ทฤษฎีผู้สูงอายุ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทฤษฎีผู้สูงอายุ by Mind Map: ทฤษฎีผู้สูงอายุ

1. การเปลี่ยนแปลงตามทฤษฎี(ต่อ)

1.1. ด้านจิตสังคม

1.1.1. ทฤษฎีบุคลิกภาพ (Personality theory)

1.1.1.1. ผู้สูงอายุวัย 69 ปี ก่อนเข้าวัยสูงอายุมีอาชีพรับจ้างทั่วไป สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี หลังจากเข้าสู่วัยสูงอายุเปลี่ยนมาทำธุรกิจส่วนตัว เพื่อดูแลหลานๆ อาศัยอยู่ร่วมกับลูกชาย ลูกสะใภ้และหลานอีก 2 คน มีความสุขดี สัมพันธภาพในครอบครัวรักใคร่กันดี ดูแลเอาใจใส่ มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนบ้านและคนในชุมชน ปัจจุบันเป็นอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆในชุมชน

1.1.2. ทฤษฎีของอิริคสัน (Erikson’s Theory)

1.1.2.1. ขั้นที่1 ในระยะขวบปีแรกได้รับการเลี้ยงดู ให้ความรักความเอาใจใส่จากพ่อและแม่ ได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม

1.1.2.2. ขั้นที่2 อายุระหว่าง 18 เดือน - 3 ปี ได้เริ่มเรียนรู้ที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง มีพ่อแม่คอยสนับสนุน

1.1.2.3. ขั้นที่3 อายุระหว่าง 3 - 6 ปี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง

1.1.2.4. ขั้นที่4 อายุระหว่าง 6-12 ปี มีความคิดและพยายามทำกิจกรรมด้วยตัวเอง ตั้งใจเรียน

1.1.2.5. ขั้นที่7 อายุช่วง 40 - 50 ปี ทำอาชีพรับจ้างทั่วไปเพื่อหาเลี้ยงลูกๆ ทั้ง 2 คน

1.1.2.6. ขั้นที่5 อายุช่วง 12 - 20 ปี เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่4 แต่งงานเมื่ออายุ18ปี มีบุตรเมื่ออายุ19ปี

1.1.2.7. ขั้นที่6 อายุช่วง 20 - 40 ปี ตอนอายุ23ปี สามีเสียชีวิตทำให้มีความรู้สึกเสียใจ ไม่รู้จะพึ่งพาใคร แต่มีพ่อแม่คอยให้ความช่วยเหลือ

1.1.2.8. ขั้นที่ 8 อายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่มีภาวะสิ้นหวังหรือท้อแท้ในชีวิต ประสบความสำเร็จกับชีวิตในอดีต เชื่อว่าชีวิตของตนเองมีคุณค่า ไว้วางใจและใส่ใจผู้อื่นและตนเอง มีความมั่นคงทางจิตใจ ยอมรับความเป็นจริงของชีวิต

1.1.3. ทฤษฎีของเพค (Peck’s Development Theory)

1.1.3.1. เมื่ออายุ 60 ปี มีการปรับตัวให้เข้ากับสังคมผู้สูงอายุโดยการทำธุรกิจส่วนตัวเป็นตู้ซักผ้าหยอดเหรียญทีบ้าน ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับลูกชาย ลูกสะใภ้และหลาน2คน เข้านอนเวลา 21.00 น. ตื่นนอนประมาณเวลา 05.00 น. เพื่อมาวิ่งออกกำลังกายวันละ1ชั่วโมง หลังจากออกกำลังกายเสร็จจะใส่บาตรทุกวัน จากนั้นจะมานั่งดื่มกาแฟยามเช้าเป็นกาแฟดำวันละ 1 แก้ว และจะเริ่มทำการหุงข้าว แต่งตัว และเปิดบ้านให้คนมาซักผ้า ผู้สูงอายุมีการยอมรับสภาพร่างของตนเองที่ถดถอยลงและไม่มีความหวาดวิตกกังวลต่อความตาย

1.2. ด้านสังคม

1.2.1. ทฤษฎีกิจกรรม ( Activity Theory )

1.2.1.1. ผู้สูงอายุเล่าว่า “ตอนอายุ 66 ปี ได้เป็นอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ได้มีการช่วยเหลือเพื่อนบ้านในงานบุญต่างๆ มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนบ้านข้างเคียง ตอนนี้ก็มีความสุขดี”

1.2.2. ทฤษฎีแยกตนเองหรือทฤษฎีการถอยห่าง (Disengagement Theory)

1.2.2.1. ผู้สูงอายุไม่มีการแยกตัว และยังเป็นอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ช่วยเหลืองานในหมู่บ้านสม่ำเสมอ อาศัยอยู่กับลูกชาย ลูกสะใภ้ และหลาน2คน มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในครอบครัว มีความสุขที่ได้ดูแลหลานๆ

1.2.3. ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)

1.2.3.1. หลังจากที่ผู้สูงอายุได้เลิกรับจ้างเย็บผ้าจึงเปลี่ยนมาทำธุรกิจส่วนตัวตู้ซักผ้าหยอดเหรียญภายในบ้าน มีการรับซ่อมเสื้อผ้าถ้าว่าง และมีการเข้าร่วมการเป็นอาสาสมัครประจำหมู่บ้านและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

1.2.4. ทฤษฎีบทบาท (Role Theory)

1.2.4.1. ผู้สูงอายุมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นแม่ให้กับลูกๆทั้ง2คน ซึ่งมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน มีบทบาทเป็นยายให้กับหลานๆทั้ง2คน มีการให้เงินหลานไปโรงเรียน ทำกับข้าวให้หลานๆ และช่วยอบรมเลี้ยงดู ชี้แนะในสิ่งต่างๆ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของครอบครัว และอีกบทบาทหนึ่งคือเป็นอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน มีช่วยเหลืองานต่างๆของหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ มีความสุขกับบทบาทหน้าที่ต่างๆในชีวิต

2. การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ

2.1. จากกรณีศึกษา ผู้สูงอายุ เพศหญิง อายุ 69 ปี ประกอบอาชีพ ธุรกิจส่วนตัว จัดอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60 - 69 ปี)

3. เกณฑ์ในการพิจารณาความเป็นผู้สูงอายุ

3.1. 1.อายุจริงที่ปรากฏ (Chronological aging)

3.1.1. ผู้สูงอายุเกิด พ.ศ. 2495

3.2. 2.ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (Phsiological aging/Biological aging)

3.2.1. อายุ 60 ปี ตรวจพบโรคประจำตัว เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

3.3. 3.ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ (Psychological aging)

3.3.1. ไม่มีปัญหาทางด้านจิตใจหรือความจำถดถอย

3.4. 4.บทบาททางสังคม (Sociological aging)

3.4.1. รับจ้างทั่วไปเช่น เย็บผ้า -->ธุรกิจส่วนตัวโดยซื้อเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญมาตั้งไว้ที่บ้าน

4. การเปลี่ยนแปลงตามทฤษฎี

4.1. ด้านร่างกาย

4.1.1. ทฤษฎีนาฬิกาชีวภาพ (Genetic หรือ biological clock theory)

4.1.1.1. ผู้สูงอายุ อายุ 69 ปี ซึ่งมีบิดาเสียชีวิตเมื่ออายุ 94 ปีมารดาเสียชีวิตเมื่ออายุ 87 ปี จึงทำให้ผู้สูงอายุรายนี้มีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวตามพันธุกรรม

4.1.2. ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution theory)

4.1.2.1. มีการปรับเปลี่ยนหาสิ่งที่ดีกว่าให้กับชีวิต เช่น การเปลี่ยนมาทำธุรกิจส่วนตัวที่บ้านแทนการรับจ้างทั่วไป เพื่อช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ไม่ต้องออกไปหาทำงานนอกบ้าน มีเวลาอยู่กับตนเองมากขึ้น

4.1.3. ทฤษฎีความผิดพลาดของ Cell (Error Theory) หรือทฤษฎีโมเลกุล (Molecular Theory)

4.1.3.1. ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายทอด DNA ที่ผิดปกติ ทำให้ได้สาย RNA ผิดปกติไป ส่งผลให้การสร้างสายโปรตีนผิดปกติ เกิด hormone insulin ที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามเดิม ไม่สามารถดึงน้ำตามเข้าสู่เซลล์ได้ จึงทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกิดเป็นโรคเบาหวาน

4.1.4. ทฤษฎีการผ่าเหล่า (Somatic mutation theory)

4.1.4.1. ผู้สูงอายุ ก่อนจะเข้าสู่วัยสูงอายุนั้นได้ทำงานเป็นลูกจ้างร้านเย็บผ้า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุได้เปลี่ยนมาทำธุรกิจส่วนตัวที่บ้าน ไม่ได้มีการทำงานกลางแดด ไม่มีประวัติสูบบุหรี่ จึงไม่ได้มีการได้รับสารก่อมะเร็ง ทำให้ไม่เป็นไปตามทฤษฎีการผ่าเหล่า

4.1.5. ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory)

4.1.5.1. ความจำ

4.1.5.1.1. ผู้สูงอายุบอกว่า “ชอบลืมกุญแจรถบ่อยๆ ”

4.1.5.2. กล้ามเนื้อ

4.1.5.2.1. ผู้สูงอายุบอกว่า “บางทีมันก็ปวดเนื้อปวดตัว"

4.1.5.3. ผิวหนัง

4.1.5.3.1. ผู้สูงอายุบอกว่า “ผิวก็แห้งขึ้น แล้วหน้าก็มีริ้วรอยมากขึ้น ”

4.1.5.4. ทางเดินอาหาร

4.1.5.4.1. ผู้สูงอายุบอกว่า “บางครั้งก็มีท้องอืดบ้าง”

4.1.5.5. สายตา

4.1.5.5.1. สายตาเริ่มสั้น150 ตั้งแต่อายุ 35 ปี จากนั้นก็ใส่แว่นมาตลอด จนอายุประมาณ 50 ตาเริ่มพร่ามัว จึงไปตรวจวัดสายตา พบว่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเป็น350 และเป็นต้อลม

4.1.5.6. ปอด

4.1.5.6.1. ผู้สูงอายุบอกว่า “เวลาออกกำลังกาย ก็เหนื่อยง่าย แต่ก็อยากแข็งแรงก็ต้องออก”

4.1.6. ทฤษฎีการสะสม (Accumulative theory)

4.1.6.1. ผู้สูงอายุก่อนวัยสูงอายุนั้นมีพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารประเภทของมัน ของทอด และตอนที่ทำงานรับจ้างเย็บผ้านั้น มีการซื้อลูกอม รสกาแฟมารับประทานวันละ 10 บาท ทุกวัน ทำให้กระบวนการเมทาบอลิซึม ได้ออกเป็นไขมัน และน้ำตาล สะสมในเซลล์ต่างๆของร่างกาย ทำให้เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุตรวจร่างกายพบเป็นโรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน

4.1.7. ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radial theory)

4.1.7.1. อนุมูลอิสระทำลายคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งเป็นสารสำคัญในผิวหนังที่ทำให้ผิวหนังเกิดความชุ่มชื้น ยืดหยุ่น และตึงตัว ผู้สูงอายุมีการสะสมของอนุมูลอิสระ ทำให้มีความเหี่ยวย่นและริ้วรอย โดยเฉพาะใบหน้า หรือที่เรียกว่าตีนกา ซึ่งผู้สูงอายุรายนี้นั้นเกิดจากการสะสมของอนุมูลอิสระ จากทั้งอาหาร และรังสี เช่น การใช้โทรศัพท์

4.1.8. ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross-linking theory)

4.1.8.1. ผู้สูงอายุมีการเชื่อมตามขวาง คอลลาเจนภายในเซลล์แข็งและหนาตัวขึ้น ซึ่งเกิดจากโมเลกุลของโปรตีนจับกับกลูโคสเชื่อมต่อกับสายออกซิเจน มีผลทำให้ร่างกายขาดความยืดหยุ่น อ่อนนุ่มและชุ่มชื่น เซลล์จึงแข็งกระด้าน ขรุขระ อวัยวะที่ผิดปกติจึงเป็นอวัยวะที่มีการสะสมของคอลลาเจนไว้มาก ทำให้เกิดผลกับผู้สูงอายุรายนี้ดังนี้ ปอด : เหนื่อยง่ายมากขึ้นเวลาทำกิจกรรม เอ็น : การเคลื่อนไหวร่างกาย เคลื่อนไหวตามข้อต่างๆช้าลง

4.1.9. ทฤษฎีเกี่ยวกับความเครียดและการปรับตัว (Stress and adaptation theory)

4.1.9.1. ผู้สูงอายุมีการทะเลาะกับบุคคลในครอบครัวบางครั้ง เป็นปัญหาเล็กๆน้อยๆ และได้มีการปรับความเข้าใจกันอยู่เสมอ พอมีความเครียดก็จะทำงานและพยายามไม่คิดมาก

4.1.10. ทฤษฎีภูมิคุ้มกัน (Immunological Theory, Autoimmune theory)

4.1.10.1. ผู้สูงอายุ อายุ 69 ปี ระบบภูมิกันในร่างกายทำงานได้ไม่ดี การทำหน้าที่ของ T-lymphocyte ไม่แน่นอน หน้าที่ของเซลล์ลดลงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลงมาก ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ในผู้สูงอายุรายนี้มีผิวหนังบาง

4.1.11. ทฤษฎีระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ(Neuroendocrine theory)

4.1.11.1. ผู้สูงอายุ อายุ 69 ปี ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินได้น้อยลง เป็นผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุรายนี้มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน