การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับคอ (Cervical spine injury) (1)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับคอ (Cervical spine injury) (1) by Mind Map: การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับคอ (Cervical spine injury) (1)

1. กระดูก atlas หรือ C1 หัก จากแรงกระแทกในแนวดิ่ง อัดลงบนศีรษะ ศีรษะอาจจะอยู่ในท่าปกติ ก้ม หรือเงยก็ได้ แรงอัดที่ occipital condyles ทั้ง 2 ข้าง ไปทำให้ กระดูก atlas หักหลายเสี่ยง เรียกว่า "Jefferson fracture" การรักษาให้ใส่ minerva cast

2. 1. Allanto-Occipital Dislocation

2.1. เกิดจากแรงที่มากระทำในท่าก้ม หรือเงยก็ได้ การเคลื่อนที่ ลักษณะนี้อาจจะไปกด vertebral artery หรือ spinal cord ตรงระดับก่อนที่ pyramidal tracts จะแยกไป ด้านตรงข้าม ทำให้เกิดอัมพาต ที่เรียกว่า "cruciated paralysis" มีการอ่อนแรงของแขนพร้อมกับ cranial nerve เสียหลายเส้น แต่การรับความรู้สึกเป็นปกติ

3. 2. Isolated Fractures of the Atlas

4. 3. Atlanto-Axial Dislocation

4.1. แรงกระทำในแนวก้ม (fexion) ทำให้ transverse ligament ขาด ดันให้ C1 เคลื่อนไปด้านหน้า (anterior dislocation) ถ้ากด spinal cord ผู้ป่วยจะเสียชีวิตทันที

5. 4. Odontoid Fracture

5.1. แรงที่ทำให้ odontoid หรือ C2 หักนั้น เป็นแรงที่กระทำร่วมกันระหว่าง แรงตัด (horizontal shear) และแรงอัดตามแนวดิ่ง (vertical compression) ทำให้ odontoid หัก ในระดับต่างๆกัน

6. 5. Hangman's Fracture (Traumatic Spondylolisthesis of C2)

6.1. กระดูกหักผ่าน pedicles หรือ pars interarticularis ของ C2 ทำให้เกิดการแยกของ posterior neural arch ของ C2 ออกจากปล้องกระดูก c2 เนื่องจากโพรงกระดูก (spinal canal) ระดับนี้กว้าง และมีช่องว่างระหว่าง spinal cord กับ spinal canal มาก ทำให้ spinal cord มีความเสี่ยงต่ำต่อการถูกกดทับ ส่วนมากกระดูกจะติดดี โดยไม่ต้องทำผ่าตัด จะผ่าตัดเฉพาะในรายที่เป็น nonunion หรือจัดกระดูกหักเข้าที่ไม่ได้ และถ้า C2 เคลื่อนไป ทางด้านหน้าจาก C3 มากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าส่วนที่หักไม่มั่นคง นิยมทำ anterior interbody fusion ของ C2-C3

7. 6. Lower Cervical Spine Fractures and Dislocation (C3-C7)

7.1. 6.1 anterior elements หรือ ปล้องกระดูกสันหลังหัก มีได้หลายลักษณะ ดังนี้

7.1.1. 6.1.1 anterior wedging เกิดจากแรงที่ทำในแนวก้มศีรษะ (hyper-flexion) กระดูกคอ จะถูกกดทางด้านหน้า ทำให้มีการยุบตัวของปล้องกระดูกส่วนหน้า การยุบตัวส่วนมากไม่เกินร้อยละ 50 ของความสูง ของปล้อง เอ็นยึดด้านหลังไม่ขาด เป็นกระดูกหักชนิดที่มั่นคง

7.1.2. 6.1.1 anterior wedging เกิดจากแรงที่ทำในแนวก้มศีรษะ (hyper-flexion) กระดูกคอ จะถูกกดทางด้านหน้า ทำให้มีการยุบตัวของปล้องกระดูกส่วนหน้า การยุบตัวส่วนมากไม่เกินร้อยละ 50 ของความสูง ของปล้อง เอ็นยึดด้านหลังไม่ขาด เป็นกระดูกหักชนิดที่มั่นคง

7.1.3. 6.1.2 burst fracture เกิดจากแรงกระแทกแนวกลางศีรษะ ทำให้ปล้องกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังแตกกระจายออกทุกทาง ส่วนที่แตกที่กดดันไปทางด้านหลัง จะกด spinal cord ได้

7.1.4. 6.1.3 acute or "tear-drop" fracture dislocation เกิดจากแรงกระทำที่รุนแรงในท่า ก้มศีรษะ ทำให้ปล้องกระดูกสันหลังหัก ชิ้นกระดูกที่หักจากมุมล่างด้านหลังของปล้องกระดูกสันหลังมีลักษณะ เป็นหยดน้ำตา มีการกด spinal cord ด้านหน้าเกิดเป็นอัมพาต

7.1.5. ด้านหน้าเกิดเป็นอัมพาต 6.1.4 hyperextension injury เกิดจากแรงกระทำในท่าเงยศีรษะรุนแรงมากจน anterior longitudinal ligaments และหมอนรองกระดูกสันหลังฉีกขาด หรือขอบบนของปล้องกระดูกสันหลังแตกจากการดึง ของ anterior longitudinal ligaments ก็ได้

7.1.6. 6.1.5 pillar fracture เกิดจากแรงที่กระทำต่อข้อฟาเซทในท่าเงยศีรษะร่วมกับการ บิดหมุน กระดูกหักประเภทนี้ กดรากประสาทได้

7.1.7. 6.1.6 isolated disc lesion เกิดจากแรงกระทำในท่าก้มศีรษะ ทำให้หมอนรอง กระดูกสันหลังแตก และทะลักไปทางด้านหลังดันเข้าในโพรงกระดูกสันหลัง กด spinal cord ส่วนหน้า

7.2. 6.2 posterior elements หรือส่วนหลังของกระดูกคอหัก หรือเคลื่อน

7.2.1. 6.2.1 unilateral facet dislocation คือ การเคลื่อนหลุดของข้อฟาเซทด้านใดด้านหนึ่ง จากแรงกระทำต่อกระดูกคอในท่าก้ม ร่วมกับการบิดหมุน มีการฉีกขาดของ facet joint capsule และ posterior ligament complex เป็นชนิด stable เมื่อเคลื่อนหลุดแล้วอาจกดรากประสาท ทำให้กล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง ไปข้างเดียว หรือกด spinal cord ซีกเดียว เกิดเป็น Brown-Sequard syndrome

7.2.2. 6.2.2 facet fracture เป็นการหักของฟาเซท ด้านใดด้านหนึ่ง เกิดจากแรงกระทำในท่าก้ม ศีรษะร่วมกับแรงบิดหมุน อาจกดรากประสาทใน foramen ของปล้องนั้น ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ เพียงมัดเดียว

7.2.3. 6.2.3 bilateral "perched" facet (tip-to-tip) fracture เป็นการหักของข้อฟาเซท ทั้งสองด้าน จากแรงกระทำในท่าก้มศีรษะ มีการฉีกขาดของ posterior ligament complex ปลายข้อฟาเชตจ่อชิดกัน ส่วนใหญ่จะไม่กด spinal cord แต่อาจกดรากประสาทเฉพาะในปล้องนั้นๆ ได้

7.2.4. 6.2.4 bilateral facet dislocation คือ ข้อฟาเซตเคลื่อนหลุดทั้งสองข้าง จากแรงกระทำในท่าก้มศีรษะที่มีความรุนแรงขึ้น ทำให้ facet joint capsule และเอ็นยึดกระดูกส่วนหลังขาด ทั้งสองข้าง และหมอนรองกระดูกสันหลังฉีกขาดด้วย แต่ anterior Iongitudinal ligament ไม่ขาด กระดูก ที่เคลื่อนมาข้างหน้าจะกด spinal cord รุนแรง จนเกิด complete cord lesion ได้

7.2.5. 6.2.5 spinous process fracture (clay shoveler's fracture) เกิดจากการดึงกระชากของ กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ กระดูกหักจากการดึงนี้เป็นการหักที่ไม่มีความรุนแรงจากการกระแทกโดยตรงบริเวณ ส่วนหลังของกระดูกคอ

7.2.6. 6.2.6 lamina fracture มองไม่เห็นจากภาพรังสีธรรมดา เนื่องจากการเรียงตัวที่อยู่ ในลักษณะเอียงลาดประมาณ 30 องศา Iamina ที่แตกจะเป็นชิ้นกระดูกลอยๆ ไม่กด spinal cord

7.3. 6.3 combined injuries เกิดจากแรงกระทำหลายๆ แนวร่วมกัน ทั้ง fexion, extension, rotation และ compression ทำให้กระดูกคอหักอย่างรุนแรง เย็นที่ยึดกระดูกฉีกขาด มีการหักของ facet. pedicle, lamina และปล้องกระดูกสันหลังส่วน spinal cord อาจจะถูกกดอย่างมาก หรือไม่ถูกกดเลยก็ได้