ความหมาย หลักการ แนวคิดและกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ความหมาย หลักการ แนวคิดและกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ by Mind Map: ความหมาย หลักการ แนวคิดและกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์

1. ความหมายของการคิดเชิงสร้างสรรค์

1.1. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2556) ได้กำหนดความหมายของความคิดเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่าหมายถึง การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

1.2. เพ็ญนิดา ไชยสายัณห์ (2559) อธิบายว่า ความคิดเชิงสร้างสรรค์หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ และการขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

1.3. กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์ และคณะ (2556) ประมวลและสรุปความหมายของความคิดเชิงสร้างสรรค์จากความคิดเห็นของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศไว้ว่า เป็นความคิดที่แปลกใหม่ นอกกรอบออกไปจากความคิดเดิม ๆ ในบางครั้งเป็นความคิดที่บูรณาการจากสิ่งเดิม ๆ ที่มีอยู่แล้วไปสู่สิ่งที่แปลกใหม่ หรือเป็นความคิดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

2. หลักการและความสำคัญ

2.1. การคิดเชิงสร้างสรรค์ กับ การสร้างสรรค์

2.1.1. การคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นนามธรรม เป็นการคิดเพื่อทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิมและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม ส่วนการสร้างสรรค์เป็นรูปธรรม เป็นการกระทำ เป็นผลผลิตจากการกระทำ

2.2. ความสำคัญของการคิดเชิงสร้างสรรค์

2.2.1. การพัฒนาศักยภาพด้านการคิดเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการคิดในมิติอื่น ๆ จะช่วยพัฒนาสติปัญญาของเราให้เป็นคนที่ฉลาด

2.2.2. การคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นความจำเป็นของนักบริหารที่มีภาวะผู้นำแห่งความสำเร็จ เราจะเห็นคนเก่ง คนดีหลายระดับที่ประสบความล้มเหลวเพราะขาดการคิดเชิงสร้างสรรค์และมองโลกในแง่ร้าย ทำให้เกิดความขลาดกลัวอย่างไม่มีเหตุผล ทำให้เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาเสียขวัญ เสียแรงจูงใจไปด้วย

2.2.3. การพัฒนาตนเองให้มีคิดเชิงสร้างสรรค์ทำให้เรามีความสามารถและความอดทนสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดแนวทางใหม่ ๆ ในการดำเนินชีวิตที่ดี เมื่อได้ผลลัพธ์เช่นนี้ก็จะทำให้เรามีความเชื่อมั่นในตนเอง ความนับถือตนเอง และมีความพึงพอใจในตนเองมากขึ้น

3. แนวคิดเกี่ยวกับการคิดเชิงสร้างสรรค์

3.1. คุณสมบัติด้านการคิดที่เด่นชัดของบุคคลที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์

3.1.1. 1.มีความคิดริเริ่ม (Originality)

3.1.2. 2.มีความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)

3.1.3. 3.มีความคิดคล่อง (Fluency)

3.1.4. 4.มีความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

3.1.5. 5.มีความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

3.2. ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์

3.2.1. 1.ความฉลาดทางด้านภาษา (Linguistic Intelligence)

3.2.2. 2.ความฉลาดทางด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)

3.2.3. 3.ความฉลาดทางด้านดนตรี (Musical Intelligence)

3.2.4. 4.ความฉลาดด้านร่างกาย (Body-Kinesthetic Intelligence)

3.2.5. 5.ความฉลาดทางด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence)

3.2.6. 6.ความฉลาดด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)

3.2.7. 7.ความฉลาดด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence)

3.2.8. 8.ความฉลาดทางด้านการรู้จักธรรมชาติ (Naturalistic Intelligence)

4. กระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์

4.1. การกำหนดเป้าหมายการคิด การคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นการคิดที่มีเป้าหมายการคิดที่ชัดเจน ต้องเริ่มต้นด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ของปัญหาที่ต้องการแก้ไขด้วยการคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยการตั้งคำถามที่ชัดเจน เพื่อให้ได้รับคำตอบที่ตรงประเด็น

4.2. การแสวงหาแนวคิดใหม่ โดยพยายามคิดถึงวิธีการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในขั้นตอนแรก โดยไม่ต้องจำกัดวงว่าจะสามารถทำได้ในทางปฏิบัติจริงมากน้อยเพียงใด สร้างจินตนาการ คิดนอกกรอบที่เป็นอยู่ ไม่ได้ทำตามกฎเกณฑ์ปกติ เพื่อกระตุ้นให้สามารถผลิตความคิดใหม่ ๆ ทางเลือกใหม่ ๆ

4.3. การประเมินและคัดเลือกแนวคิด ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย

4.3.1. 1.การกลั่นกรองความคิดในวิธีการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้บันทึกไว้

4.3.2. 2.เลือกความคิดที่ใช้การได้เหมาะสมมากที่สุด หรือผสมผสานแนวคิดเหล่านั้นให้เหมาะสม หรือสังเคราะห์เพื่อดึงส่วนที่ใช้การได้ของแต่ละแนวคิด

5. กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำนักงาน ก.พ. (2559) เสนอขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ว่าประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่

5.1. 1.การพบความจริง (Fact-Finding)

5.2. 2.การค้นพบปัญหา (Problem-Finding)

5.3. 3.การตั้งสมมติฐาน (Idea-Finding)

5.4. 4.การค้นพบคำตอบ (Solution-Finding)

5.5. 5.การยอมรับผลจากการค้นพบ (Acceptance-Finding)