รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ by Mind Map: รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้

1. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Coperative Learning)

1.1. แนวคิด

1.1.1. การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ สมาชิก ใน กลุ่มมีความสามารถแตกต่างกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและ กันมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตน และส่วนรวม มีเป้าหมายร่วมกัน การติดต่อสัมพันธ์กัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

1.2. 1.แบบ Jigsaw

1.2.1. เป็นการสอนที่อาศัยแนวคิดการต่อภาพ การสอนแบบนี้ นักเรียนแต่ละคนจะได้ศึกษาเพียง ส่วนหนึ่งหรือหัวข้อย่อยของเนื้อหาทั้งหมด โดยการศึกษาเรื่อง นั้นๆ จากเอกสารหรือกิจกรรมที่ครูจัดให้ ในตอนที่ ศึกษาหัวข้อย่อยนั้น นักเรียนจะทำงานเป็นกลุ่ม กับเพื่อน ที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกัน และ เตรียมพร้อม ที่จะกลับไปอธิบายหรือสอน เพื่อนสมาชิกในกลุ่มพื้นฐานของตนเอง

1.3. 2. แบบ Stad

1.3.1. การให้รางวัลเป็นทีม

1.3.2. การจัดสภาพการณ์ให้เกิดความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้

1.3.3. การจัดให้มีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะประสบความสำเร็จ

1.4. 3. แบบ LT

1.4.1. เป็นการสอนที่มีการกำหนดสถานการณ์และเงื่อนไขให้นักเรียนทำผลงานเป็นกลุ่ม ให้นักเรียนแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและแบ่งปันเอกสาร การแบ่งงานที่เหมาะสม และการให้รางวัลกลุ่ม หลักการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ

1.4.1.1. 1.สร้างความรู้สึกพึ่งพากัน

1.4.1.2. 2.จัดให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน

1.4.1.3. 3.จัดให้มีความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้

2. แนวคิด

2.1. เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้าง ความรู้และ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีความหมายต่อตนเอง จากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการคิด และการแสวงหาความรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง ให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ และประสบการณ์ด้วยตนเอง โดยมี ครูผู้สอน เป็นผู้จัดโอกาส บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

2.1.1. 1.ขั้นแนะนำ

2.1.1.1. เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายของบทเรียน

2.1.2. 2.ขั้นทบทวนความรู้เดิม

2.1.2.1. เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความรู้ ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ในเรื่องที่กำลัง จะเรียนรู้

2.1.3. 3.ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด

2.1.3.1. เป็นขั้นที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ ตามกระบวนการสร้างความรู้ตาม กระบวนการ สร้างความรู้ที่ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้

2.1.3.1.1. สร้างความกระจ่างและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน

2.1.3.1.2. สร้างความคิดใหม่จากการอภิปรายร่วมกัน และสาธิตแสดงให้เห็นจนทำให้ผู้เรียน สามารถกำหนดความคิด หรือความรู้ใหม่ขึ้นได้

2.1.3.1.3. การประเมินความคิดใหม่ โดยการทดลอง หรือใช้กระบวนการคิด คิดอย่างไตร่ตรอง ลึกซึ้ง และประเมินคุณค่า

2.1.3.1.4. การนำความคิดไปใช้ ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ความคิด หรือความรู้ ความเข้าใจในการ พัฒนาการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

2.1.4. 4.ขั้นทบทวน

2.1.4.1. เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ผู้เรียนจะได้ทบทวนความคิด ความเข้าใจ โดยการเปรียบเทียบ ระหว่างความคิดเดิมกับความคิดใหม่ ผลที่เกิดกับผู้เรียน

3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์

3.1. แนวคิด

3.1.1. เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ตรง ที่ทำ ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดกับหลักการต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่าง เป็นองค์รวม

3.2. แนวทางการจัดการเรียนรู้

3.2.1. 1.การเรียนรู้จากประสบการณ์โดยการกระตุ้นแนะนำ เรื่องที่จะเรียนโดยใช้ประสบการณ์ หรือกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด เร้าให้ผู้เรียนอยากเห็น อยากเรียนรู้

3.2.2. 2. การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ข้อเท็จจริง โดยเชื่อมโยงความอยากรู้ อยากเห็น อยากเรียนรู้ ของ ผู้เรียนจากประสบการณ์เดิม สู่การค้นคว้า แสวงหาความรู้ใหม่ หรือแนวคิด ทฤษฎีใหม่ตาม ธรรมชาติของแต่ละ กลุ่มสาระการเรียนรู้

3.2.3. 3.การฝึกปฏิบัติ ในขั้นนี้เป็นการฝึกปฏิบัติด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะความ ชำนาญมากยิ่งขึ้น

3.2.4. 4.การนำไปใช้หรือขยายผลเป็นขั้นการนำข้อค้นพบ ในขั้นฝึกปฏิบัติไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ

3.3. ผลที่เกิดกับผู้เรียน

3.3.1. ช่วยพัฒนาทักษะการคิดบนพื้นฐานของการสืบค้นข้อเท็จจริงอย่างมีเหตุมีผลรู้จักหาข้อมูล ทฤษฎี หลักการมาสนับสนุนสิ่งที่ค้นพบ

4. บทบาทของครู

4.1. 1. ครูสร้างบรรยากาศในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง กล้าคิดกล้าแสดงออก

4.2. 2.จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ตลอดจนสื่อต่างๆ เช่น เพลง และ คำคล้องจอง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด จินตนาการ ในการที่จะเชื่อมโยงกับ เหตุการณ์ประจำวัน

4.3. 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียนในขณะที่ผู้เรียนท ากิจกรรมด้วย การสนทนาซักถาม กระตุ้นให้แรงเสริมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีกำลังใจทำงานและมี ความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็น

4.4. 4.ให้แรงเสริมในทางบวกขณะที่ผู้เรียนออกมานำเสนอผลงาน และแนะนำอำนวยความ สะดวกต่าง ๆ เมื่อผู้เรียนต้องการ

4.5. 5.สังเกตและจดบันทึกตามแบบบันทึก

5. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี

5.1. แนวคิด

5.1.1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าขณะนี้มี เทคโนโลยี มีความกว้าหน้าก้าวไกลไปในลักษณะรูปแบบใดบ้าง ทั้งทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีใหม่ๆให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการใช้เทคโนโลยี มาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของตนเองและงาน

5.2. แนวการจัดการเรียนรู้

5.2.1. 1.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนเกิดความรู้

5.2.2. 2.จัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ ทุก ๆ ด้านที่ ผู้เรียนต้องการ

5.2.3. 3.จัดกิจกรรมทั้งใน และนอกหลักสูตร

5.2.4. 4.ปรับกระบวนการเรียนการสอน และเทคนิคการสอนของครู ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของ การจัดการศึกษา

5.3. ผลที่เกิดกับผู้เรียน

5.3.1. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะการใช้ เทคโนโลยี ในการสร้างความรู้ และพัฒนางาน บูรณาการการใช้เทคโนโลยีกับการวิเคราะห์ปัญหาและ การทำงาน เป็นทีมพัฒนาคุณค่าทัศนคติ และจริยธรรมในเชิงบวกในการใช้เทคโนโลยีพัฒนาคุณภาพ ชีวิต

6. การศึกษาเป็นรายบุคคล

6.1. แนวคิด

6.1.1. การจัดการเรียนการ สอนรายบุคคล หรือการจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ (แบบเอกัตบุคคล) หรือ การเรียนด้วยตนเอง โดยยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยมุ่งจัดสภาพการเรียนการสอนที่จะเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสามารถความสนใจและความพร้อม

6.2. เทคนิค

6.2.1. เทคนิคการใช้ Concept Mapping

6.2.1.1. มีหลักการใช้ตรวจสอบความคิดของผู้เรียนว่า คิดอะไร เข้าใจ สิ่ง ที่เรียนอย่างไร แล้วแสดงออกมาเป็นกราฟิก

6.2.2. เทคนิค Learning Contracts

6.2.2.1. สัญญาที่ผู้เรียนกับผู้สอนร่วมกันกำหนด เพื่อใช้เป็นหลักยึดในการ เรียนว่าจะเรียนอะไร อย่างไร เวลาใด ใช้เกณฑ์อะไรประเมิน

6.2.3. เทคนิค Know-Want-Learned

6.2.3.1. ใช้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ผสมผสานกับ การใช้ Mapping ความรู้เดิม

6.2.4. เทคนิคกระบวนการกลุ่ม (Group Process)

6.2.4.1. เป็นการเรียนที่ท าให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกัน แลกเปลี่ยน ความรู้ความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์

7. การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน Brain-based Learning

7.1. แนวคิด

7.1.1. เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้สมองทั้งสอง ซีกซ้ายและซีกขวา เกิดการเรียนรู้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับสติปัญญาของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการ และวิธีการที่ หลากหลายอย่างเหมาะสม

7.2. หลักการทำงานของสมอง

7.2.1. 1.สมองนั้นทำงานพร้อมกันหลายๆ ส่วน ซึ่งสมอง จะเกิดการเรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งเร้าอย่างหลากหลาย

7.2.2. 2.ศักยภาพในการเรียนรู้นั้นมีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเจริญเติบโต บุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย และ สภาวะอารมณ์

7.2.3. 3. ความสงสัยใคร่รู้เป็นสิ่งที่มีมาตามธรรมชาติ และติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งสมองนั้นก็ถูกออกแบบมา เพื่อรับรู้ และขบคิดเพื่อค้นหาคำตอบ

7.2.4. 4.การค้นหาคำตอบของมนุษย์เป็นกิจกรรมที่เป็นรูปแบบ

7.2.5. 5.อารมณ์ความรู้สึกไม่ได้แยกออกจากการเรียนรู้ซึ่งมีความสำคัญมาก ต่อการจดจำข้อมูล รวมไปถึง การเรียกใช้ข้อมูล

7.2.6. 6.สมองแต่ละส่วนนั้นทำงานทั้งแบบเฉพาะด้านและประสานสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ

7.2.7. 7.การเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้เรียนสนใจและใส่ใจในการเรียนร

7.2.8. 8.การเรียนเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก

7.2.9. 9.มนุษย์มีความทรงจำ 2 ประเภท คือ ทั้งความทรงจำที่มาจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน และความทรงจำที่มาจากการท่องจำ

7.2.10. 10.ความเข้าใจที่ดีของสมองจะเกิดจากข้อมูล และทักษะจากความทรงจำที่มาจากประสบการณ์จริง

7.2.11. 11.แรงเสริมทางบวกมีผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่ถ้าผู้เรียนได้รับสิ่งไม่พึงพอใจจากการคุกคาม ทาง ความรู้สึก ความเครียดและความวิตกกังวล ก็จะทำให้สมองไม่เกิดการเรียนรู้

7.2.12. 12.สมองของมนุษย์นั้นมีความแตกต่างกัน แต่โครงสร้างสมองของแต่ละคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้