1. ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์
1.1. ขั้นที่ 1 การใช้ประสาทสัมผัส (แรกเกิด - 2 ปี)
1.1.1. เด็กจะเริ่มเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม รูบรู้โดยผ่านการใช้ประสาทสัมผัส
1.2. ขั้นที่ 2 เตรียมความคิดที่มีเหตุผล (2 -7) ปี
1.2.1. พัฒนาการทางภาษาดีขึ้น แต่ยังไม่สามารถใช้สติปัญญาได้อย่างเต็มที่
1.3. ขั้นที่ 3 คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (7 - 11 ปี)
1.3.1. เริ่มใช้เหตุผลในการตัดสินใจได้ แต่ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ สามารถเรียงลำดับ เปรียบเทียบ คิดย้อนกลับไปกลับมาได้
1.4. ขั้นที่ 4 คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นนามธรรม (12 ปีขึ้นไป)
1.4.1. รู้จักใช้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
2. ทฤษฎีพัฒนาการความต้องการทางเพศของฟรอยด์
2.1. พัฒนาการของบุคลิกภาพ (psychosexual development)
2.1.1. 1. ขั้นปาก (แรกเกิด - 1 ปี)
2.1.1.1. พึงพอใจในการใช้ปาก ดูด กัด อม ทำเสียงต่างๆ ภาวะติดขัด : พูดมาก ชอบนินทา ติดบุหรี่ กัดเล็บ ทานของจุบจิบ
2.1.2. 2. ขั้นทวารหนัก (1 - 2 ปี)
2.1.2.1. พึงพอใจในการขับถ่าย ควบคุมการขับถ่าย ภาวะติดขัด : ชอบสะสม ตระหนี่ หวงของ ย้ำคิดย้ำทำ ต่อต้านกฎเกณฑ์ เจ้าระเบียบ
2.1.3. 3. ขั้นอวัยวะเพศ (3 - 5 ปี)
2.1.3.1. พึงพอใจ ชอบเล่น ซักถามเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ภาวะติดขัด : เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศเมื่อโตขึ้น เพิ่มเติม - เกิด "ปม” (Complex) ในจิตใจจากความรู้สึกผูกพันกับพ่อหรือแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตนเอง ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบพ่อหรือแม่ที่เป็นเพศเดียวกับตนเองเพื่อให้ได้รับความรักจากเพศตรงข้าม - เด็กผู้ชายเกิด "ปมออดิปุส" ส่วนเด็กผู้หญิงเกิด "ปมอิเล็กตรา"
2.1.4. 4. ขั้นพักหรือสงบ (6 - 12 ปี)
2.1.4.1. ได้รับอิทธิพลจากพัฒนาการทางสังคมและสติปัญญาแทนความต้องการทางเพศ ทำให้เด็กสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือเรื่องอื่นๆ เช่น การเล่นกีฬาการอยู่รวมกลุ่มกับเพื่อนเพศเดียวกัน เป็นต้น
2.1.5. 5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (12 ปีขึ้นไป)
2.1.5.1. เกิดความต้องการในบริเวณอวัยวะเพศอีครั้งหากไม่เกิดการติดขัด จะทำให้สามารถแสดงบทบาทที่เหมาะสมกับเพศของตนเอง รวมทั้งพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสม
2.2. ระดับของจิตใจ (level of mind)
2.2.1. 1) จิตสำนึก (conscious) เป็นส่วนของจิตใจที่บุคคลรู้สึกตัว และตระหนักในตนเอง พฤติกรรมที่แสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมของสติปัญญา
2.2.2. 2) จิตใต้สำนึก (subconscious) เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในชั้นลึกลงไปกว่าจิตสำนึก บุคคลไม่ได้ตระหนักอยู่ตลอดเวลา หากแต่ต้องใช้เวลาคิด จิตใจส่วนนี้จะช่วยขจัดข้อมูลที่ไม่จำเป็น
2.2.3. 3) จิตไร้สำนึก (unconscious) เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ลึก ไม่สามารถจะนึกได้ มักจะเก็บประสบการณ์ที่ไม่ดีและเลวร้ายไว้ในจิตไร้สำนึกโดยไม่รู้ตัว
3. ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบิร์ก
3.1. ระยะที่ 1 ก่อนเกณฑ์ทางสังคม
3.1.1. 1. ลงโทษและเชื่อฟัง (0 -7 ปี)
3.1.2. 2. แสวงหารางวัล (7 – 10 ปี)
3.2. ระยะที่ 2 ตามเกณฑ์ทางสังคม
3.2.1. 3. ทำตามความคิดเห็นของสังคม (10 -13 ปี)
3.2.2. 4. ทำตามกฎของสังคม (13 -16 ปี)
3.3. ระยะที่ 3. เหนือกฎเกณฑ์ทางสังคม
3.3.1. 5. ทำตามสัญญา (16 ปี ขึ้นไป)
3.3.2. 6. ขั้นอุดมคติสากล (วัยผู้ใหญ่ขึ้นไป)
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมของอีริคสัน
4.1. ขั้นที่ 1 ไว้วางใจ/ไม่ไว้วางใจ (แรกเกิด - 1 ปี)
4.1.1. เหตุ : การเลี้ยงดูที่อบอุ่น ได้รับการเอาใจใส่ ผล : เกิดความไว้วางใจ เชื่อถือผู้อื่น
4.1.2. เหตุ : ไม่ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่เท่าที่ควร ผล : มองโลกในแง่ร้าย หลีกหนีสังคม ไม่ไว้ใจผู้อื่น
4.1.3. บุคคลที่มีอิทธิพล : พ่อ แม่ คนใกล้ชิด
4.2. ขั้นที่ 2 เป็นตัวเอง/ไม่เป็นตัวเอง (2 -3 ปี)
4.2.1. เหตุ : ได้รับอิสระ ฝึกทำกิจกรรมด้วยตัวเอง ผล : เชื่อมั่นในตนเอง
4.2.2. เหตุ : ได้รับการเลี้ยงดูที่เข้มงวดเกินไป ถูกบังคับ ผล : ไม่มั่นใจในตนเอง เกิดความกลัว ลังเล
4.2.3. บุคคลที่มีอิทธิพล : พ่อ แม่ คนใกล้ชิด
4.3. ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่ม/ความรู้สึกผิด (3-5 ปี)
4.3.1. เหตุ : ได้รับการส่งเสริม เรียนรู้ด้วยตนเอง ผล : กล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์
4.3.2. เหตุ : ถูกตำหนิ ดุด่า ไม่ได้รับการยอมรับ ผล : เกิดความรู้สึกผิด กลัว ไม่กล้าลงมือทำอะไรด้วยตนเอง ขาดความคิดสร้างสรรค์
4.3.3. บุคคลที่มีอิทธิพล : ครอบครัว เพื่อน
4.4. ขั้นที่ 4 ขยันหมั่นเพียร/มีปมด้อย (ุ6 - 11 ปี)
4.4.1. เหตุ : ได้รับการยอมรับและชื่นชมในผลงาน ผล : เกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าของตน
4.4.2. เหตุ : ไม่ได้รับการยอมรับ ถูกบังคับให้ทำสิ่งต่างๆ ผล : รู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเอง
4.4.3. บุคคลที่มีอิทธิพล : พ่อ แม่ ครู เพื่อน
4.5. ขั้นที่ 5 รู้จักตนเอง/ไม่รู้จักตนเอง (12 - 18 ปี)
4.5.1. เหตุ : หากประสบความสำเร็จ ผล : รู้จัก เข้าใจในตนเอง
4.5.2. เหตุ : หากไม่ประสบความสำเร็จ ผล : ไม่รู้จักและสับสนในตนเอ
4.5.3. บุคคลที่มีอิทธิพล : บุคคลใกล้ชิดและสภาพสังคม
4.6. ขั้นที่ 6 คุ้นเคย/อ้างว้าง (วัยผู้ใหญ่ตอนต้น)
4.6.1. เหตุ : พัฒนาการในขั้นที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในแง่ดี ผล : มั่นคงในตนเอง นับถือผู้อื่น
4.6.2. เหตุ : พัฒนาการในขั้นต่างๆ ที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จ ผล : รู้สึกอ้างว้าง ว้าเหว่ อยู่คนเดียว
4.6.3. บุคคลที่มีอิทธิพล : บุคคลในสังคม
4.7. ขั้นที่ 7 ความเป็นพ่อแม่/ความหยุดนิ่ง (วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง)
4.7.1. เหตุ : พัฒนาการในขั้นที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในแง่ดี ผล : รู้จักและรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง สามารถสร้างครอบครัวที่อบอุ่น ประสบความสำเร็จในชีวิต
4.7.2. เหตุ : พัฒนาการในขั้นต่างๆ ที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จ ผล : รู้สึกไม่มีความสามารถ เกิดปมด้อย
4.7.3. บุคคลที่มีอิทธิพล : บุคคลในสังคม
4.8. ขั้นที่ 8 มั่นคงทางใจ/ท้อแท้สิ้นหวัง (วัยชรา)
4.8.1. เหตุ : การยอมรับและเข้าใจชีวิตของตนเองที่ผ่านมาได้ ผล : ยอมรับความจริงของชีวิตและสามารถมอบความรักให้กับบุคคลอื่นๆได้
4.8.2. เหตุ : พัฒนาการในขั้นต่างๆ ที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จและไม่สามารถยอมรับในตนเองได้ ผล : ท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า กลัวความตาย
4.8.3. บุคคลที่มีอิทธิพล : ครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิด