วิทยาศาสตร์กายภาพ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
วิทยาศาสตร์กายภาพ by Mind Map: วิทยาศาสตร์กายภาพ

1. ม.5

1.1. ตัวชี้วัด

1.1.1. อธิบายการแพร่ของแก๊สโดยใช้ทฤษฎีจลน์ ของแก๊ส คำนวณและเปรียบเทียบอัตรา การแพร่ของแก๊ส โดยใช้กฎการแพร่ผ่านของ เกรแฮม

1.2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1.2.1. • แก๊สสามารถแพร่ได้การแพร่ของแก๊สอธิบาย ได้ด้วยทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ที่อุณหภูมิเดียวกัน แก๊สจะแพร่ได้ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับมวลโมเลกุล ของแก๊ส อัตราการแพร่ของแก๊สเป็นสัดส่วน ผกผันกับรากที่สองของมวลโมเลกุลของแก๊ส สัมพันธ์กับกฎการแพร่ผ่านของเกรแฮม

2. ม.5

2.1. ตัวชี้วัด

2.1.1. สืบค้นข้อมูล นำเสนอตัวอย่าง และอธิบายการ ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติและกฎต่าง ๆ ของแก๊สในการอธิบายปรากฏการณ์หรือ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรม

2.2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

2.2.1. • สมบัติและกฎต่าง ๆ ของแก๊สสามารถนำไปใช้ อธิบายปรากฏการณ์หรือประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันและในอุตสาหกรรม

3. ม.5

3.1. ตัวชี้วัด

3.1.1. . เขียนแผนภาพ และอธิบายทิศทางการชนกัน ของอนุภาคและพลังงานที่ส่งผลต่ออัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมี

3.2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

3.2.1. • ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออนุภาคของ สารตั้งต้นชนกันในทิศทางที่เหมาะสมและมี พลังงานอย่างน้อยเท่ากับพลังงานก่อกัมมันต์ ดังนั้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจึงขึ้นกับทิศทางการชน และพลังงานที่เกิดจากการชน

4. ม.5

4.1. ตัวชี้วัด

4.1.1. ยกตัวอย่าง และอธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน หรืออุตสาหกรรม

4.2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

4.2.1. ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมีสามารถนำมาใช้อธิบายกระบวนการ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรมส

5. ม.5

5.1. ตัวชี้วัด

5.1.1. คำนวณ และเปรียบเทียบความสามารถ ในการแตกตัวหรือความแรงของกรดและเบส

5.2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

5.2.1. • กรดและเบสแต่ละชนิดสามารถแตกตัวในน้ำได้ แตกต่างกัน กรดแก่หรือเบสแก่สามารถแตกตัว เป็นไอออนในน้ำได้เกือบสมบูรณ์ส่วนกรดอ่อน หรือเบสอ่อนแตกตัวเป็นไอออนได้น้อย โดยความสามารถในการแตกตัวหรือความแรง ของกรดหรือเบสอาจพิจารณาได้จากค่าคงที่ การแตกตัวของกรดหรือเบส หรือปริมาณ การแตกตัวเป็นร้อยละของกรดหรือเบส

6. ม.5

6.1. ตัวชี้วัด

6.1.1. อธิบายความสัมพันธ์และคำนวณปริมาตร ความดัน หรืออุณหภูมิของแก๊สที่ภาวะต่าง ๆ ตามกฎของบอยล์กฎของชาร์ล กฎของ เกย์-ลูสแซก

6.1.2. คำนวณปริมาตร ความดัน หรืออุณหภูมิ ของแก๊สที่ภาวะต่าง ๆ ตามกฎรวมแก๊ส

6.2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

6.2.1. พฤติกรรมของแก๊ส และความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาตร ความดัน และอุณหภูมิของแก๊ส อธิบาย ได้ด้วยกฎของบอยล์กฎของชาร์ล กฎของ เกย์-ลูสแซก และกฎรวมแก๊ส ซึ่งสามารถนำมาใช้ ในการคำนวณปริมาตร ความดัน หรืออุณหภูมิ ของแก๊สที่ภาวะต่าง ๆ ได้

7. ม.5

7.1. ตัวชี้วัด

7.1.1. คำนวณปริมาตร ความดัน อุณหภูมิจำนวนโมล หรือมวลของแก๊ส จากความสัมพันธ์ตามกฎของ อาโวกาโดร และกฎแก๊สอุดมคต

7.2. สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม

7.2.1. • ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร และจำนวนโมล หรือมวลของแก๊ส อธิบายความสัมพันธ์ได้ด้วย กฎของอาโวกาโดร สำหรับความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาตร ความดัน อุณหภูมิและจำนวนโมล ของแก๊ส อธิบายได้ด้วยกฎแก๊สอุดมคติซึ่งสามารถ นำมาใช้ในการคำนวณและการอธิบายการ เปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับจำนวนโมลของแก๊ส ที่ภาวะต่าง ๆ ได้

8. ม.5

8.1. ตัวชี้วัด

8.1.1. ทดลอง และเขียนกราฟการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ของสารที่ทำการวัดในปฏิกิริยา

8.1.2. . คำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและเขียนกราฟ การลดลงหรือเพิ่มขึ้นของสารที่ไม่ได้วัด ในปฏิกิริยา

8.2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

8.2.1. • ปฏิกิริยาเคมีแต่ละปฏิกิริยามีอัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมีต่างกัน โดยอาจวัดจากการลดลง ของสารตั้งต้นหรือการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ ต่อหนึ่งหน่วยเวลา และหารด้วยเลขสัมประสิทธิ์ ของสารนั้น ๆในสมการเคมีเพื่อให้ได้อัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมีที่เท่ากันไม่ว่าจะเป็นการวัดจาก สารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ

9. ม.5

9.1. ตัวชี้วัด

9.1.1. ทดลอง และอธิบายผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว ของสารตั้งต้น อุณหภูมิและตัวเร่งปฏิกิริยาที่มี ต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

9.1.2. เปรียบเทียบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงความเข้มข้น พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น อุณหภูมิและตัวเร่งปฏิกิริยา

9.2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

9.2.1. • อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารหนึ่ง ๆ ขึ้นอยู่ กับความเข้มข้น พื้นที่ผิว อุณหภูมิตัวเร่งและ ตัวหน่วงปฏิกิริยา นอกจากนี้อัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมียังขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่ทำ ปฏิกิริยาด้วย

10. ม.5

10.1. ตัวชี้วัด

10.1.1. ระบุคู่กรด-เบสของสารตามทฤษฎีกรด-เบส ของเบรินสเตด-ลาวร

10.2. สาระการเรียนรู้แกนกลาง

10.2.1. • ตามทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด–ลาวรีมื่อ กรดหรือเบสละลายน้ำหรือทำปฏิกิริยากับสารอื่น จะมีการถ่ายโอนโปรตอนระหว่างสารตั้งต้น ที่เป็นกรดและเบส เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็น โมเลกุลหรือไอออนที่เป็นคู่กรด-เบสของ สารตั้งต้นนั้น โดยสารที่เป็นคู่กรด-เบสกันจะมี โปรตอนต่างกัน ๑ โปรตอน