ความหมายและความเป็นมาของโลกาภิวัตน์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ความหมายและความเป็นมาของโลกาภิวัตน์ by Mind Map: ความหมายและความเป็นมาของโลกาภิวัตน์

1. ความหมายของโลกาภิวัตน์

1.1. ในปี พ.ศ. 2542 ราชบัณฑิตยสถาน ได้กําหนดไว้ในพจนานุกรมไทย ว่า“โลกาภิวัตน์ ตรงกับคําว่า “Globalization” และให้นิยามว่า เป็นคํานาม หมายถึง การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง อันเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น ตามคําศัพท์ภาษาอังกฤษ global แปลว่า โลก + ization แปลว่า ทําให้เป็นไปอย่างใหญ่หลวง

1.1.1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Money Fund, IMF) ให้ความหมายว่า โลกาภิวัตน์ คือ ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีที่ทําให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการดําเนินธุรกรรมระหว่างนานาประเทศได้โดยสมบูรณ์ ทั้งทางด้านการหลั่งไหลทางการค้าและการเงินข้ามพรมแดนประเทศ

1.1.2. นายแอนโทนี ไกเดนส์ (Anthony Gidens) ผู้อํานวยการของโรงเรียนเศรษฐศาสตร์แห่งลอนดอน เขียนไว้ว่า โลกาภิวัตน์ เน้นความสัมพันธ์ทางสังคมไปทั่วทั้งโลก โดยเชื่อมโยงท้องที่ต่างๆที่อยู่ไกลกัน จนกระทั่งปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นในท้องที่หนึ่งได้เกิดขึ้นในท้องที่อื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป

1.1.3. สถาบันเลวิน (Levin Institute) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ให้นิยามว่า โลกาภิวัตน์ เป็น กระบวนการดําเนินงานร่วมกันของผู้คน บริษัท และรัฐบาลของชาติต่างๆ ทั้งในด้านการค้า การลงทุนระหว่างชาติ โดยมีเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเป็นปัจจัยสําคัญที่เร่งให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โลกาภิวัตน์มีผลต่อสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ระบบ การเมืองการพัฒนาทางเศรษฐกิจความมั่งคั่งและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกสังคมในโลก

1.1.4. เฟรด ดับเบิลยู ริกก์ (Fred W. Riggs) อ้างว่า มาจิด เทฮารานเนียน (Majid Tehranian) กล่าวไว้ว่า โลกาภิวัตน์ คือ กระบวนการที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 5000 ปีมาแล้ว แต่เพิ่งจะมาเร่งให้เร็วขึ้นอย่างมากหลังจากการล่มสลายของสหภาพ โซเวียดในปี ค.ศ. 1991 สาระสําคัญของโลกาภิวัตน์ประกอบด้วย (1) การส่งเงินทุน แรงงาน การจัดการ ข่าวสาร ภาพ และข้อมูลข้ามเขตประเทศ (2) ตัวจักรกลที่ขับเคลื่อนให้โลกาภิวัตน์ดําเนินไป คือ บริษัทข้ามชาติ องค์กรระหว่าง รัฐบาล และองค์กรสื่อมวลชนข้ามชาติ นักมานุษยวิทยา ถือว่า โลกาภิวัตน์ ก่อให้เกิดผลทั้งด้านบวกและลบ เช่น การ ปิดและเปิดช่องว่างระหว่างรายได้ทั้งของบุคคลและของประเทศต่างๆ การเน้นหนักและลดทอนอํานาจการครอบงํา ทางการเมือง และการหลอมรวมและแยกแยะเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

1.1.5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิน บุศราคํา ให้ความหมายโลกาภิวัตน์ว่าเป็นกระบวนการต่าง ๆ ที่ซับซ้อน (เช่น กระบวนการ ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเมือง และเทคโนโลยี) ที่ทําให้ผู้คนในทุกหนทุกแห่งของโลกติดต่อเชื่อมโยงถึง กัน สื่อสารและแข่งขันซึ่งกันและกันอย่างรวดเร็ว เพื่อส่งผ่านสินค้าและบริการ แรงงาน ทุน และข่าวสารข้อมูลข้าม อาณาเขตประเทศ โดยอาศัยเทคโนโลยีการขนส่งและการสื่อสารโทรคมนาคม โลกาภิวัตน์มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในหลายทาง เช่น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ เป็นต้น

2. ความเป็นมาของโลกาภิวัตน์

2.1. นายโธมัส ฟรีดแมน (Thomas Friedman) เขียนหนังสือชื่อ The world is flat : A brief history of the twenty first century หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงความเป็นมา การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีผลมาจาก โลกาภิวัตน์จากอดีตจนถึงศตวรรษที่ 21 โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา

2.1.1. ช่วงที่ 1 (Globalization 1.0) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1492 ถึง 1800 และตั้งชื่อช่วงนี้ว่า Globalization of Nation States หมายถึง ในช่วงเวลาดังกล่าว การติดต่อระหว่างประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม จะเป็นการเจรจา ตกลง หรือทําสัญญากันระหว่างประมุขหรือผู้นําของประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนประเทศเท่านั้น

2.1.2. ช่วงที่ 2 (Globalization 2.0) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1800 ถึง 2000 และตั้งชื่อช่วงนี้ว่า Globalization of Companies ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมไปจนถึงสิ้นสุดสงครามเย็น การติดต่อระหว่างประเทศโดยเฉพาะ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าสามารถเจรจาตกลงกันในระดับบริษัทได้โดยมีขอบเขตอยู่ภายใต้กฎหมายของทั้งสองฝ่าย ความเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อประชากรโลกอย่างชัดเจน

2.1.3. ช่วงที่ 3 (Globalization 3.0) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ถึง 2005 และตั้งชื่อช่วงนี้ว่า Globalization of Individual หมายถึง การติดต่อกับต่างประเทศในช่วงเวลานี้ประชาชนแต่ละคนสามารถดําเนินการได้เอง ทั้งนี้ต้องไม่ผิด กฎหมายของทั้งสองฝ่าย

2.1.3.1. การรวมประเทศของเยอรมันตะวันออกกับเยอรมันตะวันตก ในปี ค.ศ. 1989 ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการปกครองของประเทศที่ยิ่งใหญ่ทั้งพื้นที่ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพลังทางเศรษฐกิจในทวีปยุโรป

2.1.3.2. การเกิดอินเทอร์เน็ต (internet) ในปี ค.ศ. 1976 อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทําให้เกิดโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

2.1.3.3. การเกิด work flow software คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทํางานเพื่อให้การทํางานมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะทํางานอยู่ที่ส่วนใดของโลกที่มีระบบอินเทอร์เน็ต

2.1.3.4. การเกิด out sourcing คือ การที่องค์กรหนึ่งจ้างหน่วยงานภายนอกให้ดําเนินกิจการบางอย่างให้กับองค์กรของตน เนื่องจากภายในองค์กรของตนไม่มีหน่วยงานย่อยที่มีหน้าที่ดําเนินกิจการนั้นโดยตรง

2.1.3.5. การเกิด out sourcing คือ การที่องค์กรหนึ่งจ้างหน่วยงานภายนอกให้ดําเนินกิจการบางอย่างให้กับองค์กรของตน เนื่องจากภายในองค์กรของตนไม่มีหน่วยงานย่อยที่มีหน้าที่ดําเนินกิจการนั้นโดยตรง

2.1.3.6. การเกิด in sourcing คือ การที่องค์กรหนึ่งมีการพัฒนา/ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงกิจการ ให้มีเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม กิจการนั้นยังไม่มีหน่วยงานย่อยภายในองค์กรทําหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง แต่ในองค์กรมีกลุ่มบุคลากรหรือหน่วยงานย่อยที่สามารถดําเนินกิจการนั้นได้ จึงมอบหมายให้กลุ่มบุคลากรหรือหน่วยงานย่อยดังกล่าวดําเนินกิจการที่พัฒนาขึ้นใหม่นั้น

2.1.3.7. การเกิด off shoring คือ การย้ายโรงงานที่ผลิตสินค้าหรือการให้บริการไปอยู่ในประเทศอื่น เพื่อให้มีกําไรสูงขึ้น เช่น ย้ายไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า อัตราการเก็บภาษีน้อยกว่า กฎหมายสิ่งแวดล้อมอ่อนกว่า ได้โควตาส่งออกมากกว่าอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมากกว่า

2.1.3.8. การเกิด supply chaining หรือธุรกิจสายส่ง รูปแบบใหม่ที่ทําให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถส่งสินค้าของตนให้ถึง ผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และสินค้าไม่เสื่อมคุณภาพ ทําให้เกิดบริษัทรับส่งสินค้าและวัตถุประเภทต่าง ๆ เชื่อมโยง เครือข่ายการขนส่งไปทั่วโลก

2.1.3.9. การเกิด informing หรือการให้ข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิมโดยใช้เครื่องมือ (search engine) รูปแบบต่าง ๆ ทําให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมีความรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง ทั้งในรูปแบบของตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบโทรเลข โทรทัศน์ และโทรศัพท์ ในอดีต

2.1.3.10. การหลอมรวมของสื่อดิจิตอล (convergence) ทําให้เกิดความหลากหลายด้านศักยภาพในการสื่อสารข้อมูล เครื่องมือสื่อสารเครื่องหนึ่งสามารถทําหน้าที่ได้หลายอย่าง