Get Started. It's Free
or sign up with your email address
แผนที่ by Mind Map: แผนที่

1. 1. แผนที่และองค์ประกอบของแผนที่

1.1. แผนที่ (map)

1.1.1. คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณ ๆ หนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ บนพื้นผิวโลกทั้งที่เกิดตามธรรมชาติ

1.1.1.1. เช่นแม่น้ำ ภูเขา ทะเล และมนุษย์สร้างขึ้น

1.2. แผนที่ฐาน (base map)

1.2.1. คือ การอ้างอิงระบบพิกัดของแผนที่ให้ถูกต้องตรงกับสภาพความเป็นจริงบนพื้นโลก กำหนดทิศทาง มาตราส่วนการแสดงสัญลักษณ์ต่างๆ ให้สื่อออกมาสอดคล้องกับความเป็นจริง

1.2.1.1. ในประเทศไทยนิยมใช้แผนที่ที่ผลิต โดยกรมแผนที่ทหาร นำมาใช้งานและเป็นแผนที่อ้างอิงประกอบ โดยแบ่งเป็น 2 มาตราส่วน คือ

1.2.1.1.1. 1. มาตราส่วนเล็ก 1 : 250,000 หรือแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด 1501S

1.2.1.1.2. 2. มาตราส่วนใหญ่ 1 : 50,000 หรือแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด L7017

1.3. 1.1 ชนิดของแผนที่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1.3.1. 1. แผนที่ภูมิประเทศ (topographic map)

1.3.1.1. เป็นแผนที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองลักษณะของผิวโลกหรือบางส่วนของพื้นที่บนผิวโลก

1.3.1.1.1. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา ที่ราบสูง แม่น้ำ ทะเล

1.3.1.1.2. และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมืองพื้นที่เกษตรกรรม อ่างเก็บน้ำ ถนน

1.3.1.1.3. จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร

1.3.2. 2. แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic map)

1.3.2.1. เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลหลักเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

1.3.2.1.1. เช่น แผนที่ประชากร แผนที่อากาศ แผนที่ป่าไม้ แผนที่ท่องเที่ยว

1.3.2.1.2. 2.1 แผนที่ท่องเที่ยว เน้นข้อมูลด้านการเดินทาง

1.3.2.1.3. 2.2 แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม เพื่อแสดงรายละเอียดของเส้นทางคมนาคมเป็นหลัก

1.3.2.1.4. 2.3 แผนที่ธรณีวิทยา แสดงการกระจายตัวของหินกลุ่มต่าง ๆ ที่โผล่ให้เห็นบนพื้นผิว ทำให้ทราบถึงขอบเขตของหิน อายุของหิน หมวดหิน และชนิดหินในพื้นที่ นอกจากนี้ยังแสดงลักษณะการวางตัวของชั้นหิน ซากดึกดำบรรพ์ และธรณีโครงสร้าง

1.3.2.1.5. 2.4 แผนที่การใช้ที่ดิน แผนที่นี้แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะด้านการเกษตร

1.4. 1.2 องค์ประกอบของแผนที่

1.4.1. แผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ระวาง (sheet) มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ

1.4.1.1. 1. เส้นขอบระวาง

1.4.1.1.1. เป็นเส้นที่แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.4.1.2. 2. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง

1.4.1.2.1. คือ สิ่งต่าง ๆ ที่แสดงไว้บนแผนที่ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ ของแผนที่ เช่น

1.4.1.3. 3. องค์ประกอบภายในขอบระวาง

1.4.1.3.1. คือ รายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ภายในเส้นขอบระวางแผนที่ ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบภายนอกขอบระวาง ประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

1.5. 1.3 ประโยชน์ของแผนที่

1.5.1. 1. ใช้ในชีวิตประจำวัน

1.5.1.1. เช่น ใช้แสดงเส้นทางคมนาคมในการเดินทาง

1.5.2. 2. ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว

1.5.2.1. แผนที่มีประโยชน์ในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว การวางแผนการท่องเที่ยว รวมถึงการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว

1.5.3. 3. ใช้ในการรายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติ

1.5.3.1. เช่น แผนที่แสดงอุณหภูมิ แผนที่แสดงการเคลื่อนที่ของพายุ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

1.5.4. 4. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนสร้างระบบสาธารณูปโภค

1.5.4.1. เช่น วางแผนการตัดถนน วางระบบโทรคมนาคม วางสายไฟฟ้า วางท่อประปา การสร้างเขื่อน

1.5.5. 5. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น

1.5.5.1. แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากร

1.5.5.2. แผนที่แสดงแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจ

1.5.5.2.1. ซึ่งช่วยทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

1.5.6. 6. ใช้ในกิจการทางทหาร

1.5.6.1. โดยนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนทางยุทธศาสตร์

1.5.6.1.1. เช่น การเลือกตั้งที่ค่ายทหาร การทิ้งระเบิดโจมตีทางอากาศ

1.5.7. 7. ใช้ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1.5.7.1. เช่น ใช้เป็นข้อมูลในการสำรวจและปักปันเขตแดน

1.5.8. 8. ใช้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่ เช่น

1.5.8.1. ศึกษาชนิดของดิน คุณภาพของดิน พื้นที่ป่าไม้

1.5.8.2. ศึกษาด้านธรณีวิทยา

1.5.8.2.1. เช่น โครงสร้างชั้นหิน แหล่งทรัพยากรเชื้อเพลิง ทรัพยากรแร่ ชนิดของหิน รอยเลื่อน

2. 2. แผนที่ภูมิประเทศ

2.1. แผนที่ภูมิประเทศ (topographic map) เป็นแผนที่ แสดงข้อมูลรายละเอียดของผิวโลกที่เกี่ยวกับภูมิลักษณ์แบบต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น แผนที่ภูมิประเทศแสดงความสูงต่ำของผิวโลกด้วยเส้นชั้นความสูง (contour line) และหมุดระดับ (bench mark)

2.1.1. ส่วนใหญ่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร

2.1.2. แผนที่ภูมิประเทศที่ใช้กันมากมี 2 มาตราส่วน ได้แก่

2.1.2.1. แผนที่มาตราส่วนเล็ก คือมาตราส่วน 1 : 250,000

2.1.2.2. แผนที่มาตราส่วนใหญ่ คือ มาตราส่วน 1 : 50,000

3. 3. แผนที่ธรณีวิทยา

3.1. แผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) คือ แผนที่ซึ่งแสดงการกระจายตัวและลักษณะการวางตัวของหินแข็งที่โผล่บริเวณผิวโลก (outcrop) หรือของหน่วยหิน (rock unit) แผนที่ชนิดนี้ส่วนมากจะจัดทำโดยกรมทรัพยากร-ธรณีของประเทศนั้น ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางธรณีวิทยาต่อไป

3.1.1. องค์ประกอบสำคัญของแผนที่ธรณีวิทยา มี 3 ส่วน คือ

3.1.1.1. 1. ตัวแผนที่ธรณีวิทยา

3.1.1.1.1. แสดงขอบเขตของหน่วยหิน จุดแสดงตำแหน่ง และสัญลักษณ์แสดงโครงสร้างทางธรณีวิทยา

3.1.1.2. 2. คำอธิบายเครื่องหมายแผนที่ (explanation key หรือ legend)

3.1.1.2.1. ซึ่งอธิบายความหมายของสัญลักษณ์หรือสีที่ใช้แสดงหินแต่ละหน่วย โดยจัดให้หน่วยหินที่มีอายุมากที่สุดอยู่ล่างสุดเสมอ

3.1.1.3. 3. ภาคตัดขวางทางธรณีวิทยา (geologic cross section)

3.1.1.3.1. คือ ภาคตัดขวางของพื้นที่บริเวณหนึ่งในแผนที่ แสดงรูปด้านตัดของภูมิประเทศ (topographic profile) โดยจะแสดงการวางตัวของหน่วยหินต่าง ๆ และโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ลึกลงไปจากผิวโลก หรือข้อมูลธรณีวิทยาใต้ดินเพื่อให้เห็นรายละเอียดทางธรณีวิทยาตามแนวที่ต้องการอย่างสมบูรณ์ ภาคตัดขวางนี้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ธรณีวิทยา หรืออาจแยกมาใช้ประกอบในการออกแบบงานทางวิศวกรรมและการพัฒนาทรัพยากรต่าง ๆ