เทอร์โมไดนามิกส์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทอร์โมไดนามิกส์ by Mind Map: เทอร์โมไดนามิกส์

1. งานเป็นพลังงานที่สามารถถ่ายโอนผ่านขอบเขตของระบบได้เช่นเดียวกับความร้อน สัญลักษณ์ของงานใช้เป็น W งานต่อหน่วยมวลของระบบ ใช้สัญลักษณ์เป็น w ปริมาณงานต่อหนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า กำลัง ใช้สัญลักษณ์เป็น Ẁ ระบบได้ผลิตงานเกิดขึ้น (เป็นสิ่งที่ต้องการ) ให้เครื่องหมายเป็น + เช่นผลจากการทำงานของกังหันหรือเครื่องยนต์ การป้อนงานแก่ระบบเป็น (สิ่งไม่ต้องการ) จึงกำหนดเป็นเครื่องหมาย – เช่น ผลจากการทำงานของปั๊มหรือเครื่องอัด งานมี 2 ประเภท คือ งานจากการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของระบบ (Wb) งานอื่นๆ (Wother) งานทางไฟฟ้า งานเพลา งานสปริง

1.1. พลังงานที่ถูกถ่ายโอนผ่านขอบเขตของระบบ = พลังงานรวมของระบบที่เปลี่ยนแปลงไป Q - W =△E พิจารณาระบบ ดังนี้ ไม่การถ่ายโอนงานอื่นๆ Wother = 0 ระบบไม่มีการเคลื่อนที่ △KE , △PE = 0

2. พลังงาน การถ่ายโอนพลังงาน และการวิเคราะห์พลังงานเบื้องต้น

2.1. กฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์ (First Law of Thermodynamics) หรือเรียกว่า กฎอนุรักษ์พลังงาน มีหลักการว่า “พลังงานสามารถเปลี่ยนรูป หรือถูกถ่ายโอนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ แต่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ หรือทำลายให้สูญสลายไปได้” ดังนั้นเมื่อพิจารณาการถ่ายโอนพลังงานระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อมแล้ว จะพบว่าพลังงานรวมของระบบกับสิ่งแวดล้อมจะมีค่าคงที่ ตัวอย่างเช่น ในกระบวนการที่ระบบได้รับพลังงานจากสิ่งแวดล้อมนั้น ปริมาณพลังงานที่ระบบได้รับจะเท่ากับปริมาณพลังงานที่สิ่งแวดล้อมสูญเสีย โดยสามารถเขียนเป็นสมการแสดงการถ่ายโอนพลังงานของระบบใด ๆ ได้ดังนี้ พลังงานที่เข้าสู่ระบบ – พลังงานที่ออกจากระบบ = พลังงานรวมในระบบที่เปลี่ยนแปลง สมการพลังงานที่เปลี่ยนแปลงในระบบปิดนี้ได้ดังนี้ ∆Q = ∆U + ∆W พลังงานที่ถ่ายโอนเข้า-ออกผ่านขอบเขตของระบบปิด มีได้ 2 รูป คือ ความร้อน (heat) และงาน (work) พลังงานรวมของระบบ (total energy, E) พลังงานรวมจำเพาะ (specific total energy, e) พิจารณา 2 รูปแบบ พลังงานในรูปจุลภาค (Microscopic forms of Energy) พลังงานในรูปมหภาค (Macroscopic forms of Energy)

2.2. งาน (work)

3. การวิเคราะห์พลังงานสำหรับระบบปิด

3.1. ดังนั้น กฎข้อที่ 1 ส าหรับกระบวนการของระบบปิ ดจึงมักเขียน อยู่ในรูป 1Q 2 - 1W2 = U2 - U1

3.1.1. ระบบปิด (Closed system) หรือมวลควบคุม (Control mass)คือระบบที่มวลของสารทำงานไม่สามารถเคลื่อนที่ข้ามขอบเขตของระบบไปยังสิ่งแวดล้อม หรือจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบได้ แต่ปริมาณความร้อน และปริมาตรของระบบสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แก๊สภายในกระบอกสูบมีลูกสูบไร้ความเสียดทานปิดอยู่ด้านบน เมื่อกระบอกสูบได้รับความร้อนจะทำให้ปริมาตรของกระบอกสูบเพิ่มขึ้นโดยลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น แต่มวลของแก๊สไม่สามารถเคลื่อนที่ออกจากกระบอกสูบได้

3.2. พลังงาน E หมายถึง พลังงานทุกรูปแบบภายในตัวของมวลที่สภาวะหนึ่งๆ รวมกัน ซึ่งได้แก่ พลังงานจลน์ พลังงาน ศักย์ และพลังงานอื่นๆ ภายใน (เช่น พลังงานเนื่องจากการเคลื่อนที่ของโมเลกุล) ก าหนด U = พลังงานภายใน (Internal Energy) ของมวล ซึ่งหมายถึง ผลรวมของพลังงานทุกรูปแบบ นอกเหนือจากพลังงานจลน์และพลังงานศักย์ E = U + K.E. + P.E.

3.3. พลังงานภายใน (Internal Energy)

3.3.1. เมื่อเป็นคุณสมบัติที่ขึ ้นกับมวล (Extensive Property) สัญลักษณ์ = U หน่วย kJ

3.3.2. พลังงานภายในจ าเพาะ (Specific Internal Energy) เป็นคุณสมบัติที่ไม่ขึ ้นกับมวล(Intensive Property)

3.3.3. พลังงานภายในเป็น Point Function หรือ State Function ซึ่งหมายถึง ขึ ้นอยู่กับสภาวะไม่ขึ ้นกับ เส้นทางหรือกระบวนการ

3.3.4. เอนทาลปี (Enthalpy)

3.3.4.1. คุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์บางตัวสามารถรวมเข้าด้วยกันกลายเป็นคุณสมบัติใหม่

3.3.4.2. เอนทาลปี เมื่อเป็นคุณสมบัติที่ขึ ้นกับมวล สัญลักษณ์ = H หน่วย kJ นิยาม H = U + PV

3.3.4.3. เอนทาลปีจ าเพาะ (Specific Enthalpy) เป็นคุณสมบัติที่ไม่ขึ ้นกับมวล ℎ = 𝐻 𝑚 หน่วย kJ/kg หรือ h = u +Pv

3.3.5. ความจุความร้อนจำเพาะ (Specific Heat capacity , c ) คือความร้อนที่ทำให้สาร(วัตถุ) มวลหนึ่งหน่วยมีอุณหภูมิเปลี่ยนไปหนึ่งองศาเคลวิน ความจุความร้อนจำเพาะของสาร(J/kg-K) นั่นคือ เมื่อสารมวล m มีอุณหภูมิเพิ่มจาก T1 เป็น T2 และความจุความร้อนจำเพาะมีค่าคงตัว ความร้อนที่สารได้รับ คือ △Q = mc△T

4. ประเภทของพลังงาน พลังงานแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งได้แก่ 1. พลังงานเคมี (Chemical Encrgy) พลังงานเคมีเป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในสารต่างๆ โดยอยู่ในพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล เมื่อพันธะแตกสลาย พลังงานสะสมจะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อนและแสงสว่าง ตัวอย่างเช่น พลังงานเคมีที่อยู่ในอาหาร พลังงานที่ถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่, พลังงานในกองฟืน, พลังงานในถังน้ำมัน เมื่อไม้ลุกไหม้แล้วจะให้คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ รวมถึงผลิตของเสียอื่นๆ เช่น ขี้เถ้า เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้แต่ละชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกัน เมื่อใช้ในปริมาณเชื้อเพลิงที่เท่ากัน จึงให้ความร้อนไม่เท่ากัน ซึ่งก๊าซธรรมชาตินั้นให้ความร้อนมากกว่าน้ำมัน และน้ำมันนั้นก็ให้ความร้อนมากกว่าถ่านหิน ถ้านำมาใช้จะปล่อยพลังงานเคมีออกมาใช้ทำประโยชน์ในด้านต่างๆ พลังงานเคมีนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พลังงานสะสม" 2. พลังงานความร้อน (Thermal Energy) แหล่งกำเนิดพลังงานความร้อน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์, พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง, พลังงานไฟฟ้า, พลังงานนิวเคลียร์, พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ, พลังงานเปลวไฟ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อน ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ แคลอรี่ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคลอรี่มิเตอร์ การกำหนดเครื่องหมายของความร้อน การกำหนดเครื่องหมายของพลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะเครื่องหมายของพลังงานเป็นสิ่งที่ใช้ระบุทิศทางในการถ่ายโอนพลังงาน การถ่ายโอนพลังงานเข้าสู่ระบบ (ทำให้ระบบมีพลังงานเพิ่มขึ้น) มีเครื่องหมายเป็นบวก (+) การถ่ายโอนพลังงานออกจากระบบ (ทำให้ระบบมีพลังงานลดลง) มีเครื่องหมายเป็นลบ (-) กลไกการถ่ายเทความร้อนมี 3 แบบ คือ การนำความร้อน (Conduction) การพาความร้อน (Convection) การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) 3. พลังงานกล (Mechanical Energy) พลังงานกล (mechanical energy) เป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พลังงานศักย์และพลังงานจลน์ โดยพลังงานศักย์เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุเช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลังงานศักย์กลอยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลังงานศักย์จะลดลง และเกิดพลังงานจลน์กลของการเคลื่อนที่ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลังงานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น การเดิน การขยับแขนขา การหยิบวัตถุ เป็นต้น ส่วนพลังงานจลน์เป็นพลังงานของวัตถุขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ พลังงานศักย์มี 2 ชนิด คือพลังงานศักย์ยืดหยุ่น ซึ่งเป็นพลังงานที่สะสมในวัตถุที่มีการยืดหยุ่นได้ เช่น พลังงานที่สะสมในสปริง ในแถบยางหรือหนังสติก เป็นต้น พลังงานศักย์อีกชนิดหนึ่งเป็นพลังงานที่สะสมในวัตถุที่อยู่ใน 4. พลังงานจากการแผ่รังสี (Radiant Energy) พลังงานที่มาในรูปของคลื่น เช่น แสง ความร้อน คลื่นวิทยุ อินฟาเรด อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีคอสมิก สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยพลังงานรูปนี้ ในกระบวนการที่สำคัญต่างๆ เช่น การมองเห็นภาพ การสังเคราะห์ด้วยแสง การขยายพันธุ์ชนิดที่ขึ้นอยู่กับช่วงแสง อาจสรุปได้ว่าเป็นพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเอง ซึ่งพลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิต และอาจจะได้พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์, พลังงานจากเสาส่งสัญญาณทีวี, พลังงานจากหลอดไฟ, พลังงานจากเตาไมโครเวฟ, พลังงานจากเลเซอร์ที่ใช้อ่านแผ่นซีดี ฯลฯ 5. พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy) เป็นพลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือประจุไฟฟ้าในช่วงเวลา หนึ่ง โดยผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้า พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีแบบหนึ่งอันมีผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ และกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะไหลผ่านความต้านทานไฟฟ้าได้ถ้าต่อให้เป็นวงจร ผลจากกระแสไฟฟ้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลต่าง ๆ เช่นก่อให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เกิดความร้อนหรือแสงสว่าง พลังงานที่เกิดจากการผ่านขดลวดไปในสนามแม่เหล็ก, พลังงานที่ใช้ขับเครื่องคอมพิวเตอร์, พลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นต้น เป็นต้น 6. พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)เป็นพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาในรูปของสารกัมมันตรังสีซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ หรือสารกัมมันตรังสีในระเบิดนิวเคลียร์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หรือระเบิดปรมาณู การเกิด fusion ของนิวเคลียร์เล็ก มีหลักอยู่ว่า ถ้านำเอาธาตุเบาๆ ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป มารวมกันโดยมีพลังงานความร้อนอย่างสูงเข้าช่วย จะทำให้ธาตุเบาๆ นี้รวมกัน กลายเป็นธาตุใหม่ ซึ่งหนักกว่าเดิม ส่วน fission เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างการยิงอนุภาคบางชนิดกับนิวเคลียสของธาตุหนักๆ ทำให้นิวเคลียสของธาตุหนักแตกแยกออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนเป็นธาตุที่เบากว่าเดิม และขนาดเกือบเท่าๆ กัน พลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิตน้อย

5. แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเทอร์โมไดนามิกส์

5.1. เทอร์โมไดนามิกส์เป็นแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทางด้าน พลังงาน, ความร้อน, งาน, รวมไปทั้งกลไกการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งการเข้าใจในเนื้อหาของวิชาเทอร์โมไดนามิกส์ จะช่วยให้เราสามารถอธิบายหรือแม้แต่ทำนาย การเปลี่ยนแปลงต่างๆได้

5.2. มิติ (Dimensions) คือ มโนทัศน์พื้นฐานด้านการวัด ได้แก่ ความยาว เวลา มวล อุณหภูมิ

5.3. หน่วย (Units) คือ วิธีการแสดงขนาดของมิติ ได้แก่ เมตร วินาที กรัม เคลวิน

5.4. หน่วยพื้นฐาน (Base unit) คือ หน่วยของมิติที่เป็นอิสระใช้ระบุเพียงมิติเดียว

5.5. ระบบ คือ บริเวณหรือสสารปริมาณหนึ่งที่ต้องการศึกษา

5.6. ขอบเขต คือ สิ่งที่แยกระหว่างระบบและสิ่งแวดล้อม ขอบเขตที่อยู่กับที่ ขอบเขตที่เคลื่อนที่

5.7. สมบัติ คือ ลักษณะใดๆที่วัดหรือคำนวณค่าได้ โดยสมบัติจะขึ้นกับสภาวะของระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมบัติที่ไม่ขึ้นกับมวลของระบบ (intensive properties) เช่น ความหนาแน่น ความดัน และอุณหภูมิ เป็นต้น สมบัติที่ขึ้นกับมวลของระบบ (extensive properties) เช่น น้ำหนัก ปริมาตร เอนทัลปี พลังงานภายใน และพลังงานรวม วิธีการตรวจสอบ คือ แบ่งระบบเพื่อให้มวลเปลี่ยนแปลง หากสมบัติแต่ละส่วนมีค่าเท่าเดิมถือเป็นสมบัติที่ไม่ขึ้นกับมวล

5.8. สภาวะ หมายถึง สภาพของระบบที่ถูกกำหนดโดยชุดของสมบัติ (set of properties) ของระบบ เช่น อุณหภูมิ ความดัน และพลังงานของระบบ เป็นต้น โดยที่สภาวะหนึ่งๆสมบัติของระบบจะมีค่าคงที่ หากมีการเปลี่ยนแปลงสมบัติเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดจะถือว่าระบบมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาวะใหม่ทันที

5.9. สภาวะสมดุล (Equilibrium state) หมายถึง สภาวะที่ไม่มีแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (driving force) ภายในระบบ จึงทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นภายในระบบ โดยมีเงื่อนไข 4 ลักษณะดังนี้

5.9.1. 1. สมดุลทางความร้อน (thermal equilibrium) หมายถึง สภาวะที่อุณหภูมิเท่ากันทั้งระบบ

5.9.2. 2. สมดุลทางกล (mechanical equilibrium) หมายถึงสภาวะที่ภายในระบบมีความดันเท่ากัน

5.9.3. 3. สมดุลเคมี (Chemical equilibrium) หมายถึง สภาวะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมี

5.9.4. 4. สมดุลเฟส (phase equilibrium) หมายถึงสภาวะที่ไม่มีแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างเฟส จึงทำให้สมบัติแต่ละเฟสมีค่าคงที่

5.10. กระบวนการ (process) คือ การเปลี่ยนแปลงสภาวะของระบบจากสภาวะหนึ่งไปยังอีกสภาวะหนึ่ง เช่น น้ำที่เป็นของเหลวได้รับความร้อนจนระเหยเป็นไอ

5.11. วัฏจักร (Cycles) หมายถึง การเกิดกระบวนการจากสภาวะเริ่มต้นโดยระบบดำเนินผ่านสภาวะต่างๆแล้วสามารถกลับสู่สภาวะเริ่มต้นได้อีก

5.12. หน่วยสากล Pa (1 Pa = 1 N/ m2 ) (1 MPa = 1×103 kPa = 1×106 Pa) หน่วยบาร์ bar (1 bar = 103 Pa = 0.1 MPa = 100 kPa) หน่วยบรรยากาศมาตรฐาน atm (1 atm = 1.01325 bar = 101.325 Pa) หน่วยอังกฤษ psi (1 psi 1 lbf / in2 ) = (14.696 psi = 1 atm)หน่วยสากล Pa (1 Pa = 1 N/ m2 ) (1 MPa = 1×103 kPa = 1×106 Pa) หน่วยบาร์ bar (1 bar = 103 Pa = 0.1 MPa = 100 kPa) หน่วยบรรยากาศมาตรฐาน atm (1 atm = 1.01325 bar = 101.325 Pa) หน่วยอังกฤษ psi (1 psi 1 lbf / in2 ) = (14.696 psi = 1 atm)

5.13. ความดันหมายถึง แรงที่กระทำต่อหน่วยของพื้นที่ (P=F/A) สำหรับของไหลที่หยุดนิ่ง จะมีความความดันเท่ากันทุกทิศทาง แต่สำหรับของไหลที่เคลื่อนที่ ความดันจะเพิ่มขึ้นตามความลึก ซึ่งเป็นผลจากน้ำหนักของของไหล

5.14. เป็นเครื่องมือวัดความดันบรรยากาศ ลักษณะเป็นหลอดคว่ำลงในภาชนะที่บรรจุปรอทซึ่งเปิดออกสู่บรรยากาศ ของเหลวเป็นปรอท Patm = 760 mmHg at 0oC ของเหลวเป็นน้ำ Patm = 10.3 mH2O ความดันเปลี่ยนแปลงตามระดับความสูง และอุณหภูมิ ระดับสูงมาก ความดันต่ำ เพราะความหนาแน่นอากาศน้อย อุณหภูมิสูง ความดันต่ำ ความหนาแน่นอากาศต่ำเป็นเครื่องมือวัดความดันบรรยากาศ ลักษณะเป็นหลอดคว่ำลงในภาชนะที่บรรจุปรอทซึ่งเปิดออกสู่บรรยากาศ ของเหลวเป็นปรอท Patm = 760 mmHg at 0oC ของเหลวเป็นน้ำ Patm = 10.3 mH2O ความดันเปลี่ยนแปลงตามระดับความสูง และอุณหภูมิ ระดับสูงมาก ความดันต่ำ เพราะความหนาแน่นอากาศน้อย อุณหภูมิสูง ความดันต่ำ ความหนาแน่นอากาศต่ำ

5.15. บาโรมิเตอร์ (Barometer)

6. สมบัติของสารบริสุทธิ์

6.1. สารบริสุทธิ์ คือ สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียวสมบัติต่าง ๆ จะคงที่ และเป็นสมบัติเฉพาะตัว สารบริสุทธิ์มีสมบัติที่สำคัญคือ มีจุดเดือด และจุดหลอมเหลวคงที่

6.1.1. ของแข็ง (solid) เป็นสถานะของสสารที่มีลักษณะแตกต่างจากแก๊สหรือของเหลว คือ มีรูปร่างที่แน่นอน ไม่ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาคของของแข็งมีพลังงานจลน์น้อยมาก ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ เพียงแค่สั่นสะเทือนอยู่กับที่ การแพร่ของของแข็งเกิดขึ้นช้ามากเมื่อเทียบกับแก๊สหรือของเหลว นอกจากนี้อนุภาคในของแข็งจะมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลหรือไอออนที่สูงกว่าในของเหลวหรือแก๊ส ทําให้อนุภาคเหล่านี้อยู่ชิดกัน ทําให้มีความหนาแน่นสูงและแข็งมากกว่าของเหลวและแก๊ส เมื่อถูกบีบอัดจะไม่ทําให้ปริมาตรเปลี่ยนแปลงหรือถ้าเปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

6.1.2. ของเหลว ( Liquids ) ของเหลว หมายถึง สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็ง ทำให้อนุภาคไม่ได้อยู่ชิดกันอย่างของแข็ง จึงมีปริมาตรที่แน่นอน แต่มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของภาชนะที่บรรจุ เช่น น้ำ เบนซีน และปรอท เป็นต้น สมบัติทั่วไปของของเหลว 1. ความตึงผิว 1) แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล 2) อุณหภูมิ

6.1.3. อุณหภูมิอิ่มตัว (saturation temperature) คือ อุณหภูมิที่สารเกิดการระเหยเป็นไอหรือเดือดภายใต้ความดันที่กำหนด ความดันอิ่มตัว (saturation pressur) คือ ความดันที่สารเกิดการระเหยกลายเป็นไอที่อุณหภูมิที่กำหนด ตัวอย่าง เช่น น้ำที่อยู่ภายใต้ความดัน 1 atm จะมีอุณหภูมิอิ่มตัวที่ 100oC หรือน้ำที่อุณหภูมิ 100oC จะมีความดันอิ่มตัวเท่ากับ 1 atm