหรือบางองค์กรเท่านั้น คือ กลุ่มโอเปค (น้ำมัน) และ รัสเซียและกลุ่ม CIS (ก๊าซ) ซึ่งทำให้ภูมิภาคเหล่านี้มีอำนาจต่อรองในฐานะผู้ควบคุมการผลิตและการส่งออกพลังงานไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะภูมิภาคที่ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอก เช่น ยุโรปและเอเชีย ทำให้ทั้งสองภูมิภาคต่างอยู่ภาวะที่ต้องแข่งขันเพื่อ หาแหล่งพลังงาน ความตื่นตัวของสหภาพยุโรปในการหาจุดยืนด้านพลังงานและความพยายามในการสร้างนโยบายร่วมด้าน พลังงาน จึงอาจเป็นภาพสะท้อนความเร่งด่วนของภูมิภาคเอเชียและประเทศไทยในการหานโยบายด้านพลังงานที่ชัดเจนขึ้น และมีเอกภาพมากขึ้นเพื่อต่อรองในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากนั้น สหรัฐอเมริกาแม้จะมีแหล่งพลังงานของตน แต่ก็ยัง พยายามเข้ามามีบทบาทในการแข่งขันเพื่อสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานและการเมืองการต่างประเทศในระยะยาว ดังนั้น การกำหนดนโยบายพลังงานควรพิจารณาสภาวการณ์การแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างสามภูมิภาคและทั้งในเอเชีย เอง ส่งผลให้นโยบายพลังงานแบบดั้งเดิม ซึ่งเน้นการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการเก็บกัก พลังงานสำรอง อาจไม่เพียงพอที่จะรับมือวิกฤติด้านพลังงาน จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะเพิ่มมิติที่เกี่ยวกับนโยบาย การเมืองการต่างประเทศและความมั่นคงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดยุทธศาสตร์พลังงานของชาติ