วรรณศิลป์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
วรรณศิลป์ by Mind Map: วรรณศิลป์

1. ความหมาย

1.1. ศิลปะในการประพันธ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า งานประพันธ์นั้นมีความดี ความงามความไพเราะ

2. หลักแห่งวรรณศิลป์

2.1. ๑. วรรณศิลป์เป็นศิลปะการสื่อสารความจัดเจนด้วยภาษา

2.2. ๒. สื่อสารแต่เพียงสาระหรือทำนองแห่งความจัดเจน

2.3. ๓. ภาษาจะแสดงความจัดเจนให้เป็นสัญลักษณ์ได้ก็โดยชวนให้นึกคิดหรือนึกฝัน

2.4. ๔. เพื่อแสดงความจัดเจนให้เป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายอย่างสมบูรณ์ที่สุดที่จะเป็นไปได้

2.5. ๕. การสื่อสารความจัดเจนจึงเป็นการสื่อสารทั้งสาระและเอกภาพของความจัดเจน เรียกว่ารูปแห่งวรรณคดี

2.6. ๖.ทุกสิ่งทุกอย่างในบทประพันธ์จะต้องมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างสนิททีเดียว ไม่มีอะไรแต่งไว้โดยบังเอิญ ไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวพันกันเพื่อประกอบภาพส่วนรวมขึ้น

3. องค์ประกอบของวรรณศิลป์

3.1. อารมณ์สะเทือนใจ(Emotion)

3.1.1. ความสะเทือนใจ (Emotion) อารมณ์สะเทือนใจ เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นต่อเมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสแล้วเกิดความรู้สึกตอบสนอง อาจเป็นความรู้สึกรัก โกรธ เกลียด ดีใจ เสียใจ ชอบ ไม่ชอบ สุข ทุกข์ ตื่นเต้น ขบขัน ฯลฯ ความรู้สึกตอบสนองที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลทำให้เกิดศิลปะขึ้น ได้เราเรียกความรู้สึกตอบสนองนี้ว่าอารมณ์สะเทือนใจ ที่แสดงให้เห็นผู้เสพย์งานศิลป์ได้รับรู้เชิงประจักษ์

3.2. ความนึกและจินตนาการ (Conception and Imagination)

3.2.1. ความคิดหรือความนึกที่ศิลปินผู้สร้างศิลปกรรมสร้างเป็นรูปร่างขึ้นในจิตใจอย่างเป็นตุเป็นตะ อาจเกิดจากอารมณ์สะเทือนใจความคิดฝันและประสบการณ์แล้วทำให้กลายเป็นภาพขึ้น จิตนาการในวรรณคดีนั้นควรจะเพ่งไปในด้านความงาม ความดีเพื่อบำรุงจิตใจให้เกิดความบันเทิงเป็นสำคัญ ความนึกและจินตนาการ

3.2.2. กลวิธีการสร้างความนึกคิดและจินตนาการ

3.2.2.1. ๑. สร้างความนึกคิดและจินตนาการตามความรู้สึกของกวี

3.2.2.2. ๒. สร้างความนึกติดและจินตนาการโดยใช้ภาพพจน์โวหาร

3.3. การแสดงออก (Expression

3.3.1. การแสดงออกเป็นสื่อนำความคิด จินตนาการและอารมณ์สะเทือนใจให้ปรากฏออกมาเป็นรูปร่าง การแสดงออกที่ดีมีลักษณะดังนี้คือ แสดงออกได้แนบเนียนและแจ่มแจ้งชัดเจน แสดงออกให้ผู้อ่านแลเห็นอาการเคลื่อนไหวหรือนาฏการ แสดงออกให้เห็นบุคลิกภาพและนิสัยใจคอของบุคคลในเรื่อง แสดงออกให้ผู้อ่านหยั่งเห็นจิตใจในส่วนลึกของกวีและตัวละครในเรื่อง และแสดงออกให้ผู้อ่านเห็นบุคลิกภาพของผู้แต่งอย่างเด่นชัด

3.3.2. การแสดงออกที่ดีแบ่งเป็น ๕ ลักษณะ

3.3.2.1. ๑. การแสดงได้เนียบเนียนและแจ่มแจ้ง

3.3.2.2. ๒. แสดงออกให้ผู้อ่านเห็นความเคลื่อนไหวหรือนาฏการ

3.3.2.3. ๓. แสดงออกให้เห็นบุคลิกภาพและนิสัยของบุคลในเรื่อง

3.3.2.4. ๔. แสดงออกให้ผู้อ่านหยั่งเห็นจิตใจส่วนลึกของกวีและตัวละคร

3.3.2.5. ๕. แสดงออกให้ผู้อ่านเห็นบุคลิกภาพของผู้แต่งอย่างชัดเจน

3.4. องค์ประกอบ (Composition)

3.4.1. งานเขียนทุกชิ้นมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ ๒ ส่วน คือ เนื้อหากับรูปแบบ องค์ประกอบทั้งสองนี้ต้องสอดประสานกลมกลืนกันอย่างเหมาะเจาะ เนื้อหาแต่ละอย่างย่อมเหมาะกับรูปแบบแต่ละชนิด ถ้าเป็นเนื้อหาที่มีสาระความรู้ก็ควรเขียนด้วยร้อยแก้ว เพื่อให้ได้สาระครบถ้วนตามที่ผู้เขียนต้องการ ถ้าใช้ร้อยกรอง ข้อจำกัดของรูปแบบฉันทลักษณ์จะทำให้ผู้เขียนถ่ายทอดสาระได้ไม่ครบ แต่ถ้าผู้เขียนมุ่งสร้างจินตนาการหรือต้องการชี้แนะให้ผู้อ่านคิด ก็ต้องเลือกใช้ร้อยกรอง แต่จะใช้ร้อยกรองประเภทใด ชนิดไหนก็ต้องเลือกสรรอีกครั้งหนึ่ง

3.5. ท่วงท่าที่แสดง (Style)

3.5.1. ลักษณะการแสดงออก ซึ่งกวีแต่ละคนจะมีท่วงท่าที่แสดงออกเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน และการแสดงท่วงท่าออกได้ดีหรือไม่ เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถทางศิลปะของแต่ละคน

3.5.2. ท่วงท่าที่แสดงแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ

3.5.2.1. ๑. ท่วงท่าที่แสดงออกเป็นส่วนรวม

3.5.2.2. ท่วงท่าที่เฉพาะตน

3.6. . เทคนิค (Technique)

3.6.1. กลวิธีในการแต่งคือ “วิธีการหรือกลวิธีซึ่งผู้แต่งนำมาใช้ในการถ่ายทอด ความนึกคิดหรือความสะเทือนใจ เป็นการแสดงชั้นเชิงให้เห็นว่า ผู้แต่งมี “ฝีมือ” ขนาดใด โบราณ ใช้คำว่า อุบาย (แต่ปัจจุบันความหายได้กลายไปในทางที่ไม่ดี) เพื่อให้ผู้อ่านได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นได้อย่างซึมทราบ”