การเก็บรวบรวมข้อมูล

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การเก็บรวบรวมข้อมูล by Mind Map: การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. 1. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ ที่สร้างแบบทดสอบกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเก็บข้อมูลข้อมูลก่อนการฝึก 2. นำผลการสอบกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์หาจำนวนคนที่อ่านผิด คิดเป็นร้อยละจากมากไปหาน้อย 3. นำแบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำที่สร้างจากกลุ่มตัวอย่าง และเนื่องตากมีเวลาจำกัด จึงสุ่มแบบฝึกทักษะการอ่านที่มีลักษณะไม่ซ้ำกัน แบบฝึกทักษะใช้เวลาในการฝึก 5 สัปดาห์ โดยผู้วิจัยเป็นผู้ฝึกด้วยตนเอง 4. นำแบบสอบการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำมาทดสอบตัวอย่างอีกครั้ง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลหลังการฝึก 5. นำแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นไปให้กลุ่มตัวอย่างกรอกนำผลมาวิเคราะห์เพื่อวัดเจตคติของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนการสอน

2. นการพิจารณาเลือกเครื่องมือและวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (ปาริชาติ สถาปิตานนท์,2546 : 163-165) 1. ลักษณะของปัญหาการวิจัยที่จะต้องชัดเจน ที่จะช่วยให้ทราบประเด็นสาคัญ กลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นกฎเกณฑ์เบื้องต้นในการเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อตอบปัญหาการวิจัย 2. กรอบแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้เห็นแนวทางของการวิจัยในประเด็นใด ๆ ในอดีตว่าใช้ระเบียบการวิจัยอย่างไรในการดาเนินการวัดตัวแปรนั้น ๆ 3. ระเบียบวิธีวิจัยที่แต่ละรูปแบบจะมีหลักการ ประเด็นคาถามและแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่แล้ว 4. หน่วยการวิเคราะห์ ได้แก่ บุคคล กลุ่มบุคคล วัตถุ ที่ใช้เป็น “เป้าหมาย” ในการดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวแปรที่กาหนดตามเครื่องมือและวิธีการที่สอดคล้องกับหน่วยการวิเคราะห์ 5. ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อพิจารณาการใช้เวลาและงบประมาณในการวิจัย 6. คุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มตัวอย่าง อาทิ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กเล็กจะต้องใช้วิธีการสัมภาษณ์ หรือการสังเกตแทนการใช้แบบสอบถาม เป็นต้น ตัวอย่าง

3. 1. กาหนดข้อมูลและตัวชี้วัด เป็นการกาหนดว่าข้อมูลที่ต้องการมีอะไรบ้าง โดยการศึกษาและวิเคราะห์จากวัตถุประสงค์หรือปัญหาของการวิจัยว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่เป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม และตัวแปรที่เกี่ยวข้อง และจะใช้อะไรเป็นตัวชี้วัดจึงจะได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง 2. กาหนดแหล่งข้อมูล เป็นการกาหนดว่าแหล่งข้อมูลหรือผู้ให้ข้อมูลเป็นใครอยู่ที่ไหน มีขอบเขตเท่าไร ที่จะต้องกาหนดให้ชัดเจน และเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ แล้วจะต้องพิจารณาว่าแหล่งข้อมูลนั้น ๆ สามารถที่จะให้ข้อมูลได้อย่างครบถ้วนหรือไม่ 3. กาหนดกลุ่มตัวอย่าง เป็นการเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเหมาะสม และขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม 4.เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องเลือกใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม (แหล่งข้อมูล/ขนาดกลุ่มตัวอย่าง/การวิเคราะห์ข้อมูล) ประหยัด ได้ข้อมูลอย่างครบถ้วนมีมากเพียงพอและเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ 5. นาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้ เป็นการทดลองใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นหรือนาของคนอื่นมาใช้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก เพื่อนาข้อมูลมาวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพที่จะต้องปรับปรุงและแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมไว้และปรับเปลี่ยนวิธีการตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ได้รับข้อมูลกลับคืนมา มากที่สุด

4. ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล

5. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาเลือกเครื่องมือและวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล

6. การเก็บรวบรวมข้อมูล

7. หมายถึง กระบวนการที่จะได้ข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล และการรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิและ ปฐมภูมิ โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์ การสำรวจ การสังเกต การกรอกแบบสอบถาม รายงานและเอกสารต่าง ๆ

8. ลักษณะสำคัญของการการเก็บรวบรวมข้อมูล

8.1. 1. จะต้องสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ของการวิจัยอย่างครบถ้วน โดยหลังจากผู้วิจัยวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ควรพิจารณาว่าข้อมูลที่ได้มีความครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือไม่

8.2. 2.จะต้องสนองตอบต่อการวิจัยตามกรอบแนวคิดการวิจัยและใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้อย่างครบถ้วน

8.3. 3. จะต้องมีการดาเนินการด้วยความระมัดระวัง รอบคอบในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง

9. การเตรียมการสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลในการเก็บรวบรวมข้อมูล ควรได้มีการเตรียมการสาหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล

9.1. 1.วิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องดาเนินการตามแผนที่กาหนดไว้ โดยอาจใช้เครื่องมือประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือสองประเภท เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และสมบูรณ์มากที่สุด

9.2. 2.ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยใด ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีผู้วิจัยจะต้องเก็บรวมรวมข้อมูลด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นผู้ที่วางแผน และรู้เรื่อง/ข้อมูลที่จะเก็บรวบรวมได้ดีที่สุด แต่ถ้าในการวิจัยมีผู้ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องให้คาแนะนา หรือคาชี้แจงให้แก่ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลได้เข้าใจวิธีการและข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวม เพื่อให้การเก็บรวบรวมข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วนและปราศจากความลาเอียง

9.3. 3.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องทราบว่าเป็นใคร จานวน เท่าไร อยู่ที่ไหน ที่จะปรากฏในแผนการดาเนินการวิจัยที่จะต้องกาหนดให้ชัดเจนว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ หรือใช้ผู้ช่วยผู้วิจัย

9.4. 4.ลักษณะเฉพาะของผู้ให้ข้อมูล เป็นลักษณะของผู้ให้ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะต้องรับทราบว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเวลาที่จะให้แก่ผู้วิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล

9.5. 5.กาหนดระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องทราบว่าจะเก็บข้อมูลในช่วงใดที่สอดคล้องกับประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ควรจะต้องมีการวางแผนดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าจะใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเท่าไร ใช้งบประมาณและแรงงานในการเก็บรวบรวมข้อมูลมากน้อยเพียงใด

9.6. 6.จานวนข้อมูลที่ได้รับคืนจากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเฉพาะจากการจัดส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์จะต้องได้รับกลับคืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของแบบสอบถามที่จัดส่งทั้งหมด และถ้ารวมกับจานวนข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยตนเองจะมีการสูญหายของข้อมูลได้ไม่เกินร้อยละ 5 จึงจะเป็นข้อมูลที่เพียงพอและน่าเชื่อถือที่จะนามาวิเคราะห์สรุปผลการวิจัย

9.7. 7.การตรวจสอบความเรียบร้อยของข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อได้รับข้อมูลกลับคืนแล้วจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลว่ามีความครบถ้วนตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีการไม่ตอบในบางประเด็นอาจจะต้องมีการติดตามเป็นการเฉพาะรายบุคคลอย่างเร่งด่วน แต่ถ้าไม่สามารถดาเนินการได้หรือพิจารณาแล้วว่ามีความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลให้นาข้อมูลชุดนั้นออกจากการวิเคราะห์ข้อมูล