จรรยาบรรณ จริยธรรมและกฎหมายกับผู้ประกอบวิชาชีพ "การสาธารณสุขชุมชน"

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
จรรยาบรรณ จริยธรรมและกฎหมายกับผู้ประกอบวิชาชีพ "การสาธารณสุขชุมชน" by Mind Map: จรรยาบรรณ จริยธรรมและกฎหมายกับผู้ประกอบวิชาชีพ "การสาธารณสุขชุมชน"

1. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556

1.1. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ณ วันที่ ๒๗พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยบัญญัติไว้ว่า “วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน”หมายความว่า วิชาชีพที่กระทาต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในชุมชนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการควบคุมโรคการตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้นการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพการอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงจากการ เจ็บป่วย ในชุมชน

1.2. หลักการและเจตนารมณ์ พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน

1.2.1. บัญญัติไว้ว่า โดยที่เป็นการสมควรพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการปฏิบัติงานของบุคคลด้านการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ทั่วประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยจัดตั้งสภาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนขึ้นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพการสาธารณสุขชุมชน กำหนดและควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ ตลอดจนควบคุมดูแลความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ซึ่งเป็นภารกิจมิให้แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคลซึ่งไม่มีความรู้ อันจะก่อให้เกิดภัยและความเสียหายต่อสุขภาพ ของบุคคล ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

2. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556

2.1. มาตรา 3

2.1.1. ส่งเสริมสุขภาพ

2.1.2. การป้องกันโรค

2.1.3. การควบคุมโรค

2.1.4. การตรวจประเมินและบำบัดโรคเบื้องต้น

2.1.5. การดูแลความช่วยเหลือผู้ป่วย

2.1.6. การฟื้นฟูสภาพ

2.1.7. การอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม

2.2. หมวด 1 สภาการสาธารณสุขชุมชน

2.3. หมวด 2 สมาชิก

2.4. หมวด 3 คณะกรรมการ

2.5. หมวด 4 การดำเนินการของคณะกรรมการ

2.6. หมวด 5 การควบคุมการประกอบวิชาชีการสาธารณสุขชุมชน

2.7. หมวด 6 พนักงานเจ้าหน้าที่

2.8. หมวด 7 บทกำหนดโทษ

2.9. บทเฉพาะกาล

3. กลุ่มวิชาชีพ 5 กลุ่ม

3.1. กลุ่มส่งเสริมสุขภาพและอนามัยชุมชน

3.2. กลุ่มป้องกันโรค ควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข

3.3. กลุ่มตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อการส่งต่อและการฟื้นฟู

3.4. กลุ่มอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม

3.5. กลุ่มบริหารสาธารณสุขและกฎหมายสาธารณสุข

4. "สาธารณสุข" เพื่อการป้องกันโรค เพื่อให้มีชีวิตยืนยาว ทำการส่งเสริมสุขภาพของร่างกาย

4.1. Environment Health สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

4.2. Disease and Prevention Control การป้องกันและควบคุมโรค

4.3. Health education and personal Hygiene การให้สุขศึกษาและสุขวิทยาส่วนบุคคล

4.4. Diagnosis and Treatment การวิเคราะห์โรคและการรักษา

4.5. Development of Social Strategy การพัฒนากลไกของสังคมเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดี

5. กฎหมายวิชาชีพด้านสุขภาพที่บังคับใช้อยู่

5.1. แพทย์ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525

5.2. พยาบาล พ.ร.บ.การพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528

5.3. ทันตแพทย์ พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537

5.4. เภสัชกร พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537

5.5. นักเทคนิคการแพทย์ พ.ร.บ.วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547

5.6. นักกายภาพบำบัด พ.ร.บ.วิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547

5.7. แพทย์แผนไทย พ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556

5.8. สาธารณสุขชุมชน พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณชุมชน พ.ศ. 2556

6. ขอบเขตการตรวจประเมินบำบัดโรคเบื้องต้นตาม พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 ข้อบังคับวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2563-2564

6.1. ืทเ

7. จรรยาบรรณ Professional Ethics

7.1. ความสำคัญของจรรยาบรรณ

7.1.1. เป็นแนวทางให้บุคลากรยึดถือและปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง เหมาะสมแสดงถึงการมีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากร

7.1.2. เพื่อให้บุคลากรได้รับการยอมรับ ศรัทธา และความเชื่อมั่นจากผู้ที่ได้พบเห็น

7.1.3. เพื่อผดุงเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีแห่งสถาบัน ความมีมาตรฐาน มีคุณภาพ และเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

7.2. จรรยาบรรณวิชาชีพ ( Professional Codes of Ethics )

7.2.1. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น ต้องยึดถือและปฏิบัติ เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

7.3. จริยธรรมนักสาธารณสุข

7.3.1. การปฏิบัติหน้าที่ของนักสาธารณสุขต้องยึดหลักการและความเป็นธรรมเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม

7.3.2. นักสาธารณสุขต้องยึดมั่นในความสามัคคี มีความจริงใจต่อกัน เกื้อกูลกันเพื่อให้งานของส่วนรวมสำเร็จ

7.3.3. นักสาธารณสุขต้องเคารพรัฐธรรมนูญ กฎหมายและข้อบังคับรวมทั้งกฎกติกาต่าง ๆ เพื่อความถูกต้องและเป็นแบบแผนที่ดีงาม

7.3.4. นักสาธารณสุขต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับฐานะ ตำแหน่ง ทำให้เป็นตัวอย่างแก่ประชาชน

7.3.5. นักสาธารณสุขจะต้องเข็มแข็ง อดทน พร้อมรับคำวิจารณ์ของผู้อื่น

7.3.6. นักสาธารณสุขต้องยึดถือความถูกต้อง เมื่อเกิดความเสียหายจากงานในความรับผิดชอบ ต้องกล้ารับผิด

7.3.7. นักสาธารณสุขต้องมีความเคร่งครัดในเรื่องเวลา และต้องตรงต่อเวลาในทุกกรณี

7.3.8. นักสาธารณสุขต้องไม่แสวงผลประโยชน์จากงานในหน้าที่ หากมุ่งหากินด้วยวิธีการใด ๆ ต้องลาออกจากตำแหน่งไปทำการค้า

7.4. จรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุข

7.4.1. ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ต้องมีวินัยต่อตนเอง พัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวิทยาการด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่เสมอ

7.4.2. ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ต้องมีความรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

7.4.3. ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ต้องมีความรัก ความเมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยความเสียสละแบบจิตอาสาและให้บริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอภาคอย่างเท่าเทียม

7.4.4. ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ต้องส่งเสริมให้ประชาชนที่มีทักษะ และพฤติกรรมสุขภาพที่ดีตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถและบริสุทธิ์ใจ

7.4.5. ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกายวาจาและจิตใจ รวมถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพแก่ประชาชน

7.4.6. ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ต้องให้บริการประชาชนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจ และความเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

7.4.7. ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ต้องไม่กระทำตนและกระทำอันใดที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการตรวจ วิเคราะห์ผลกระทบเฝ้าระวัง ป้องกันและวางแผนระบบการจัดการสุขภาพที่เกี่ยวกับ สุขวิทยาและพฤติกรรมสุขภาพ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษจากการประกอบวิชาชีพจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนผู้รับบริการ

7.4.8. ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดในระบบคุณธรรมและสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

7.4.9. ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ต้องประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข