การตัดสินใจเชิงจริยธรรม : แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (1)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การตัดสินใจเชิงจริยธรรม : แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (1) by Mind Map: การตัดสินใจเชิงจริยธรรม : แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (1)

1. กรณีศึกษา

1.1. “หญิงตั้งครรภ์รายหนึ่งได้มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล พบว่า ผลเลือดที่ตรวจออกมามีการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ สอบถามจากหญิงตั้งครรภ์บอกว่า ตนเองโดนผู้ชายที่ไม่รู้จัก ข่มขืน ก่อนที่จะมาแต่งงานกับสามีคนนี้ ตนเองไม่ทราบว่าได้ติด เชื้อเอชไอวีจากผู้ชายที่มาข่มขืน หญิงตั้งครรภ์ได้ขอร้องพยาบาล ห้องฝากครรภ์ไม่ให้แจ้งเรื่องนี้ให้สามีและญาติของตนทราบ ไม่ อยากทำให้สามีและพ่อแม่ของสามีเสียใจ เพราะพวกเขาอยาก ได้หลานเพราะเป็นหลานคนแรก จึงไม่อยากให้มารับรู้อะไรตอน นี้”

2. บทนำ

2.1. วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ผู้ปฏิบัติการพยาบาล ต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะทางเทคนิคการพยาบาล และทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมควบคู่กันไป เพราะการ ปฏิบัติงานในหน้าที่จะต้องเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับการให้การ พยาบาลตามหลักของวิชาชีพแล้ว พยาบาลยังต้องเผชิญกับ ปัญหาที่เป็นประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ การพิจารณาไตร่ตรองว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำเพราะ เป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพและสิทธิของ ผู้ป่วย

2.2. พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม การตัดสินใจเชิงจริยธรรมจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและ ประโยชน์ที่จะเกิดสูงสุดแก่ผู้ป่วยและส่งผลกระทบต่อผู้ เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด การที่พยาบาลจะสามารถตัดสินใจเชิง จริยธรรมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้นั้น พยาบาล จำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์

2.3. ความรู้และประสบการณ์เป็นความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี จริยศาสตร์ หลักจริยธรรม แนวคิดทางจริยธรรมและจรรยา บรรณวิชาชีพ ทฤษฎีจริยศาสตร์ได้กล่าวถึงหลักการ แนวคิดที่ เกี่ยวกับหลักจริยธรรมสำหรับใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเชิง จริยธรรม ความรู้จากทฤษฎีจริยศาสตร์จะช่วยในเรื่องของการ ประเมินค่าและการตีค่าของการกระทำของบุคคลและการใช้ เหตุผลเชิงจริยธรรมในการตัดสินใจ

3. การประยุกต์ใช้

3.1. ใช้ได้ในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมแต่ทั้งนี้พยาบาลต้องเข้าใจใน หลักการของทฤษฎีจริยศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจ เชิงจริยธรรม ทฤษฎีประโยชน์นิยม และทฤษฎีหน้าที่นิยม

3.2. หลักจริยธรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเคารพความเป็นอิสระของผู้ป ่วยในการตัดสินใจและ การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง การทำในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ เป็นการกระทำของพยาบาลที่มุ่งประโยชน์แก่ผู้ป่วยที่มาจาก ความเมตตากรุณา เอื้ออาทรแก่ผู้ป่วย การไม่ทำอันตรายต่อ ผู้ป ่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ความยุติธรรมและความเสมอภาค

3.3. ในการพิจารณาทาง เลือกในการปฏิบัติซึ่งต้องอธิบายการกระทำตามหลักจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลมา พิจารณาเพื่อวิเคราะห์ว่าการกระทำของพยาบาลในการตัดสิน ใจกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพข้อใดการวิเคราะห์ผลดีผลเสีย ที่จะเกิดตามมาในแต่ละแนวทางที่จะปฏิบัติของขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนที่ต้องเลือกปฏิบัติซึ่งต้องระบุผลดีผลเสียในแต่ละ ทางเลือก

4. กระบวนการตัดสินใจเชิงจริยธรรม

4.1. 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4.1.1. เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมมาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์มาวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล

4.2. 2. การกำหนดประเด็นขัดแย้ง

4.2.1. เป็นขั้นตอนของการนำปัญหามากำหนดเป็นประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม

4.3. 3. การพิจารณาทางเลือกในการปฏิบัติ

4.3.1. เป็นขั้นตอนของการหาแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม

4.4. 4. การวิเคราะห์ผลดีผลเสียที่จะเกิดตามมาในแต่ล่ะแนวทางที่จะปฏิบัติ

4.4.1. เป็นการนำแนวทางปฏิบัติมาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้เเละความเป็นไปไม่ได้

4.5. 5. การตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ

4.5.1. เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดในการเลือกตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกไว้

5. รูปแบบการตัดสินใจเชิงจริยธรรมเเละการปยุกต์ใช้

5.1. 1. การตัดสินใจที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

5.1.1. เป็นการตัดสินใจของพยาบาลในบทบาทของการทำหน้าที่แทนผู้ป่วย

5.2. 2. การตัดสินใจที่เน้นเเพทย์เป็นศูนย์กลาง

5.2.1. เป็นการตัดสินใจที่คงไว้ซึ่งคำสั่งและการรักษาของแพทย์

5.3. 3. แบบการตัดสินใจที่เน้นกฎเกณฑ์ของหน่วยงานเป็นศูนย์กลาง

5.3.1. เป็นรูปแบบการตัดสินใจที่เน้นนโยบายเเละแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานนั้นๆ

6. แนวทางการตัดสินใจเชิงจริยธรรม

6.1. 1. เก็บรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด

6.1.1. ความต้องการของผู้ป่วย ความเชื่อ วุฒิภาวะ สัมพันธภาพกับสามีและพ่อแม่สามีและผู้เกี่ยวข้อง

6.2. 2. กำหนดประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม

6.2.1. บอกหรือไม่บอกความจริงตามผู้ป่วยขอร้อง

6.2.2. สิทธิของผู้ป่วยในการรักษาความลับกับจรรยาบรรณวิชาชีพ

6.2.3. เคารพในการตัดสินใจของผู้ป่วยกับทัศนคติของพยาบาล

6.2.4. เคารพในการตัดสินใจของผู้ป่วยกับอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับทารกเเละสามี

6.3. 3. การพิจารณาทางเลือกในการปฏิบัติ

6.3.1. บอกหรือไม่บอกความจริงตามที่ผู้ป่วยขอร้องโดยการใช้ความรู้ตามหลักการทางจริยธรรม หลัก จริยธรรม แนวความคิดทางจริยธรรมในการปฏิบัติพยาบาล จรรยาบรรณวิชาชีพ และสิทธิของผู้ป่วยมาร่วมพิจารณา

6.4. 4.การวิเคราะห์ผลดีผลเสียที่จะเกิดตามมาในแต่ล่ะแนวทางที่จะปฏิบัติ

6.4.1. พยาบาลบอกความจริงเกี่ยวกับผลเลือดมีการติดเชื้อเอชไอวี กับสามี พ่อแม่สามีและญาติของผู้ป่วย

6.4.1.1. ข้อดี

6.4.1.1.1. รู้วิธีการดูแลผู้ป่วยและลูกในท้อง

6.4.1.1.2. ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

6.4.1.1.3. ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากสามี

6.4.1.2. ข้อเสีย

6.4.1.2.1. สามี พ่อแม่สามีและญาติไม่ยอมรับ

6.4.2. พยาบาลไม่บอกความจริงตามผู้ป่วยขอร้อง

6.4.2.1. ข้อดี

6.4.2.1.1. ผลดีแก่ผู้ป่วย คือ สามี พ่อแม่สามีและญาติดีใจได้ลูกและหลานตามต้องการ

6.4.2.2. ข้อเสีย

6.4.2.2.1. ผลเสียที่ตามมาลูกที่เกิดมาอาจมีปัญหา สามีอาจติดเชื้อ จาภรรยาทางเพศสัมพันธ์

6.5. 5. การประเมินผล

6.5.1. พยาบาลต้องให้การดูแลสุขภาพผู้ป่ ่วยทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ พูดคุยกับผู้ป่วยถึงอันตรายและผลกระทบต่อลูกและ สามีถ้าไม่บอกความจริง ให้เวลาผู้ป่วยในการตัดสินใจด้วย ตนเองหรือยึดเวลาให้ผู้ป่วยได้ทบทวนตัวเอง ที่ดีคือผู้ป่วยเป็น ผู้บอกความจริงทั้งหมดกับสามีและญาติด้วยตนอง