หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2551 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิท...

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2551 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2562 by Mind Map: หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2551 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม    สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์  ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2562

1. จุดประสงค์สาขาวิชา 1.เพื่อประยุกต์ใช้ความรู้ด้านภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การสื่อสาร 2.เพื่อให้มีความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักการบริหารและจัดการวิชาชีพ 3.เพื่อให้มีความเข้าใจในหลักการและกระบวนการทำงานในกลุ่มงานพื้นฐานด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.เพื่อให้มีความรู้และทักษะในงานการผลิตและงานด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตามหลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5.เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในสถานประกอบการ ใช้ทักษะพื้นฐานในการศึกษาต่อได้ 6.เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานและดำรงชีวิตโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง หลักการใช้พลังงานและทรัพยากร 7.เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม 8.ประยุกต์ความรู้ ทักษะและเทคโนโลยีเกี่ยวกับสาขาวิชาเพื่อแก้ปัญหา พัฒนา สร้างหรือประดิษฐ์นวัตกรรม และวิจัย

2. มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2.ด้านสมรรถนะแกนกลาง 3.ด้านสมรรถนะวิชาชีพ - สาขางานเทคโนโลยียานยนต์ - สาขางานเทคโนโลยีเครื่องมือกล - สาขางานเทคโนโลยีไฟฟ้า - สาขางานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ - สาขางานเทคโนโลยีเมคคาทรอนิกส์ - สาขางานเทคโนโลยีก่อสร้าง

3. หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร 1.การเรียนการสอน เน้นการปฏิบัติการจริง มุ่งเน้นการประดิษฐ์คิดค้นบนฐาน STEM Education ด้วยกระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active Learning) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PjBL) 2.การจัดการเรียนการสอน ใช้ระยะเวลา 3 ปีการศึกษา 3.การคิดค่าหน่วยกิต ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต 4.โครงสร้างหลักสูตร หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลางไม่น้อยกว่า 28 หน่วยกิต หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 94 หน่วยกิจ หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต 5.การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพในภาคเรียนที่ 5 หรือภาคเรียนที่ 6 ไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง 6.โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ จัดทำโครงงานรวม 4 หน่วยกิต ใช้เวลาไม่น้อยกว่า216ชั่วโมง จัด 4ชั่วโมง/สัปดาห์ 7.กิจกรรมหลักสูตร ไม่น้อยกว่า2ชั่วโมง/สัปดาห์ ทุกภาคเรียน 8.การจัดแผนการเรียน อัตราทฤษฎีต่อปฏิบัติ 20:80

4. หลักการของหลักสูตร 1.เป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหลังมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าด้านวิชาชีพ ซึ่งครอบคลุมสาระวิชาทั้งสายสามัญและสายอาชีพ 2.เป็นหลักสูตที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ การริเริ่มสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม เป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในอนาคต 3.เน้นสมรรถนะด้วยการปฏิบัติจริง 4.เป็นหลักสูตรที่สนับสนุนการร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน 5.เป็นหลักสูตรที่ให้สถานศึกษา สถานประกอบการ ชุมชนและท้องถิ่น มีส่วนในการพัฒนา ยึดโยงกับมาตรฐานวิชาชีพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

5. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562

6. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์

7. โครงสร้างหลักสูตร 1.หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง ไม่น้อยกว่า 28 หน่วยกิต 1.1กลุ่มวิชาภาษาไทย (ไม่น้อยกว่า6หน่วยกิต) 1.2กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ (ไม่น้อยกว่า6หน่วยกิต) 1.3กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (ไม่น้อยกว่า4หน่วยกิต) 1.4กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (ไม่น้อยกว่า4หน่วยกิต) 1.5กลุ่มวิชาสังคมศึกษา (ไม่น้อยกว่า4หน่วยกิต) 1.6กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (ไม่น้อยกว่า2หน่วยกิต) 1.7กลุ่มวิชาศิลปะ (ไม่น้อยกว่า2หน่วยกิต) 2.หมวดสมรรถนะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 94 หน่วยกิต 2.1กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน 25 หน่วยกิต 2.2กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ 25 หน่วยกิต 2.3กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต 2.4ฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ 4 หน่วยกิต 2.5โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ 4 หน่วยกิต 3.หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต 4.กิจกรรมเสริมหลักสูตร (2ชั่วโมงต่อสัปดาห์) รวมไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต

8. จุดหมายของหลักสูตร 1.เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในงานอาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ 2.เพื่อให้เป็นผู้มีปัญญา มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้ 3.เพื่อให้มีความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ ที่เพียงพอต่อการคิดค้น พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม 4.เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการวางแผน วิธีการดำเนินงาน ทักษะ 5.เพื่อให้มีความรู้ ทักษะการสื่อสารระหว่างประเทศ 6.เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในวิชาชีพ 7.เพื่อให้รู้เท่าทันต่อการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ 8.เพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีคุณธรรม จริยธรรม และวินัยในตนเอง 9.เพื่อตระหนักและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในสังคม