Case3 การพยาบาลพยาบาลและทารกหลังคลอด

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Case3 การพยาบาลพยาบาลและทารกหลังคลอด by Mind Map: Case3  การพยาบาลพยาบาลและทารกหลังคลอด

1. ทารก เพศชาย

2. มารดา32ปี คลอดบุตรคนที่4

2.1. หลังคลอดทันที

2.1.1. ประเมินพบมีน้ำนมไหล 1-2 หยด

2.1.1.1. ภายหลังคลอด 45 นาที พยาบาลนำทารกแรกเกิดไปดูดนมมารดา นักศึกษาคิดว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

2.1.1.1.1. คิดว่าเหมาะสม เพราะการส่งเสริมให้นมแม่ครั้งแรกภายใน 1 ชม. แรกหลังคลอดเป็นสิ่งที่สำคัญและสามารถเพิ่มอัตราและระยะเวลา ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานขึ้น และการทำ skin to skin ภายใน 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงหลังคลอด โดยวางทารกบนหน้าอกของมารดา เพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ครั้งแรกช่วยสร้างสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก

2.1.2. Estimate blood loss 300 ml

2.1.3. การประเมินสุขภาพด้วยหลัก 12B

2.1.3.1. เหมาะสม เพราะการปรับตัวของมารดาอยู่ในระยะที่1 คือระยะสนใจแต่ความต้องการของตเอง(Taking-in Phase) เกิดขึ้นในช่วง 2-3 วันแรก หลังคลอด โดยมารดาจะพฤติกรรมพึ่งพาผู้อื่นมากที่สุดและไม่ต้องการทำสิ่งต่าง ๆด้วยตนเอง มารดาจะสนใจแต่ความต้องการของตนเองในเรื่องการนอนหลับพักผ่อน การรับประทานอาหาร เพื่อชดเชยพลังงานที่เสียไปในการคลอดมากกว่าจะคิดถึงความต้องการของทารก เพราะมารดามีความไม่สุขสบายจากการคลอดบุตร

2.1.3.2. 2. Body condition : การประเมินสภาวะทั่วไปของมารดาหลังคลอด ลักษณะทั่วไป สีหน้า ท่าทาง อาการอ่อนเพลีย ความสุขสบาย ภาวะซีด การอักเสบของหลอดเลือดดำการพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการน้ำและอาหาร

2.1.3.3. 3. Body temperature and blood pressure : ประเมินสัญญาณชีพหลังคลอด 24 ชั่วโมงแรก อุณหภูมิอาจสูงแต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส เนื่องจาก reactionary fever จะกลับสู่ภาวะปกติ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส ในวันที่ 2-3 หลังคลอดอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อ ชีพจรถ้าเร็วมากกว่าหรือเท่ากับ 100 ครั้งต่อนาที อาจเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อน เช่นตกเลือด ติดเชื้อ ขาดน้ำ ถ้าพบชีพจรเร็วร่วมกับความดันโลหิตต่ำ อาจมีภาวะตกเลือด ภาวะช็อค ถ้ามีภาวะหายใจเร็วหรือผิดปกติ อาจเกิดจากโรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ หากพบความดันโลหิตต่ำกว่าปกติอาจเกิดภาวะ orthostatic hypotension

2.1.3.4. 4. Breast and lactation : การประเมินหัวนม เต้านมและการหลั่งน้ำนม

2.1.3.4.1. - หัวนม ประเมินลักษณะของหัวนม ได้แก่ หัวนมปกติ หัวนมสั้น หัวนมแบน หรือหัวนมบุ๋ม หัวนมแตก และซักถามอาการเจ็บปวดบริเวณหัวนม

2.1.3.4.2. - เต้านม ประเมินอาการคัดตึงเต้านม เต้านมอักเสบ ความไม่สุขสบาย ในระยะ 1-2 วันหลังคลอด อาจคลำพบว่าเต้านมตึงดี ไม่พบก้อน อาจกดเจ็บเล็กน้อยจากการคัดตึงเต้านม ในวันที่ 3 หลังคลอดอาจมีอาการคัดตึงเต้านมจากน้ำนมคั่งอาจมีผลให้มีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น

2.1.3.4.3. - น้ำนม ประเมินลักษณะ ชนิด และปริมาณน้ำนม ทารกได้รับนมมารดาเพียงพอหรือไม่ สามารถประเมินได้จากพฤติกรรมของทารก เช่น หลับได้นาน 2 ชั่วโมงหลังให้นม ไม่ร้องกวน ถ่ายปัสสาวะบ่อยประมาณ 6-10 ครั้งต่อวัน อุจจาระ 2-3 ครั้งต่อวันและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ประมาณ 15-30 กรัมต่อวัน

2.1.3.5. 5. Belly and uterus : ประเมินหน้าท้องและมดลูก

2.1.3.5.1. -หน้าท้อง ได้แก่ Pendulous abdomens , Striae gravidarum , Linea nigra และ diastasis recti วิธีประเมิน diastasis recti โดยให้มารดาหลังคลอดนอนหงาย ชันเข่า 45 องศา ผู้ตรวจวางฝ่ามือตามแนวยาวบนผนังหน้าท้องของมารดาบริเวณรอยต่อของกล้ามเนื้อ rectus แล้วให้มารดาสูดลมหายใจเข้าช้าๆ พร้อมทั้งยกศีรษะและไหลขึ้น จากนั้นสอดนิ้วมือที่อยู่บนผนังหน้าท้องเพื่อประเมินการแยกของกล้ามเนื้อ rectus ถ้าพบการแยกมากกว่า 3 fingerbreadths (2 นิ้วฟุต) แสดงว่ามีภาวะ diastasis recti

2.1.3.5.2. - มดลูก ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ระดับของยอดมดลูกและอาการปวดมดลูก ปกติมดลูกเป็นก้อนกลมแข็ง ระดับยอดมดลูกลดลงประมาณวันละ 0.5-1 นิ้วฟุตต่อวัน ถ้ามดลูกนิ่ม แสดงว่าอาจมีการหดรัดตัวไม่ดีเนื่องจากกรเพาะปัสสาวะเต็มหรือมีภาวะตกเลือด ถ้าระดับของมดลูกลดลงช้าหรือไม่ลดลงแสดงว่ามีภาวะ Subinvolution ถ้ามีอาการกดเจ็บและมีอาการปวดมดลูกอย่างรุนแรงอาจมีภาวะ Endometritis

2.1.3.6. 6. Bladder : ประเมินการขับถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะที่เหลือค้างและภาวะกระเพาะปัสสาวะเต็ม

2.1.3.6.1. - การขับถ่ายปัสสาวะ มารดาหลังคลอดควรถ่ายปัสสาวะภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังคลอด หากไม่ถ่ายปัสสาวะภายในเวลาดังกล่าวควรพิจารณาสวนปัสสาวะ เพราะการมีกระเพาะปัสสาวะเต็มจะไปขัดขางการหดรัดตัวของมดลูกส่งผลให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด ถ้ามีปัสสาวะแสบขัดปัสสาวะบ่อยอาจเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ถ้ามีปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม หัวเราะหรือยกของหนัก อาจมีกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะหย่อนหรือผนังช่องคลอดด้านหน้าหย่อน

2.1.3.6.2. - ปัสสาวะที่เหลือค้าง ถ้ามีปัสสาวะค้างมากกว่า 100 มิลลิลิตร ให้สงสัยว่ามีปัสสาวะค้าง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ

2.1.3.6.3. - การประเมินกระเพาะปัสสาวะเต็ม ถ้ามีกระเพาะปัสสาวะเต็มจะสังเกตเห็นเป็นลอนทางหน้าท้องและดันยอดมดลูกให้ลอยตัวสูงขึ้น ซึ่งจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูกอาจส่งผลให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด

2.1.3.7. 7. Bleeding and lochia : การประเมินลักษณะและปริมาณน้ำคาวปลา ระยะแรกน้ำคาวปลาจะมีกลิ่นคาวเลือด ถ้าน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นเน่า อาจเกิดการติดเชื้อ ถ้ามีกลิ่นอับอาจเกิดจากการรักษาความสะอาดไม่ดี ปริมาณน้ำคาวปลาสามารถประเมินได้จากรอยซึมของน้ำคาวปลาบนผ้าอนามัย

2.1.3.8. 8. Bottom : ประเมินฝีเย็บ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและทวารหนัก ประเมินความเจ็บปวด อาการบวมและลักษณะการหายของแผลฝีเย็บ อาการแสดงของการติดเชื้อบริเวณแผลฝีเย็บ พยาบาลสามารถประเมินแผลฝีเย็บตามอาการแสดงที่เรียกว่า “REEDA” บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์สามารถประเมินอาการบวม ก้อนเลือดคั่ง (hematoma) varicose vein และการหย่อนของกล้ามเนื้อ พื้นเชิงกราน นอกจากนี้บริเวณทวารหนัก พยาบาลควรมีการประเมินขนาด จำนวนและอาการปวดริดสีดวงทวาร ในระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอดอาจมีอาการปวดริดสีดวงทวาร

2.1.3.9. 9. Bowel movement : ประเมินการทำงานของลำไส้ในระยะ 1-2 วันแรกหลังคลอด มารดาหลังคลอดมักมีอาการท้องอืดและท้องผูกเนื่องจากลำไส้ยังทำงานได้ไม่ดี จึงควรมีการประเมินการทำงานของลำไส้โดยการฟัง bowel sound และการเคาะหน้าท้อง

2.1.3.10. 10. Blues : ประเมินภาวะด้านจิตสังคมของมารดาหลังคลอด ประเมินพัฒนกิจในระยะหลังคลอด ได้แก่ การยอมรับบุตร การปรับตัวในการดูแลบุตร การตอบสนองของบุตร การปรับตัวของมารดา การดำรงบทบาทการเป็นมารดา ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของมารดาหลังคลอดและครอบครัวรวมทั้งการปรับตัวของบิดาและสมาชิกอื่นในครอบครัวในระยะหลังคลอด

2.1.3.11. 11. Bonding and attachment : ประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารกและพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงสัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างมารดากับทารก

2.1.3.12. 12. Baby : ประเมินลักษณะทั่วไปของทารก ได้แก่ ศีรษะและใบหน้า ผิวหนัง ทรวงอก หน้าท้อง อวัยวะสืบพันธุ์ ทวารหนัก ลักษณะแขนขาของทารก เพื่อค้นหาความผิดปกติ รวมทั้งประเมินสัญญาณชีพ การดูด การกลืน การขับถ่าย และน้ำหนักของทารก

2.2. แรกรับที่ตึกหลังคลอด

2.2.1. สีหน้าอ่อนเพลีย

2.2.2. แผลฝีเย็บบวมเล็กน้อย

2.2.2.1. REEDA scale = 2 คะแนน

2.2.2.1.1. การพยาบาล

2.2.2.1.2. จงอธิบายหลักการประเมินแผลฝีเย็บด้วย REEDA scale ว่าประเมินอะไรบ้าง และแปลผล อย่างไร

2.2.2.2. ปวดแผลฝีเย็บ Pain score = 7 คะแนน

2.2.2.2.1. การพยาบาล

2.2.3. คลำพบลอนนิ่ม บริเวณระดับสะดือ หลังคลอดยังไม่ถ่ายปัสสาวะ

2.2.3.1. จากข้อมูลที่ตึกหลังคลอด พยาบาลคลาพบลอนน่ิมบริเวณระดับสะดือ ภายหลังคลอดมารดายังไม่ ถ่ายปัสสาวะ ถือเป็นภาวะปกติหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

2.2.3.1.1. คลำพบลอนนิ่ม เป็นภาวะที่ผิดปกติ เนื่องจากมดลูกสามารถคลำได้ทางหน้าท้อง ที่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย และต้องมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ขนาดของก้อนจะเล็กลงเรื่อยๆ โดยเฉลี่ยประมาณวันละ ½ นิ้ว เรียกว่า มดลูกเข้าอู่ (Involution)

2.2.3.1.2. ภายหลังคลอดมารดายังไม่ถ่ายปัสสาวะ เป็นภาวะปกติเนื่องจากภายหลังทารกคลอดออกมาแล้ว มดลูกหดรัดตัวเล็กลงและจากที่ส่วนนำของทารกมากดระหว่างการคลอด คือผนังกระเพาะปัสสาวะด้านในจะบวม มีเลือดคั่งมีเลือดออกใต้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะและยังไม่ไวต่อการกระตุ้นจากแรงดันจากปัสสาวะ จึงทำให้มารดาหลังคลอดไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะทั้งที่กระเพาะปัสสาวะยืดขยายมากแล้ว

2.2.4. V/S BP 120/88 mmHg PR 100 ครั้งต่อนาที RR 18 ครั้งต่อนาที BT 38 องศา

2.2.4.1. จากข้อมูลแรกรับท่ีตึกหลังคลอดสัญญาณชีพของมารดารายนี้เป็นอย่างไร

2.2.4.1.1. BP:120/88mmHG แปลผล ปกติเนื่องจากภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด ค่าความดัน systolic และ diastolic อาจสูงขึ้นหรือลดลงได้เล็กน้อย

2.2.4.1.2. PR : 100 ครั้ง/นาที ค่าปกติ 50-60 ครั้ง/นาที แปลผลผิดปกติ เนื่องจากมีภาวะสูญเสียเลือด Estimate blood loss 300 ml

2.2.4.1.3. RR : 18 ครั้ง/นาที แปลผลปกติ ในมารดาหลังคลอดอาจมีการหายใจที่ช้าลงเล็กน้อยจากการลดขนาดของมดลูก มีผลทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง

2.2.4.1.4. BT : 38 องศาเซลเซียส แปลผลปกติ เนื่องจากภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด อุณหภูมิอาจสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส เนื่องจากการสูญเสียน้ำซึ่งมีผลจากการคลอด เรียกภาวะนี้ว่า reactionary fever

2.2.4.2. จงอธิบายและควรให้ การพยาบาลอย่างไร

2.2.4.2.1. การพยาบาล

2.3. หลังคลอด2วัน

2.3.1. ปวดแผลฝีเย็บ Pain score = 5 คะแนน

2.3.2. คลำพบมดลูกกลมแข็งต่ำกว่าระดับสะดือ 1 นิ้ว น้ำคาวปลาสีแดงจางๆ

2.3.2.1. การพยาบาล

2.3.2.1.1. 1.แนะนำให้มารดาใส่ผ้าอนามัยรองรับเลือดที่ออกทางช่องคลอด และเปลี่ยนเมื่อชุ่ม(บันทึกปริมาณเลือดที่ออกก่อนทิ้ง)

2.3.2.1.2. 2.มารดาหลังคลอดควรจะอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งไม่ควรอาบน้าโดยการแช่ลงใน อ่างหรือแม่น้ำล้าคลองเพราะจะติดเชื้อเข้าไปทางช่องคลอดสู่โพรงมดลูกได้ง่ายและควรเปลี่ยนเสื้อผ้าให้สะอาด ด้วย

2.3.2.1.3. 3. การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ต้องแนะนำให้มารดาหลังคลอดท้าความสะอาดโดยใช้สบู่และน้ำสะอาด ซับให้แห้งอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและภายหลังการขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะทุกครั้งวิธีปฏิบัติให้ท้าความสะอาด จากด้านหน้าไปด้านหลังซับจากบนลงล่างไม่ย้อนขึ้นลงและไม่ให้ถูกทวารหนัก

2.3.3. SD:น้ำนมของตนเองมีสีเหลือง

2.3.3.1. ขณะที่มารดาแจ้งว่าไม่อยากให้ลูกดูดนมสีเหลือง พยาบาลจะให้คำแนะนำมารดารายนี้อย่างไร

2.3.3.1.1. อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของน้ำนมเหลืองหรือColostrum มีส่วนประกอบของภูมิคุ้มกันสูง ลดการเจริญเติบโต และลดการยึดเกาะของแบคทีเรียในลำไส้ และระบบทางเดินหายใจ ให้ เม็ดเลือดขาวจับกินได้ง่าย มีเอนไซม์ช่วยย่อยผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของผนังลำไส้และเพิ่มการเคลื่อนไหวของ ลำไส้และป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด

2.3.4. SD: "ไม่อยากให้ลูก ดูดนม"

2.3.5. SD: “เมื่อทารกดูดนมข้างซ้าย จะมีน้ำนมไหลจาก เต้านมข้างขวาด้วย และมีอาการปวดมดลูกขณะทารกดูดนม”

2.3.5.1. ให้คำแนะนำ

2.3.5.1.1. เป็นปฏิกิริยาสะท้อนเล็ตดาวน์เกิดขึ้นซึ่ง ขณะที่ทารกดูดนมมารดาจะมีน้ำนมหยดจากหัวนมของเต้านมด้านตรงกันข้ามสาเหตุจากน้ำนมในถุงน้ำนม ถูกบีบออกมาสู่ท่อน้ำนมที่มีน้ำนมขังอยู่เต็มต้องระบายออกทางรูเปิดที่หัวนม

2.3.5.2. การพยาบาล

2.3.5.2.1. 1.ลดความวิตกกังวลของมารดาโดยอธิบายให้ทราบว่าอาการเต้านมคัดจะเกิดขึ้นได้และหายไปในเวลา 1 – 2 วันและห้ามบีบหรือปั๊มน้ำนมออกโดยเด็ดขาด

2.3.5.2.2. 2.ให้ทารกดูดนมได้ตามปกติเพื่อช่วยให้เกิดการหลั่งของน้ำนมและสร้างน้ำนมเร็วขึ้น

2.3.5.2.3. 3.ถ้ามีอาการปวดมากให้ประคบด้วยความร้อนสลับความเย็นและให้ยาบรรเทาปวดตามแนวการรักษาของ แพทย์

2.3.5.2.4. 4. ใส่เสื้อยกทรงเพื่อประคองเต้านมไว้ระยะต่อมาประมาณ 3 – 4 วันหลังคลอดเต้านมคัดเกิดจากน้ำนมคั่งค้าง เต้านมมีลักษณะแข็งแต่ไม่มากมารดามักมีอาการเจ็บตึงที่เต้านม การแก้ไขอาการเต้านมคัดในระยะนี้สามารถกระท้าได้โดยการให้ทารกดูดนมออกอย่างสม่ำเสมอและอาจช่วย บีบหรือปั๊มน้ำนมออกบางส่วนจะช่วยได้มากและหลังจากทารกดูดนมเสร็จให้ใส่ยกทรงพยุงเต้านมไว้หากมี อาการปวดมากให้ใช้ความร้อนสลับกับความเย็นหรือให้ยาบรรเทาปวดตามแนวการรักษาของแพทย์

2.3.6. มารดามีสีหน้าวิตกกังวล หงุดหงิดง่าย บางคร้ัง ร้องไห้คนเดียว

2.3.6.1. การพยาบาล

2.3.6.1.1. 1.ดูแลช่วยเหลือ ประคับ ประคองและตอบสนองความ ต้องการของมารดาหลังคลอดทางด้านร่างกายในเรื่อง ของการ รับประทานอาหารการพักผ่อน การรักษา ความสะอาดของร่างกายการขับ ถ่ายการทำกิจกรรม ต่างๆ ลดภาวะไม่ สุขสบายต่างๆ รวมทั้งการประคับประคองทางด้านจิตใจ

2.3.6.1.2. 2.ให้การพยาบาลในท่าทีที่อบอุ่น เห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกเป็นอย่างดีด้วย ความจริงใจ

2.3.6.1.3. 3.เปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดได้ระบายความรู้สึก และรับฟัง ด้วยความสนใจ จะช่วยให้มารดาหลังคลอดสบายใจขึ้น

2.3.6.1.4. 4.พยาบาลควรอธิบายให้สามีและญาติเข้าใจถึง ความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ของมารดาหลังคลอด สนับสนุนให้มารดาหลังคลอด ได้พูดคุยกับสามี ญาติรวมทั้งมารดาหลังคลอด รายอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ ประสบการณ์

2.3.6.1.5. 5.สังเกตอาการผิดปกติทางด้านจิตใจที่อาจจะ เกิดขึ้นให้ความสนใจทั้งค้าพูดและพฤติกรรม ที่แสดงออก เพื่อประเมินสภาพจิตใจ ละให้ การพยาบาลช่วยเหลือแต่เนิ่นๆก่อนที่อาการ ทางจิตจะ รุนแรงมากขึ้น

2.3.6.2. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum Blue) ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์เศร้า อ่อนเพลียหลังจากการคลอด มีการร้องไห้เป็นพักๆ อารมณ์ แกว่งๆ มีความวิตกกังวล หรืออาจมีความรู้สึกไม่อยากทำอะไรคงอยู่นานกว่า 2 สัปดาห์ และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการเลี้ยงดูทารก

2.3.7. เมื่อลูกร้องจะเรียกสามีมาดูลูก ไม่กล้าจับลูก

2.3.7.1. การส่งเสริมบทบาทบิดา

2.3.7.1.1. 1.ช่วยอาบน้ำลูก

2.3.7.1.2. 2. ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก

2.3.7.1.3. 3. ช่วยอุ้มลูกในท่าต่างๆ เช่น การอุ้มเรอ การปลอบลูก

2.3.7.1.4. 4. การอุ้มลูกคุณพ่อควรพูดคุยกับลูกเบาๆ ร้องเพลง หรือเล่านิทานให้ลูกฟัง จะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของลูก

2.3.7.1.5. 5. ขณะแม่ให้นมลูก คุณพ่อควรดูแลให้คุณแม่อยู่ในท่าที่สบาย บางครั้งอาจช่วย นวดบริเวณไหล่หรือเสริมเครื่องดื่มให้คุณแม่บ้าง เพื่อให้แม่มีกำลังใจน้ำนมจะไหลมากขึ้น

2.3.7.1.6. 6. เข้ารับฟังคำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การปฏิบัติตัวหลังคลอดร่วมกับแม่

2.3.8. SD: “ทำไม่ถูก กลัวลูกจมน้ำ”

2.3.8.1. การปรับตัวด้านจิตสังคม

2.3.8.1.1. เหมาะสม เพราะการปรับตัวของมารดาอยู่ในระยะที่1 คือระยะสนใจแต่ความต้องการของตเอง(Taking-in Phase) เกิดขึ้นในช่วง 1-2 วันแรก หลังคลอด โดยมารดาจะพฤติกรรมพึ่งพาผู้อื่นมากที่สุดและไม่ต้องการทำสิ่งต่าง ๆด้วยตนเอง มารดาจะสนใจแต่ความต้องการของตนเองในเรื่องการนอนหลับพักผ่อน การรับประทานอาหาร เพื่อชดเชยพลังงานที่เสียไปในการคลอดมากกว่าจะคิดถึงความต้องการของทารก เพราะมารดามีความไม่สุขสบายจากการคลอดบุตร

2.3.8.1.2. การพยบาล

2.4. หลังคลอด3วัน

2.4.1. สังเกตเห็นมีตุ่มน้าบริเวณหัวนมข้างขวา มีรอยแตก และมีเลือดซึมๆ

2.4.2. SD: เจ็บตอนที่ทารกดูดและตอนน้ีตนเองรู้สึกหนักเต้านม คลำได้ก้อนและรู้สึกร้อนๆ บริเวณเต้านมข้างขวา

2.5. หลังคลอด6 สัปดาห์

2.5.1. SD: “ตนเองเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สลับกับนมผสม ที่ให้นมผสมร่วมด้วยเพราะรู้สึกว่าน้ำนมไหลน้อย ลูกดูดนมตนเองบ้าง บางคร้ังก็ไม่ดูด มีสะบัด หน้าหนีเมื่อเอาหัวนมแม่เข้าปาก”

2.5.1.1. หลักการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยแม่เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดารายนี้

2.5.1.1.1. เป็นภาวะปกติหลังคลอดบุตร มดลูกจะมีขนาดเล็กลงทันที สามารถคลำมดลูกต่ำกว่าระดับสะดือ มีลักษณะกลมและแข็ง และการที่มารดาหลังคลอดมีเลือดและน้ำคาวปลาถือเป็นภาวะปกติ 1 – 3 สัปดาห์หลังคลอดน้ำคาวปลามีสีแดงเรียกกว่า Lochia rubra

2.5.1.1.2. 1.การประเมินลักษณะทั่วไปและความต้องการ ของมารดาและทารก เพื่อทราบถึงข้อจํากัด หรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

2.5.1.1.3. 2. ให้ความรู้เข้าใจความเสี่ยงของการให้อาหารชนิดอื่นที่ไม่ใช่นมแม่กับทารกในช่วง 6 เดือนความสําคัญ ของการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่อย่างเดียวผลเสียของการเลี้ยงลูกด้วยนมผสม การให้อาหารตามวัยควบคู่กับนมแม่

2.5.1.1.4. 3.การกําหนดแนวทางปฏิบัติการช่วยเหลือ การแก้ไขปัญหาเพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือได้

2.5.1.1.5. 4.การสอนอิธบายในการจัดท่าให้นมทารก การจัดท่าให้นมทารก ท่าอุ้มให้นมของมารดา

2.5.1.1.6. 5.การจัดสิ่งแวดล้อมให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกัน ตลอด 24 ชม. และแนะนําให้มารดาให้ทารก ดูดนมบ่อยตามต้องการ คือ ประมาณวัน ละ 8 – 12 ครั้ง หรือทุก 2 – 3 ชม.