การพัฒนาการด้านร่างกายของผู้สูงอายุ (1)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพัฒนาการด้านร่างกายของผู้สูงอายุ (1) by Mind Map: การพัฒนาการด้านร่างกายของผู้สูงอายุ (1)

1. ด้านร่างกายภายนอก

1.1. ด้านกายภาพ

1.1.1. ผิวหนังจะบาง​ เหี่ยวย่น​ แห้ง​ คัน​ หยาบ​ หย่อนยาน​ เกิดรอยย่นชัดเจน​ มีจุดด่าง ตกกระ​ การควบคุมอุณหภูมิ​ในร่างกายลดลง​ จึงรู้​สึกหนาวง่าย

1.2. ระบบผิวหนัง

1.2.1. ผมร่วง​ ผมเปลี่ยน​สี​เป็นสีขาว​ แห้ง​ เปราะ​ การเปลี่ยนสีผมเป็นข้อบ่งชี้ของความเสื่อมของร่างกาย

2. ด้านร่างกายภายใน

2.1. ระบบกระดูกไขข้อและกล้ามเนื้อ

2.1.1. กระดูกเปราะบางง่าย​ เนื่องจากการดูดซึมของแคลเซียม​ลดลง​ ทำให้กระดูกสันหลังโค้งงอ การขาดวิตามินดี​ ทำให้กระดูกหักง่าย​ ข้อต่างๆเสียความยืดหยุ่น​ เคลื่อนไหวลำบาก​ อักเสบ​ ปวดตามข้อ​ ความแข็ง​แรง​ของกล้ามเนื้อลดลง​

2.2. ระบบทางเดินหายใจ

2.2.1. ปอดเสื่อม​ การยุบและขยายตัวไม่ดี​ เหนื่อยง่าย​ หายใจไม่สะดวก

2.3. ระบบทางเดินอาหาร

2.3.1. เหงือกร่นจากฟันทำให้ฟันโยก​ ฟันหักง่าย​ การรับประทานอาหารไม่สะดวก​ อาหารย่อยยาก​ ท้องอืด​ ภาวะการขาดสารอาหารเกิดขึ้นง่าย​ ท้องผูกง่าย​ กระเพาะอาหารอักเสบง่าย

2.4. ระบบหัวใจและหลอดเลือด

2.4.1. กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนกำลังลง​ หลอดเลือดแข็งตัว​ หนา​ ขาดความยืดหยุ่น​ เนื่องจากมีไขมันเกาะ​ ความดันโลหิตสูงขึ้น​ พบภาวะของโรคหัวใจขาดเลือด

2.5. ระบบประสาท ประสาทสัมผัสลากรทรงตัว

2.5.1. ประสาทสัมผัสการทรงตัว​ อวัยวะรับความรู้สึกเสื่อมลง​ เช่น​ ตา​ หู​ จมูก​ ลิ้น​ และผิวหนังเสื่อมลง​ การมองเห็นไม่ดี​ สายตายาวขึ้น​ ตาขุ่นมัว​ เป็นต้อกระจก​ หูตึง​ ฟังไม่ชัดเจน​ การดมกลิ่นไม่ดี​ การรับรสของลิ้นเสียไป​ ความว่องไวของการสั่งงานช้าลง​ การพูดจาช้าลง​ ความสมดุลของการทรงตัวเสื่อม​ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ​ หกล้มง่าย

2.6. สมองและสติปัญญา

2.6.1. สมองเสื่อม​ เหี่ยว​ เล็กลง​ ความจำเสื่อม​ หลงลืมง่าย​ ความสัมพันธ์​ระหว่างสมองกับกล้ามเนื้อและข้อเสียไป​ อาจเดินไม่สะดวก

2.7. 1 ต่อมเพศ​ มีการเปลี่ยนแปลง​ฮอร์โมน​ในเพศหญิง​ตั้งแต่​อายุ​ 45​ ปีขึ้นไป​ ดังนั้นทำให้รังไข่​มดลูก​ ช่องคลอด​และเต้านมเหี่ยวแฟบ​ ลีบเล็กลง​ ไม่มีสารหล่อลื่นในช่องคลอด​ ความต้องการทางเพศ​ลดลง​และประจำเดือน​ ในเพศชาย​ อันฑะ​เหี่ยว​ เล็ก​ลง​ ต่อมลูกหมากโตขึ้น​ การแข็งตัว​ของอวัยวะ​เพศชาย​ไม่ดี​ ความต้องการ​ทาง​เพศลดลง

2.8. ระบบต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน

2.8.1. ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมน​อินซูลินน้อยลง​ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้​ ต่อมใต้สมองเสื่อม​ ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย​ เมื่ออาการต่อมไทรอยด์​จะมีขนาดเล็กลง​ ทำให้เบื่ออาหาร​ ตาฝ้าฟาง​ ขุ่นมัว​​

2.9. ระบบสืบพันะ์และระบบทางเดินปัสสาวะ