บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงด้านศัพท์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงด้านศัพท์ by Mind Map: บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงด้านศัพท์

1. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงด้านคำศัพท์

1.1. 1. คำที่มีใช้สมัย โบราณจนถึงปัจจุบัน (คำมรดก) คำจำนวนหนึ่งมีปรากฏอยู่ในศิลาจารึกและยัง นิยมใช้กันในปัจจุบัน ซึ่งคำประเภทนี้เรียกว่า “คำพื้นฐาน” หรือ “คำมรดก” เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ชื่อ ท้อง เดียว คน ผู้ชาย ผู้หญิง ตาย เล็ก ใหญ่ เจ้าเมือง เข้า ไพร่ฟ้า ตัว ทุ้ง หนี เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามบางคำก็มี คำอื่นมาแทนบ้าง เพื่อแสดงความหมายสุภาพ เช่น บิดา มารดา แทนคำวŠา พ่อ แม่ หรือ ประชาชน แทนคำ ว่า “ไพร่ฟ้า” เพราะไพร่ฟ้ามักจะใช้กับ พระเจ้าแผ่นดิน ส่วน “ประชาชน” จะใช้กับ รัฐบาล เป็นต่น

1.2. 2. ศัพท์สูญ หรือการสูญศัพท์ คือคำโบราณที่ไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน หรือเลิกใช้แล้ว บางคำยังมีคำ อธิบาย อยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ส่วนบางคำไม่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรม ตัวอย่างเช่น เสือง ตู เฝือ อšาย เตียมแต้ เข้า (ขวบ ปี) ท่อ เกลื่อนเข้า หนีญญ่าย พ่ายจแจ้น แม้ว่าบางคำยังมีใช้ อยู่ในภาษาถิ่นบ้าง แต่ในภาษาภาคกลางไม่ปรากฏว่าใช้นานแลšว จึงเรียกว่า “ศัพท์สูญ”

1.3. 3.คำที่ใช้สมัยโบราณและปัจจุบันยังใช้อยู่แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง ได้แก่ เตียมแต้ (ตั้งแต่) ขึ้นใหญ่ (เติบใหญ่) ขุน เปลี่ยนความหมายบ้าง คือสมัยโบราณหมายถึง เจ้าเมือง หรือกษัตริย์ เช่น ขุนสามชน พ่อขุนรามคำแหง แต่สมัยอยุธยาคำว่า “ขุน” ลดความสำคัญลงมาเป็น “ขุนนาง” ระดับรองลงมา แต่ปัจจุบัน มีความหมายกว้างออก เช่น ขุนเขา ขุนนาง ขุนพล ขุนขวาน ขุนกระบี่ เป็นต้น “ขับ” โบราณใช้กับ “ขับช้าง ขับม้า” ปัจจุบันใช้กับพาหนะ เช่น ขับรถ ขับเรือ ขับเกวียน ฯลฯ

1.4. 4. คำที่ใช้สมัยโบราณและปัจจุบันยังใช้อยู่แต่เปลี่ยนความหมาย ได้แก่ หน้าใส (ไพร่ฟ้าหน้าใส) โบราณหมายถึง ตกใจ หน้าซีดเผือด แต่ปัจจุบัน หน้าใส มีความหมายว่า ขื่นซม ยินดี หน้าตาสดใส คำว่า “แพ้” ในสมัยโบราณหมายถึง มีชัยชนะ หากปราขัยจะใช้คำว่า “พ่าย” แต่ปัจจุบันมีคำว่า “ชนะ” ตรงข้ามกับ พ้ายมาแทนที่คำว่า “แพ้” และนิยมใช้เป็นคำคู่ว่า “พ่ายแพ้” หรือ “แพ่พ้าย” ความหมายเดิมของคำแพ่ (มี ชัย) จึงเปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม คือ พ่าย ส่วนในภาษาไทยถิ่นอื่น ๆ ยังใช้ แพ่ในความหมายว่า ชนะ ทุกแห่ง

2. การสูญศัพท์

2.1. 1. ศัพท์สูญโดยสิ้นเชิง หมายถึง คำศัพท์โบราณที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึก และไตรภูมิพระร่วง ใน ปัจจุบันไม่มีผู้ใดพูดผู้ใดเขียนและเข้าใจคำศัพท์เหล่านั้น คำศัพท์เหล่านั้นยังปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณสมัย อยุธยา และสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หรือมีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานบ้าง ที่เขียนไว้ว่า (โบ.) หมายถึง คำศัพท์โบราณ

2.2. 2. ศัพท์สูญพอสันนิษฐานคำได้ หมายถึงคำศัพท์ที่เคยใช้อยู่ในสมัยโบราณ ที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึก และไตรภูมิพระร่วง ปัจจุบันภาษามาตรฐานเลิกใช้แลšว แต่ในภาษาถิ่น(อีสาน เหนือ ใต้ และกลุ่มคนไทยนอกประเทศ) ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำศัพท์กลุ่มนี้บางคำยังปรากฏอยู่ในเอกสารสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นบ้าง

2.3. 3. ศัพท์สูญไปบางส่วน หมายถึงคำศัพท์โบราณท่ีใช้อยู่ในสมัยสุโขทัย (ในศิลาจารึกและไตรภูมิพระร่วง) นั้นเป็นคำอิสระมีความหมายเฉพาะ แต่ในปัจจุบัน ไม่ใช้เป็นคำอิสระ พบแต่ในคำประสมนั่นคือ คำศัพท์ที่ ใช้อิสระ (คำโดด) นั้นได้สูญไป คงเหลือเป็นส่วนหนึ่งของคำประสม

3. การพัฒนาการประสมคำ

4. 1.ประเภทของคำประสม

5. 1.1คำประสมที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องด้วยคำมูล คือความหมายของคำประสมนั้นจะแสดง ความหมายเด่น ๆ ของคำมูล นั่นคือ คำหลักที่อยู่ข้างหน้าจะแสดงความหมายเด่นกว่าคำรองซึ่งอยู่ข้างหลัง คำ ประสมประเภทนี้เป็นคำประสมที่มีจำนวนมากที่สุด

5.1. สินจ้าง สินสอด สินไถ่ สินสมรส สินเดิม สินบน สินทรัพย์ สินเชื่อ

5.2. ชาวบ้าน ชาวเมือง ชาวเขา ชาวดอย ชาวประมง ชาววัง ชาวไร่ชาวนา ชาวไทย ชาว จีน ชาว เขมร ชาวลาว ชาวพม่า

6. 1.2 คำประสมที่เน้นคำเน้นความหมายให้เด่นชัดยิ่งขึ้น คำประสมประเภทนี้มักจะสร้างจากคำมูล ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน โดยมีวัตถุประสงค์เนšนคำให้ความหมายเด่นชัดยิ่งขึ้น เนื่องจากคำบางคำมีเสียง ใกล้กัน ขณะที่พูดนั้น ผู้ฟังอาจจะฟังไม่ชัด ผู้พูดจึงหาคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกลšเคียงกันมาพูดซ้อน กัน เพื่อเน้นยํ้าให้ฟังเข้าใจดีขึ้น

6.1. -ด่าทอ ด่าแช่ง สาปแช่ง

6.2. -ต่อตี ต่อสู้ ต่อต้าน

6.3. ติดต่อ ติดตาม ติดพัน

7. 1.3 คำประสมที่มีความหมายเชิงอุปมา คือคำประสมที่มีความหมายต่างไปจากคำมูลมาก นั่นคือ ความหมายของคำประสมนั้นจะใช้ความหมายเชิงเปรียบเทียบของคำมูล

7.1. ข่มขี่ (ข่ม-กด, ทับ ขี่-นั่งครŠอม) แปลว่า กดฐานะให้ตํ่าลง

7.2. ข่มเหง (ข่ม-กด, ทับ เหง-บีบ) แปลว่า ใช้กำลังรังแก

7.3. ข่มขืน (ข่ม-กด, ทับ ขืน-บน) แปลว่า บังคับให้ทำตาม

8. 2.การส้รางคำโดยวิธีประสมคำ

9. 2.1คำประสม

9.1. โรงไฟฟ้า โรงงาน โรงรถ โรงอาหาร โรงนา รถไฟ รถราง รถไฟฟ้า รถยนต์ รถเก๋ง กลšวยแขก เรือนหอ น้ำปลา น้ำตาล น้ำ น้ำตา น้ำใจ น้ำคำ น้ำฝน น้ำยา เรืออวน เรือแจว เรือยนต์ เรือหางยาว เรือไฟ หีบเสบียง ตู้หนังสือ โอ่งน้ำ ห้องน้ำ

10. 2.2คำซšอน คือคำประสมประเภทหนึ่ง โดยนำคำมูลที่มีความหมายใกล้เคียง กันหรือเหมือนกัน มารวมเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ จึงเรียกต่างออกไปว่า “คำซ้อน” คำมูลที่มารวมกันนั้น มักจะเป็นคำ มรดก รวมกับคำเกิดใหม